อนุทิน 134207


สรวิชญ์
เขียนเมื่อ

              การศึกษาเปรียบเทียบเกณฑ์ตัดสินความดีในปรัชญาของเพลโตกับพุทธปรัชญาเถรวาท

             A  Comparative Study of the Ethical Judgment Criterion of  Goodness  

                   in Plato’s Philosophy and Theravada Buddhist Philosophy

                                                                    บทคัดย่อ

     ในการศึกษาวิจัยพบว่า การศึกษาเปรียบเทียบเกณฑ์ตัดสินความดีในปรัชญาของเพลโตกับพุทธปรัชญาเถรวาท  มีความเหมือนกันและความแตกต่างกันของปรัชญาทั้งสอง

     เกณฑ์ตัดสินความดีในปรัชญาของเพลโต  พิจารณาโดยหลักสำคัญของจริยธรรมที่วางอยู่บนพื้นฐานของ “สัจภาพของมนุษย์” ทั้งใน “มิติปัจเจกภาพ” และ “มิติความเป็นสมาชิกของมนุษยชาติ” ตามหลักสิทธิ  เสรีภาพ  ภราดรภาพ  ความเสมอภาค  ความยุติธรรม  อย่างเท่าเทียมกันในฐานะเป็นมนุษย์ด้วยเหตุผลและสติปัญญาที่สำคัญ คือ คุณธรรมของเพลโตที่มีความกลมกลืนกัน ๔ ประเภท คือ ๑) คุณธรรมทางปัญญา ๒) คุณธรรมทางความกล้าหาญ ๓) คุณธรรมทางความรู้จักประมาณ ๔) คุณธรรมทางความยุติธรรม คุณธรรมทั้ง ๔ ของเพลโตถือว่า เป็นคุณธรรมที่จะปกครองทางสังคมและปัจเจกชนที่แสวงหาความยุติธรรมทางคุณธรรม ทางสังคมที่ทำให้จิตใจขัดเกลาด้วยความเมตตากรุณา เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ และอยู่ร่วมกันโดยสันติมีกฎเกณฑ์ และมีกติกาในสังคม

     ส่วนเกณฑ์ตัดสินความดีของพุทธปรัชญาเถรวาท มีหลักการดำเนินชีวิตในสังคมที่มีจุดมุ่งหมายสูงสุด ที่เป็นอุดมคติของชีวิตในเกณฑ์ตัดสินว่า “การกระทำใดดีหรือไม่ดี ควรหรือไม่ควร” เพื่อให้บุคคลมีชีวิตที่ดีช่วยเหลือเกื้อกูลกันในสังคมได้เป็นอย่างดี ในการดำเนินชีวิตที่ดีพุทธปรัชญาเถรวาทจึงจัดระบบของเกณฑ์ตัดสินความดีไว้ ๓ ระดับ คือ ๑) ระดับศีล ๕ ๒) ระดับกุศลกรรมบถ  ๑๐ และ ๓)  ระดับมรรค ๘   

     เกณฑ์ตัดสินความดีของเพลโตกับพุทธปรัชญาเถรวาทจึงเน้นในการพิจารณาความถูกต้องของการกระทำที่มีเหตุผลและปัญญา  นอกจากนี้อารมณ์หรือความรู้สึกทางกาย ทางใจ และทางอุดมคติแบ่งได้ ๓ ระดับ คือ ๑) ระดับศีลธรรม ๒) ระดับคุณธรรม          ๓) ระดับจริยธรรม  ดังนั้นเกณฑ์ตัดสินความดีของปรัชญาทั้งสองมีลักษณะที่คล้ายคลึงกัน พอจะสรุปได้ ๕ ประการ คือ ๑) เรื่องเจตนาและเหตุผลเป็นเป็นองค์ประกอบหลักเกณฑ์ตัดสินความดี ๒) เรื่องกฎแห่งเสรีภาพของเพลโตกับพุทธปรัชญาเถรวาท           ๓) เรื่องคุณธรรมของเพลโตกับพุทธปรัชญาเถรวาท ๔) เรื่องเกณฑ์ตัดสินความดีกับแรงจูงใจของเพลโตกับพุทธปรัชญาเถรวาท  ๕) เรื่องความเป็นสากลและคุณค่าของมนุษย์ของเพลโตกับพุทธปรัชญาเถรวาท  อย่างไรก็ตาม  ยังมีความแตกต่างกันในเรื่องของเจตนาและเหตุผลหรือปัญญา ในการตัดสินการกระทำของมนุษย์ว่า อะไรดี ชั่ว ถูก ผิด  ตามทัศนะของปรัชญาทั้งสอง 

                                                                    ABSTRACT

    In this research, it is found that the criteria of the ethical judgment in both Plato’s Philosophy and Theravada Buddhist Philosophy constitute both similarity and differences.

     Plato’s ethical judgments criteria are based on human beings’ reality covering both dimensions of “individualism” and “collectivism” according to the moral virtues of human rights, independence, fraternity, equitability, and fairness which belongs to a human being who is possessed of reason and intellect. Plato’s virtues are divided into four types of harmony:- 1) wisdom, 2) bravery,       3) moderation, and 4) justice. These 4 virtues are considered as merits for individual and social governance that is in search of virtuous justness, socialization, mercifulness, generosity, and peacefulness under the social regulations and rules.

    On the other hand, the criterion of judging the goodness in Theravada Buddhist Philosophy is of the principle in carrying out the livelihood in the societies with the ultimate life goal. It is an idealism based on the personal act which can be judged as good, bad and neutral to enable the people to be helpful to one another very well in virtuous livelihood. The Theravada Buddhist Philosophy, thus, sets up the system of the criterion of judging the goodness at 3 levels namely: - 1. The level of five precepts, 2. The level of the 10 paths of meritorious action and, 3. The level of the eightfold path.

     The criteria of ethical judgments in both Plato’s Philosophy and Theravada Buddhist Philosophy focused on the reasonable and intellectual acts including sensuous feelings which constitute three different levels:- 1) precepts, 2) morality and 3) ethics. Thus, the criteria of judging the goodness in these two philosophies are similar and can be summarized into the following five viewpoints; 1) The viewpoint of the volition and the reason which are the basic constitutions of criterion of judging the virtues, 2) The rules of freedom based on Plato’s Philosophy and Theravada Buddhist Philosophy, 3) The morality based on Plato’s Philosophy and Theravada Buddhist Philosophy, 4) The virtuous criterion and motivation based on Plato’s Philosophy and Theravada Buddhist Philosophy, and lastly 5) The viewpoint on universality and human values based on Plato’s Philosophy and Theravada Buddhist Philosophy. However, according to both philosophies, there are differences in the intention and wisdom in convicting what beings’ act is good or bad, righteous or evil.

๑.  บทนำ

     มนุษย์เป็นสัตว์สังคมที่ต้องอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม เป็นสังคม เพราะมนุษย์ไม่อาจจะอยู่โดดเดี่ยวได้ มนุษย์จะต้องมีการพบปะพูดคุยกัน และต้องทำกิจกรรมร่วมกัน จะต้องพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน (สมพร สุทัศนีย์, ๒๕๔๘, หน้า ๑) เมื่อมนุษย์มาอยู่รวมกันในสังคมเป็นจำนวนมาก และไม่รู้จักควบคุมตนเองได้และเห็นแก่ตัว มุ่งแต่ประโยชน์ของตนโดยไม่ใส่ใจความเดือดร้อนของผู้อื่น เพราะฉะนั้นปัญหาที่สำคัญที่พยายามจะแก้ไขปัญหา อันมีรากฐานมาจากจริยธรรมภายในของมนุษย์ว่า อย่างไหนถูกหรือผิด ควรหรือไม่ควร (สมภาร พรมทา, ๒๕๔๘,หน้า ๔๗๘–๔๘๐) ดังนั้นทางจริยศาสตร์พยายามหาคำตอบ และแก้ไขปัญหาเหล่านี้ คือ ๑) ปัญหาเรื่องความมีอยู่ของคุณค่าของความดี  นักปรัชญาพยายามตอบว่า ความดีคืออะไร๒) ปัญหาเรื่องเกณฑ์ตัดสินความดี ๓) ปัญหาเรื่องอุดมคติของชีวิต ในการดำเนินชีวิตแบบใดดีที่สุด (พระธรรมโกศาจารย์ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต), ๒๕๕๐, หน้า ๑๘)

     เพลโต (Plato) นักปรัชญากรีกโบราณ แนวความคิดของท่านมีอิทธิพลต่อนักปรัชญาตะวันตก (เบจามิน โจเวตต์, ๒๕๔๓,หน้า ๒) เพลโตถือว่า ความดีถูกผูกมัดกับทฤษฏีที่เป็นธรรมชาติของมนุษย์ในจักรวาล  ความดีจึงจุดหมายอยู่ในตัวเอง  เราทำความดีเพื่อความดี  มิใช่เพื่อจุดประสงค์อย่างอื่น  ความชั่วก็เช่นเดียวกัน  เราทำความชั่ว อย่อมได้รับผลชั่ว เพลโตถือว่า โลกแห่งประสาทสัมผัสเป็นของไม่จิรังยั่งยืน  เปลี่ยนแปลงได้  นี้แหละคือความดี  มนุษย์สามารถรู้จักโลกที่แท้จริงได้ด้วยเหตุผล  เพราะว่าเหตุผลเป็นความดีอันสูงสุดของมนุษย์ (ชัยวัฒน์ อัตพัฒน์, ๒๕๕๐,หน้า ๙๓)นอกจากนี้เพลโตยังอธิบายถึงความดีของบุคคล ๓ ลักษณะ คือ ๑)  ถ้าหากบุคคลมีศิลปะแห่งเหตุผลเป็นผู้มีความดี หมายถึง ผู้มีปัญญา  ๒) ถ้าหากบุคคลได้มีกำลังใจในการตัดสินใจบุคคลนั้นเป็นผู้มีความดี หมายถึง ผู้มีความกล้าหาญ และ  ๓) ถ้าบุคคลใดสามารถควบคุมความต้องการของตนได้ บุคคลนั้นจะตั้งมั่นอยู่ในเกณฑ์ตัดสินความดี ความหมายของเพลโต หมายถึง ผู้มีความยุติธรรมในสังคม (บุญทัน ดอกไธสง, ๒๕๒๓, หน้า ๘๓–๘๔)  เพลโตเห็นว่า ความยุติธรรม ก็คือ ความดี ไม่ใช่เป็นความดีเพื่อสังคมอย่างเดียวเท่านั้น  จะต้องเป็นความดีสำหรับปัจเจกชนที่นำมาปฏิบัติตามหลักของจริยศาสตร์ โดยแบ่งออกเป็น ๒ ประเภท (ไพฑูรย์ พัฒน์ใหญ่ยิ่ง, ๒๕๕๑, หน้า ๙๓–๙๔)ได้แก่ ๑) คุณธรรมของปัจเจกชน ๒) คุณธรรมของรัฐ ส่วนพุทธปรัชญาเถรวาททำหน้าที่สนองความต้องการด้านจิตใจแก่มนุษย์ เพราะศาสนาเป็นจุดศูนย์รวมของระบบศีลธรรมที่มุ่งสอนคนให้เป็นคนดี  และสอนวิธีปฏิบัติให้พ้นจากความทุกข์  นอกจากนี้ ศาสนาที่มุ่งสอนไม่ให้มนุษย์เบียดเบียนซึ่งกันและกัน อันเป็นหัวใจของพุทธจริยศาสตร์ ดังที่ปรากฏในพุทธสุภาษิตที่ว่า “การไม่ทำบาปทั้งปวง การบำเพ็ญกุศลให้ถึงพร้อม การชำระจิตของตนให้ผ่องแผ้ว” (ขุ.ธ. (ไทย) ๒๕/๒๔/๓๓) พุทธสุภาษิตนี้สอนให้คนทำความดีที่เรารู้จักกันดีว่า “ทำดีได้ดีทำชั่วได้ชั่ว” แต่พุทธสุภาษิตเหล่านี้ ไม่ใช่หลักเกณฑ์การตัดสินคุณค่าทางจริยธรรม ดังนั้นเกณฑ์ตัดสินความดีของพุทธปรัชญาเถรวาทถือว่า มนุษย์เป็นสัตว์ที่มีปัญญาและเหตุผล ซึ่งสามารถรู้ผิดชอบชั่วดี  แต่คุณธรรมไม่ได้เกิดขึ้นตามธรรมชาติ แต่เกิดจากการฝึกฝนอบรมบ่มเพาะจากการที่ได้ดำรงชีวิตอยู่ในสังคมให้เป็นคนดีมีคุณธรรม ในการดำเนินชีวิตที่ดี  ในการใช้เหตุผลและปัญญาแสวงหาความจริง ความดี และความงาม (ไพฑูรย์ พัฒน์ใหญ่ยิ่ง, ๒๕๕๑ ,หน้า ๓๒) เพราะว่าพุทธปรัชญาเถรวาทถือว่า ความดีสูงสุดหรืออุดมคติทางพุทธจริยศาสตร์นั้น หมายถึง เอกภาพแห่งความสุข ความสมบูรณ์ ความรู้แจ้ง และเสรีภาพ สิ่งเหล่านี้  รวมกันเป็นหนึ่งซึ่งถือว่า ความดีสูงสุด ก็คือ สิ่งที่รวมไว้ซึ่งความสุข ความสมบูรณ์ทางศีลธรรม ความรู้แจ้ง และความเป็นอิสระอย่างสมบูรณ์ นี้เป็นเป้าหมายของชีวิต (สุเชาวน์  พลอยชุม, ๒๕๓๗, หน้า ๑๒)

 

๒.  วัตถุประสงค์ของการวิจัย

     ๑.   เพื่อศึกษาเกณฑ์ตัดสินความดีในปรัชญาของเพลโต

     ๒.  เพื่อศึกษาเกณฑ์ตัดสินความดีในพุทธปรัชญาเถรวาท

     ๓. เพื่อศึกษาเปรียบเทียบเกณฑ์ตัดสินความดีในปรัชญาของเพลโตกับพุทธปรัชญาเถรวาท

๓.  วิธีดำเนินการวิจัย

        ๑.  ศึกษาและรวบรวมข้อมูลในส่วนที่ว่าเกณฑ์ตัดสินความดี จากคัมภีร์พระไตรปิฎกอรรถกถา เอกสาร และงานวิจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาหรือประเด็นที่ต้องการทราบ 

        ๒.  ศึกษาและรวบรวมข้อมูลจากตำรา เอกสาร และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องที่เกี่ยวข้องกับงานเขียนทางปรัชญาของเพลโตและพุทธปรัชญาเถรวาท  และรวบรวมแนวคิดจากการวิเคราะห



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท