อนุทิน 16418


กวิน
เขียนเมื่อ

กาพย์ห่อโคลงนิราศธารทองแดง พระนิพนธ์ใน สมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนเสนาพิทักษ์ (เจ้าฟ้าธรรมธิเบศร์/เจ้าฟ้ากุ้ง) ได้กล่าวถึงนกเงือกไว้ความว่า

นกเงือกอยู่โพรงไม้            ผัวฟักไข่เมียผันผาย
เล่นชู้อยู่เสบยสบาย            ผัวหมายไว้ให้รังรวง

         นกเงือกอยู่ซอกไม้     เรียงราย
ผัวฟักเมียผันผาย                ด่วนได้
เล่นชู้อยู่เสบยสบาย             ลืมคู่
ผัวอดอาหารให้                  อยู่เฝ้ารวงรัง


ถาม : ซึ่ง เคยอ่านงานเขียนของ มล.ปริญญากร  วรวรรณ ว่านกเงือก(ที่ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าฮาลา-บาลา บริเวณทิวเขาสันกาลาคีรี แนวชายแดนไทย-มาเลเซีย อ.แว้ง จ.นราธิวาส) นี่ตัวเมียฟักไข่  แล้วตัวผู้ออกไปหาอาหารมาป้อน   ถ้าตัวผู้ตาย  ตัวเมียกับลูกก็ต้องอดอาหารตายด้วย  แล้วความจริงคืออะไรฮะ? ที่มา http://www.siamensis.org/board/6604.html

ตอบ :  อาจ อนุมานด้วย วิธีนิรนัย (deduction) และตั้ง สมมติฐาน (Hypothesis) ได้ดังนี้

 1. เจ้าฟ้ากุ้งไม่มีความรู้เรื่อง ปักษีวิทยา (Ornithology) จึงทำให้กล่าวถึงนกเงือก (hornbill)  ไว้อย่างคลาดเคลื่อนจากข้อเท็จจริงในปัจจุบัน
 2. เจ้าฟ้ากุ้ง มีความรู้เรื่อง ปักษีวิทยา กล่าวไว้อย่างถูกต้อง แต่ทว่า นกเงือกสมัยอยุธยา จวบจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ ได้พัฒนาตนว่าด้วยเรื่อง ศีลธรรม จนกลายเป็นสัตว์ที่รักเดียวใจเดียวในที่สุด
3. นกเงือกในสมัยอยุธยา ตัวผู้อาจจะฝักไข่แล้วให้ตัวเมียออกไปหาอาหาร ต่อมาในสมัยรัตนโกสินทร์ นกเงือกตัวผู้สำนึกได้ จึงออกไปหาอาหารเอง และให้ตัวเมียฟักไข่ในรัง เป็นที่น่าศึกษาวิจัยต่อไปว่า ในสมัยปัจจุบัน นกเงือกตัวผู้และตัวเมียมีแนวโน้มออกไปหาอาหารทั้งคู่โดยคาบไข่ไปฝากฟักที่ nursery  หรือไม่ เรื่องมันก็มีอยู่เท่านี้นะนา 



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท