PCU Corner : สิ่งที่นำเสนอ สปสช. 2 ..... ผลกระทบที่น่าสนใจ จากการจัด ระบบบริการ ที่ PCU 6 ปีที่ผ่านมา


เมื่อเริ่มต้นจัด ระบบบริการ ที่ PCU มีประสบการณ์หนึ่ง  ที่ผมได้เคยพบมา ก็คือ ช่องว่าง   ระหว่าง  ร.พ.กับ                                        PCU      มีระยะห่างมากเหลือเกิน ( ดูซิเนี่ย    ขนาดพิมพ์ บันทึกมันยังห่างกันเลย )  เจ้าหน้าที่ PCU มาที่ ร.พ.ก็เหมือนคนแปลกหน้า  ร.พ.ก็มอง PCU เป็น เขา ( แปลว่า เป็นคนอื่น ) ไม่มีความรู้สึกว่าเป็นเรา  อีกทั้งประกอบกับ ( อึม ! ดูเป็นทางการดีจัง )  

 การทำงานที่ PCU ต้องการพี่เลี้ยงที่ดี เหมือน เด็กหัดขี่จักรยาน   ที่กำลังเรียนรู้ กำลังต้องการกำลังใจ  กำลังต้องการทิศทางที่ดี ถ้าขี่รถล้ม ก็ปัดก้นปลอบใจ ไม่เป็นไรเอาใหม่    ไม่ใช่พอล้ม ขี่ไม่ได้ก็ดุด่า

การจัดระบบริการที่ pcu ก็เลย จำเป็นต้อง เป็น แพทย์ ( ส่วนใหญ่เป็นผม ในช่วงนั้น )  เภสัชกร  พยาบาล จาก โรงพยาบาล และเจ้าหน้าที่ ที่ pcu ร่วมกัน จัดบริการ   ทั้ง 6 แห่ง ไม่ใช่เป็นการพลักภาระ การดูแลให้ pcu แล้วตามนิเทศน์    แพ้ก็แพ้ด้วยกัน  ชนะก็ชนะด้วยกัน    ผลที่ตามมาที่เกิดชัดเจน คือ ช่องว่างระหว่าง เจ้าหน้าที่ ร.พ. กับ เจ้าหน้าที่ PCU ลดลงมาก ( อึ่ม !  ตอนนี้เวลาพิมพ์ เริ่มใกล้กันมากแล้ว )   

 ผมเริ่มเข้าใจบริบทของเจ้าหน้าที่ PCU มากขึ้น  เจ้าหน้าที่ เองก็เริ่มเข้าใจว่าที่หมอมาทำเพราะอะไร  จะเกิดผลดีอย่างไร


 มีคำถามแรกจาก ผู้อำนวยการ     ถามว่า เมื่อจัดบริการที่ PCU ได้แล้ว สิ่งที่น่าจะเกิดขึ้น คือ  คนไข้ที่ ร.พ.น่าจะลดลง   เราจะได้มีเวลาให้กับคนไข้มากขึ้น เพราะ คนไข้เรา มากขึ้นทุกวัน   การทำงานในระดับ secondary care น่าจะชัดเจนขึ้น     ช่วงนั้น   ผมไม่แน่ใจเลยครับว่ามันจะเป็นได้อย่างนั้นไหม   ( อาจเป็นเพราะประสพการณ์เดิม  ที่เคยจัดแล้ว ก็ต้องยกเลิกไป  ดังที่เล่าแล้วในตอนที่ 1  Click ที่นี่ครับ 

เพียงแต่ คราวนี้ มีจุดมุ่งหมายในใจที่ชัดเจน แล้วก็เห็นโอกาส ที่เกิดขึ้น

 เมื่อเดือนก่อน  ก่อนที่จะต้องสรุปงาน ให้ สปสช.ฟัง  ในวันที่ 28 พ.ค. 50    ผมก็อยากจะรู้เหมือนกันว่า คำถามที่ ผู้อำนวยการ  ถามเมื่อ 6 ปีก่อน มันจะเป็นจริงไหม   เผอิญ มีความรู้เรื่องการประมวล database พอสมควร  ผมลองเอาข้อมูลดิบของ โรงพยาบาล ที่เก็บมาตั้งแต่ปี 2540 ใน program  HI  มาประมวลผล ดูจำนวน opd visit ที่ ร.พ. เที่ยบกับ  OPD visit  ของ PCU   ที่เก็บข้อมูลไว้ใน HCIS   มีข้อมูลที่น่าสนใจมากเลยครับ 

ช่วงนี้  เลยอยากจะนำเสนอ ผลกระทบ   ผลลัพธ์ ของงาน ที่เป็นตัวเลขสถิติบ้าง หลังจากเล่า แต่เรื่องที่ สัมผัสถึงคุณค่าได้มาหลายครั้งแล้ว  

  

รูปนี้  แสดงถึง จำนวน ผู้ป่วย เบาหวาน/ความดันโลหิตสูง ที่ ร.พ.วารินฯ ต่อวันให้บริการ  ปี 2541 ให้บริการสัปดาห์ละ 3 วัน  พอ ปี 2542  ก็ไม่ไหวครับ คนไข้เฉลี่ย วันละ  117 คน การดูแลผู้ป่วย เบาหวาน/ความดันโลหิตสูง ต้องให้เวลา พอสมควรกับแต่ละรายครับ   เลยแก้ปัญหาโดยการเพิ่มวันบริการเป็นทุกวัน เฉลี่ยก็ลดลงทันตาครับ เป็น 78 รายต่อวัน   พอเริ่มส่งคนไข้ไป  PCU 6 แห่ง  คนไข้ต่อวัน เป็น 57.7 รายต่อวันเลยครับ

   

รูปข้างบน ผมลองเอา  opd visit ของ ผู้ป่วย เบาหวาน/ความดันโลหิตสูง เฉพาะผู้ป่วย ในเขต ตำบลห้วยขะยุง พบว่าจำนวน การรับบริการที่คลินิก เบาหวาน/ความดันโลหิตสูง ในโรงพยาบาล ลดลงอย่างมาก ขณะที่ ผู้รับบริการที่ PCU ห้วยขะยุง มีเพิ่มขึ้นทุกปี ( เสียดายที่ มีข้อมูลของ pcu เพียง ปี 2546 – 2549 )  ลองดูข้อมูลของ pcu บัววัด ที่ดำเนินการเป็น 1 ใน 6 pcu เช่นกัน ก็พบลักษณะข้อมูลแบบเดียวกัน

เรื่องนี้ก็ไม่แปลกครับ เพราะเราส่งคนไข้ เบาหวาน/ความดันโลหิตสูง  ไปที่ pcu คนไข้ที่ ร.พ. ในเขตตำบลดังกล่าวก็ ต้องลดลงเป็น ธรรมดา แต่ข้อมูล นี้บอกอะไรบางอย่างกับเรา โดยเฉพาะกับผม เราพบว่า ถ้าเราจัดบริการได้ต่อเนื่อง ( ไม่ใช่โครงการ 6 เดือน 1 ปี หรือ 2 ปี )  ค่อย ๆ ต่อ ค่อย ๆ เติม ความยั่งยืน และ ความเข้มแข็งของระบบบริการ มีความเป็นไปได้สูง  pcu ที่ยกตัวอย่างทั้ง 2 แห่ง ก็คุ้นเคย และมี พื้นฐานการบริการ ที่เพียงพอกับการพัฒนาต่อยอด  ต่อไป จริง ๆ    


  

สิ่งที่ผมสงสัยต่อมา คือ        แล้ว ผู้ป่วยทั่วไปล่ะ การเพิ่มศักยภาพ จัดบริการที่ pcu  จะมีผลอะไรบ้างไหม ผมได้ กราฟ อย่างเนี้ยครับ

    เป็น

ข้อมูล เฉพาะ ประชากรเขต ตำบล ห้วยขะยุง ที่มารับบริการสุขภาพทั้งหมด แบบผู้ป่วยนอก ( opd visit ) ที่ ร.พ.วารินฯ เราพบว่าตั้งแต่ปี 2544 เป็นต้นมา  opd visit  ที่ ร.พ.วารินฯ  ไม่เพิ่มขึ้นอีกเลย ( โดยปกติ แนวโน้ม ทั่วไป น่าจะเพิ่มขึ้นทุกปี  )  ขณะที่ opd visit  ที่ pcu ห้วยขะยุง กลับ เพิ่มมากขึ้นทุกปี  ลองเอาข้อมูล ที่ pcu บัววัดมาดู ก็พบ ลักษณะคล้ายกัน ครับ 

     

ทำไปทำมา  ตอนนี้ก็เพิ่ม บริการสุขภาพหัวในและหลอดเลือดใน PCU ที่ลักษณะคล้าย ๆ กัน  เป็น  27 pcu  แล้ว  เมื่อตุลาคม 2549  

มาวันนี้มีข้อมูลหนึ่งที่ สนับสนุนว่า สมควรอย่างยิ่งที่ ควรพัฒนาระบบบริการเป็นรูปแบบเครือข่าย มากกว่าการทำงานแบบ รวมศูนย์ การดูแลทั้งหมดไว้ที่ ร.พ.  เหมือนที่เคยทำแต่ก่อนมา   ผมลองเอาข้อมูล การรับบริการเดือน เมษายน 2550   เฉพาะการบริการผู้ป่วยนอก  ในเวลาราชการ  มาดูรายวัน เป็นอย่างเนี้ยครับ 

ตอนประมวลผลออกมา  เห็นข้อมูลแล้ว น่าตกใจ ครับ  คนไข้ ที่มารับบริการที่ ร.พ. วาริน ฯ ในเวลาราชการ  ประเภทป่วยทั่วไป ปวดหัว ปวดท้อง ตัวร้อน เป็นไข้  วันที่ 2 เมย.50 จำนวน 292 ราย ขณะที่ คนไข้  เบาหวาน/ความดันโลหิตสูง ทั้งที่รับบริการที่ ร.พ. และ pcu   มี 224  ราย   แล้วก็เป็นลักษณะนี้ทุกวันบริการ     ลอง เทียบ เป็นแผนภูมิวงกลม  ของข้อมูลทั้งเดือน  ได้แบบเนี้ยครับ 

  

เกือบครึ่งต่อครึ่ง เลยครับ  เพิ่งรู้ว่า เผลอแป๊บเดียว คนไข้สุขภาพหัวใจและหลอดเลือด กำลังจะแซงหน้า คนที่ป่วยทั่วไป ในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า เป็นปัญหาใหญ่  ที่ ดูแล้วต้องจัดการโดยเร่งด่วนครับ คิดค่า เฉลี่ย  ตกวันละ 250 ราย เลยครับ     ลองเอา จำนวนการให้บริการที่ ร.พ. เทียบกับ pcu  ดูนะครับ

   

เอามาให้ดูตัวอย่าง  4 วัน นะครับ พบว่าทุกวันนี้ ที่ ร.พ.วารินฯ ให้บริการ วันละ 50 – 60 ราย  ขณะที่ ให้บริการที่ pcu วันละ 3 แห่ง รวม แล้ว  ประมาณ 170 – 190 ราย  คิดเป็น 75 % ทีเดียว ที่อยู่ที่ pcu 

 ผมนีกไม่ออกเลยว่า  ถ้าเมื่อ 6 ปีก่อน ที่ ร.พ.วารินชำราบ  ไม่ได้ปูพื้นฐาน  การบริการที่ pcu  เอาไว้  วันนี้ เราจะรับมือ คนไข้เบาหวาน ความดันโลหิตสูง วันละ 250 ราย ได้อย่างไรกัน  และเราจะไม่ได้มีโอกาสเห็นภาพแบบนี้เลย ครับ  

 

เรื่องทั้งหมดนี้  เป็นส่วนหนึ่งที่ผมก็นำมา present ให้ สปสช.ฟังในวันนั้น อย่างไรก็ดี ( ดูเป็นทางการอีกและ ) เรื่องนี้ก็ยังเป็นการจัดระบบบริการ ทำนอง extended OPD อยู่ดี ผมจึงต้องรอโอกาส ที่จะได้ทำงาน primary care อย่างที่อยากทำ แล้วก็ได้ทำสมใจ ในช่วงนี้นี่เอง

ตอนต่อไปผมจะเล่าถึง ว่า  การจัดบริการคลินิกสุขภาพหัวใจและหลอดเลือด ใน PCU ผลลัพธ์ของการควบคุม ระดับ FBS และ ความดันโลหิต   จะต่างจากการจัดบริการที่ ร.พ. หรือไม่ อย่างไร ?

  ( เป็นคำถาม ที่มีคนถามผม ไว้ แล้วผมก็มีหน้าที่  ต้องหาคำตอบมาตอบ  หลังจากที่ บันทึกนี้ เป็นการตอบคำถาม ของ ผู้อำนวยการ ที่เคยถามผม  ถึงผลกระทบเรื่อง opd visit  ไว้ เมื่อ 6 ปีก่อน ครับ )

หมายเลขบันทึก: 100157เขียนเมื่อ 1 มิถุนายน 2007 22:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:02 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)

 เยี่ยมยอดครับ คงต้องขออนุญาตอาจารย์นำรูปแบบการทำงาน/นำเสนองานไปปรับใช้กับงานของผมครับ

ผมคิดว่าผู้บริหาร(บางท่านมองเพียงว่าจะลดปริมาณ visit ในรพ. และไปตรวจรักษาใน PCU แต่บางครั้งท่านเหล่านั้นลืมมองไปว่าบางนโยบายเพิ่ม visit การบริการแบบ double เช่น การมีบัตรจ่ายตรง, การไม่มีการจ่ายค่าทำเนียม การคัดกรองเบาหวานความดัน

ผมไม่ได้คัดค้านนโยบายเหล่านี้เพราะช่วยลดอุปสรรคการเข้าถึงบริการแต่ก็อยากให้ผู้บริหารมองในแง่ความเป็นจริงว่าอัตรากำลังที่ให้ยังไม่เพียงพอ ความคาดหวังผู้บริหารควรวางอยู่บนพื้นฐานของทรัพยากรที่ท่านให้ด้วยครับ

มืดนะคะ สำหรับคนคิดอยากทำ งาน PCU โรค เรื้อรัง เนี่ย

ไม่เห็นโอกาส สำเร็จ ข้างหน้า

ชวนใครก็ อยากทำ ในตอนแรก

แต่ทำไปๆมาๆ ก็เริ่มถอย ภาระอื่นๆ ดึงไปหมด

รู้ว่าสิ่งที่อาจารย์ ทำ  ยากมาก น่าชื่นชมค่ะ

ว่าตอนนี้เริ่มแสดงให้คนอื่น ได้เห็นผลลัพธ์

เป็นกำลังใจให้ทีมเดินก้าวต่อ เล่าให้คนอื่นได้ฟังประสบการณ์ดีๆ

และมีกำลังใจที่จะชวนทีม ที่เชียงราย เดินตามค่ะ (ไม่ยอมเลิกชวน)

P
โรจน์
เมื่อ ส
ยินดีครับ ได้อะไรดี ๆ ก็มาเล่าให้ฟังด้วยนะครับ

ไม่มืดซะทีเดียวหรอกครับพี่ 

การที่เราจะต้อง อดทนรอ ทำอะไรสักอย่าง ต้องมองเห็นคุณค่าของมันให้ชัดเจน ทุกวันนี้ผมก็ทำงานที่ ร.พ.ครับ ทำงานไป ก็รู้อยู่แก่ใจว่ามันยังขาดอะไรบางอย่าง  ที่คนไข้ ญาติ น่าจะได้รับ แต่ผมทำให้ไม่ได้ดีนัก

และก็รู้ว่าหลายเรื่อง คำตอบอยู่ที่ PCU  ถ้ามีโอกาสก็ทำ ถ้ายังไม่มีจังหวะก็รอ ได้  ผมเป็นอย่างนี้มาหลายปีแล้วครับ แต่ไม่เคยถอย บางช่วงก็เดินเร็ว บางช่วงก็เดินได้ช้า มาก ๆ    แต่มีความหวังตลอดเวลา ความหวังไม่ได้อยู่ที่เราเป็นคนทำ แต่ความหวังที่จะมีระบบที่ดี และควรจะเป็น สำหรับ pcu

ถูกของพี่แล้วครับ เราต้องไม่ยอมเลิกชวน !  สู้ ๆ

  เห็นการทำงานของคุณหมอแล้วก็ต้องคิดให้มากขึ้นจริง ๆ ครับสำหรับการทำงานในพีซียูที่ผมทำงาน

        งานของที่นั้นก็น่าจะประสบความสำเร็จในเรื่องการบริหารจัดการดูแลผู้ป่วยที่ลดความแน่นลงไป  ผู้ป่วยมีเวลาได้พูดคุยทำความเข้าใจ สื่อสารกับหมอผู้รักษาได้มากขึ้น ( หรือเปล่าครับ )

          เรื่องช่องว่างระหว่างองค์กร ผมเห็นด้วยครับ แล้วก็น่าจะแก้ไขเรื่องนี้กันมานานแล้ว แต่บางที่ก็ใกล้ชิดกันนะครับ บางทีเรื่องนี้ก็ขึ้นอยู่กับคุณสมบัติส่วนตัวของผู้บริหาร  แต่เอาละตอนนี้ สปสช.มาทำหน้าที่เชื่อมให้แล้วโดยเงื่อนไขของการบริหารจัดการงบประมาณ  หลายแห่งก็เลยใกล้ชิดกันมากขึ้นเพราะต้องพูดคุยกันมากขึ้น   อย่างไรก็ตามการใกล้ชิดแบบการบริหารกับการใกล้ชิดแบบทีมงานเดียวกันจริงๆ นั้นมันมีรายละเอียดที่แยกไปอีกแน่นอนครับ  ปัจจัยร่วม เสริม ที่จะทำให้เป็นทีมงานเดียวกันได้นั้น มีมากมาย   แต่ที่มัญจาคีรีเองก็เริ่มเห็นความชัดเจนขึ้นบ้างแล้วเหมือนกันครับ

              ผมได้อ่านบันทึกที่คุณหมอสรุปผลลัพธ์ของการจัดบริการผู้ป่วยเรื้อรัง แล้ว  ก็แปลกใจ และน่าตกใจมากนะครับ  ทำไมในองค์ประกอบ ปัจจัย ที่ใกล้เคียงกัน ทำให้ผลลัพธ์ของการดูแลรักษาแตกต่างกันได้อย่างชัดเจน

            1. หรือว่าเป็นเพราะที่ พีซียู มีผู้เชี่ยวชาญด้านต่าง ๆ น้อยกว่า ( แค่เรื่องการดูแลผู้ป่วยเรื้อรัง ก็ไม่น่ามีข้อจำกัดด้านความรู้ หรือประสบการณ์นะครับ )

            2. หรือเพราะว่า คนไข้ที่ พีซียู นั้น มีภาวะแทรกซ้อนที่มากกว่าหรือไม่

            3. หรือเพราะว่า คนที่อยู่ในเขตเทศบาล มีความพร้อมมากกว่าที่จะดูแลตัวเอง ได้ดีกว่าเมื่อเจ็บป่วย

            4. ผมว่าต้องมีปัจจัยบางอย่างที่ส่งผลให้เกิดความแตกต่างเช่นนั้นแน่ครับ

             เป็นกำลังใจให้หมอฟันฝ่าเรื่องนี้ต่อไปครับ

        

P
mr. สุมิตรชัย คำเขาแดง
เมื่อ พ. 06 มิ.ย. 2550 @

ผมทำงานที่ pcu  เป็นส่วนของการบริการล้วน ๆ เลยครับ มีหัวหน้า CMU เป็น พยาบาล ส่วนผมเป็นแพทย์ประจำ

ที่คุณสุมิตรชัย บอกว่าใกล้ชิดแบบการบริการ หรือแบบการบริการเป็นทีม  ผมว่าถูกต้องแล้วครับ จริงๆ แล้ว สิ่งที่ต้องมีช่องว่างน้อยท่สุด ก็คือ การทำงานเป็นทีม ผมยุ่งเกี่ยวกับการบริหารน้อยมากครับ เรื่องเงิน ๆ ทอง ๆ  นี่ ไม่ค่อยได้ไปปวดหัวกับมัน  เพราะรักการบริการมากกว่า มาก ๆ  ความตั้งใจก็คือการ บริการที่เป็นระบบที่ดี ในงาน primary ที่ pcu  จะมีหมอ หรือไม่มี ก็น่าจะได้ทำงาน primary care สมกับชื่อ pcu  ก็เลยต้องหาโอกาสมาลงมือทำด้วยตัวเอง

ส่วนเรื่อง ผลลัพธ์ ของการดูแล ที่ต่างกัน รู้สึกว่าผมพอมีคำตอบนะครับ เพราะ ทุกวันนี้ก็ยังคลุกวงใน กับเรื่องนี้อยู่  อยู่กับมันมา 12 ปีแล้วครับ เพียงแต่ กำลัง รวบรวมอยู่ ว่าทำไมมันเป็นอย่างนั้น ถ้าพอมองออก ก็จะมาเล่าให้ฟังครับ ขอบคุณครับ

ขอบคุณคุณหมอจิ้น ไว้ล่วงหน้าครับ

         ผลลัพธ์เรื่องการดูแลผู้ป่วยก็สำคัญครับ  แต่ถึงแม้ไม่เป็นไปอย่างที่คาดหวังไว้ทั้งหมด ผมว่าก็ไม่ใช่สิ่งล้มเหลวนะครับ

          เพราะแค่กระบวนการจัดการทั้งหมดที่ผ่านมานั้น ก็คุ้มค่ามากมายแล้วครับ ไม่ว่าจะในด้านเศรษฐกิจที่คนไข้ ไม่เสียค่าใช้จ่ายเดินทาง ไม่เสียเวลาในการรอรับการรักษาลูกหลานมีเวลาไปทำมาหากินได้ต่อ  ด้านสังคม คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยต้องดีขึ้นแน่นอน สุขภาพจิตดี เกิดกิจกรรมพัฒนา การดูแลสุขภาพด้วยกลุ่มช่วยเหลือกัน ความรู้ของผู้ป่วยย่อมมีมากขึ้น

           ผลกระทบให้เกิดความสุข ความพึงพอใจ ทั้งผู้ให้และผู้รับบริการมีแน่นอนครับ

           ขอบคุณครับ ผมจะหาโอกาสมาเรียนรู้กับหมอบ่อย ๆ ครับ

P
mr. สุมิตรชัย คำเขาแดง
เมื่อ พฤ. 07 มิ.ย. 2550
ยินดีมากครับ อยากแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับ คนทำงาน PCU บ่อย ๆครับ

ขอชื่นชนนะครับ แต่อยากทราบว่าการที่ถ่ายโอนงานลงไปที่ สอ.หรือpcu นั้น มีแนวทางอย่างไรที่จะทำให้ คนโรงพยาบาลกับคนสอ สสอ ไม่บ่นวาเอางานมาเพื่ม ค่าตอบแทนต่างกัน แต่เป้าหมายสูงสุดคือประชาชนอยู่สุขสบาย

คุณปังปอนด์คับ ( ไม่หลวม )

ผมเสนอทุกครั้งว่า ยุทธศาสตร์ข้อที่ 0 คือ ลดช่องว่างระหว่าง ร.พ. กับ pcu ให้ได้ก่อน  ต่อมาต้องทำงานกับ pcu ครับ ไม่ใช่ส่งคนไข้ไปแล้ว ร.พ. รอผลงาน  ถ้าเราลงไปทำงานด้วย ( แค่การประชุมไม่พอ )

อะไรดี ๆ ก็จะตามมา สุดท้าย ต้องอดทนรอได้

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท