ปิติกานต์ จันทร์แย้ม : อิสระทำให้โอกาสอยู่กับเรา
ปิติกานต์ จันทร์แย้ม : อิสระทำให้โอกาสอยู่กับเรา จันทร์แย้ม

เรื่องเล่ากลุ่มการเรียนการสอน UKM10 : เรียนภาษาอังกฤษกับชุมชน


อีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญมาก พอๆกับเนื้อหาด้านวิชาการคือเนื้อหาด้านสังคม ดังนั้นไม่ว่าจะสอนวิชาอะไร จะพยายามอย่างเต็มที่ในการสอดแทรกความคิดด้านสังคม การนึกถึงคนอื่น ไม่ว่าจะเป็นเพื่อนร่วมห้องหรือสังคมรอบๆตัว

ความสำเร็จของงานภายใต้การบริหารจัดการที่ดี ในการเสวนาเครือข่ายจัดการความรู้ระหว่างมหาวิทยาลัย (UKM) ครั้งที่ 10 ระหว่างวันที่ 27-28 พฤษภาคม 2550 ณ โรงแรมแกรนด์ จ.นครศรีธรรมราช



<div align="center"><table border="1" cellspacing="1" cellpadding="0" width="95%" class="MsoNormalTable" style="background: white; width: 95%; border: #d0d0d0 1pt solid"><tbody>

%e0%b8%9e%e0%b8%b1%e0%b8%8a%e0%b8%a3%e0%b8%b5
   
เรื่องเล่ากลุ่ม : การเรียนการสอน
ผู้เล่า : ดร. พัชรี อิ่มศรี
ชื่อเล่น : -
จาก : มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
หน่วยงาน : อาจารย์ประจำสำนักวิชาศิลปศาสตร์
โทรศัพท์ : -
อีเมล์ : -
ชื่อเรื่องเล่า : เรียนภาษาอังกฤษกับชุมชน
   
   
 
 
เรื่องเล่า

                ในการจัดการเรียนการสอนนั้น จะคิดอยู่เสมอว่าเราไม่ใช่ผู้ที่มาให้ความรู้ เพราะนักศึกษาจะเรียนรู้ได้หรือไม่  ไม่ได้ขึ้นอยู่กับสิ่งที่เราให้ แต่ขึ้นอยู่กับกระบวนการในการกระตุ้นให้นักศึกษาได้เรียนรู้และสามารถนำไปปรับใช้ได้จริง ดังนั้นวิธีการสอน กิจกรรมต่างๆที่เกิดขึ้นในห้องเรียน รวมถึงงานที่มอบหมายให้นักศึกษาทำทั้งในและนอกห้องเรียน จึงเป็นส่วนประกอบที่สำคัญพอๆกับเนื้อหาด้านวิชาการ ในการที่จะทำให้นักศึกษาสามารถเรียนรู้ได้จริง นอกจากนี้จะพยายามสื่อให้นักศึกษาได้เห็นถึงความสำคัญของตัวนักศึกษาเอง ว่าตัวนักศึกษานั้นเป็นผู้มีส่วนสำคัญมากต่อการเรียนรู้ของตัวเอง  นักศึกษาต้องเห็นความสำคัญในจุดนี้ก่อน จึงจะไม่คิดพึ่งอาจารย์ตลอดเวลา แต่จะสามารถช่วยเหลือตัวเองได้แม้เมื่อเรียนจบจากเราไปแล้ว ดังนั้นเวลาสอนจะดูที่นักศึกษาแต่ละคนเป็นหลัก ว่าแต่ละคนเข้าใจหรือปรับใช้สิ่งที่เขาเรียนได้แค่ไหน และจะปรับการเรียนการสอนไปตามนั้น นอกจากนี้จะพัฒนาเนื้อหาที่สอนตลอดเวลา เพราะความรู้นั้นไม่หยุดนิ่ง ดังนั้นจึงต้องทั้งเรียนและสอนไปพร้อมๆกัน

                อีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญมาก พอๆกับเนื้อหาด้านวิชาการคือเนื้อหาด้านสังคม ดังนั้นไม่ว่าจะสอนวิชาอะไร จะพยายามอย่างเต็มที่ในการสอดแทรกความคิดด้านสังคม การนึกถึงคนอื่น ไม่ว่าจะเป็นเพื่อนร่วมห้องหรือสังคมรอบๆตัว  สิ่งหนึ่งที่ยึดถือเหมือนกับครูทุกๆคนคือเราอยากจะสร้างนักศึกษาที่เป็นทั้งคนเก่งและคนดี ดังนั้นไม่ว่าจะสอนวิชาอะไรจะพยายามสอดแทรกความคิด ความรับผิดชอบตรงนี้ในส่วนต่างๆของวิชา เช่นในรูปแบบกิจกรรมหรืองานที่ให้นักศึกษาทำ เช่น ในการสอนวิชาสรวิชาภาษาอังกฤษ (English Phonology) เนื้อหาส่วนหนึ่งจะเกี่ยวข้องกับการพัฒนาทักษะการออกเสียงของนักศึกษา ดังนั้นหลังจากนักศึกษาได้เรียนรู้ภาคทฤษฎีและปฏิบัติจากในห้องเรียน จึงได้มอบหมายให้นักศึกษาไปจัดกิจกรรมเสริมทักษะด้านการออกเสียงให้กับนักเรียนชั้นประถมศึกษาจากโรงเรียนที่อยู่ในชุมชนรอบมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์  ซึ่งก่อนที่นักศึกษาจะสามารถออกไปสอนน้องๆให้ออกเสียงภาษาอังกฤษได้ถูกต้อง ตัวนักศึกษาเองต้องฝึกและพัฒนาตนเองก่อน ดังนั้นงานในลักษณะนี้จะเกิดประโยชน์ต่อทั้งตัวนักศึกษาและชุมชน ซี่งหากนักศึกษาได้ปฎิบัติงานในลักษณะนี้เรื่อยๆ ก็จะช่วยส่งเสริมสำนึกสาธารณะให้กับนักศึกษาซึ่งส่งผลดีทั้งในระยะสั้นและระยะยาวต่อสังคม

นอกจากนี้จะคิดอยู่เสมอว่าหน้าที่ของอาจารย์นั้นไม่ได้อยู่เพียงในห้องเรียน การที่เราได้มีโอกาสเรียนมามาก ก็ยิ่งต้องพยายามเผื่อแผ่ความรู้ความสามารถให้ออกไปให้มากที่สุด ปกติจะคิดอยู่เสมอว่าตัวเองจะนำความรู้ที่มี ไปใช้ให้เกิดประโยชน์กับใครได้บ้าง และก็จะไปให้ตรงนั้นในทุกครั้งที่มีโอกาส ดังนั้นการสอนและการบริการวิชาการทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัยจึงเป็นสิ่งที่พยายามทำไปพร้อมๆกัน สิ่งที่สำคัญที่สุดในการทำหน้าที่คือการเห็นหน้าที่ในแต่ละส่วนให้ชัด เพราะเมื่อเห็นหน้าที่ของตนชัดแล้วก็จะรู้ว่าต้องทำอะไรบ้าง และต้องพยายามทำไปให้ได้พร้อมๆกัน เพราะคนเรามีเวลาไม่มากนักในการที่จะทำอะไรสักอย่าง ดังนั้นถ้าทำอะไรได้ก็ต้องทำเลย 

                โดยสรุปแล้ว งานของอาจารย์นั้นมีมากกว่าแค่หน้าที่สอน สิ่งที่สำคัญที่ทำให้สามารถสนุกกับงานทุกชิ้นที่ได้รับมอบหมายคือการมองงานนั้นๆว่าเป็นความท้าทาย เป็นโจทย์ใหม่ๆที่น่าสนุกที่จะให้เข้าไปหาคำตอบ การคิดแบบนี้ทำให้ตนเองมีพลังในการที่จะสนุกไปกับงานแต่ละชิ้นที่จะต้องทำ  เวลาที่ต้องสอนมากๆ จะมีเวลาไปทำงานวิจัยน้อย วิธีแก้ของตนคือนำสิ่งที่อยากเรียนรู้ซึ่งส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับการเรียนการสอนภาษาอังกฤษมาเป็นการวิจัยในชั้นเรียน (Classroom-based Research) เพราะปกติต้องสอนมากอยู่แล้ว ดังนั้นตอนนี้จึงทำงานวิจัยในชั้นเรียนเป็นส่วนใหญ่ เพราะสามารถทำไปได้พร้อมๆกัน หัวข้อที่สนใจในตอนนี้จะเกี่ยวข้องกับการสอนในวิชาที่นักศึกษามีเป็นจำนวนมาก (Large Class Teaching) การบูรณาการวิชาการกับกิจกรรมนักศึกษา (Integration of Academics and Extracurricular Activities) การศึกษาเพื่อชุมชน (Community Service Education) และ การประยุกต์ใช้ความรู้ด้านสังคมศาสตร์ในการเรียนภาษาอังกฤษ (Application of Phonetic Knowledge in English Learning) เป็นต้น

                สุดท้ายอยากฝากทุกคนว่าให้เดินตามรอยพระบาทขององค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทั้งในด้านการทำงานและดำรงชีวิต  เมื่อเรานึกถึงพระองค์ฯและพยายามทำให้ได้ตามที่ท่านได้ทรงให้แนวทางไว้ ก็เชื่อแน่ว่าพวกเราจะเป็นอีกพลังเล็กๆที่จะช่วยให้ทั้งสังคมไทยและสังคมโลกมีแต่สิ่งที่ดีๆ
 
หลักการบริหารจัดการที่ดี
-หลักการสำนึกแห่งความรับผิดชอบ
-หลักการจัดการทรัพยากรมนุษย์
-หลักการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้
 
ปัจจัยสู่ความสำเร็จ
1.สร้างทัศนคติที่ดี
2.เปิดโลกสู่ชุมชน
3.การสร้างทัศนคติที่ดี
4.การบูรณาการระหว่างกิจกรรมและกรเรียนการสอน
 

</tbody></table></div> 

หมายเลขบันทึก: 100304เขียนเมื่อ 2 มิถุนายน 2007 17:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 มิถุนายน 2012 13:28 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ขอบพระคุณอาจารย์พัชรี อิ่มศรี (อาจารย์หลาน) มากที่ช่วยมาต่อเติมเรื่องเล่าให้สมบูรณ์ อ่านแล้วรู้สึกประทับใจในเรื่องเล่าของอาจารย์และคิดว่าเป็นประโยชน์มากคะ ดีใจแทนนักศึกษาและมหาวิทยาลัย
...ชอบมากคะกับแนวคิดของอาจารย์ที่ไม่ได้เป็นเพียงผู้มอบความรู้แต่ยังเป็นผู้คอยกระตุ้นให้นักศึกษาเกิดการเรียนรู้ ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
...ที่ประทับใจที่สุดคือ ความตั้งใจของอาจารย์ที่มุ่งสอดแทรกความคิดเพื่อให้นักศึกษาเป็นทั้งคนเก่งและคนดี
และขอบคุณที่อาจารย์แบ่งปันประสบการณ์และแนวคิดที่ดีที่สามารถนำไปปรับใช้ในการทำงานที่ตนเองรับผิดชอบได้คะ..ขอบคุณคะ
น้องเม วลัยลักษณ์

  • เยี่ยมเลยครับน้องเม
  • อาจารย์พัชรี อิ่มศรี (อาจารย์หลาน)
  • มาเขียนบันทึกท่าทางน่าสนุกนะครับ
  • ขอบคุณมากครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท