วัฒนธรรมการอ่าน


หนึ่งกระบวนการสื่อสาร ที่บอกเล่าธรรมชาติในรากวัฒนธรรมไทย รากแห่งวัฒนธรรมสื่อสารของคนในสังคมไทย

บทความ-วัฒนธรรมการอ่าน           

ศ.นิธิ  เอียวศรีวงศ์ 

มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับประจำวันที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2543

ฉบับที่ 1027  

 

 

 

          บริษัทผลิตสื่อระหว่างประเทศแห่งหนึ่ง จ้างให้สำรวจสิ่งที่เด็กและวัยรุ่นในเอเชียชอบหรือไม่ชอบในนครใหญ่ 29 นคร ใน 14 ประเทศของ เอเชีย แปซิฟิก

   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 36pt; text-align: justify" class="MsoNormal">พบว่าวัยรุ่นของกรุงเทพฯ นั้นมีมีชีวิตอยู่ท่ามกลางสื่อทีเดียว ชอบเล่นอินเตอร์เน็ต,ชอบมีมือถือ,ชอบฟังวิทยุ,ชอบดูกีฬา,ชอบอ่านการ์ตูน,ชอบเล่นเกมทางจอ,ชอบงานศิลปะ ส่วนใหญ่ชอบใช้เวลาอยู่คนเดียวมากกว่าสุงสิงกับใคร</p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 36pt; text-align: justify" class="MsoNormal">เมื่อถามว่าอะไรคือสิ่งสำคัญในชีวิต วัยรุ่นกรุงเทพฯ ส่วนใหญ่เห็นตรงกันว่าการศึกษา และคะแนนสอบคือสิ่งสำคัญสูงสุดในชีวิต</p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 36pt; text-align: justify" class="MsoNormal">แต่เขากลับอ่านหนังสือน้อยมาก แม้แต่หนังสือพิมพ์และนิตยสารก็อ่านน้อยมาก</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 36pt; text-align: justify" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 36pt; text-align: justify" class="MsoNormal"></p><p>             ข้อนี้ตรงกับการสำรวจของยูเนสโกซึ่งพบว่า คนไทยบริโภคกระดาษเพียง 13.1 ตันต่อปี ต่อ 1,000 คนเท่านั้น เมื่อเปรียบเทียบกับคนสิงคโปร์หรือฮ่องกงแล้ว พวกนั้นว่าเข้าไปถึง 98 ตันต่อปีต่อ 1,000 คน  </p><p> </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 36pt; text-align: justify" class="MsoNormal">ก็รู้ๆกันอยู่นะครับว่า เมื่อเปรียบเทียบคนในสังคมอื่นๆอีกหลายสังคม (โดยเฉพาะนอกเอเชียตะวันออกเฉียงใต้) คนไทยอ่านหนังสือน้อย แม้แต่ในหมู่วัยรุ่นที่ให้ความสำคัญแก่การศึกษาไว้สูงสุดก็ตาม</p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 36pt; text-align: justify" class="MsoNormal">อย่างไรก็ตาม เราอาจเถียงว่าไม่ควรติดอยู่แค่รูปแบบของสื่อที่ส่งสารถึงผู้รับ วัยรุ่นไทยอาจไม่ได้อ่านหนังสือมาก แต่เขาก็รับสารจากแหล่งอื่นๆ เช่น อินเตอร์เน็ต, การ์ตูน, หนัง, ทีวี และการสนทนากันในร้านไก่ทอดก็ได้</p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 36pt; text-align: justify" class="MsoNormal">ก็จริงหรอกครับ ที่สื่อในรูปแบบอะไรก็สามารถสื่อสารได้ทั้งนั้น แต่สื่อแต่ละชนิดนั้นมีข้อจำกัดในไวยากรณ์ในตัวของมันเอง มันจึงสามารถสื่อสารบางชนิดได้ดี และบางชนิดได้ไม่ดีหรือไม่ได้เอาเลย</p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 36pt; text-align: justify" class="MsoNormal">ผมขอยกตัวอย่างสุดโต่งของสื่อสองอย่าง คือ ระหว่างข้อเขียน กับ คำสนทนา</p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 36pt; text-align: justify" class="MsoNormal">เวลาเราคุยกัน มีการสื่อความหมายที่ไม่ใช่คำพูดมากมาย อาจจะเกินครึ่งของสารที่สื่อกันก็ได้ เช่น สบายดีหรือ ไม่ได้มีความหมายอะไรเลย แต่ความหมายที่แท้จริงที่ไม่ได้เปล่งออกมาเป็นคำพูด ก็คือ ความสัมพันธ์ของเรายังปรกติราบรื่นดีนะ ไม่ห่างขึ้นและไม่ชิดขึ้นทั้งสองอย่าง ฉันจึงใคร่แสดงระดับความสัมพันธ์เดิมระหว่างเราไว้ให้ปรากฏแก่เธอ</p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 36pt; text-align: justify" class="MsoNormal">นอกจากนี้ เพราะต่างรู้จักกัน จึงเว้นสิ่งที่ต่างฝ่ายต่างรู้อยู่แล้ว เอาไว้โดยไม่ต้องอ้างถึงเป็นคำพูดได้อีกมากมาย</p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 36pt; text-align: justify" class="MsoNormal">ไม่รู้เรื่องก็ซักถามเพิ่มเติมได้ ฯลฯ เป็นต้น</p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 36pt; text-align: justify" class="MsoNormal">ทั้งหมดนี้ใช้ไม่ได้เลยในข้อเขียน ซึ่งส่งสารไปโดยไม่รู้ว่าอ้ายหมอไหนที่จะเป็นคนรับสาร จะต้องคิดเรียงลำดับความให้เข้าใจได้ เพราะหมอนั่นถามผู้เขียนเพิ่มเติมไม่ได้ ถ้าอยากสร้างอารมณ์ก็ตีหน้าบูดเบี้ยวไม่ได้ ต้องเลือกใช้คำและความอย่างไรให้ผู้อ่านเกิดอารมณ์ร่วม จะต้องแสดงเหตุผลหรือลำดับความคิดที่ผู้อ่านติดตามได้ และเห็นคล้อยตามได้ ฯลฯ</p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal">            สารที่จะส่งผ่านข้อเขียนกับที่จะส่งผ่านการคุยกันจึงคงต่างกันอย่างมาก เพราะตัวสื่อบังคับให้ต่าง</p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 36pt; text-align: justify" class="MsoNormal">ตัวอย่างที่ผมยกนี้สุดโต่งเกินไปนะครับ เพราะในชีวิตจริงเรามีข้อเขียนที่มีลักษณะเป็นการสนทนาอยู่มากมายเช่น จดหมายส่วนตัว เป็นต้น</p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 36pt; text-align: justify" class="MsoNormal">แต่ผมคิดว่าสื่อข้อเขียนถ้าใช้มันไปจนสุดความสามารถของมันแล้ว มันนำสารที่มีลักษณะเฉพาะบางอย่างซึ่งสื่อชนิดอื่นไม่สามารถส่งผ่านได้</p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 36pt; text-align: justify" class="MsoNormal">เช่น สื่อข้อเขียนย่อมแสดงตรรกะได้ชัดเจนที่สุด และซับซ้อนที่สุด เหตุดังนั้น สื่อข้อเขียนจึงสามารถนำไปสู่ความคิดทางนามธรรมซับซ้อนได้มาก เช่น เป็นความคิดที่ไม่เกี่ยวกับตัวบุคคล ไม่เกี่ยวกับประสบการณ์ของผู้รับสาร และไม่เกี่ยวกับกรณีเฉพาะอย่างใดอย่างหนึ่ง ฯลฯ การรับสารจากสื่อข้อเขียนจึงต้องใช้จินตนาการให้กว้างขึ้น เดี๋ยวต้องลองนึกจากมุมนี้ เดี๋ยวก็ต้องลองนึกจากมุมโน้น ไม่หยุดนิ่งอยู่ที่บุคคลใดหรือมุมใดมุมหนึ่งเพียงจุดเดียว</p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 36pt; text-align: justify" class="MsoNormal">เขาเรียกการรับสารอย่างนี้ว่าการอ่านครับ อ่านในภาษาไทยนั้นแปลว่าถอดรหัสที่เป็นตัวยึกยือออกมาเป็นภาษาก็ได้ และแปลว่าตีความจนเข้าถึงแก่นของความหมายก็ได้ (เช่น อ่านเกมออก)</p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 36pt; text-align: justify" class="MsoNormal">สารที่ได้มาจากการอ่าน และสารที่ได้จากการฟังจึงไม่เหมือนกันครับ</p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 36pt; text-align: justify" class="MsoNormal">ในแง่นี้แหละครับ ที่ผมออกจะสงสัยว่าการอ่านนั้นไม่ได้มีอยู่ในวัฒนธรรมไทยมาแต่เดิมแล้ว</p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 36pt; text-align: justify" class="MsoNormal">ผมไม่ได้หมายความถึงการถอดรหัสยึกยือซึ่งว่ากันว่าพ่อขุนรามคำแหงประดิษฐ์ขึ้นนะครับ อันนั้นคนไทยอ่านออกมานมนานเต็มทีแล้ว แต่ผมหมายถึงการอ่านแบบตีความจนเข้าถึงแก่นของความหมาย หรือการพัฒนาสื่อตัวหนังสือไปจนถึงสุดแดนความสามารถของมัน ก็อาจยังไม่ได้ทำในวัฒนธรรมไทย</p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 36pt; text-align: justify" class="MsoNormal">ท่านผู้อ่านอาจสงสัยว่า แต่เราก็มีงานเขียนมาเก่าแก่แล้วจะอ่านหนังสือไม่แตกได้อย่างไร</p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 36pt; text-align: justify" class="MsoNormal">ขอให้สังเกตเถิดครับว่า งานเขียนโบราณของเราจำนวนมากนั้น มีไว้อ่านดังๆ เช่น ใช้ขับหรือใช้สวดหรือใช้ประกอบนาฏศิลป์ พูดอีกอย่างหนึ่งก็คือ มีไว้ฟังครับ ไม่ได้มีไว้อ่าน</p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 36pt; text-align: justify" class="MsoNormal">เนื้อความจึงมีลักษณะเป็นการ เล่า ไม่ใช่การวิเคราะห์หรือการเสนอความคิดนามธรรมที่สลับซับซ้อน</p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 36pt; text-align: justify" class="MsoNormal">ในวรรณกรรมโบราณของไทยนั้น ถ้าไม่ เล่า ก็จะเล่นเสียงสัมผัสสระสัมผัสอักษรกันนัวเนีย ซึ่งจะได้รสชาติก็ต้อง ฟัง ไม่ใช่ อ่าน</p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 36pt; text-align: justify" class="MsoNormal">แม้แต่ภาษาความเรียงรุ่นแรกๆ ก็ยังเป็นการ เล่า มากกว่าฟังอยู่นั่นเอง เช่น ที่เราอาจพบในพระราชพงศาวดาร, ตำนาน และสามก๊ก เป็นต้น ล้วน เล่า ทั้งนั้น</p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal">(จนถึงทุกวันนี้ หนังสือไทยที่ขายดีๆ ก็ยังพยายามลอกเลียนสื่อประเภทฟัง เช่น ทำข้อเขียนให้เหมือนมีคนมานั่งคุยกับผู้อ่าน เป็นต้น)</p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 36pt; text-align: justify" class="MsoNormal">ข้อนี้ไม่ใช่จุดด้อยในวรรณกรรมไทยหรอกนะครับ วรรณกรรมชาติอื่นๆ รวมทั้งฝรั่งก็เคยเป็นอย่างนี้มาก่อน จนเข้ามาถึงยุคใหม่แล้ว วรรณกรรมตัวเขียนจึงสร้างกันขึ้นเพื่ออ่านมากกว่าฟัง</p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 36pt; text-align: justify" class="MsoNormal">ผมคิดว่า เป็นไปได้ที่ส่วนใหญ่ของคนไทยก็ยังอยู่ในวัฒนธรรมการฟังมากกว่าการอ่าน และที่คนไทยอ่านหนังสือน้อยก็เพราะเราไม่คุ้นกับการรับสารผ่านสื่อประเภทนี้นั่นเอง</p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 36pt; text-align: justify" class="MsoNormal">ตามการสำรวจเขาบอกว่า แม้แต่อินเตอร์เน็ตที่วัยรุ่นไทยชอบเล่นนั้น ก็นิยมเข้าไปในห้องสนทนาเพื่อคุยกับสมาชิกที่ไม่เคยเห็นหน้าในห้องนั้นมากกว่าอย่างอื่น … ตกเป็นอันรับสื่อผ่านการพูดคุยหรือ ฟัง นั่นเอง</p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 36pt; text-align: justify" class="MsoNormal">สังคมในเอเชียที่มีสถิติการอ่านสูง ล้วนเป็นสังคมที่มีภูมิหลังทางวัฒนธรรมจีนทั้งนั้น เพราะจีนเป็นวัฒนธรรมที่มีประเพณีการอ่านมาแข็งแกร่งยาวนานที่สุด</p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 36pt; text-align: justify" class="MsoNormal">ผมไม่ต้องการให้เข้าใจว่าการรับข้อมูลจากการอ่านนี้เหนือกว่ารับผ่านสื่ออื่นๆ</p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 36pt; text-align: justify" class="MsoNormal">สื่อทุกอย่างย่อมมีข้อดีข้อเสียในตัวเอง ตลาดซึ่งเป็นแหล่งแลกเปลี่ยนข่าวสารข้อมูลที่สำคัญในสมัยหนึ่งนั้น ทำให้คนได้ข่าวสารข้อมูลกว้างขวางมาก รวมทั้งได้ท่าทีและความเห็นที่พึงมีต่อข่าวมาพร้อมเสร็จสรรพ เหมือนหนังสือพิมพ์ไทยทุกวันนี้เป๊ะเลย แต่ข่าวและความเห็นนั้น ก็มีมาหลายกระแส บางเรื่องก็ต้องซุบซิบเล่ากัน ซึ่งยิ่งทำให้น่าเชื่อถือ</p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal">         คนแต่ก่อนจึงอาจมีความเป็นอิสระในการเลือกรับข่าวดีกว่าคนปัจจุบันที่ได้ดูแต่ทีวีช่องรัฐบาลก็เป็นได้</p>             <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 36pt; text-align: justify" class="MsoNormal">ข่าวสารข้อมูลที่ได้จากการฟังก็ไม่เสียหายอะไรหรอกครับ เพียงแต่เมื่อเป็นสื่อประเภทเดียว ก็ทำให้จำกัดประเภทของข่าวสารไปด้วยในตัวอย่างที่บอกแล้ว ฉะนั้น ข่าวสารที่ได้จากการอ่านจึงมีความสำคัญและมีประโยชน์แน่ๆ</p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 36pt; text-align: justify" class="MsoNormal">แต่จะให้คนอ่านหนังสือมากขึ้น เพียงยั่วยุกันให้เข้มข้นขึ้นก็คงไม่สำเร็จ เพราะคนไม่อ่านหนังสือก็เพราะไม่มีวัฒนธรรมการอ่านที่เข้มแข็งมาก่อน จะทำให้คนไทยรักการอ่านมากขึ้นจึงต้องคิดไปถึงการเปลี่ยนกระบวนการรับข่าวสารในวัฒนธรรมไทยด้วย</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 36pt; text-align: justify" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 36pt; text-align: justify" class="MsoNormal"></p>               เช่น เปลี่ยนจากคำอธิบายบนกระดานดำเป็นบทต่างๆ ในตัวหนังสือแทน เป็นต้น หนังสือไม่ใช่อ่านประกอบ แต่กระดาษดำต่างหากที่เป็นตัวประกอบ         

หมายเลขบันทึก: 100517เขียนเมื่อ 3 มิถุนายน 2007 23:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:02 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)
ก็รู้ๆกันอยู่นะครับว่า เมื่อเปรียบเทียบคนในสังคมอื่นๆอีกหลายสังคม (โดยเฉพาะนอกเอเชียตะวันออกเฉียงใต้) คนไทยอ่านหนังสือน้อย แม้แต่ในหมู่วัยรุ่นที่ให้ความสำคัญแก่การศึกษาไว้สูงสุดก็ตามเป็นไปได้ที่ส่วนใหญ่ของคนไทยก็ยังอยู่ในวัฒนธรรมการฟังมากกว่าการอ่าน และที่คนไทยอ่านหนังสือน้อยก็เพราะเราไม่คุ้นกับการรับสารผ่านสื่อประเภทนี้นั่นเอง

คนไม่อ่านหนังสือก็เพราะไม่มีวัฒนธรรมการอ่านที่เข้มแข็งมาก่อน

สวัสดีค่ะดิฉันสนใจอ่านบันทึกนี้ มีความเห็นว่า ส่วนใหญ่ น่าจะมีส่วนถุก ตามที่คุณกล่าวมา แต่ ก็อยู่ที่ครอบครัวด้วย ถ้าเป็นครอบครัวที่มีความรู้หน่อย เด็กก็ซึมซับการรักการอ่านไปด้วยค่ะ แต่อาจจะมีจำนวนน้อยกว่า ภาพรวม ถ้าคนไทยเรียนมากขึ้นๆ การรักการอ่านก็จะมากขึ้นแน่นอน

 

พอเริ่มยาว คนไทยบางคน ก็ขี้เกียจอ่านจริงๆ ด้วย :-P

blog อาจจะเปลี่ยนเด็กไทย และสังคมไทยไปเลยก็ได้? 

แวะมาอ่านครับ

จริงๆครับที่คนสนใจการอ่านไม่มากเท่าที่ควรยกตัวอย่าง ถ้าบันทึกยาวก็จะมีคนอ่านน้อย เด็กชอบอ่านหนังสือใกล้สอบ (ทั่งๆที่มีเวลาก่อนสอบมากมาย)

ถ้าจะวิเคราะห์ว่าเพราะอะไร ผมก็ตอบแบบบกำปั้นทุบดินว่า คนอ่านน้อยถ้ามันไม่สนุก ไม่รู้สึกเพลิดเพลิน การอ่านต้องใช้สมาธิมาก แต่ปัจจุบันมีสิ่งยั่วยุที่น่าสนใจกว่าการอ่าน

แล้วควรแก้ไขหรือไม่? ผมคิดว่าควร เพราะการอ่านให้อะไรหลายอย่างที่สื่อแบบอื่นให้ไม่ได้ นั่นคือนอกเหนือจากข้อมูลที่ได้ดังใจต้องการแล้ว การอ่านให้สมาธิ ให้คนเรารู้จักคิดจิตนาการมากกว่าหนัง ละคร หรือสื่ออื่นๆ

แก้อย่างไร ต้องฝึกแต่เล็ก ผมเองสมัยเด็กๆ โดยแม่บังคับอ่านหนังสือ เมื่อก่อนก็เบื่อ แต่พอปัจจุบันกลับวางหนังสือไม่ลง

ต้องฝึกแต่เด็ก ทำหนังสือให้เป็นความบันเทิงให้ได้ พ่อแม่ครูอาจารย์ต้องเป็นแบบอย่างของนักอ่านที่ดี

สอนเด็กตามวัยอันสมควรว่าอ่านแล้วได้อะไร เช่น อ่านนิทานให้ลูกฟัง แล้วถามเขาว่านิทานเรื่องนี้สอนอะไร จนมาถึงมหาวิทยาลัยที่เน้นให้ผู้เรียนคันคว้าเอง เขาก็จะต้องเลือกอ่านและอ่านให้มาก อ่านให้เป็น หรือแม้แต่การทำ blog g2k ก็เป็นสื่อหนึ่งของการอ่านได้ (อ่านประสบการณ์+ให้ความเห็น) ทำให้มีความสนุกในการอ่าน+กระตุ้นให้คนอยากเขียน

ขออภัยที่ความเห็นผมยาวไปหน่อยครับ

ดิฉันล็อกอินแบบกระโดดตุ้บเข้ามาเลยค่ะ  ชอบอ่านบทความอาจารย์นิธิ  : )

บทความนี้เป็นบทความภาคบังคับให้นักศึกษาทุกคนอ่านในรายวิชาที่ดิฉันสอน    ก่อนเรียนวิชาการเขียน  คำว่าบังคับแปลว่าต้องมีวิธีสื่อสารให้เขาอยากอ่าน  (ซึ่งได้ผลบ้างไม่ได้ผลบ้าง) 

อยากทราบความคิดเห็นของคุณkati เกี่ยวกับนิสัยการอ่านของเด็กไทยสักนิดจังค่ะ   ขอบพระคุณที่โพสต์บทความดีๆมาเผื่อแผ่ให้อ่านกันนะคะ 

  • สวัสดีครับ คุณ
    P
  • ขอบคุณมากครับ สำหรับความคิดเห็นร่วมกัน
  • ที่เชื่อมั่นว่า การอ่านเป็นสิ่งสำคัญในชีวิต
  • โดยส่วนตัว ผมทั้งเชื่อมั่น หลงรัก หลงใหล และเชื่อมั่นในพลังของการอ่านอย่างมาก ที่เติบโตขึ้นมาได้ทุกวันนี้ ก็ล้วนแต่มีความสุข ความทุกข์ มีเวลาออกเดินทางคนเดียว ด้วยการก้าวย่างไปในโลกของหนังสือ มีเรี่ยวแรงและสติปัญญา ก็ด้วยหนังสือ ดังนั้นโดยส่วนตัวของผม ให้เกียรติและศรัทธาต่อการอ่านอย่างมากครับ
  • เห็นด้วย ในประเด็นเรื่องครอบครัว ว่าเป็นส่วนหนึ่งในหลากหลายหนทาง เพื่อสนับสนุนให้เด็กไทย รัก และหลงใหลการอ่าน
  • แต่ยังมอง ว่าต้องแยกจากเรื่องการเรียน และระบบการศึกษา
  • เพราะโดยแนวคิด ของระบบการศึกษาไทย สร้างปัญหา และความทุกข์ให้กับเด็กไทยในด้านการอ่านอย่างมาก แทบจะกลายเป็นด่านสกัดความสุขจากการอ่านของเด็กอย่างมาก
  • ผมคิดว่า การเรียนรู้ตลอดชีวิต ความสุขจากการได้เรียนรู้ ความสุขจากการได้อ่าน น่าจะมีผลเท่าเทียม และกลมกลืนจนกลายเป็นชีวิตจิตใจ เป็นลมหายใจ เหมือนที่เขาจะนึกอยากดูหนัง ฟังเพลง หรือเสพความบันเทิงด้านอื่น
  • โดยผมมองว่า หนังสือ และโลกการอ่าน เป็นมิติที่ประสานได้หมด ทั้งความรู้ ความบันเทิง และเป็นลมหายใจในชีวิตคน ดังนั้น ต้องสร้างภาพลักษณ์ที่ดี คุณค่าที่ดี ที่ก้าวพ้นจากความล้มเหลวในด้านการศึกษา
  • มองภาพ และโอกาสขณะนี้ ผมคิดว่า สังคมไทยยังคงมีโอกาสที่จะพัฒนาความเข้มแข็งด้านวัฒนธรรมการอ่านได้ครับ ยังคงเห็นความหวังอยู่ 
  • คงต้องสร้างทางเลือก สร้างความเข้มแข็ง และสร้างช่องทาง เพื่อกระตุ้นให้เกิดความหลากหลายในการอ่านให้กลายเป็นวัฒนธรรมประจำชาติให้ได้นะครับ
  • ทั้งภาวนา ทั้งคาดหวัง ทั้งอยากให้เกิดขึ้น
  • ขอบคุณมากครับ สำหรับความปรารถนา ให้วัฒนธรรมการอ่าน ได้เข้มแข็ง เติบโต งอกงามในสังคมไทย
  • ขอบคุณครับ
  • สวัสดีครับ คุณ
    P
  • เห็นด้วยอย่างยิ่งครับ พอเริ่มยาว ประโยคเริ่มยาก เนื้อหาเริ่มเยอะ ซับซ้อนมากเข้า จนต้องนั่งคิดนาน ก็พาลขี้เกียจอ่านได้เหมือนกัน
  • คงต้องคิด รูปแบบ สีสัน และกลวิธีเหมือนกันนะครับ
  • อาจต้องถอดแบบ ถอดบทเรียน จากวัฒนธรรมการอ่านภาพ แบบที่การ์ตูนประสบความสำเร็จ สามารถทำให้เด็กอ่าน และดู การ์ตูน ได้ด้วยความรัก ความสนุกและหลงใหล
  • จะแยกชุด แยกเล่ม มากมายยังไง เด็กก็ยังติดอ่านการ์ตูน ดังนั้น ผมคิดว่า ลูกเล่น กลวิธี สีสัน และความสนุกสนานในการอ่าน น่าจะเป็นทางออกได้
  • เช่นเดียว กับที่คุณบ่าววีร์ นำเสนอในเรื่องของ blog ผมก็เห็นด้วยเหมือนกันนะครับ
  • ถ้าทำรูปลักษณ์ หน้าตา Art work กราฟิคสีสันบน Page ได้ดี และสร้างกระบวนการอ่าน ในกลุ่มชุมชนคนเขียน blog ได้ ก็เป็นหนทางหนึ่งในการกระตุ้นการอ่านได้ อีกช่องทางหนึ่งนะครับ
  • คิดว่า ช่องทางในการสร้างวัฒนธรรมการอ่าน ในสังคมไทย คงต้องมีทางที่หลากหลาย และสร้างทางเลือกที่มากมาย
  • เพื่อทำให้เด็กได้มีทางเลือกที่มีความสุข เพราะสุดท้ายผมก็พบว่า เมื่อเขาหลงใหลแล้ว มีทักษะในการอ่าน ถอดความ สรุปเรื่อง เก็บประเด็น หลังจากการนั้นเขาก็เลือกจะรับรู้ ในสิ่งที่เขาต้องการ ผ่านวัฒนธรรมการอ่านได้ไม่ยากครับ
  • สุดท้าย ก็เชื่อว่า หนทางอันหลากหลาย จะสนับสนุน จะบังคับ จะโน้มน้าว หรือวิธีการใดก็ได้ที่ทำให้เด็กมีความสุขในการได้อ่าน หลังจากนั้น ล้วนไปสู่เป้าหมายเดียวกันทั้งสิ้นครับ
  • ขอเพียงอย่างเดียว อย่าให้เขารู้สึกว่า เป็นยาขม ต้องอดทน ต้องกล้ำกลืน จนเกิดอาการเกลียด และจงเกลียดจงชังการอ่าน
  • เพราะถ้าอารมณ์ความรู้สึกเหล่านั้นเกิดขึ้น ก็รับรองได้อย่างเดียว ว่าเขาไม่มีความสุข เมื่อไม่สุข ก็ไม่อ่าน
  • คงต้องหาวิธีที่หลากหลายครับ
  • คงต้องช่วยกันคิด ช่วยกันทำ จะเล็กจะน้อย ก็ก่อร่างให้เกิดวัฒนธรรมการอ่านขึ้นได้ครับ
  • ขอบคุณมากครับ สำหรับประเด็นการแลกเปลี่ยน
  • ผมว่าใน blog ของคุณบ่าววีร์ ก็สร้างธรรมชาติ การอ่านแบบใหม่ได้นะครับ สรุปประเด็นสั้น เข้าประเด็น อธิบายชัด เพื่อสร้างการอ่านที่ง่ายและรวดเร็วกระชับ
  • เป็นอีกช่องทางหนึ่ง ในการอ่านเหมือนกันครับ
  • จะติดตามอ่านเช่นกันครับ
  • ขอบคุณครับ
  • สวัสดีครับ คุณ
    P
  • ในประเด็นนำเสอน และความเห็น ไม่ถือว่าเป็นเรื่องยาวเกินไปครับ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ประเด็นเรื่องวัฒนธรรมการอ่าน
  • ผมเห็นด้วยอย่างมากครับ ว่าจุดเริ่มของวัฒนธรรมการอ่าน ต้องเป็นเรื่องของความสนุก และความสุขที่ได้อ่านครับ
  • ถ้าเริ่มจากจุดนี้ได้ ผมเชื่อว่าร้อยทั้งร้อย เด็กไทยได้อ่านแล้วสนุก อ่านแล้วมีความสุข รับรองติดการอ่านไปนานครับ
  • ผมว่า ตัวสนุก กับตัวสุข ที่สัมพันธ์กับอะดรีนาลีนอย่างมาก เช่นเดียวกัน ผมพบว่า ลองได้เสพติดอารมณ์ละมุนละไมของการอ่าน ได้เข้าไปในห้วงเวลาที่สมอง และจินตนาการได้ทำงาน ในขณะที่อ่าน จนแทบจะพลิกหน้ากระดาษได้ไม่ทันอกทันใจ
  • ผมว่า นั่นแหละครับ คืออาการที่ยิ่งใหญ่ของการอ่าน อ่านอย่างหลงรัก อ่านอย่างเมามัน มีทั้งความสนุก และความสุขในทุกชั่วขณะอ่าน
  • ไม่ว่าจะโดยวิธีใด ถ้าทำให้ความสุขบังเกิดได้ จากการอ่าน ผมเชื่อมั่นว่า การอ่านจะฝังเข้าไปในจิตวิญญาณของเขา เหมือนกับลมหายใจ ที่เขาไม่ต้องนึกถึง แค่มองเห็นกระดาษ เห็นหนังสือแล้วหยิบขึ้นอ่าน
  • คงต้องช่วยๆกัน นะครับ มีหนทางใด วิธีการใด ก็ต้องช่วยกันออกความคิดเห็น ออกจินตนาการ ออกเสียง ออกแรง เพื่อนำไปสู่หนทางของวัฒนธรรมการอ่านที่ยั่งยืนในสังคมไทย
  • ขอบคุณมากครับ สำหรับประเด็นความคิดเห็น
  • ขอบคุณครับ
  • สวัสดีครับ คุณ
    P
  • ไม่คิดว่า บทความของอาจารย์นิธิ ชิ้นนี้ จะกลายเป็นบทความภาคบังคับ เพราะดูจากสภาพการอธิบาย และน้ำเสียงของเรื่องราว น่าจะเป็นบทสะท้อนภาพของเด็ก ที่เด็กคงตั้งคำถามกับตัวเองไม่น้อย
  • แต่ก็เห็นด้วยครับ เพราะบทความชิ้นนี้ ก็ดูจะไม่ประณาม หรือกากหัวในเรื่องวัฒนธรรมการอ่านที่ล้มเหลวในเด็กไทย ว่าเป็นความผิดของเด็กฝ่ายเดียว ดูออกจะเข้าใจ ให้ความหวัง และเชื่อมโยงจากรากวัฒนธรรมปากต่อปากในสังคมไทยได้ดี
  • โดยส่วนตัว ผมศรัทธาในเรื่องการอ่านอย่างมากครับ ทั้งหลงรักและหลงใหล ในมนต์เสน่ห์เมื่อได้นั่งในภวังค์ขณะอ่านเรื่องราวต่างๆ
  • ผมคิดว่า ถ้าเราได้ลองให้เด็กคนไหน ได้อ่านเรื่องที่ตรงจริตเขา ตรงความรู้สึกและความต้องการของเขา อ่านเรื่องสนุกได้ดั่งใจ อ่านเรื่องเศร้าได้บีบน้ำตา อ่านไปอ่านมาได้สักสามสี่เล่ม ผมก็เชื่อว่า เขาจะมีทักษะในการอ่านได้มาก
  • ผมเชื่อว่า มนต์เสน่ห์ของการอ่าน มักจะมาจากแรงบันดาลใจ มาจากความสนุกในการได้โลดแล่นไปขณะอ่าน
  • โดยไม่ต้องจำกัดประเภท จำกัดเนื้อหา ขอแค่ขั้นตอน อ่านได้สะเทือนอารมณ์สะเทือนใจ ไม่ว่าจะประเภทใดก็ตาม ผมก็เชื่อว่า มันมักจะมีผลในการกระตุ้นต่อมอยาก ของเขาให้เสพติดการอ่านได้ไม่ยาก
  • ขออย่างเดียวครับ เริ่มแรก ต้องเลือกให้ดูขนาน ถูกจริต ถูกโรคกับเด็ก
  • ถ้าได้หนังสือที่เหมาะสม เขาเหล่านั้นก็จะเริ่มต้นฝึกฝนตัวเองไปทีละน้อยครับ
  • ผมเชื่อว่า หนังสือ ดีๆมีเยอะครับ แต่ให้ตรงประเด็นก็คือ หนังสือดีๆ เหล่านี้ไปไม่ถึงมือ ไม่ถึงสายตา ไม่ถึงความต้องการของเด็กเลย
  • จะด้วยอุปสรรคของระบบ Logistic แบบใดในสังคมไทยก็ตาม ผมก็ต้องถือว่า เป็นความผิดพลาดในทางวัฒนธรรมของเราครับ
  • ถ้าจะให้ดี ผมว่ากระบวนการ ปลุกเร้า รณรงค์  หรือก่อร่างสร้างวัฒนธรรมการอ่าน ต้องเป็นวาระแห่งชาติเท่านั้นครับ
  • เป็นวาระแห่งชาติ เหมือนที่เรากำลังเล่นกับคำ เล่นกับวาทกรรม และกระแส เช่น เอื้ออาทร ประชานิยม พอเพียง หรือใดๆก็ตาม ที่เป็นกระแสแบบวาระแห่งชาติ ทั้งทางการหรือไม่ทางการก็ตาม
  • จะโหนกระแสใดก็ตาม แต่ต้องมีกระแส หรือวาระแห่งชาติเป็นตัวฉุด โดยมีทางเลือกอีกมหาศาล คอยขยับตามกันไป
  • โดยมีหัวใจสำคัญ ให้คนไทยหลงรักการอ่านให้ได้
  • อาจจะหวังมากไปนิด
  • แต่ก็พยายามจะหวังครับ
  • มีครั้งหนึ่งเมื่อหลายปีก่อน ที่ได้อ่านบทสัมภาษณ์ คุณมกุฎ อรดี บรรณาธิการสำนักพิมพ์ผีเสื้อ ซึ่งให้สัมภาษณ์ในนิตยสารสารคดี
  • ถึงความพยายาม และความใฝ่ฝัน ในการสร้างห้องสมุด และสร้างสังคมการอ่าน ให้เกิดขึ้นในประเทศไทย
  • ในช่วงที่คุณมกุฎ มีไฟแห่งความใฝ่ฝันคุโชน
  • มีประโยคหนึ่งของ คุณมกุฎ ที่วิพากษ์ความล้มเหลวของห้องสมุดเมืองไทย หอสมุดแห่งชาติ พร้อมตอบคำที่สวยงามว่า เขายังเชื่อว่า ห้องสมุด คือมหาวิหารแห่งปัญญา
  • และเขาเชื่อมั่น และศรัทธา ในความใฝ่ฝันครั้งสุดท้ายของชีวิต
  • ว่า ต้องการจะสร้างมหาวิหารแห่งปัญญา ให้เกิดขึ้นในประเทศไทยให้ได้
  • แม้รูปธรรมในเชิงนโยบายภาครัฐ จะกระท่อนกระแท่น แต่โดยบทบาทส่วนตัว และแรงผลักดันหลายสิบปีที่ผ่านมา ของสำนักพิมพ์ผีเสื้อ ผมก็ยังเชื่อมั่น ว่าพลังของคนดี และคนที่ปรารถนาดีเหล่านี้ จะกระจาย ส่งผ่าน ร่วมถ่ายทอดให้สังคมไทยได้รับรู้
  • จะยาวนานเช่นไร เราก็ยังคงต้องคาดหวัง ใฝ่ฝันกันต่อไปครับ
  • ถ้ามาเริ่มก่ออิฐ ก่อขอบร่าง ด้วยการอ่าน ด้วยการสร้างวัฒนธรรมการอ่าน ผมก็เชื่อมั่นว่า วันหนึ่ง ประเทศไทย ต้องมีมหาวิหารแห่งปัญญา ที่ยิ่งใหญ่งดงามได้แน่นอนครับ
  • ก็ยังคงเชื่อมั่นต่อไปครับ
  • ขอบคุณมากครับ สำหรับการเข้ามาอ่าน
  • และขอบคุณ สำหรับข้อคิดเห็นครับ
  • ขอบคุณครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท