อยากให้ยิ้มกันบ้าง...ก็เท่านั้น


โรคหัด กับ เยอรมันผู้ไม่เกี่ยว

      เมื่อคืนได้มีโอกาสได้ไปทานข้าวกับพี่คนหนึ่ง  ซึ่งเป็นพยาบาลอยู่ที่โรงพยาบาลเมืองกำแพงเพชร(กับข้าวอร่อยมาก..ทานฟรีด้วยหละ)  พี่เค้าเล่าเรื่องโรคหัดเยอรมันให้ฟังรู้สึกว่าจะได้มาจากบทความในหนังสือเล่มหนึ่งฟังแล้วรู้สึกขำๆ ดี  ก็เลยอยากจะนำมาเล่าต่อให้ได้ฟังกันบ้าง...ขอย้ำว่าขำๆ นะคะ

โรคหัด  กับเยอรมันผู้ไม่เกี่ยว

                หัดเยอรมันไม่ใช่โรคร้ายแรงอะไร  เกิดจากเชื้อไวรัสรูเบลลาบุกจู่โจม  ทำให้ผู้ป่วยมีอาการไข้อ่อนๆและมีผดผื่นขึ้นตามตัว  จากนั้นไม่ถึงสัปดาห์ก็จะหายไปเอง  แต่ว่าถ้าหากผู้หญิงซึ่งกำลังตั้งท้องติดหัดชนิดนี้ขึ้นมานี่สิอันตรายมาก  เพราะเด็กในครรภ์จะคลอดออกมาพิกลพิการ

                จะว่าไปแล้ว  หัดเยอรมันกับหัดธรรมดาเป็นโรคที่มีความคล้ายกันมาก  ต่างกันเพียงแค่หัดธรรมดาอาการจะรุนแรงกว่า  ด้วยเหตุนี้  ทั้งสองโรคจึงมีชื่อเหมือนกันว่า  หัด  โดยผู้มาที่  มาทีหลังมีติ่งพ่วงท้ายว่าเยอรมัน  ซึ่งบางคนอาจเข้าใจว่า  คงเพราะหมอเยอรมันเป็นผู้ค้นพบโรคนี้แหงๆ

                จริงๆแล้วคำว่า เยอรมัน  นี้ไม่เกี่ยวอะไรกับดินแดนแห่งไส้กรอกเลยสักนิด  แต่เป็นคำที่แปลงมาจากคำว่า  germanus  ในภาษาละติน  ซึ่งมีความหมายว่า  ละม้ายคล้ายคลึง  ฉะนั้นหัดเยอรมันแปลกันตรงๆ  ก็คือโรคที่ละม้ายคล้ายคลึงกับโรค  หัด  นั่นเอง

                เยอรมันไม่ได้มีส่วนได้ส่วนเสียอะไรด้วยเลย  แต่ก็เครดิตไปฟรีๆ

 

Cancel   คำนี้ท่านได้แต่ใดมา?

                "แคนเซิล"  (cancel)  เป็นคำประกิตติดปากคนไทยอีกคำหนึ่ง  มีที่มาที่ไปจากการขีดๆเขียนๆ  ของนักบวชฝรั่งในยุคกลาง  สมัยโน้นแทนพิมพ์ยังเป็นอากาศธาตุอยู่เลย  การเผยแพร่หนังสือหนังหาหรือจะทำซ้ำจึงต้องอาศัยการคัดลอกอย่างเดียวเท่านั้น...

                 ยามคัดลอกหนังสือนั้น  อาลักษณ์เขาจะจดจารลงบนแผ่นหนังชนิดหนึ่งที่เรียกว่า parchment และเมื่อเกิดเขียนผิดขึ้นมา  แน่นอนว่าไม่มียางลบ  หรือน้ำยาลบคำผิดแหงๆอยู่แล้ว  วิธีที่ดีที่สุดในตอนนั้นคือ  ใช้ปากกาที่อยู่ในมือนั่นแหละขีดฆ่าลงไป

                เส้นขีดฆ่าที่เป็นเส้นไขว้กันไปมานี้  พระคุณเจ้าทั้งหลายเห็นเป็นเส้นตาราง  ก็เลยเรียกเจ้าเครื่องหมายที่แปลว่า ไม่เอา  นี้ว่า  cancelli  ซึ่งเป็นภาษาละติน  ถอดความตรงตัวก็คือตารางนั่นเอง  และเจ้าคำนี้นี่แหละที่เป็นปู่ทวดของคำ  cancel  ในภาษาประกิต

                นี่เพราะยางลบเกิดทีหลังแท้ๆเชียว  เราถึงได้ฟุดฟิดคำว่าแคนเซิลกันได้  ฮิ ฮิ

หมายเลขบันทึก: 100684เขียนเมื่อ 4 มิถุนายน 2007 15:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 18:52 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)
  • ดีจังเลยครับ
  • ได้ความรู้เรื่องคำศัพท์ด้วย
  • แถมเรื่องโรคอีก
  • ว่าแต่ว่าไปกับใครน่า
  • ตามมาอ่าน
  • ฝันดีนะครับ
  • ไปกับใครนะ พี่ขจิตรู้ไหมครับ
  • รออ่านเรื่องต่อไป
  • ขอบคุณค่ะ Mr Jod  แต่น่าเสียดายจังเมื่อคืนไม่ฝันอะไรเลยหลับสนิทเชียวค่ะ  (อ่อ...ที่ไปทานข้าวน่ะ  อาจารย์กัดจิก.. เอ้ย!  อาจารย์ขจิตไม่ทราบหรอกค่ะเพราะแอบไปไม่ได้บอกค่ะ)
  • ใจร้ยเปลี่ยนชื่อเรา
  • แช่งให้อ้วนมากกว่าเดิม
  • ฮ่าๆๆๆๆๆ
  • อาจารย์ขจิตขา  ไม่ต้องรีบก็ได้พิมพ์ผิดเลยเห็นมั๊ย
  • อืม รีบพิมพ์จริงๆๆ
  • แช่งให้อ้วนๆๆๆๆ

สวัสดีคะ

  • โดยส่วนตัวเรียนทางด้านจุลชีววิทยาทางการแพทย์ แต่ไม่เคยรู้ประวัติการเรียกชื่อภาษาไทยว่าเป็นมาอย่างไร
  • ได้ความรู้เพิ่มเติมดีคะ
  • ขอบคุณคะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท