อนุทิน 30188


นาย สุรเชษฐ เวชชพิทักษ์
เขียนเมื่อ

การเรียนรู้ด้วยการลงมือทำ (Learning by Doing)

คำถามที่เกิดขึ้นข้อหนึ่งคือเมื่อแยกจาก "สหวิทยาการ" ออกเป็นสาขาเฉพาะ คือ สุขภาพชุมชน กับ วิทย์-เทคโนฯ เพื่อชุมชนแล้ว ควรจัดกระบวนการเรียนรู้อย่างไร?

คำตอบในความคิดผมคือยึดแนวทางหลักของ ม.ชีวิต ที่เคยบันทึกไปแล้วเมื่อวันพุธที่ ๓๑ ธ.ค.๕๑ ในหัวข้อ การเรียนโดยเอาชีวิตเป็นตัวตั้ง และที่อยากเพิ่มในบันทึกนี้คือ เน้นการจัดกระบวนการเรียนรู้ด้วยการลงมือทำ (ไม่เน้นการฟังบรรยายหรือท่องหนังสือเพื่อสอบ)

ความจริงการเรียนรู้ด้วยการลงมือทำนี้มีการพูดกันมากไม่เพียงแต่ในการศึกษาผู้ใหญ่ ผู้ที่ได้รับการอ้างอิงว่าพูดเรื่องนี้อย่างเป็นเรื่องเป็นราวก่อนเพื่อนคือ จอห์น ดิวอี้ เจ้าของวาทะ Learning by Doing

เราเชื่อว่า การเรียนโดยไม่ได้ลงมือทำ ไม่ทำให้ใครรู้อะไรจริง

นอกจากนี้ การเรียนโดยการลงมือทำจะนำไปสู่การสร้างความรู้ใหม่ (ต่างจากการฟังหรือท่องเพื่อจดจำความรู้เก่า) แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าความรู้ที่เกิดจากประสบการณ์การลงมือทำมาก่อนของคนอื่นจะไม่มีความสำคัญ ปัญหาก็คือเขาทำแล้วได้ผลในบริบทของเขา หากทำในบริบทของเราแล้วจะได้ผลหรือไม่อย่างไร หรือจะเกิดความรู้ใหม่ๆ ต่อยอดขึ้นมาอย่างไร จะรู้ได้ก็ต้องเมื่อได้ลงมือทำจริงในบริบทของเราเองเท่านั้น



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท