อนุทิน 26611


จตุพร วิศิษฏ์โชติอังกูร
เขียนเมื่อ

@26599 ขอบคุณครับพี่ศศินันท์  จริงๆถือว่า เป็น "ความลับอยู่ในหัวใจมนุษย์" ครับ

มิติการพัฒนาจิต ที่ผมเขียนนั้น  เน้น "จิตปัญญา" ครับ แต่เทียบทางพุทธแล้ว ตามที่พี่เขียนนั้นน่าสนใจมากครับ

เป็นมุมมองเชิงจิตวิทยาครับ   เราถอดบทเรียนจาก ผู้เข้าร่วมเวที เป็นเรื่องเล่าดีๆที่เป็น success story telling ครับ

เราใช้ การมองเชิงจิตวิทยา ตามระดับชั้นของการทำงานของจิตใจและจิตวิญญาณ ว่าจิตใจของคนเราทำงาน ๕ ระดับ ดังที่เรียกว่า Ego Function ครับ

ระดับแรก เรียกว่า Mental State  คือสภาวะจิตใจหรืออารมณ์ขณะใด ขณะหนึ่ง

ระดับที่สองเรียกว่า Mental Capacity คือความสามารถในการควบคุมจิตใจหรืออารมณ์ของตนเอง

ระดับที่สามเรียกว่า Mental Quality คือจิตใจที่มองเห็นประโยชน์ส่วนรวมก่อนประโยชน์ส่วนตน

ส่วนการทำงานของจิตใจในะดับสูงกว่านี้ น่าจะเป็นระดับของปัญญาหรือจิตวิญญาณ คือ ระดับที่สี่ เรียกว่า value หมายถึง จิตใจที่มองเห็นคุณค่าของความเป็นมนุษย์รวมทั้งคุณค่าของตนเอง

และระดับที่ห้า เรียกว่า Freedom หมายถึง เสรีภาพทางจิตวิญญาณ

มีการกรอบการทำงานของจิตใจนี้มาใช้กับการแพทย์ที่มีหัวใจของความเป็นมนุษย์ครับ  ตามที่ผมร่วมเป็นส่วนหนึ่งของแผนงานนี้ ในฐานะ Facilitator.

ไม่แน่ผมอาจลงไปภาคใต้เพื่อจัดเวทีอีกครั้ง...ในการสรุปเรื่องราวทั้งหมด ซึ่ง มสช.ก็เปิดช่องให้อยู่ครับ

เขียนไปเขียนมาออกแนว เลคเชอร์เป็นวิชาการไปบ้างนะครับ ระดับชั้นการพัฒนาจิตแบบนี้ นายแพทย์ประเวช ตันติพิวัฒนสกุล จากกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข เคยบรรยายไว้ครับ

ต้องขอบคุณที่พี่ กรุณาเทียบเคียง ทางธรรมะในพุทธศาสนาให้ดูด้วย ได้ความรู้ดีมากๆครับ ผมเองไม่ค่อยได้ศึกษาปริยัติทางพุทธศาสนามากครับ บางทีเห็นภาษาบาลี ก็พาล งงๆ มึนๆไม่ค่อยชอบอ่านครับ :)

 



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท