อนุทินล่าสุด


สรวิชญ์
เขียนเมื่อ

              การศึกษาเปรียบเทียบเกณฑ์ตัดสินความดีในปรัชญาของเพลโตกับพุทธปรัชญาเถรวาท

             A  Comparative Study of the Ethical Judgment Criterion of  Goodness  

                   in Plato’s Philosophy and Theravada Buddhist Philosophy

                                                                    บทคัดย่อ

     ในการศึกษาวิจัยพบว่า การศึกษาเปรียบเทียบเกณฑ์ตัดสินความดีในปรัชญาของเพลโตกับพุทธปรัชญาเถรวาท  มีความเหมือนกันและความแตกต่างกันของปรัชญาทั้งสอง

     เกณฑ์ตัดสินความดีในปรัชญาของเพลโต  พิจารณาโดยหลักสำคัญของจริยธรรมที่วางอยู่บนพื้นฐานของ “สัจภาพของมนุษย์” ทั้งใน “มิติปัจเจกภาพ” และ “มิติความเป็นสมาชิกของมนุษยชาติ” ตามหลักสิทธิ  เสรีภาพ  ภราดรภาพ  ความเสมอภาค  ความยุติธรรม  อย่างเท่าเทียมกันในฐานะเป็นมนุษย์ด้วยเหตุผลและสติปัญญาที่สำคัญ คือ คุณธรรมของเพลโตที่มีความกลมกลืนกัน ๔ ประเภท คือ ๑) คุณธรรมทางปัญญา ๒) คุณธรรมทางความกล้าหาญ ๓) คุณธรรมทางความรู้จักประมาณ ๔) คุณธรรมทางความยุติธรรม คุณธรรมทั้ง ๔ ของเพลโตถือว่า เป็นคุณธรรมที่จะปกครองทางสังคมและปัจเจกชนที่แสวงหาความยุติธรรมทางคุณธรรม ทางสังคมที่ทำให้จิตใจขัดเกลาด้วยความเมตตากรุณา เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ และอยู่ร่วมกันโดยสันติมีกฎเกณฑ์ และมีกติกาในสังคม

     ส่วนเกณฑ์ตัดสินความดีของพุทธปรัชญาเถรวาท มีหลักการดำเนินชีวิตในสังคมที่มีจุดมุ่งหมายสูงสุด ที่เป็นอุดมคติของชีวิตในเกณฑ์ตัดสินว่า “การกระทำใดดีหรือไม่ดี ควรหรือไม่ควร” เพื่อให้บุคคลมีชีวิตที่ดีช่วยเหลือเกื้อกูลกันในสังคมได้เป็นอย่างดี ในการดำเนินชีวิตที่ดีพุทธปรัชญาเถรวาทจึงจัดระบบของเกณฑ์ตัดสินความดีไว้ ๓ ระดับ คือ ๑) ระดับศีล ๕ ๒) ระดับกุศลกรรมบถ  ๑๐ และ ๓)  ระดับมรรค ๘   

     เกณฑ์ตัดสินความดีของเพลโตกับพุทธปรัชญาเถรวาทจึงเน้นในการพิจารณาความถูกต้องของการกระทำที่มีเหตุผลและปัญญา  นอกจากนี้อารมณ์หรือความรู้สึกทางกาย ทางใจ และทางอุดมคติแบ่งได้ ๓ ระดับ คือ ๑) ระดับศีลธรรม ๒) ระดับคุณธรรม          ๓) ระดับจริยธรรม  ดังนั้นเกณฑ์ตัดสินความดีของปรัชญาทั้งสองมีลักษณะที่คล้ายคลึงกัน พอจะสรุปได้ ๕ ประการ คือ ๑) เรื่องเจตนาและเหตุผลเป็นเป็นองค์ประกอบหลักเกณฑ์ตัดสินความดี ๒) เรื่องกฎแห่งเสรีภาพของเพลโตกับพุทธปรัชญาเถรวาท           ๓) เรื่องคุณธรรมของเพลโตกับพุทธปรัชญาเถรวาท ๔) เรื่องเกณฑ์ตัดสินความดีกับแรงจูงใจของเพลโตกับพุทธปรัชญาเถรวาท  ๕) เรื่องความเป็นสากลและคุณค่าของมนุษย์ของเพลโตกับพุทธปรัชญาเถรวาท  อย่างไรก็ตาม  ยังมีความแตกต่างกันในเรื่องของเจตนาและเหตุผลหรือปัญญา ในการตัดสินการกระทำของมนุษย์ว่า อะไรดี ชั่ว ถูก ผิด  ตามทัศนะของปรัชญาทั้งสอง 

                                                                    ABSTRACT

    In this research, it is found that the criteria of the ethical judgment in both Plato’s Philosophy and Theravada Buddhist Philosophy constitute both similarity and differences.

     Plato’s ethical judgments criteria are based on human beings’ reality covering both dimensions of “individualism” and “collectivism” according to the moral virtues of human rights, independence, fraternity, equitability, and fairness which belongs to a human being who is possessed of reason and intellect. Plato’s virtues are divided into four types of harmony:- 1) wisdom, 2) bravery,       3) moderation, and 4) justice. These 4 virtues are considered as merits for individual and social governance that is in search of virtuous justness, socialization, mercifulness, generosity, and peacefulness under the social regulations and rules.

    On the other hand, the criterion of judging the goodness in Theravada Buddhist Philosophy is of the principle in carrying out the livelihood in the societies with the ultimate life goal. It is an idealism based on the personal act which can be judged as good, bad and neutral to enable the people to be helpful to one another very well in virtuous livelihood. The Theravada Buddhist Philosophy, thus, sets up the system of the criterion of judging the goodness at 3 levels namely: - 1. The level of five precepts, 2. The level of the 10 paths of meritorious action and, 3. The level of the eightfold path.

     The criteria of ethical judgments in both Plato’s Philosophy and Theravada Buddhist Philosophy focused on the reasonable and intellectual acts including sensuous feelings which constitute three different levels:- 1) precepts, 2) morality and 3) ethics. Thus, the criteria of judging the goodness in these two philosophies are similar and can be summarized into the following five viewpoints; 1) The viewpoint of the volition and the reason which are the basic constitutions of criterion of judging the virtues, 2) The rules of freedom based on Plato’s Philosophy and Theravada Buddhist Philosophy, 3) The morality based on Plato’s Philosophy and Theravada Buddhist Philosophy, 4) The virtuous criterion and motivation based on Plato’s Philosophy and Theravada Buddhist Philosophy, and lastly 5) The viewpoint on universality and human values based on Plato’s Philosophy and Theravada Buddhist Philosophy. However, according to both philosophies, there are differences in the intention and wisdom in convicting what beings’ act is good or bad, righteous or evil.

๑.  บทนำ

     มนุษย์เป็นสัตว์สังคมที่ต้องอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม เป็นสังคม เพราะมนุษย์ไม่อาจจะอยู่โดดเดี่ยวได้ มนุษย์จะต้องมีการพบปะพูดคุยกัน และต้องทำกิจกรรมร่วมกัน จะต้องพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน (สมพร สุทัศนีย์, ๒๕๔๘, หน้า ๑) เมื่อมนุษย์มาอยู่รวมกันในสังคมเป็นจำนวนมาก และไม่รู้จักควบคุมตนเองได้และเห็นแก่ตัว มุ่งแต่ประโยชน์ของตนโดยไม่ใส่ใจความเดือดร้อนของผู้อื่น เพราะฉะนั้นปัญหาที่สำคัญที่พยายามจะแก้ไขปัญหา อันมีรากฐานมาจากจริยธรรมภายในของมนุษย์ว่า อย่างไหนถูกหรือผิด ควรหรือไม่ควร (สมภาร พรมทา, ๒๕๔๘,หน้า ๔๗๘–๔๘๐) ดังนั้นทางจริยศาสตร์พยายามหาคำตอบ และแก้ไขปัญหาเหล่านี้ คือ ๑) ปัญหาเรื่องความมีอยู่ของคุณค่าของความดี  นักปรัชญาพยายามตอบว่า ความดีคืออะไร๒) ปัญหาเรื่องเกณฑ์ตัดสินความดี ๓) ปัญหาเรื่องอุดมคติของชีวิต ในการดำเนินชีวิตแบบใดดีที่สุด (พระธรรมโกศาจารย์ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต), ๒๕๕๐, หน้า ๑๘)

     เพลโต (Plato) นักปรัชญากรีกโบราณ แนวความคิดของท่านมีอิทธิพลต่อนักปรัชญาตะวันตก (เบจามิน โจเวตต์, ๒๕๔๓,หน้า ๒) เพลโตถือว่า ความดีถูกผูกมัดกับทฤษฏีที่เป็นธรรมชาติของมนุษย์ในจักรวาล  ความดีจึงจุดหมายอยู่ในตัวเอง  เราทำความดีเพื่อความดี  มิใช่เพื่อจุดประสงค์อย่างอื่น  ความชั่วก็เช่นเดียวกัน  เราทำความชั่ว อย่อมได้รับผลชั่ว เพลโตถือว่า โลกแห่งประสาทสัมผัสเป็นของไม่จิรังยั่งยืน  เปลี่ยนแปลงได้  นี้แหละคือความดี  มนุษย์สามารถรู้จักโลกที่แท้จริงได้ด้วยเหตุผล  เพราะว่าเหตุผลเป็นความดีอันสูงสุดของมนุษย์ (ชัยวัฒน์ อัตพัฒน์, ๒๕๕๐,หน้า ๙๓)นอกจากนี้เพลโตยังอธิบายถึงความดีของบุคคล ๓ ลักษณะ คือ ๑)  ถ้าหากบุคคลมีศิลปะแห่งเหตุผลเป็นผู้มีความดี หมายถึง ผู้มีปัญญา  ๒) ถ้าหากบุคคลได้มีกำลังใจในการตัดสินใจบุคคลนั้นเป็นผู้มีความดี หมายถึง ผู้มีความกล้าหาญ และ  ๓) ถ้าบุคคลใดสามารถควบคุมความต้องการของตนได้ บุคคลนั้นจะตั้งมั่นอยู่ในเกณฑ์ตัดสินความดี ความหมายของเพลโต หมายถึง ผู้มีความยุติธรรมในสังคม (บุญทัน ดอกไธสง, ๒๕๒๓, หน้า ๘๓–๘๔)  เพลโตเห็นว่า ความยุติธรรม ก็คือ ความดี ไม่ใช่เป็นความดีเพื่อสังคมอย่างเดียวเท่านั้น  จะต้องเป็นความดีสำหรับปัจเจกชนที่นำมาปฏิบัติตามหลักของจริยศาสตร์ โดยแบ่งออกเป็น ๒ ประเภท (ไพฑูรย์ พัฒน์ใหญ่ยิ่ง, ๒๕๕๑, หน้า ๙๓–๙๔)ได้แก่ ๑) คุณธรรมของปัจเจกชน ๒) คุณธรรมของรัฐ ส่วนพุทธปรัชญาเถรวาททำหน้าที่สนองความต้องการด้านจิตใจแก่มนุษย์ เพราะศาสนาเป็นจุดศูนย์รวมของระบบศีลธรรมที่มุ่งสอนคนให้เป็นคนดี  และสอนวิธีปฏิบัติให้พ้นจากความทุกข์  นอกจากนี้ ศาสนาที่มุ่งสอนไม่ให้มนุษย์เบียดเบียนซึ่งกันและกัน อันเป็นหัวใจของพุทธจริยศาสตร์ ดังที่ปรากฏในพุทธสุภาษิตที่ว่า “การไม่ทำบาปทั้งปวง การบำเพ็ญกุศลให้ถึงพร้อม การชำระจิตของตนให้ผ่องแผ้ว” (ขุ.ธ. (ไทย) ๒๕/๒๔/๓๓) พุทธสุภาษิตนี้สอนให้คนทำความดีที่เรารู้จักกันดีว่า “ทำดีได้ดีทำชั่วได้ชั่ว” แต่พุทธสุภาษิตเหล่านี้ ไม่ใช่หลักเกณฑ์การตัดสินคุณค่าทางจริยธรรม ดังนั้นเกณฑ์ตัดสินความดีของพุทธปรัชญาเถรวาทถือว่า มนุษย์เป็นสัตว์ที่มีปัญญาและเหตุผล ซึ่งสามารถรู้ผิดชอบชั่วดี  แต่คุณธรรมไม่ได้เกิดขึ้นตามธรรมชาติ แต่เกิดจากการฝึกฝนอบรมบ่มเพาะจากการที่ได้ดำรงชีวิตอยู่ในสังคมให้เป็นคนดีมีคุณธรรม ในการดำเนินชีวิตที่ดี  ในการใช้เหตุผลและปัญญาแสวงหาความจริง ความดี และความงาม (ไพฑูรย์ พัฒน์ใหญ่ยิ่ง, ๒๕๕๑ ,หน้า ๓๒) เพราะว่าพุทธปรัชญาเถรวาทถือว่า ความดีสูงสุดหรืออุดมคติทางพุทธจริยศาสตร์นั้น หมายถึง เอกภาพแห่งความสุข ความสมบูรณ์ ความรู้แจ้ง และเสรีภาพ สิ่งเหล่านี้  รวมกันเป็นหนึ่งซึ่งถือว่า ความดีสูงสุด ก็คือ สิ่งที่รวมไว้ซึ่งความสุข ความสมบูรณ์ทางศีลธรรม ความรู้แจ้ง และความเป็นอิสระอย่างสมบูรณ์ นี้เป็นเป้าหมายของชีวิต (สุเชาวน์  พลอยชุม, ๒๕๓๗, หน้า ๑๒)

 

๒.  วัตถุประสงค์ของการวิจัย

     ๑.   เพื่อศึกษาเกณฑ์ตัดสินความดีในปรัชญาของเพลโต

     ๒.  เพื่อศึกษาเกณฑ์ตัดสินความดีในพุทธปรัชญาเถรวาท

     ๓. เพื่อศึกษาเปรียบเทียบเกณฑ์ตัดสินความดีในปรัชญาของเพลโตกับพุทธปรัชญาเถรวาท

๓.  วิธีดำเนินการวิจัย

        ๑.  ศึกษาและรวบรวมข้อมูลในส่วนที่ว่าเกณฑ์ตัดสินความดี จากคัมภีร์พระไตรปิฎกอรรถกถา เอกสาร และงานวิจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาหรือประเด็นที่ต้องการทราบ 

        ๒.  ศึกษาและรวบรวมข้อมูลจากตำรา เอกสาร และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องที่เกี่ยวข้องกับงานเขียนทางปรัชญาของเพลโตและพุทธปรัชญาเถรวาท  และรวบรวมแนวคิดจากการวิเคราะห



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
สรวิชญ์
เขียนเมื่อ

ศึกษาวิเคราะห์การใช้เหตุผลการบัญญัติ

พระวินัยของพระพุทธเจ้าในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท

 

๑.  เกริ่นนำ

 

หลักธรรมคำสอนของพระพุทธศาสนาประกอบด้วยหลัก ๒ ประการหลักที่เป็นคำสอนเพื่อให้ปฏิบัติตามสมควรแก่ผู้ปฏิบัติเรียกว่าธรรมะ   และส่วนที่เป็นคำสั่งห้ามปฏิบัติ  เป็นข้อห้ามเรียกว่าวินัย   หลักที่พระพุทธเจ้าทรงค้นพบและนำมาประกาศและสั่งสอนจึงหมายถึงธรรมวินัยนั่นเอง ดังที่พระองค์ตรัสไว้ก่อนที่จะปรินิพพานว่า  ธรรมและวินัยที่พระองค์แสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่สงฆ์ทั้งปวงนั้นแหละ  จักเป็นศาสดาเมื่อพระองค์ปรินิพพานแล้ว[1] เพราะว่า พระวินัยเป็นหลักปฏิบัติที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสังคม และสะท้อนถึงเจตนารมณ์ของพระพุทธศาสนาในด้านความสัมพันธ์ทางสังคมและความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ด้วยกัน เพราะศีลเป็นระบบการควบคุมชีวิตด้านนอกที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กับการแสดงออกทางกายและวาจา คำว่า “ศีล” มี ๒ ระดับ ได้แก่ (๑) ระดับทั่วไป ได้แก่ ระดับยังเป็นธรรม เป็นข้อแนะนำสั่งสอนหรือหลักความประพฤติทีแสดงไว้และบัญญัติไว้ตามกฎธรรมดาแห่งความดีความชั่ว ผู้ที่รักษาศีลหรือล่วงละเมิดศีลย่อมจะได้รับผลดีหรือชั่วเองตามธรรมดาของเหตุปัจจัย                         (๒) ระดับเฉพาะ เป็นระดับวินัย ซึ่งเป็นแบบแผนข้อบังคับที่บัญญัติไว้เป็นเหมือนประมวลกฎหมายสำหรับกำกับความประพฤติของสมาชิกในชุมชนหนึ่ง   โดยมีความสอดคล้องกับความมุ่งหมายของหมู่คณะหรือชุมชนนั้นโดยเฉพาะ ผู้ละเมิดบทบัญญัติที่เรียกว่าวินัยจะมีความผิดตามอาญาของหมู่คณะ เมื่อคณะสงฆ์มีจำนวนมากขึ้นการปกครองเกิดความยากลำบากเพราะการดูแลไม่ทั่วถึง พระพุทธเจ้าทรงเล็งเห็นภัยอันตรายที่จะเกิดขึ้นกับหมู่สงฆ์จึงได้บัญญัติข้อห้ามเรียกว่าวินัย  ซึ่งเป็นที่ควบคู่ไปกับธรรมะที่เป็นคำสอน ส่วนวินัยจึงเป็นคำสั่งห้ามกระทำและคำสั่งที่ให้กระทำเพื่อหมู่คณะในพระพุทธศาสนาเรียกว่าบริษัทมี ๔ กลุ่มคือ อุบาสก อุบาสิกา ภิกษุ ภิกษุณี การบัญญัติวินัยจึงมีความหนักเบาแตกต่างกันออกไป และข้อปฏิบัติมีความยากง่ายในการปฏิบัติไม่เท่ากัน มีเหตุเกิด การบัญญัติ หรือสถานการณ์ที่ไม่เหมือนกัน

ดังนั้น คำว่า “วินัย” หมายถึง (๑) มีวินัยต่างๆ คือ ประกอบด้วยปาฏิโมกขุทเทศ ๕ ประการ มีหมวดอาบัติ ๗ อย่าง (๒) มีนัยพิเศษหมายถึงประกอบด้วยปฐมบัญญัติและอนุบัญญัติ และ(๓) เป็นการฝึกกายวาจา  เพราะเป็นเครื่องห้ามพฤติกรรมทางกายและวาจา ดังข้อความที่ปรากฏในอรรถกถาว่า บัณฑิตผู้รู้อรรถแห่งพระวินัยทั้งหลายกล่าวว่าวินัย เพราะมีนัยต่างๆเพราะมีนัยพิเศษ และเพราะฝึกกายและวาจาอย่างนี้[2] เพราะว่า พระวินัยมีหลายหลาย มีความเป็นพิเศษ และเป็นเครื่องใช้สำหรับฝึกกายและวาจาให้อยู่ในสภาพที่เหมาะแก่การดำเนินชีวิต พระวินัยจึงเป็นกฎเบื้องต้นสำหรับผู้ที่เข้าสู่ความเป็นภิกษุโดยการอุปสมบท  เป็นเหมือนกฎหมาย เป็นข้อห้ามไม่ให้ปฏิบัติ  บ้านเมืองมีกฎหมายเป็นข้อห้ามสำหรับให้ประชาชนตั้งอยู่ในความสงบเรียบร้อย เพื่อความสะดวกในการปกครอง ทำนองเดียวกันศาสนาก็มีวินัยเป็นข้อห้ามเพื่อความสงบเรียบร้อยของหมู่คณะเช่นกัน และจุดประสงค์ที่นอกเหนือไปจากการเป็นข้อห้ามตามปกติแล้ว  ยังใช้เป็นเครื่องฝึกกายและวาจาอีกด้วย  ส่วนธรรมใช้เป็นเครื่องฝึกจิต

 

๒. การให้เหตุผลของพระพุทธเจ้าในการบัญญัติพระวินัย

 

พระพุทธเจ้าได้ประกาศศาสนธรรมมาเป็นเวลานานหลายปี  แต่ก็ยังไม่ได้บัญญัติวินัยแก่หมู่สงฆ์ ในเบื้องแรกสิ่งที่พระองค์ประกาศเรียกว่า  พรหมจรรย์ดังที่พระองค์ได้ตรัสแก่พระอรหันต์  ๖๐ รูปก่อนจะส่งไปประศาสนาว่า  “ภิกษุทั้งหลายพวกเธอจะเที่ยวไปประกาศพรหมจรรย์ เพื่อความสุขของมหาชนหมู่มาก”[3] เมื่อพระสารีบุตรได้ทูลถามเหตุปัจจัยแห่งการดำรงอยู่ของศาสนาในอดีต  จึงได้กราบทูลให้พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติพระวินัยและแสดงปาฏิโมกข์แก่สาวก  แต่พระพุทธเจ้ายังไม่ทรงแสดงพระพุทธเจ้าทรงเหตุผลว่า “พระศาสนายังไม่บัญญัติสิกขาบท  ยังไม่แสดงปาติโมกข์แก่สาวก  ตลอดเวลาที่ธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งอาสวะบาเหล่ายังไม่ปรากฏในสงฆ์ในศาสนานี้   ต่อเมื่อใดอาสวัฏฐานิยมธรรมบางเหล่าปรากฏในสงฆ์ในศาสนานี้   เมื่อนั้นพระศาสดาจึงจะบัญญัติสิกขาบทแสดงปาติโมกข์แก่สาวก  เพื่อกำจัดอาสวัฏฐนิยมธรรมเหล่านั้น”[4]

ดังนั้น อาบัติแบ่งเป็น  ๗  หมวด คือ ปาราชิก สังฆาทิเสส ถุลลัจจัย ปาจิตตีย์ ปาฏิเทสนียะ ทุกกฎ และทุพภภาษิต  เหตุที่ทำให้ภิกษุต้องอาบัติมี ๖ ประการ คือ ไม่ละอาย ไม่รู้ว่าสิ่งนี้เป็นอาบัติ สงสัยแล้วขืนทำลง  สำคัญว่าควรในสิ่งที่ไม่ควร สำคัญว่าไม่ควรในสิ่งที่ควรลืมสติ  ดังนั้น วิธีการที่ทำให้พ้นโทษจากอาบัติมีความแตกต่างกัน คือ อาบัติหนักขาดจากความเป็นภิกษุและภิกษุณี อาบัติอย่างกลางต้องอยู่ปริวาสกรรม อาบัติอย่างเบาแสดงสารภาพความผิดต่อหน้าสงฆ์หรือภิกษุหรือภิกษุณีใดรูปหนึ่ง

                พระวินัยเป็นคำสอนเพื่อฝึกกายและวาจาเป็นคำสั่งที่ควรปฏิบัติ ภิกษุมี ๒๗๗ ข้อ ภิกษุณี ๓๑๑ ข้อ สามเณรมี ๑๐ ข้อ อุบาสกอุบาสิกาผู้รักษาอุโบสถมี ๘ ข้อ ส่วนอุบาสกอุบาสิกาทั่วไปมี ๕ ข้อ การบัญญัติวินัยเป็นกฎที



ความเห็น (1)

เอาไปเขียนในบันทึกนะครับอาจารย์

น่าสนใจมากๆ

เข้าระบบ

กดที่เขียน

เลือกเขียนบันทึกครับ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
สรวิชญ์
เขียนเมื่อ

ศึกษาวิเคราะห์การใช้เหตุผล

ตามหลักธรรมของพระพุทธเจ้าในคัมภีร์พระอภิธรรมปิฎก

 

๑. บทนำ

 

                พระอภิธรรมปิฎกเป็นเนื้อหาส่วนหนึ่งของพระพุทธศาสนา แม้ว่าหลายคนจะสงสัยว่าพระพุทธเจ้าได้แสดงอภิธรรมไว้จริงๆ  หรือว่านักปราชญ์รุ่นหลังแต่งขึ้น ปัญหานี้ปล่อยให้เป็นหน้าที่ของนักประวัติศาสตร์ได้ศึกษาข้อมูลพยานหลักฐานแล้วนำมาชี้แจงเอง ในส่วนของงานวิจัยครั้งนี้ไม่เกี่ยวกับเรื่องราวทางประวัติศาสตร์แต่สนใจศึกษาในส่วนที่มีอยู่แล้ว เนื้อหาของอภิธรรมเป็นหลักธรรมล้วน ๆ  ไม่เกี่ยวข้องกับบุคคล  เกตุการณ์  และเรื่องราวต่าง ๆ จึงเป็นหลักธรรมที่ค่อยข้างจะเข้าใจยากต้องใช้เวลาในการศึกษาค้นคว้าเป็นเวลานานจึงจะพอเห็นแนวทางบ้าง

                อย่างไรก็ตาม มีผู้เปรียบเทียบพระไตรปิฏกไว้อย่างน่าสนใจว่า  ถ้าคน ๆ หนึ่งเดินทางโดยรถยนต์   วินัยปิฏกเปรียบเหมือนกับการกล่าวถึงจรรยา   มารยาทของบุคคลเหล่านั้นสุตตันตปิฏก   เปรีบเทียบหารกล่าวถึงเหตุการณ์ บุคคลตลอดจนข้อเตือนใจที่ได้พบปะระหว่างทาง  ส่วนอภิธรรมปิฏก   เลิกพูดถึงเรื่องบุคคล แต่กลับพูดถึงเครื่องยนต์กลไกในรถยนต์ หรือส่วนประกอบต่างๆ ในร่างกายจิตใจของคน  เป็นวิชาการล้วน ๆ ซึ่งไม่มีนิทานหรือเรื่องสนุกอื่น ๆ ประกอบ โดยทั่วไปจึงรู้สึกกันว่าอภิธรรมปิฏกเข้าใจยาก  แต่ถ้าสนใจศึกษาพิจารณาหรือทำความเข้าใจตามโดยไม่กลัวความยากลำบากเกินไป  ก็จะเกิดความเพลิดเพลินในธรรมในหลักวิชาการ ตามที่สังเกตมาผู้ศึกษาอภิธรรม   มักจะติดใจเพลิดเพลินในความยาก  แต่มีเหตุผลหลายแง่มุม[1]

                ความยากและลึกซึ้งของอภิธรรมเป็นที่รู้กันทั่วไปในการศึกษาพระพุทธศาสนา  ถ้าไม่ใช้ความเพียรพยายามจริง ๆ  และวุฒิภาวะทางจิตใจเพียงพอก็จะทำให้เบื่อหน่ายศึกษาเอมดื้อ ๆ  แต่ถ้าศึกษาอย่างเอาจริงแล้วจะทำให้มองเห็นความสุขุมลึกซึ้งคัมภีร์ภาพของสภาวธรรมธรรม ซึ่งทำให้เข้าใจว่าอยู่ในวิสัยของพระพุทธเจ้ามีแต่พุทธวิสัยเท่านั้น จึงจะอธิบายได้ละเอียดอย่างนี้ดังข้อความยืนยันว่า “อภิธรรมนี้ เป็นวิสัยแห่งพระสัมพัญญพุธเจ้าโดยเฉพาะไม่ใช่วิสัยที่ผู้อื่นจะแสดงได้[2]

                อภิธรรม ถ้าแปลว่า ธรรมอันยิ่งหรือธรรมอันลึกซึ้ง ก็มีปรากฏอยู่ในพระสุตตันตปิฏกอยู่แล้ว  เพราะพระสูตรในส่วนที่ไม่พูดถึงบุคคล เหตุการณ์หรือสถานที่ แต่กล่าวถึงเนื้อหาของหลักธรรมล้วนๆ  อภิธรรม พระอภิธรรมก็เป็นธรรมที่พระพุทธเจ้าได้แสดงไว้แล้ว ดังที่ปรากฏในพระสูตรเรื่องหนึ่งว่า “ตถาคตแสดงธรรมแก่พวกเธอด้วยความรู้ยิ่งคือสติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อินทรีย์  ๕ โพชฌค์  ๗ อริยมรรคมีองค์ ๘ พวกเธอจงเป็นผู้พร้องเพียงกัน  ยินดีต่อกัน  ไม่วิวาทกัน   ศึกษาในธรรมเหล่านั้น   เมื่อก็เป็นธรรมที่ยากจะทำความเข้าใจเหมือนกัน   ถ้าหลักธรรมส่วนไหนที่ทำความเข้าใจยาก  ธรรมเหล่านั้นคือ พวกเธอพร้อมเพรียงกัน ยินดีต่อกัน ไม่วิวาทกัน ศึกษาอยู่ จะพึงมีภิกษุผู้กล่าวต่างกันในธรรมะดับสูงเป็นสองรูป[3]

พระดำรัสที่พระพุทธเจ้าแสดงแก่ภิกษุในสูตรนี้เน้นถึงความเห็นแตกแยกในอภิธรรมธรรม   ที่มีความเห็นต่างกันโดยอรรถโดยพยัญชนะ  ก็อย่าทะเลาะวิวาทกันพึงเข้าไปหาผู้ว่าง่ายแล้วสนทนากันหาข้อผิดพลาดจนได้ข้อที่ถูกต้องตามธรรมวินัย  แสดงให้เห็นว่าความขัดแย้งกันในอนาคต  คำว่า “อภิธรรมหรือธรรมอันยิ่ง” พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีใช้คำว่า “อภิ ธมฺโม” ดังนั้น คำว่าอภิธรรมจึงมีปรากฏอยู่ในพระสูตร  แต่ปรากฏในฐานะที่จะเป็นที่ตั้งแห่งความเห็นแตกแยกในอนาคต พระพุทธเจ้าจึงได้แสดงแนวทางแห่งการทำความปรองดองกันไว้ล้วงหน้า

 

๒.  ความเป็นมาและความหมายของคำว่า  “อภิธรรม” 

 

คำว่า  “อภิธรรม”  เป็นปิฏกหนึ่งของพระพุทธศาสนา  เพราะคำสอนของพระพุทธเจ้าอันเป็นที่มาแห่งพระพุทธศาสนาเรียกว่าพระไตรปิฏก พระสุตตันตปิฏกและพระอภิธรรมปิฏก  ความหมายของพระอภิธรรมนั้นพระอรรถกถาจารย์ได้ให้ความหมายไว้ว่า “ด้วยเหตุที่ธรรมทั้งหลายมีความเจริญ ที่มีความกำหนดหมาย  ที่บุคคลบูชาแล้ว  ที่บัณฑิตกำหนดตัด  และที่ละเอียดยิ่ง ซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ในอภิธรรมนี้ ฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่าอภิธรรม”

นอกจากนี้ บัณฑิต ยังกล่าวไว้ว่า  พระอภิธรรม  เพราะเหตุที่พระอภิธรรมน้ำพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถึงธรรมที่ควรเจริญ ธรรมที่ควรกำหนดธรรมที่ควรบูชา  ธรรมกำหนดไว้  และธรรมที่ละเอียด ตามที่ท่านได้ให้ความไว้นี้ชี้ให้เห็นว่าอภิธรรมที่ควรกำหนด  เป็นส่วนที่ว่าด้วยทุกข์   เพราะทุกข์เป็นสภาพที่ควรกำหนดรู้  (ปริญเญยธรรม)

เป็นธรรมที่ควรกำหนดตัด  ซึ่งหมายถึงธรรมที่ควรละ  จัดเข้าในธรรมหมวดสมุทัยเพราะสมุทัยเป็นธรรทที่บัญฑิตควรละ (ปหานธรรม)

เป็นธรรมอันยิ่ง  ซึ่งมีความหมายถึงธรรมที่ควรทำให้แจ้ง  เป็นธรรมหมวดนิโรธที่ควรทำให้แจ้ง  (สัจฉิกาตัพพธรรม) 

เป็นธรรมที่ควรเจริญ ซึ่งเป็นจัดเข้าได้ในส่วนที่เรียกว่ามรรคเพราะมรรคเป็นธรรมที่ควรเจริญ  (ภาเวตัพพธรรม)

                เมื่อจัดประเภทตามความหมายแล้ว  ก็สามารถเข้าได้กับหลักการเดิมของพระพุทธศาสนาที่พระพุทธองค์ทรงแสดงไว้แล้วในธัมมจักกัปปวัตนสูตร[4]  เป็นอภิธรรมปิฏกประมวลหลักธรรมและคำอธิบายในรูปหลักวิชาล้วน ๆ  ไม่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลแบ่งเป็น ๗ คัมภีร์ คือ[5]

๑) ธัมมสังคณี ว่าด้วยการรวมกลุ่มธรรมะ คือ จัดระเบียบธรรมะต่างๆ ที่กระจายกันอยู่มากมายไว้ในหัวข้อสั้น ๆ เปรียบเทียบด้วยการนำเครื่องประกอบต่าง ๆ ของนาฬิกามาคุยกันเข้าเป็นนาฬิกาทั้งเรือน

๒) วิภังค์ ว่าด้วยการแยกกลุ่ม คือ การกระจายออกไปจากกลุ่มใหญ่เพื่อให้เห็นรายละเอียดเช่น ขันธ์ ๕  มีอะไรบ้าง  แต่ละข้อนั้นแยกออกไปอย่างไรได้อีก  เทียบด้วยการถอดส่วนประกอบของนาฬิกาออกมาจากที่อยู่เดิม

๓) ธาตุกถา ว่าด้วยธาตุ คือ สิ่งที่เป็นต้นเดิมในทางธรรม ซึ่งแตกต่างไปจากธาตุทางวิทยาศาสตร์  เพราะทางธรรมมุ่งคติสอนใจ จึงมีความหมายตามคติทางธรรม

๔) ปาคคลบัญญัติ ว่าด้วยการบัญญัติบุคคล โดยกล่าวถึงคุณธรรมสูงต่ำของบุคคลเช่นคำว่า  “สมยวิมุตโต”  หมายถึงผู้พ้นเป็นบางคราว ๆ คือ บางคราวก็ละกิเลสได้ บางคราวก็ละไม่ได้  “อสมยวิมุตโต”  หมายถึงผู้พ้นตลอดไปไม่ขึ้นอยู่กับคราวสมัยได้แก่ผู้ละกิเลสได้เด็ดขาดเป็นต้น

๕) กถาวัตถุ ว่าด้วยเรื่องของถ้อยคำการตั้งคำถามคำตอบ เพื่อชี้ให้เห็นหลักธรรมที่ถูกต้องทางพระพุทธศาสนาเถรวาท

๖) ยมก ว่าด้วยธรรมะที่เป็นคู่ คือ การจัดธรรมะเป็นคู่ ๆ โดยอาศัยหลักการต่าง ๆ

๗) ปัฏฐาน ว่าด้วยที่ตั้ง คือ ปัจจัย  ๒๔ แสดงว่าอะไรเป็นปัจจัยของอะไรในทางธรรม

 

๓. ความสัมพันธ์ระหว่างการใช้เหตุผลในพระอภิธรรมด้วยเหตุปัจจัย

 

พระอภิธรรมได้จำแนกเหตุและสิ่งที่เกิดจากเหตุเรียกว่าปัจจัย สภาวะที่เป็นเหตุปัจจัยในคัมภีร์ปฏฐานมีถึง ๒๔ ประการ ได้แก่ เหตุปัจจัย อารัมมณปัจจัย อธิปติปัจจัย ปนันตรปัจจัย  สมนันตรปัจจัย สหชาตปัจจัย อัญญมัญยปัจจัย นิสสยปัจจัย อุปนิสสปัจจัย ปุเรชาตปัจจัย ปัจฉาชาตปัจจัย อาเสวนปัจจัย กัมมปัจจัย วิปากปัจจัย อิทริยปัจจัย ฌานปัจจัย สัมปยุตตปัจจัย วิปปยุตตปัจจัย  อัตถิปัจจัย นัตถิปัจจัย วิคตปัจจัย อวิคตปัจจัย[6] อธิบายดังต่อไปนี้

๔.๑) เหตุปัจจัย คือ เหตุที่เป็นปัจจัยแห่งธรรมที่ประกอบกับเหตุและแห่งรูปที่มีธรรมประกอบกับเหตุนั้นเป็นสมุฏฐาน โดยฐานะเป็นเหตุปัจจัยคือเป็นเครื่องสนับสนุนที่เป็นเหตุ ถ้าจะเปรียบเทียบเหตุเหมือนรากไม้  ต้นไม้จะมีผลเจริญงอกงามก็เพราะได้อาศัยรากดูดน้ำและโอชะอื่น ๆ หล่อเลี้ยง

๔.๒)  อารัมมณปัจจัย  เป็นปัจจัยแห่งวิญญาณธาตุคือความรู้แจ้งอารมณ์ทางตา หู เป็นต้นเป็นเครื่องสนับสนุนที่เป็นอารมณ์  คือสิ่งที่จิตเจตสิกยึดถือเหมือนยึดเกาะท่อนไม้

๔.๓) อธิปติปัจจัย ได้แก่ สภาวะที่เป็นใหญ่เป็นปัจจัยที่ประกอบกับสภาวะธรรมแต่ละข้อเป็นเครื่องสนับสนุนที่เป็นใหญ่

๔.๔)  อนันตรปัจจัย คือ จักษุวิญาณธาตุและสภาวะอันสัมปยุคด้วยจักขุวิญญานธาตุนั้นเป็นปัจจัยแต่มโนธาตุและธรรมสัมปยุตด้วยโนธาตุนั้นโดยอนันตรปัจจัย เป็นเครื่องสนับสนุนที่มี่ระหว่างคั่น เช่น ธรรมที่เป็นกุศลก่อนๆ ย่อมเป็นปัจจัยแห่งธรรมที่เป็นกุศลหลัง ๆ โดยฐานะเป็นปัจจัยคือเป็นเครื่องสนับสนุนที่ไม่มีระหว่างคั่น

๔.๕)  สมนันตรปัจจัย  คือ จักขุวิญญาณธาตุและสภาวะที่สัมปยุคด้วยจักขุวิญญาณธาตุนั้นเป็นปัจจัยแก่มโนธาตุและธรรมสัปยุคด้วยมโนธาตุนั้นโดยสมันตรปัจจัยเป็นเครื่องสนับสนุนอย่างกระชั้นชิด

๔.๖)  สหชาตปัจจัย  คือ นามธรรม ๔ เป็นปัจจัยแก่กันและกันคือเป็นเครื่องสนับสนุนที่เกิดขึ้นพร้อมกันเช่นในขณะที่ปฏิสนธิจิตก้าวลงสู่ครรภ์มารดา นามและรูปเป็นปัจจัยของกันและกันเป็นเครื่องสนับสนุนพี่เกิดขึ้นพร้อมกันโดยสหชาตปัจจัย

๔.๗)  อรัญญมัญญปัจจัย  คือ นามขันธ์  ๔  เป็นปัจจัยกันโดยอัญญมัญญปัจจัย  เป็นเครื่องสนับสนุนที่อิงอาศัยกันและกันเช่นในขณะที่ขณะแห่งปฏิสนธิจิตก้าวลงสู่ครรภ์มารดา   นามและรูปเป็นปัจจัยของกันและกันเป็นเครื่องสนับสนุนที่อิงอาศัยกันและกัน

๔.๘)  นิสสยปัจจัย  คือ นามขันธฺ  ๔   เป็นปัจจัยกันโดยนิสสปัจจัย   เป็นเครื่องสนันสนุนเป็นที่อาศัยเช่นในขณะที่ปฏิสนธิจิตก้าวลงสู่ครรภ์มารดา   นามและรูปเป็นปัจจัยของกันและกันเป็นเครื่องสนับสนุนที่อาศัยกัน

๔.๙)  อุปนิสสยปัจจัย  คือ กุศลธรรม อกุศลธรรม อัพยากตธรรมที่เกิดก่อนเป็นปัจจัยแก่ธรรมที่เกิดทีหลังโดยอุปนิสสยปัจจัยคือเป็นเครื่องสนับสนุนที่เป็นที่อาศัยโดยสืบต่อกันมา

๔.๑๐)  ปุเรชาตปัจจัย  คือ จักขายตนะเป็นต้น  เป็นปัจจัยแต่จักขุวิญญาณธาตุเป็นต้น และธรรมอันสัมปยุตด้วยจักขุวิญญาณเป็นต้น คือ เป็นเครื่องอาศัยที่เกิดก่อน

๔.๑๑)  ปัจฉาชาตปัจจัย  คือ จิตและเจตสิกธรรมที่เกิดภายหลัง เป็นปัจจัยแก่กายนี้ที่เกิดก่อนโดยฐานะเป็นปัจฉาชาตปัจจัย คือ เป็นเครื่องสนับสนุนที่เกิดภายหลัง

๔.๑๒)  อาเสวนปัจจัย  คือ กุศลธรรม อกุศธรรม อัพยากตธรรมที่เกิดก่อน เป็นปัจจัยแก่ธรรทที่เกิดทีหลังโดยอาเสวนปัจจัยเป็นเครื่องสนับสนุนโดยการสร้อยเสพ

๔.๑๓)  กัมมปัจจัย  คือ กุศลกรรมและอกุศลกรรมเป็นปัจจัยแก่วิบากขันธ์และกตัตตากรรมคือเป็นเครื่องสนับสนุนที่เป็นกรรมเช่นกุศลกรรมและอกุศลกรรม  ย่อมเป็นปัจจัยแห่งธรรมที่ประกอบด้วยเจตนาและรูปที่มีธรรมอันประกอบด้วยเจตนานั้นเป็นสมุฏฐานโดยกัมมปัจจัย



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
สรวิชญ์
เขียนเมื่อ

ศึกษาวิเคราะห์มโนทัศน์เรื่องโพธิจิตในพุทธปรัชญามหายาน

AN ANALYTICAL STUDY ON THE CONCEPT OF BODHICITTA IN MAHAYANA BUDDHIST PHILOSOPHY

บทคัดย่อ

                         พระพุทธศาสนามหายานมีกระแสแนวคิดที่แตกต่างออกไปจากพระพุทธศาสนาดั้งเดิมแบบเถรวาท นักปราชญ์ฝ่ายมหายานมักจะมองและวิเคราะห์ทุกประเด็นที่พระพุทธเจ้าหรือพระสาวก รุ่นแรกเคยสอนเคยปฏิบัติ และเคยรวบรวมสังคายนาไว้ การมองโลกแบบมองต่างมุม ควรนำมาเป็นแบบอย่างในการดำเนินชีวิต ชาวมหายานเรียกวิธีนี้ว่า หนึ่งน้ำ สี่มุมมอง (one water, four ways of seeing) [2]  คือเห็นของสิ่งหนึ่ง แต่มองกันในสี่ลักษณะ เช่นเห็นแม่น้ำสายหนึ่งทอดยาวอยู่ข้างหน้า มนุษย์มองเห็นเป็นน้ำ เปรตมองเห็นเป็นน้ำหนองและเลือด ปลามองเห็นเป็นที่อยู่อาศัย  เทวดามองเห็นเป็นที่เต็มไปด้วยอัญมณีหลากชนิด

                         พุทธศาสนาฝ่ายมหายานได้รับความสนใจเป็นอย่างมากในปัจจุบัน นับว่ามีบทบาทสำคัญในโลก โดยเฉพาะทางซีกตะวันตกที่มีความตื่นตัวไปทางพุทธธรรม ซึ่งได้รับแรงดลใจจากทางมหายาน และจุดเด่นของมหายานก็อยู่ที่การมีอิสระจากกรอบวัฒนธรรมเดิมและพร้อมที่จะปรับตัวให้เข้ากับสิ่งใหม่ ๆ ที่ท้าทายอยู่เบื้องหน้าซึ่งนับเป็นลักษณะที่ตะวันตกเรียกว่า “กลุ่มหัวก้าวหน้า (Progressive)”  ในการสืบทอดจากอินเดียสู่จีนนั้น ฝ่ายมหายานได้ละทิ้งรูปแบบเดิมของอินเดียเกือบจะสิ้นเชิง และปรับตัวเข้ากับสิ่งใหม่คือปรัชญาและวิถีชีวิตแบบจีนทั้งด้านรูปแบบและเนื้อหาสาระอันก่อให้เกิดแนวคิดใหม่ขึ้นมากมายโดยยังคงเนื้อหาสาระสำคัญไว้ตามเดิม และในการสืบทอดจากจีนและประเทศที่ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลทางอารยธรรมของจีน เช่น ธิเบต เกาหลี ไต้หวัน เวียดนาม และญี่ปุ่น สู่โลกตะวันตก จะเห็นว่าฝ่ายมหายานได้เริ่มเป็นอิสระจากกรอบวัฒนธรรมของเอเชีย และเริ่มแสวงหารูปแบบใหม่ ๆ  ที่เข้ากันได้กับสังคมและอารยธรรมตะวันตก  โดยสาระของการตรัสรู้ยังคงแสดงบทบาทสำคัญอยู่  สาระสำคัญนั้นคือ การตรัสรู้ หรือ การตื่นรู้ ของชีวิต มหายานถือว่าทุกชีวิตมีความพร้อมที่จะตรัสรู้อยู่แล้ว เพียงแต่รอคอยเงื่อนไขหรือการชี้แนะที่ถูกต้องเท่านั้น ทุกชีวิตมีธาตุรู้อยู่ในตัวอยู่แล้ว เพียงแต่รอคอยการปลุกเร้าธาตุรู้นั้นให้ตื่นขึ้น ฉะนั้นการทำความรู้สึกตัวจึงเป็นวิธีการโดยตรงที่จะปลุกธาตุรู้นั้น แต่ “การปลุก และ การตื่น” ก็เป็นคนละสิ่งกัน การตื่นขึ้นของชีวิตจะเป็นไปเองและอยู่เหนือเงื่อนไขทั้งปวง

                         พระพุทธศาสนามหายานนั้น  มีหลักการสูงสุดอยู่ที่การบรรลุพุทธภูมิ  ผู้ที่จะบรรลุ พุทธภูมิได้นั้นต้องมีโพธิจิต คือการตั้งใจปรารถนามุ่งต่อพุทธภูมิด้วยการบำเพ็ญตนเป็นพระโพธิสัตว์ พระสูตรฝ่ายมหายานไม่ได้คำนึงเรื่องอื่นใดมากเท่ากับเรื่องพระโพธิจิต ซึ่งผูกพันมุ่งมั่นต่อพระโพธิญาณ เช่นในบางกรณีฆราวาสซึ่งมีพระโพธิจิต จึงถูกยกย่องเทิดทูนเหนือพระภิกษุสงฆ์ที่ไม่มีอุดมคติมุ่งต่อพระโพธิญาณ และถ้าจำเป็นที่จะต้องเสียสละด้วยประการใด ๆ  แม้จนกระทั่งละเมิดต่อศีลประกอบกรรมที่เป็นบาป แต่หากเป็นไปเพื่อประโยชน์ส่วนรวม โดยที่ตนเองจะต้องตกนรกแล้ว พระโพธิสัตว์ก็จำต้องทำโดยไม่พรั่นพรึง ถือว่าเป็นการอุทิศตนแก่สรรพสัตว์ และเป็นการช่วยเหลือดำรงประโยชน์สุขส่วนรวมเป็นหลักสำคัญ

                         การมุ่งเน้นบำเพ็ญตนเป็นพระโพธิสัตว์นี้  ฝ่ายเถรวาทกับมหายานเริ่มเผยแผ่ต่างกันแม้ทั้งสองนิกายจะมีจุดหมายปลายทางขั้นสุดท้ายเหมือนกันก็ตาม แต่อุดมคติในการดำเนินงานมีข้อปฏิบัติแตกต่างกันออกไป โดยฝ่ายเถรวาทจะมุ่งการปฏิบัติที่ตนเองก่อนแล้วค่อยสอนผู้อื่นภายหลัง  ส่วนมหายานกลับวางอุดมคติจูงใจไว้ว่า จะต้องบำเพ็ญเพื่อผู้อื่นโดยตั้งปณิธานว่าจะช่วยสรรพสัตว์ให้ข้ามพ้นจากโอฆสงสารจนหมดสิ้นเสียก่อน แล้วตนเองจึงจะบรรลุธรรมเป็นคนสุดท้าย การปฏิบัติธรรมในเบื้องแรกของมหายานคือ เรื่องเกี่ยวกับพระโพธิสัตว์ คำว่า โพธิสัตว์นั้น โดยอรรถาธิบายตามศัพท์คือ  ผู้ข้องอยู่ในโพธิ  ผู้ที่เข้าถึงพุทธภาวะ  ผู้จะตรัสรู้เป็นพุทธะในวันข้างหน้า[3]  บุคคลสามารถเป็นพระโพธิสัตว์ได้ทุกคน  ไม่ว่าผู้ครองเรือนหรือบรรพชิต  หากได้ตั้งปณิธานมุ่งมั่นจะกระทำความดีต่อสรรพสัตว์ ปณิธานนั้นมหายานถือว่าเป็นบันไดทางเดียวที่จะนำไปสู่ความเป็นพระโพธิสัตว์ได้ เป็นธรรมที่พระโพธิสัตว์ทั้งหลายจะต้องมีประจำจิตใจเพื่อที่จะเป็นแนวทางในการปฏิบัติตน เพื่อมุ่งบรรลุความเป็นพระพุทธเจ้า

                         วิวัฒนาการของพระพุทธศาสนานิกายมหายานนั้น พระพุทธศาสนามหายานมีวิวัฒนาการมาจาก  ๑๘ นิกาย ดั้งเดิมของฝ่ายเถรวาทเป็นหลัก[4] และต่อมาก็มีการดัดแปลงปรับปรุงแก้ไขพระธรรมวินัยให้เข้ากับสภาพแวดล้อมของสังคมในยุคสมัยนั้น ๆ โดยเฉพาะแนวคิดเรื่องพระโพธิสัตว์และอุดมคติ  อุดมคติมหายานคือ  การบรรลุพุทธภูมิ และผู้ที่จะบรรลุพุทธภูมิต้องบำเพ็ญตนเป็นพระโพธิสัตว์ ดังเช่น พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์  เป็นต้น

                         หลักการสำคัญที่เป็นหัวใจของพุทธศาสนาฝ่ายมหายานอีกประการหนึ่งคือ  พระโพธิสัตว์ผู้ ได้ฝึกฝนบำเพ็ญตนสมบูรณ์แล้ว แต่ยังไม่เข้าสู่พุทธภูมิ พระองค์ทรงมีเมตตาต่อสัตว์โลก พระองค์จึงเป็นการเนรมิตพระกายนิรมาณกายต่าง ๆ  เพื่อที่จะไปโปรดสัตว์เหล่านั้นให้พ้นจากทุกข์ให้หมดสิ้นเสียก่อน โดยที่พระองค์เองจะขอเข้าสู่พุทธภูมิเป็นรายสุดท้าย

                         ในด้านคำสอนระหว่างเถรวาทกับมหายานนั้น  พระพุทธศาสนาเถรวาท อธิบายอริยสัจ ๔ ว่า ทุกข์ อันบุคคลควรกำหนดรู้, สมุทัย  ควรละ, นิโรธ ควรทำให้แจ้ง, มรรค ควรเจริญหรือบำเพ็ญ, ฝ่ายมหายานก็เห็นเหมือนกัน แต่เพิ่มเติมที่ว่าโพธิสัตว์นั้น นอกจากกำหนดรู้ทุกข์ของตนแล้ว จะต้องพยายามให้สัตว์ทั้งหลายอื่นกำหนดรู้ด้วย เรื่องทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ก็เหมือนกัน หลักการอีกอย่างหนึ่งที่ให้พุทธศาสนานิกายมหายานต่างจากเถรวาทคือ พระโพธิสัตว์เป็นตัวแทนของการแสดงคุณลักษณะของมหากรุณา ซึ่งหมายถึงความกรุณาอันยิ่งใหญ่ที่มีต่อมหาชน แนวความคิดเกี่ยวกับเรื่องการบำเพ็ญโพธิจิต หรือการเข้าถึงพุทธภาวะนี้ไม่เพียงแต่มีความสัมพันธ์กับปณิธาน และปฏิปทาที่จะบรรลุพุทธภาวะดังที่ทราบกันเท่านี้ แต่ยังมีความสัมพันธ์กับหลักคำสอนสำคัญในเรื่องศูนยตาธรรมด้วย เพราะความว่างจากความยึดมั่นถือมั่นในอัตตานั้นเป็นหลักการที่สำคัญในการที่จะทำให้พระโพธิสัตว์เข้าถึงพุทธภาวะ

                         หลักศูนยตาธรรมเป็นการอธิบายสภาวธรรมในลักษณะที่เป็นนามธรรม  ส่วนปฏิปทาของพระโพธิสัตว์อันเต็มเปี่ยมด้วยความเมตตาและความเสียสละเป็นผลมาจากประพฤติปฏิบัติจริง  เป็นสิ่งทำให้คำสอนที่เป็นนามธรรมแสดงออกมาให้ปรากฏเห็นเป็นรูปธรรม  ซึ่งกิจทั้งปวงของพระโพธิสัตว์นี้เป็นการกระทำโดยปราศจากความยึดมั่นในอัตตาแล้วโดยสิ้นเชิง แนวทางนี้เป็นการยืนยันว่าหลักธรรมดังกล่าวในพระพุทธศาสนามหายานสามารถทำให้เห็นเป็นรูปธรรมโดยปรากฏเป็นผลที่เป็นจริง[5]

                         ดังนั้นการศึกษาวิเคราะห์ประวัติความเป็นมาและเนื้อหาของคัมภีร์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับเรื่องโพธิจิตว่า ผู้ประพันธ์ได้นำเสนอแนวความคิดเกี่ยวกับเรื่องโพธิจิตในพุทธปรัชญามหายานอย่างไร วิธีการเข้าถึงโพธิจิตของพระโพธิสัตว์  พระคุณลักษณะที่แสดงพระมหากรุณาอันยิ่งใหญ่ที่มีต่อมหาชนของพระโพธิสัตว์ แนวความคิดเรื่องโพธิจิตมีความสัมพันธ์กับปณิธานและปฏิปทาที่จะบรรลุพุทธภาวะของพระโพธิสัตว์  โพธิจิตมีความสัมพันธ์กับคำสอนหลักในเรื่องศูยนตาธรรมอย่างไร และปฏิปทาของพระโพธิสัตว์อันเต็มเปี่ยมด้วยความเมตตาและความเสียสละเป็นผลมาจากการประพฤติปฏิบัติที่เป็นสิ่งทำให้คำสอนที่เป็นนามธรรมแสดงออกมาให้ปรากฏเห็นเป็นรูปธรรม 

 

เรื่องโพธิจิตในพุทธปรัชญามหายาน

                         คัมภีร์โพธิจรรยาวตาร จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ พอจะสันนิษฐานได้ว่า คัมภีร์นี้ศานติเทวะได้ประพันธ์ขึ้นเมื่อประมาณ คริสต์ศตวรรษที่ ๗ – ๘ (ค.ศ. ๖๘๕ – ๗๖๓ หรือ พ.ศ. ๑,๑๐๐ - ๑,๒๐๐) ตามช่วงเวลาการมีชีวิตอยู่ของท่าน[6]

                         คัมภีร์โพธิจรรยาวตาร เป็นกวีนิพนธ์สันสกฤตที่สำคัญเล่มหนึ่งของพระพุทธศาสนามหายานนิกายมาธยมิก มีเนื้อหาว่าด้วยการดำเนินชีวิตของพระโพธิสัตว์ หรือหลักปฏิบัติเพื่อการตรัสรู้ (โพธิจิต) เน้นพรรณนาถึงการปลูกฝังโพธิจิต การได้รับประโยชน์จากโพธิจิต การมีจิตมุ่งต่อพระโพธิญาณเพื่อบรรลุถึงพุทธภาวะ โดยการปฏิบัติฝึกหัดจิตไปตามบารมี ๖ นับตั้งแต่ ทานบารมี ศีลบารมี กษานติบารมี วีรยบารมี ธยานบารมีและปรัชญาบารมี ตลอดถึงจริยธรรมและคุณธรรมต่าง ๆ ของพระโพธิสัตว์

                          คัมภีร์โพธิจรรยาวตารมีเนื้อหาเน้นหนักไปในหลักคำสอนของพระพุทธศาสนามหายาน มุ่งอธิบายหลักการปฏิบัติของพระโพธิสัตว์ไว้อย่างสมบูรณ์ชัดเจน ในปัจจุบันคัมภีร์นี้จึงถูกจัดเป็นตำราเรียนของพระภิกษุในธิเบต คล้ายกับคัมภีร์วิสุทธิมรรคที่พระสงฆ์ไทยนำมาศึกษากันอยู่ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง องค์ทะไลลามะทรงเลื่อมใสข้อธรรมคำสั่งสอนของท่านศานติเทวะมาก[7] พระองค์ทรงนำคัมภีร์นี้มาเป็นแบบฉบับในอุดมคติ และเป็นแนวทางปฏิบัติของพระองค์เอง บ่อยครั้งที่ทรงยกข้อความในคัมภีร์นี้มาบรรยายให้สาธุชนได้รับฟังเสมอ

                         แนวคิดเรื่องโพธิจิตในพุทธปรัชญามหายาน พระพุทธศาสนามหายานมีความเชื่ออย่างแน่วแน่ว่า สรรพสัตว์ทุกชนิดล้วนมีพุทธภาวะอยู่ในตัวเอง[8] ทุกคนมีธาตุบริสุทธิ์อยู่ในจิตและมีสภาวะของธรรมกายปรากฏแทรกซึมอยู่ในสัตว์ทุกรูปทุกนาม ซึ่งทรรศนะเช่นนี้เองได้นำไปสู่การขยายแนวความคิดเรื่องตถาคตครรภ์ (ช่องว่างของความเป็นพุทธะ) ไปจนเห็นว่า จิตของเราก็คือจิตของพุทธะนั่นเอง ตามความเชื่อของพระพุทธศาสนามหายานสรรพสัตว์สามารถบำเพ็ญตนเป็นพระโพธิสัตว์ได้เท่าเทียมกันหมด และมีศักยภาพพอที่จะหลุดพ้นจากทุกข์ตรัสรู้ธรรมได้เช่นเดียวกับพระพุทธเจ้าองค์ก่อน ๆ  หากเขาได้ตั้งปณิธานมีจิตใจมั่นคงต่อการตรัสรู้แล้ว การบรรลุถึงพุทธภูมิย่อมมีอันหวังได้ด้วยเหตุนี้เอง แนวความคิดเรื่องโพธิจิตจึงถูกพัฒนาขยายขึ้นเป็นหลักคำสอนสำคัญที่จะทำบุคคลให้ก้าวล่วงจากทุกข์บรรลุสู่พุทธภูมิได้ในที่สุด

                   การปลุกโพธิจิตก็คือการตั้งปณิธานหรือความปรารถนาจะเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเมื่อพิจารณาละเอียด พระโพธิสัตว์ก็จะยิ่งคุ้นเคยกับการสัมผัสถึงความทุกข์ของสัตว์ ซึ่งไม่ใช่เฉพาะภพภูมิมนุษย์เท่านั้น แต่ยังมีสัตว์ที่ดิ้นรนเวียนว่ายอยู่ในภพน้อยใหญ่อื่นอีกมากมาย การหยั่งเห็นทุกข์ของสัตว์จำนวนมากก่อให้เกิดความปรารถนาจะปลดปล่อยทั้งตนและผู้อื่นให้พ้นจากวงจรเวียนว่ายตายเกิด นี่เองคือความหมายและคุณค่าของโพธิจิต[9] ไม่มีอะไรถูกผลักไสหรือถูกมองเป็นเรื่องน่าชิงชังหรือน่ารังเกียจเลย

                         คัมภีร์โพธิจิตจรรยาวตารได้กล่าวถึงความหมายของโพธิจิตไว้อย่างชัดเจนในปริเฉทที่ ๑ ว่า หมายถึง การตั้งจิตปรารถนาที่จะบรรลุถึงการตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า เพื่อคอยช่วยเหลือหมู่สัตว์ทั้งหลายให้รอดพ้นไปจากความทุกข์ยากและบรรลุถึงความสุขโดยถ้วนหน้า อีกอย่างหนึ่ง หมายถึง ความตั้งใจมั่นที่จะประกอบตนอยู่ในการบำเพ็ญบารมีธรรมและสร้างสมบุญกุศลทั้งปวงจนกว่าตนได้บรรลุถึงการตรัสรู้ในที่สุด ดังของความว่า

                         โพธิจิตนั้นบุคคลพึงรู้ว่ามีอยู่ ๒ ประการคือ โพธิประณิธิจิตและโพธิปริสถานจิตเท่านั้น[10] ดังนี้

                         ๑. โพธิประณิธิจิต (Bodhipranidhicitta) หมายถึง ความปรารถนาอันจริงใจที่จะตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในอนาคต เพื่อคอยช่วยเหลือสัตว์โลกทั้งมวลให้หลุดพ้นจากความทุกข์ยากเสียได้ โดยไม่คิดคำนึงถึงความเหน็ดเหนื่อยที่เกิดจากการเสียสละอันสูงส่งนั้น

                         ๒. โพธิปรัสถานจิต (Bodhiprasthanacitta) หมายถึง ความตั้งใจอันเด็ดเดี่ยวที่จะประพฤติปฏิบัติตนไปตามระเบียบวินัยหรือการมุ่งพัฒนาฝึกฝนตนของพระโพธิสัตว์ (Bodhisattva – samvaras) รวมทั้งความพยายามบากบั่นเพื่อให้ได้รับซึ่งบุญกุศลและคุณความดีทั้งปวง

                         ดังนั้น คัมภีร์โพธิจรรยาวตารได้จัดแบ่งประเภทโพธิจิตออกเป็น ๒ ประการคือ โพธิประณิธิจิตและโพธิปรรัสถานจิต นอกจากนี้แล้ว ยังได้อธิบายเปรียบเทียบให้เห็นความแตกต่างแห่งคุณลักษณะระหว่างโพธิจิตทั้งสองประเภทนั้น ทั้งยังได้แสดงข้อความที่ระบุถึงคุณประโยชน์ที่ให้ผลมากน้อยแตกต่างกัน

                         คุณประโยชน์ของโพธิจิตตามที่ปรากฏอยู่ในคัมภีร์โพธิจรรยาวตารทั้งหมดแล้ว สามารถสรุปแนวความคิดหรือสาระสำคัญได้ ๔ ประการคือ

                         ๑. เป็นเครื่องกำจัดทำลายบาปกรรมและความทุกข์ยากของสรรพสัตว์ทั้งหลายไห้หมดสิ้นไปได้

                         ๒. เป็นพาหนะเครื่องนำหมู่สัตว์ให้บรรลุถึงความเป็นพุทธะในอนาคตได้

                         ๓. เป็นแหล่งเกิดแห่งบุญกุศลและคุณความดีทั้งปวง

                         ๔. เป็นอุปการะในการน้อมนำจิตใจให้มุ่งปรารถนาเพื่อบำเพ็ญประโยชน์เกื้อกูลต่อสรรพสัตว์อันหาประมาณมิได้

                         คำสอนของพระพุทธเจ้าที่เก่าแก่ที่สุดนั้น มิได้สอนให้มุ่งหวังนิพพาน แต่ทรงให้มุ่งหวัง “อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ” หรือ “อนุตตรยาน” อันเป็นยานสูงสุดเหนือกว่า สาวกยานและปัจเจกยาน ทั้งนี้ เพราะพระพุทธศาสนามหายานถือว่า ยานหรือวิธีการมุ่งสู่ความหลุดพ้น มีให้เลือกอยู่ ๓ ทาง หรือว่า ตรียาน คือ

                        ๑.  สาวกยาน คือยานของพระสาวกที่มุ่งเพียงอรหันตภูมิ ซึ่งรู้แจ้งในอริยสัจ ๔ ด้วยการสดับจากพระพุทธเจ้า

                        ๒. ปัจเจกยาน คือยานของพระปัจเจกพุทธเจ้า ได้แก่ ผู้รู้แจ้งในปฏิจจสมุปบาทด้วยตนเอง แต่ไม่ปรารถนาจะแสดงธรรมสั่งสอนสรรพสัตว์ทั้งหลาย

                        ๓. อนุตตรยานหรือโพธิสัตวยาน คือยานของพระโพธิสัตว์ ได้แก่ ผู้มีใจกว้างขวางประกอบด้วยมหากรุณาสรรพสัตว์ ไม่ต้องการอรหันตภูมิ ปัจเจกภูมิ แต่ปรารถนาพุทธภูมิเพื่อโปรดสัตว์ได้กว้างขวางกว่า ๒ ยานแรก และเป็นผู้รู้แจ้งในศูนยตาธรรมได้แท้จริง

                        ในยานทั้ง ๓ นี้ อนุตตรยานหรือโพธิสัตวยานถือว่า เป็นยานประเสริฐสูงสุดเป็นเอกยานที่สามารถนำตนเองและขนสัตว์ทั้งหลายให้ข้ามพ้นจากห้วงทุกข์ เข้าสู่พุทธภูมิได้มากกว่ายานอื่น ๆ กล่าวคือ พระโพธิสัตว์นั้นมิได้เป็นแต่ผู้ที่ยังตนเองให้หลุดพ้นเท่านั้น แต่ยังเป็นผู้ที่นำเอาหน่อเชื้อแห่งนิพพาน อันมีปรากฏอยู่ในสัตว์อื่น ๆ ได้บรรลุถึงผลสำเร็จอีกด้วย แม้ว่าการปลดทุกข์ให้สรรพสัตว์นั้น ตนเองจะต้องทนทุกข์ต้องถูกเผาไหม้ในนรกสักกี่อสงไขยกัลป์ก็ตามหากยังมีหมู่สัตว์ต้องตกทุกข์ได้ยากอยู่ก็จะไม่ขอปรารถนาเข้าสู่พุทธภูมิเป็นอันขาด

                         พระพุทธศาสนามหายานมีมุมมองเกี่ยวกับการตั้งปณิธานว่า มีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิดหรือมีลักษณะเป็น ไปได้ทั้งเหตุและผลกับโพธิจิตโตตปาท ดังกล่าวมาแล้วในหัวข้อก่อน (บทที่ ๓) อย่างไรก็ตาม สารัตถะสำคัญของการตั้งปณิธานตามทรรศนะของพระพุทธศาสนามหายานนั้น ได้แสดงเป้าหมายสูงสุดไว้ที่การหลุดพ้นจากทุกข์หรือตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า อันถือเป็นความสำเร็จสมบูรณ์ที่พระโพธิสัตว์ได้มุ่งปรารถนาไว้แล้วนั่นเอง และในขณะที่กำลังบำเพ็ญตบะธรรมของพระโพธิสัตว์อยู่นั้น พระโพธิสัตว์จะต้องเป็นผู้ประกอบด้วยเมตตากรุณาต่อมวลสัตว์อย่างไม่มีที่สิ้นสุด และเป็นผู้ที่มีพระมหากรุณาคอยช่วยเหลือหมู่สัตว์ให้พ้นทุกข์เสียได้ เมื่อตนได้บรรลุถึงความเป็นพระพุทธเจ้า

                         ลักษณะการตั้งปณิธานตามคัมภีร์โพธิจรรยาวตารนั้น จัดเป็นมูลเหตุทำให้พระโพธิสัตว์ได้ดำเนินตนไปตามขั้นตอนแห่งอนุตตรบูชาและโพธิจิตโตตปาทอันได้ปลูกฝังไว้ภายในจิตใจในครั้งก่อนนั้นให้สมบูรณ์ขึ้น และในขณะเดียวกัน การที่พระโพธิสัตว์ได้ริเริ่มน้อมตนไปสู่ปฏิปทาแห่งอนุตตรบูชาและโพธิจิตโตตปาทนั้น ย่อมนับว่า เป็นการเพาะเชื้อให้พระโพธิสัตว์ได้มุ่งตนไปสู่การตั้งปณิธานคือ มีความปรารถนามุ่งสู่การตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าต่อไปอีกในภายภาคหน้า

                   คัมภีร์โพธิจรรยาวตาร ท่านสานติเทวะได้แสดงสารัตถสำคัญเกี่ยวกับหลักศูนยตาไว้มากมาย ซึ่งเนื้อหาส่วนใหญ่นั้นมุ่งอรรถาธิบายเพื่อให้ผู้ปฏิบัติตนเป็นพระโพธิสัตว์ได้มุ่งมั่นพัฒนาปัญญาของตนให้เข้าใจแจ่มแจ้งในหลักศูนยตา คือ การพิจารณาเห็นถึงความแตกต่างหรือสามารถแยกแยะโลกและสภาวธรรมทั้งหลาย ตามธรรมชาติที่เป็นจริงของสัจจะ ซึ่งเป็นบุคคลที่ยังถูกครอบงำอยู่ด้วยอวิชชา หรือความไม่รู้ ลักษณะสำคัญของศูนยตาที่ปรากฏอยู่ในคัมภีร์โพธิจรรยาวตารนั้น ได้แก่ ความเข้าใจความเป็นจริง ๒ ระดับคือ สมมติสัจจะและปรมัตถสัจจะโดยการพิจารณาแยกแยะเห็นความจริงทั้งสองนี้ตามสภาพที่แท้จริง คือ ความเป็นศูนยตา หรือความว่างเปล่าของสรรพสิ่ง ที่ไร้ตัวตนและหาสาระแก่นสารใด ๆ มิได้ เพื่อประโยชน์แห่งการกำจัดมายาความหลงผิดและความขัดแย้งอันเกิดขึ้นจากความยึดมั่นถือมั่นในตัวตนเสียได้ ซึ่งมีนัยสำคัญไม่แตกต่างจากมุมมองของนิกายมาธยามิกทั่วไป ที่ถือว่า โลกและสรรพสิ่งไม่อาจดำรง  สวลักษณะได้ด้วยตัวของมันเอง สิ่งต่าง ๆ ล้วนเกิดขึ้นจากความสัมพันธ์ของเหตุปัจจัยอื่น ๆ ที่ปรุงแต่งกันขึ้นเท่านั้น

                         สรุปจากการศึกษาโพธิจิตธรรมจรรยาแห่งพระโพธิสัตว์ในพุทธปรัชญามหายานในสำนักมาธยมิกะ  ในแง่มุมทางปรัชญา โดยมีขอบเขตของการวิจัย คือเอกสารพระไตรปิฎกและพระสูตรต่าง ๆ  ของฝ่ายมหายาน โดยคัมภีร์วิถีชีวิตของพระโพธิสัตว์ (โพธิจรรยาวตาร) และเอกสารงานนิพนธ์ชั้นต่างๆ ได้แก่ หนังสือที่ผู้ทรงคุณวุฒิเขียนถึงสำนักปรัชญามหายานต่าง ๆ ไว้โดยเฉพาะทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ผู้วิจัยสรุปดังนี้

                         นิยามและความหมายของคำว่าโพธิจิต ตามทรรศนะของพระพุทธศาสนามหายานนั้น หมายถึง จิตแห่งการตรัสรู้, ความอยากที่จะบรรลุการตรัสรู้, ความตั้งใจจะตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า การตั้งใจปรารถนาจะเป็นพระพุทธเจ้า จิตที่ตั้งมั่นจะเป็นพระพุทธเจ้า  การปลุกโพธิจิตของพระโพธิสัตว์ คือการตั้งปณิธานหรือความปรารถนาจะเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าโดยไม่เอากิเลสส่วนตนเข้ามาเกี่ยวข้อง บุคคลที่ตั้งปณิธานนั้นต้องไม่คำนึงถึงผลตอบแทนที่ตนจะได้รับ ต้องไม่กลัวความยากลำบาก ยอมเสียสละความสุขส่วนตน มุ่งมั่นที่จะเดินทางไปให้ถึงจุดหมายเบื้องหน้าเท่านั้น พระพุทธศาสนามหายานมีจุดมุ่งหมายสูงสุด คือการที่บุคคลได้บรรลุถึงอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แทนการมุ่งตรัสรู้เพียงแค่พระอรหันต์ของ            พระพุทธศานาเถรวาทดั้งเดิม ซึ่งการเปลี่ยนแปลงแนวความคิดที่สำคัญเกี่ยวกับเป้าหมายสูงสุดนี้เองเป็นเหตุให้พระพุทธศาสนามหายานได้สอนเน้นในเรื่องจิตโตตปาทขึ้น เพื่อแสดงถึงจุดยืนและอุดมการณ์ของพวกตน ที่มีความปรารถนาอย่างยิ่งยวดต่อการบรรลุถึงพุทธภูมิเพียงอย่างเดียว     พระโพธิสัตว์จัดเป็นบุคคลชนิดพิเศษที่ชาวมหายานทุกคนควรถือเอาเป็นแบบอย่างและตั้งไว้ในอุดมคติสูงสุด เพราะพระโพธิสัตว์มีจุดมุ่งหมายที่แน่นอนคือ การปรารถนาจะบรรลุถึงอนุตตร    สัมยักสัมโพธิญาณ หรือมีความเข้าใจแจ่มแจ้งในศูนยตาธรรมอันนับเป็นความรู้ขั้นสูงสุดของพระพุทธเจ้า พระโพธิสัตว์ยังมีจิตใจกว้างขวางตั้งปณิธานแสดงความมุ่งหมายในด้านเมตตากรุณาคอยช่วยเหลือสัตว์อื่นให้หลุดพ้นจากทุกข์อย่างไม่มีที่สิ้นสุด โดยมหายานเชื่อว่า คนทุกคนนั้นมีธรรมธาตุอยู่แล้วในตนเอง ทุกคนสามารถบำเพ็ญตนเป็นพระโพธิสัตว์บรรลุถึงพุทธภูมิได้เท่าเทียมกันหมด    บุคคลในอุดคติของพระพุทธศาสนาเถรวาทนั้น มีจุดมุ่งหมายหลักอยู่ที่การตรัสรู้เป็นพระอรหันต์ สามารถทำลายกิเลสอาสวะให้สูญสิ้นไป จนบรรลุถึงพระนิพพานได้ในที่สุด แต่พระพุทธศาสนามหายานมองว่า พระอรหันต์นั้นยังไม่สมบูรณ์อย่างที่สุดจึงได้พัฒนาโพธิจิตขึ้นมาเพื่อไม่มุ่งความหลุดพ้นเฉพาะตน แต่ต้องการให้เหล่าสรรพสัตว์ได้ลอดพ้นจากวัฏฏะสงสารไปพร้อมกับตนด้วย จึงได้เกิดแนวทางการบำเพ็ญบารมีของพระโพธิสัตว์และอุดมคติบรรลุอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ เพราะมุ่งบำเพ็ญประโยชน์เกื้อกูลต่อสัตว์ทั้งหลายอย่างไร้ขอบเขต

 

 

[1]พระวิเชียร เถี่ยนอี๊ (กาญจนไตรภพ)

 [2] พระมหาสมจินต์ สมฺมาปญฺโญ, พระพุทธศาสนามหายานในอินเดีย พัฒนาการ และสารัตถธรรม, พิมพ์ครั้งที่ ๒,  (กรุงเทพมหานคร : มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๓๔), หน้า บทนำ.       

[3] เสถียร พันธรังษี, พุทธศาสนามหายาน,  พิมพ์ครั้งที่ ๓, (กรุงเทพมหานคร : มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๓๔), หน้า ๒๗.

[4] เสถียร โพธินันทะ, ปรัชญามหายาน, พิมพ์ครั้งที่ ๔, (กรุงเทพมหานคร : บรรณาคาร, ๒๕๒๒), หน้า ๓๘.

[5] วศิน อินทสระ, สาระสำคัญแห่งพุทธปรัชญามหายาน, (กรุงเทพมหานคร : บรรณาคาร, ๒๕๓๑), หน้า ๖๙.

[6] Paul Williams, Mahayayna Buddhism, (New York:Oxford University, 1989),  p. 6.

7] สุลักษณ์ ศิวรักษ์ (ส. ศิวลักษณ์), ความเข้าใจในเรื่องมหายาน, (กรุงเทพฯ : เคล็ดไทย, ๒๕๔๒), หน้า ๑๗๓.

[8] สุมาลี มหณรงค์ชัย, พุทธศาสนามหายาน, (กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ศยาม, ๒๕๔๖), หน้า ๑๙.

 [9] Paul Williams, Mahayayna Buddhism,  pp. 199 – 200.

[10] โสรัจจ์ หงศ์ลดารมภ์, วิถีชีตของพระโพธิสัตว์, (กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,๒๕๕๐), หน้า ๓๙.

 



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
สรวิชญ์
เขียนเมื่อ

แนวคิดเกี่ยวกับทางสายกลางในปรัชญาของขงจื๊อ[1]

 

บทคัดย่อ

 

ทางสายกลางของขงจื๊อ หมายถึง สภาวะซึ่งไม่เอนเอียงไปด้านใดด้านหนึ่ง และสภาวะที่ไม่เปลี่ยนแปลง ซึ่งทำให้ความรู้สึกและอารมณ์ เป็นสภาวะของจิตที่ไม่เอนเอียงเมื่อถูกอารมณ์ที่น่าพอใจและไม่น่าพอใจมากระทบ ดังนั้น ทางสายกลางของขงจื๊อ หมายถึง ปัญญา (จื๊อ) และความจริงใจ (ซิ่น) ปัญญาจะทำให้บุคคลมองเห็นสรรพสิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริง เมื่อบุคคลสามารถมองเห็นสิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริงได้แล้ว  จิตจะรับรู้สรรพสิ่งด้วยใจเป็นกลางไม่ยึดติด รับแล้วปล่อยวาง การดำเนินตามหลักทางสายกลาง จึงเปรียบเหมือนการกลับไปหาจิตเดิม ซึ่งปราศจากการปรุงแต่ง ดังที่ท่าน เลียวนาร์ด ซือเหลือน ซือ กล่าวว่า ทางสายกลางนี้ไม่ใช่อะไรอื่น  แท้จริงแล้วก็คือสามัญสำนึก (Common Sense) นั่นเอง

ดังนั้น ขงจื๊อถือกำเนิดเป็นบุคคลสำคัญในฐานะเป็นครูสอนศาสนา และเป็นผู้สืบทอดและถ่ายทอดจารีตประเพณีและวัฒนธรรมโบราณ  ถือกำเนิดมาในระดับสัจธรรมและระดับจริยธรรม เป็นการยกย่องมนุษย์ว่า เป็นศูนย์กลางของการพัฒนา สอนให้มนุษย์เผชิญและแก้ปัญหาด้วยความเพียรและสติปัญญาของตนที่ขงจื๊อประกาศไว้ในคัมภีร์ว่าด้วยการเปลี่ยนแปลง (I - Ching) หลักสัมพันธภาพทั้ง ๕ และหน้าที่ที่บุคคลพึงปฏิบัติตามหลักสัมพันธภาพทั้ง ๕ คือ สามีกับภรรยา  บิดามารดากับบุตรธิดา พี่กับน้อง เพื่อนกับเพื่อน ผู้ปกครองกับผู้ใต้ปกครอง

 

Abstract

 

Confucian Middle Way refers to the state which is not leaning to one side, and a state that does not change the feel and mood is a state of mind that is not biased when it satisfactory and unsatisfactory impact. Therefore, the Middle Way of Confucius means wisdom (Chu) and sincerity (Chin) intelligence to make people see all things as they are, not as they appeared. When people can see all things as they are, our mind will be known all things with neutral, not attached to it and let oneself on. Conducting of the middle way like returning to the original mind without embellishments as Leonard Chu Luan Chu said the middle way is none other, the fact is that common sense itself.

Then, Confucius was born to be important person as a religion teacher and as a recipient and transmission of tradition and ancient culture.  Born of Truth and the ethics that recognizes human who are the center of development for teaching human face and solve problems with patience and intelligence of its.  Confucius declared in Scripture regarding the changes (I - Ching). The five main relationships and responsibilities that a person should follow the five relationships are husband and wife, father, mother, son, daughter, brother to sister's friends and boss with employee.

 

  1. บทนำ

คำว่า “ทางสายกลาง” ในภาษาจีนใช้คำว่า “จุงหยุง”  ถ้าแยกอักษรจีนออกมา คำว่า จุง คือ ความเหมาะเจาะพอดี กลมกลืน  เป็นกลาง ไม่เข้าข้าง ไม่มีอคติ ไม่ขาดไม่เกิน หยุง  คือ ธรรมดาสามัญ ปฏิบัติตามหลักเหตุผล  ตามปกติวิสัยทั่วไปไม่เปลี่ยนแปลง[2] เมื่อรวมความเข้าด้วยกันก็จะหมายถึง ข้อปฏิบัติที่เป็นกลาง คือเป็นไปตามเหตุผล ไม่เอนเอียงไปด้านใดด้านหนึ่ง มีความพอเหมาะพอดี ไม่ขาดไม่เกิน ไม่เอนเอียง ด้วยอำนาจแห่งอคติ หรือไม่เอนเอียงไปตามอารมณ์ที่มากระทบทั้งที่เป็นฝ่ายดี และไม่ดี เป็นสภาวจิตที่มีดุลยภาพ ดำรงภาวะแห่งความเป็นกลาง ขงจื๊อจึงสอนให้คนได้หันกลับไปสนใจหลักทางสายกลางนี้ ซึ่งมีอยู่ติดตัวแล้วตั้งแต่เกิด แต่ถูกอารมณ์ภายนอกมาบดบัง ทำให้จิตที่มีความเป็นกลางมาแต่ดังเดิมไม่สามารถทำหน้าที่ได้ มนุษย์จึงต้องศึกษาตนเอง เพื่อให้ได้เข้าใจธรรมชาติที่แท้จริงของตัวเอง

หลักปฏิบัติทางสายกลางของขงจื๊อ เป็นส่วนหนึ่งของหลักจารีต (หลี่) เป็นส่วนหนึ่งของหลักเมตตาธรรม หรือหลักมนุษยธรรม (เหริน) ในความเป็นจริง หลักคำสอนของขงจื๊อให้ความสำคัญที่หลักเมตตาธรรม (เหริน) ในฐานะเป็นคำสอนที่ประมวลคำสอนอื่น ๆ ซึ่งก็รวมถึงหลักทางสายกลางด้วย ดังข้อที่ปรากฏในคัมภีร์ทางสายกลางที่ว่า “เพราะอาศัยเหริน หรือความรักนี้เอง จึงก่อให้เกิดพลังกระตุ้นผลักดันไปสู่การกระทำตามหลักทางสายกลาง[3]  และ “การพัฒนาตนให้สมบูรณ์ ได้นั้นต้องอาศัยเหริน”[4] ในฐานะที่เป็นองค์ธรรมที่สำคัญสูงสุด องค์ธรรมที่สำคัญสูงสุดที่ขงจื๊อมักกล่าวถึงกลับเป็นเรื่องของเมตตาธรรม           (เหริน) ซึ่งจะทำให้เกิดพลัง (จง) ในการสร้างสรรค์สังคมให้มีความสงบสุข  ดังคำกล่าวที่ว่า “หลักปัญญามีไว้ เพื่อทำให้สติปัญญา หรือการรู้จักคิด มีความสมบูรณ์แบบโดยพร้อมมูล เพื่อรื้อฟื้นปรับปรุงศีลธรรมให้กับประชาชน รวมถึงการบรรลุถึงความดีอันสูงสุดด้วย”[5]  ในคำสอนของขงจื๊อ ปรากฏอยู่ในทางสายกลางจึงอยู่ที่ เมื่อบุคคลประกอบด้วยปัญญา หรือเมื่อปัญญาพัฒนาจนถึงขั้นสมบูรณ์แล้ว ย่อมสามารถทำให้เข้าใจ หรือมองเห็นสรรพสิ่งทั้งหลาย ตรงตามความเป็นจริง สามารถวางจิตให้เป็นกลาง โดยไม่เอนเอียงไปในลักษณะนี้  ขงจื๊อจึงเน้นเรื่องการพัฒนาปัจเจกบุคคลให้มีภูมิปัญญาอันสมบูรณ์สูงสุดนั้นเอง

 

 

2. นิยามและความหมาย

                    คำว่า ทางสายกลาง เป็นคำที่แปลความหมายมาจากคำว่า “จุงหยุง” (Chung Yung)  แยกออกเป็น 2 พยางค์  คือ จุง+หยุง   เป็นทั้งชื่อหลักธรรมที่สำคัญ และเป็นชื่อหนังสือเล่มที่ 2 ในจำนวนคัมภีร์คลาสสิค 4 เล่มของขงจื๊อ ในบทนำของหนังสือเล่มนี้[6] จูสีได้อ้างถึงคำอธิบายของอาจารย์เฉิง (Master Ch’eng) เกี่ยวกับความหมายของคำว่า  “จุงหยุง”

                    คำว่า “จุง”  หมายถึง  สิ่งที่ไม่เอนเอียงไปด้านใดด้านหนึ่ง  ส่วนคำว่า “หยุง” หมายถึง  ภาวะที่ไม่เปลี่ยนแปลง[7] คำแปลดังกล่าวนี้ สอดคล้องกับงานนิพนธ์ชื่อ Source of Chinese Tradition ซึ่งมี Wm. Theodore de Bary  ดังที่ จำนงค์ ทองประเสริฐ ได้แปลเป็นภาษาไทยในหนังสือชื่อว่า “บ่อเกิดลัทธิประเพณีจีน” ว่า จุง หมายถึง “ความเป็นกลาง” ส่วนคำว่า “หยุง” หมายถึง  ความเป็นไปตามธรรมชาติ[8]

                   ในคัมภีร์จุงหยุง ไม่ได้อธิบายความหมายของทางสายกลางไว้โดยตรง เพียงแต่พรรณนานัยแห่งศีลธรรมไว้ ซึ่งก็ชวนให้ตีความได้ว่า เกี่ยวเนื่องด้วยสภาวะจิตที่ไม่เอนเอียงไปในอารมณ์ทั้งฝ่ายดีและฝ่ายชั่ว ที่เรียกสภาวะจิตที่ว่า “ทางสายกลาง” ซึ่งปรากฏอยู่ในคัมภีร์จุงหยุง ตอนหนึ่งที่กล่าวข้างต้นว่า...

         เราอาจเรียกจิตในขณะที่อยู่ในภาวะที่ปราศจากความหวั่นไหวในความยินดี ความโกรธ ความเศร้าโศก หรือความเพลินเพลินว่า  (มี) “ดุลยภาพ” (Equilibrium) และเมื่ออารมณ์ความรู้สึกเหล่านี้มากระทบ ก็ปฏิบัติตนได้เหมาะสมกับสถานการณ์  ภาวะดังกล่าวนี้อาจเรียกว่าจิตอยู่ในฐานะ (มี) “ความกลมกลืน” (ho=Harmony)  ความมีดุลยภาพนี้เป็นรากฐานอันยิ่งใหญ่ซึ่งจะทำให้การกระทำของมนุษย์ทุกอย่างเกิดความเจริญงอกงามขึ้นในโลก  และความกลมกลืนดังกล่าวนี้เป็นวิถีสากลซึ่งมนุษย์ทั้งหลายควรดำเนิน[9]

 

                   ดังนั้น คำว่า “จุงหยุง” (ทางสายกลาง) นักปราชญ์ ยังมีความเห็นที่แตกต่างกันไป เช่น

 

 

                             ดร.เจมส์ เล็กก์ (James Legge) ศาสตราจารย์ทางด้านจีนวิทยา ท่านได้แยกศัพท์ คำว่า  “จุง” ว่าเกิดจากผสมอักษรจีน 2 ตัว คือ ตัวแรก (ล่าง) แปลว่า หัวใจ กับตัวที่สอง (บน) แปลว่า กลาง[10] และแปลคัมภีร์จุงหยุงจากภาษาจีนเป็นภาษาอังกฤษ ท่านก็ใช้คำว่า  “Doctrine of  the  Mean”  แต่คำแปลดังกล่าวนี้  ก็ได้รับการวิจารณ์จากศาสตราจารย์เลียวนาร์ด  ชือเหลียน ซือ ซึ่งกล่าวว่า ไม่ค่อยตรงกับความหมายในภาษาจีนเสียทีเดียว เพราะคำว่า “จุง” ในภาษาจีนนั้น มีความหมายกว้างกว่าคำว่า  “Mean”  ในภาษาอังกฤษ[11] ถือว่าเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไป

                   ส่วน ศาสตราจารย์เลียวหนาด ชือเหลียน ซือ (Leonard Shihlien Hsu) ได้ให้ความเห็นว่า  ความหมายเดิมของคำว่า  “จุง” (Chung) จริง ๆ คือ “กลาง” (middle)  แต่ในคัมภีร์จุงหยุง  มีความหมายไปในทำนองว่า สภาวะที่จิตไม่กำเริบ เมื่ออารมณ์และความรู้สึกทุกอย่าง ไม่ว่า  จะเป็นความยินดี ความยินร้าย ความเศร้าโศกเสียใจ หรือความร่าเริงยินดี เป็นต้น ครอบงำ[12] ดังนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “เราอาจเรียกจิตในขณะที่ไม่มีกระแสแห่งความยินดี ความโกรธ ความ  เศร้าโศก ว่า อยู่ในสถานะที่เป็นกลาง”[13] สารัตถะของจุงหยุงที่แท้จริงจึงอยู่ที่ “ความเป็นกลาง” หรือ  “ความสมดุล”[14]

3. ความเป็นมาของทางสายกลาง

                   3.1 ที่มาของคัมภีร์ทางสายกลาง

                   คัมภีร์ทางสายกลาง “The Doctrine of Mean”  ถือว่าเป็นคัมภีร์หลักคัมภีร์หนึ่งจำนวน 4 คัมภีร์ ที่อยู่ในกลุ่มที่เรียกว่า “จตุรปกรณ์”  เนื้อหาของคัมภีร์เป็นการคัดเลือกเอาจากคัมภีร์จารีต (The Book of the Rites)  บทที่ 28 มารวมเข้าเป็นหนึ่งชุด โดยปราชญ์สมัยราชวงศ์ซ้อง ชื่อชูสี (พ.ศ.1673-1743)  ท่านยังได้ตีความ และอธิบายคัมภีร์ “จตุรปกรณ์” จนกระทั่งท่านถึงแก่กรรม ดังนั้น คัมภีร์นี้ จึงเป็นสาระคำสอนที่สำคัญอีกคัมภีร์หนึ่งของลัทธิขงจื๊อ  ได้แก่[15]

                   1. คัมภีร์ต้าสุ่ย (The Great Learning)  เป็นคำสอนเกี่ยวกับคุณธรรม คัมภีร์นี้ถือว่าเป็นรากฐานสำหรับการศึกษาของรัฐบุรุษ โดยเฉพาะนักปกครอง และยังเป็นตำราที่เกี่ยวกับจารีตประเพณีโบราณอีกด้วย

                   2. คัมภีร์จุงหยุง (The Doctrine of Mean) เป็นคำสอนเกี่ยวกับทางสายกลางเป็นคัมภีร์ที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างศีลธรรมกับมนุษย์             

                  3. คัมภีร์ลุ่นยื้อ (The Analects) เป็นคัมภีร์ที่บันทึกคำสอนของขงจื๊อสั้นๆ มีลักษณะเป็นคำคม หรือสุภาษิต รวมทั้งบทสนทนาระหว่างขงจื๊อกับสานุศิษย์ ซึ่งส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับหลักทางศีลธรรมอันจะนำไปสู่จุดหมาย ก็คือ การเป็นคนดีของสังคม

                   4. คัมภีร์เม่งจื๊อ (Works of Mencius)  เป็นหนังสือที่รวบรวมคำสอนของเม่งจื๊อ ศิษย์คนสำคัญของขงจื๊อ เป็นผู้ประกาศและเผยแพร่หลักคำสอนของขงจื๊อได้อย่างแพร่หลาย ที่สุด ศิษย์ของท่านเม่งจื๊อจึงรวบรวมไว้เป็นชุดๆ และตั้งชื่อตามอาจารย์ของตน คือ เม่งจื๊อ เพื่อเป็นการให้เกียรติ

                   นอกจากนี้ มีนักปราชญ์หลายท่านได้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับคัมภีร์จุงหยุงไว้ ซึ่งก็มีนัยและเหตุผลที่คล้ายคลึงกัน ดังนี้ คือ

                   ทัศนะของศาสตราจารย์เลียวหนาด ชือเหลียน ซือ เห็นว่า คัมภีร์จุงหยุงเป็นคัมภีร์ที่ว่าด้วยจิตวิทยาสังคม และธรรมชาติของมนุษย์ ซึ่งสอดคล้องกับคำอธิบายของอาจารย์เฉิง (พ.ศ.1576-1651) ที่ว่า  คัมภีร์จุงหยุงบรรจุเนื้อหาเกี่ยวกับกฎการทำงานของจิต (the law of the mind)  ซึ่งได้รับการถ่ายทอดสืบกันมาจากขงจื๊อ ต่อมาถึงยุคของจื่อซือ (Tzu Ssu) ซึ่งเกรงว่าการถ่ายทอดจะมีความผิดเพี้ยน และคลาดเคลื่อน  จึงให้เขียนเป็นลายลักษณ์อักษรขึ้น จากนั้น ก็มอบหมายให้เม่งจื๊อเป็นผู้เก็บรักษา[16] สอดคล้องกับทัศนะของซือหม่าเฉียน (Ssu-ma Ch’ien) นักประวัติศาสตร์คนสำคัญของจีนที่กล่าวว่า คัมภีร์จุงหยุงได้รับการเขียนขึ้นโดยจื่อซือ ศิษย์คนใกล้ชิดของขงจื๊อ[17]

                   ดังนั้น คัมภีร์ทางสายกลางของขงจื๊อจึงมีอยู่ 3 ตอน ตอนที่ 1 มี 11 บท (บทที่ 1- 11) ตอนที่ 2 มี 9 บท (บทที่11–20) ตอนที่ 3 มี 13 บท (บทที่ 21–33) ในแต่ละบทมีข้อย่อยอีก  บางบทก็ไม่มีเลย  จำนวนมากน้อยไม่เท่ากัน ดังนั้นทั้ง 33 บทนี้ ไม่ได้กล่าวเฉพาะเรื่องทางสายกลางเท่านั้น แต่ยังครอบคลุมถึงจริยธรรมอื่น ๆ ด้วย ซึ่งท่านผู้รู้ได้แบ่งไว้เป็น 3 ส่วน[18] ส่วนที่ 1 ว่าด้วยคำสอนหลัก (the axis) ที่เป็นหลักความจริง หรืออภิปรัชญา  ส่วนที่ 2 ว่าด้วยวิธีการปฏิบัติ หรือกระบวนการ (the process) เกี่ยวข้องกับการ นำหลักความจริงมาประยุกต์ใช้ และส่วนที่ 3 ว่าด้วยความจริงใจ (sincerity) ซึ่งเป็นมรรควิถี ที่จะนำไปสู่การปฏิบัติเพื่อให้เกิดผล หากจะพูดตามหลักปรัชญา

 

                   3.1 ที่มาของคำสอน

                   ที่มาของคำสอนเรื่องทางสายกลางของจื๊อ เราเริ่มต้นจากคำถามที่ว่า ทำไมขงจื๊อต้องสอนเรื่องทางสายกลาง ? ในการตอบคำถามนี้ จำเป็นต้องย้อนไปดูสภาพของสังคมในขณะที่ขงจื๊อมีชีวิตอยู่ เพราะสภาพทางสังคมสะท้อนให้เห็นภาพคำสอนที่ชัดเจนขึ้น ดังที่มีผู้รู้ได้ตั้งข้อสังเกตไว้ว่า “คำสอนของขงจื๊อพัฒนาในรูปของปฏิกิริยาต่อยุคสมัยที่ขงจื๊อมีชีวิตอยู่”[19] ที่กล่าวไว้ว่า...

                   โลกที่ท่านได้เผชิญนั้นมิได้เป็นโลกที่สดใสเลย ประเทศจีนได้แบ่งแยกออกเป็นรัฐเจ้าครอบครองแคว้นเล็กแคว้นน้อยมากมาย ซึ่งแต่ละแคว้นมักจะทะเลาะวิวาทและทำสงครามกันอยู่เสมอ หรือไม่ก็ทะเลาะวิวาทและทำสงครามกับพวกป่าเถื่อนที่คอยยกมารุกรานเบียนเบียนอยู่  รอบทิศ บรรดากษัตริย์ที่ประทับอยู่ ณ ราชสำนักกลางของราชวงศ์โจว ซึ่งครั้งหนึ่งได้เคยประทานความร่มเย็นเป็นสุขและเสถียรภาพให้แก่ชาติ  ก็อ่อนแอลง และไม่มีสมรรถภาพพอที่จะสู้กับความเกรียงไกรของบรรดาเจ้าครองนคร ผู้มีอำนาจมากกว่าทั้งหลายได้ กษัตริย์ทั้งหลายถูกพวกเสนาบดีปลดออกจากตำแหน่ง หรือไม่ก็ถูกปลงพระชนม์เสีย โอรสก็ปลงพระชนม์พระราชบิดาได้ ทั้งหมดนั้นเป็นความทารุณโหดร้าย และเป็นการขาดความเป็นระเบียบเรียบร้อยในหมู่ชนชั้นปกครอง และดูเหมือนจะไม่มีอำนาจอะไรที่สูงไปกว่านั้นอีกแล้ว ไม่ว่าจะเป็นอำนาจชั่วคราวหรืออำนาจทางวิญญาณใด  ๆ ที่ประชาชนจะร้องเรียนเอาได้[20]

                   ข้อความดังกล่าวข้างต้นนี้ สะท้อนให้เห็นสภาพบริบททางสังคม การเมืองในยุคสมัยของขงจื๊อได้ชัดเจนว่ามีสภาพเป็นอย่างไร ขงจื๊อเองก็คงจะมองเห็นความระส่ำระสาย  ความไร้ระเบียบ ความทุกข์ของสังคมที่เผชิญอยู่ในขณะนั้น  ซึ่งแน่นอนสภาพสังคมดังกล่าว ย่อมทำให้มองลึกไปถึงสภาวะจิตใจของผู้คนในบ้านในเมืองได้ด้วยว่า มีสภาพเป็นอย่างไร อาจกล่าวได้ว่า ยุคสมัยขงจื๊อมีชีวิตอยู่นั้นเป็น “ยุควิกฤติทางศีลธรรม” (a time of moral chaos)[21] ผู้คนละทิ้งและไม่ใส่ใจเรื่องคุณธรรม อาชญากรรมก็เกิดขึ้นบ่อยครั้ง ในชนบทที่ห่างไกล มักถูกปล้นสะดม และภายในเมืองหลวงหรือในราชสำนักเองก็มีปัญหาเรื่องแก่งแย่ง ชิงดีชิงเด่น ซึ่งส่งผลกระทบไปถึงปัญหาทางเศรษฐกิจ เกิดช่องว่างระหว่างคนรวยกับคนจน คนมีอำนาจกับคนไร้อำนาจ

                   นอกจากนี้ แนวความคิดทางการเมือง และแนวความคิดทางปรัชญาในยุคสมัยของขงจื๊อจึงตกอยู่ในสภาพ “สุดโต่ง” 2 ทาง[22] ได้แก่

                   1. ความคิดเห็นที่ว่ารัฐบาลควรมีอำนาจเด็ดขาดในการควบคุมหรือแทรกแซงการบริหารราชการแผ่นดิน  แนวความคิดในลักษณะเช่นนี้ได้รับการเผยแพร่โดย กวนจุง (Kuan Chung), จื๊อชาน (Tzu Ch’an)  ซึ่งต่อมาแนวความคิดดังกล่าวนี้ก็ได้รับการพัฒนาไปสู่ความสุดโต่งอีกสำนักหนึ่งคือ สำนักนิติธรรมนิยม (Legalist School) เป็นกลุ่มขวาจัด

                   2. ความคิดเห็นที่เรียกกันว่า “นโยบายไม่แยแส” (laissez-faire policy) คือปล่อยไปตามยถากรรม ไม่รู้ไม่ชี้ ไม่นำพาสังคม ผู้ที่มีแนวความคิดในลักษณะเช่นนี้  คือ เล่าจื๊อ (Lao-tzu), เจียหยู (Chieh Yu), จางชู (Chang Chu), เจียหนี (Chieh Ni) เป็นต้น ซึ่งต่อมาแนวความคิดดังกล่าวนี้ก็ได้รับการพัฒนาไปสู่ความสุดโต่งอีกสำนักหนึ่งคือสำนักเต๋า (Taoist School) ซึ่งเป็นกลุ่มซ้ายจัด

                   แนวความคิดที่สุดโต่งข้างต้นนั้น ข้อแรกเน้นเรื่องการจัดระเบียบสังคมและเป็นการเน้นควบคุมสังคม ส่วนข้อที่สองเน้นเรื่อง เสรีภาพส่วนบุคคล  ทำให้มองเห็นว่า เกิดความขัดแย้งทางความคิด และการปฏิบัติ ซึ่งไม่มีทางที่จะเข้ากันได้ ขงจื๊อมองเห็นความสุดโต่งดังกล่าว ดังนั้นแนวความคิดทางปรัชญาขงจื๊อจึงไม่มีลักษณะสุดโต่งไปด้านใดด้านหนึ่ง  นั่นคือ ขงจื๊อไม่ทิ้งสังคม ขณะเดียวกันก็ให้ความสำคัญเรื่องเสรีภาพส่วนบุคคลด้วย  ด้านสังคมขงจื๊อก็เน้นเรื่องจารีตทางสังคม (หลี่) ในขณะที่ส่วนปัจเจกบุคคล ขงจื๊



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
สรวิชญ์
เขียนเมื่อ

วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างศรัทธากับปัญญาในพุทธปรัชญาเถรวาท

The Relation between Faith and Wisdom in Theravada Buddhist Philosophy       

 

สรวิชญ์ วงษ์สอาด[1]

sorawit  Wongsaard

บทคัดย่อ

ความสัมพันธ์ระหว่างศรัทธากับปัญญาเป็นความสัมพันธ์ที่มีคุณค่าและมีประโยชน์ เพราะว่า ศรัทธากับปัญญาในฐานะที่เป็นปัจจัยเกื้อกูลต่อกันในระดับโลกิยะปัญญาและระดับโลกุตตรปัญญา ซึ่งเกิดจากปรโตโฆสะและโยนิโสมนสิการ เป็นความสัมพันธ์ในฐานะที่เป็นปัจจัยเกื้อกูลต่อกัน จึงมีความสำคัญและมีประโยชน์ ที่ทำให้ได้โลกิยปัญญาที่ทำให้เกิดโลกุตตรปัญญา ที่มีประโยชน์สุขต่อภพปัจจุบันและภพหน้า ที่เป็นจุดเริ่มต้นของการปฏิบัติตามหลัก อริยมรรค และในการข่มนิวรณ์ ซึ่งเป็น โลกุตตรธรรมของบรรพชิตที่ใช้หลักไตรสิกขา 3 คือ ศีล สมาธิ และปัญญา ในการปฏิบัติของตน ส่วนคฤหัสถ์ใช้ทางแห่งการทำความดีได้ ๓ อย่าง คือ ทาน ศีล และภาวนา ในการปฏิบัติของตน ดังนั้น ความสัมพันธ์ของศรัทธากับปัญญาจึงมีความสำคัญและเครื่องมือในการปฏิบัติกัมมัฏฐาน เพื่อการบรรลุ มรรค ผล นิพพาน เป็นต้น

ABSTRACT

The relationship between the faith and the intellect were the value relation and benefit because the faith and the intellect supporting together in worldly intellect level and Dharma intellect level; the associated factors with the benefit and importance in the present and in the future. The starting point of the practice was the Aryan way principles which were the Dharma action of Buddhist using Tri education such as commandment. Concentration and praying. Therefore. The relationship between the faith and the intellect was more important as the instrument of Kim Mat than practice for the achievement of civilized way. Aryan result and nirvana etc.

1. บทนำ

ศรัทธามีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง ผู้เป็นศาสดาของลัทธิศาสนาต่างๆ ก็พยายามหาแนวทางสร้างความเลื่อมใสศรัทธาให้เกิดขึ้น เพื่อเผยแพร่หลักธรรมคำสอนของตนเองให้กว้างขวางออกไป พระพุทธศาสนาเห็นว่า เรื่องศรัทธา 4 ประการ คือ (1) อาคมนสัทธา (2) อธิคมนสัทธา (3) โอกัปปนสัทธา และ (4) ปสาทสัทธา เพราะศรัทธาเป็นเพียงขั้นหนึ่งในกระบวนการพัฒนาปัญญา เพราะปัญญาทำให้ศรัทธาเป็นศรัทธาที่ถูกต้อง ซึ่งเป็นกระบวนการสร้างปัญญาในที่สุด ฉะนั้น ศรัทธาต้องเป็นไปเพื่อปัญญาที่ถูกต้อง จึงต้องส่งเสริมแนวความคิดและความก้าวหน้า ในขณะเดียวกันแม้ตัวศรัทธาเองจะมั่นคงแน่นแฟ้นได้ก็เพราะได้คิดเห็นเหตุผลจนมั่นใจ หมดความเคลือบแคลงสงสัยใดๆ ตามหลักพระพุทธศาสนาจึงส่งเสริมการคิดหาเหตุผลเพื่อควบคุมศรัทธาที่ถูกต้องตามหลักสัทธา ได้แก่ กัมมสัทธา,วิปากสัทธา,กัมมัสสกตาสัทธา, และตถาคตโพธิสัทธา เพราะว่าพระพุทธองค์สอนมุ่งเน้นด้านปัญญา

2. วัตถุประสงค์ของการวิจัย

2.1  เพื่อศึกษาความสำคัญของศรัทธาในพุทธปรัชญาเถรวาท  

2.2 เพื่อศึกษากระบวนการพัฒนาปัญญาในพุทธปรัชญาเถรวาท  

3. วิธีดำเนินการวิจัย

3.1  ศึกษาและรวบรวมข้อมูลในส่วนที่ว่าศรัทธากับการพัฒนาปัญญา จากคัมภีร์ พระไตรปิฎก  อรรถกถา เอกสาร และงานวิจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาหรือประเด็นที่ต้องการทราบ 

3.2  ศึกษาและรวบรวมข้อมูลจากตำรา เอกสาร และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องที่เกี่ยวข้องกับงานเขียนทางศรัทธากับการพัฒนาปัญญาในพุทธปรัชญาเถรวาท และรวมแนวคิดจากการวิเคราะห์ตีความของนักปราชญ์ต่าง ๆ

3. ผลการวิจัย

ศรัทธา หรือความเชื่อ กล่าวคือ สามารถใช้ปัญญามาทดสอบและเป็นที่ยอมรับได้ เพราะเป็นการใช้สัทธาที่มีเหตุผลและประกอบไปด้วยปัญญาเป็นเครื่องกำกับวิธีการต่างๆ เป็นพื้นฐาน ตามหลักธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าที่ทรงแสดงถึงความเชื่อ โดยบอกถึงวิธีให้ใช้ปัญญาประคองศรัทธา เพราะว่า พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาแห่งปัญญา ไม่ได้เน้นที่ศรัทธาเหมือนศาสนาอื่น คำว่า “เป็นศาสนาแห่งปัญญา” หมายถึง คำสอนในทางพระพุทธศาสนานั้น เป็นคำสอนที่ประกอบด้วยเหตุผล ในการตีความในหลักพุทธธรรมตามภูมิปัญญาของแต่ละบุคคล ความถูก - ความผิด ขึ้นอยู่กับระดับชั้นของความจริง เพราะว่า พระพุทธองค์ทรงให้เน้นที่เหตุและผลหลายประการด้วยกัน 3 ประการ คือ (1) ทำให้ภาพลักษณ์ของพระพุทธศาสนาซึ่งแสดงมาโดยตลอดว่าเป็นศาสนาแห่งเหตุผลนั้นมีความแจ่มชัดมากยิ่งขึ้น (2) เป็นส่วนหนึ่งการทลายกำแพงระบบวรรณะที่เกาะกินสังคมอินเดียมาตั้งแต่ยุคก่อนพุทธกาลนั้นเกิดความสั่นคลอน และก่อเกิดความเป็นศาสนาที่เน้นเรื่องความเท่าเทียมกันขึ้นเป็นครั้งแรก (3) ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ของศาสดาเจ้าลัทธิต่างๆในยุคนั้นเพื่อให้สามารถ “แข่งขัน” กับพระพุทธศาสนาได้ ดังนั้นความเชื่อหรือสัทธาที่อยู่บนพื้นฐานของปัญญาและคุณธรรมที่สำคัญเป็นเอกปัญญาขั้นสูงสุด คือ ปัญญาในขั้นที่รู้สัจธรรม และตัดสังโยชน์กิเลสเครื่องร้อยรัดมัดตัวตนไว้กับกองแห่งความทุกข์ได้เด็ดขาด ปัญญาชนิดนี้ มีชื่อเรียกว่า วิปัสสนาปัญญา หรือภาวนามยปัญญา เป็นปัญญาที่มาคู่กับสมาธิ เป็นข้อปฏิบัติเฉพาะในทางพระพุทธศาสนาเท่านั้น วิปัสสนาปัญญา จึงเป็นแกนกลางที่ร้อยประสานอยู่ในทางพระพุทธศาสนา และเป็นการช่วยแก้ปัญหาวิกฤตศรัทธาในสังคมปัจจุบันต่อปัจเจกบุคคล พร้อมกับเป็นเครื่องมือที่จะคอยตรวจสอบสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ที่บุคคลใดบุคคลหนึ่งว่าควรเชื่อถือได้หรือไม่ นั้นเอง

4. นิยามและความหมายของศรัทธากับปัญญาในพุทธปรัชญาเถรวาท

4.1  ความหมายของศรัทธา

คำว่า “ศรัทธา หรือ สัทธา” ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน หมายถึง ความเชื่อ ความเลื่อมใส (ราชบัณฑิตยสถาน,2546 : 1165) นอกจากนี้ สัทธา เป็นภาษาบาลี เขียนว่า สทฺธา ตรงกับภาษาสันสกฤต คือ ศรัทธา (ศฺรทฺธา) หมายถึง ความเชื่อ ความเชื่อที่ประกอบด้วยเหตุผล และสัทธา (Saddha) ในภาษาอังกฤษตรงกับคำว่า Faith, Belief และ Confidence หมายถึง เชื่อสิ่งที่ควรเชื่อ ความเชื่อที่ประกอบด้วยเหตุผล ความเชื่อมั่นในสิ่งที่ดีงาม ความเลื่อมใส ซาบซึ้ง ชื่นใจ สนิทใจ เชื่อมั่น มีใจโน้มนิยมมุ่งแล่นไปตามคุณความดีในบุคคลหรือสิ่งนั้นๆ ความมั่นใจในความจริง ความดี สิ่งดีงาม และในการทำความดี ไม่ลู่ไหลตื่นตูมไปตามลักษณะอาการ ภายนอก (พระเทพเวที (ป.อ.ปยุตฺโต),2533 :428) ดังนั้น ศรัทธามีลักษณะ 6 ประการ คือ (1) ศรัทธามีความเชื่อในฝ่ายดีเป็นลักษณะ (2) มีความปลงใจเชื่อด้วยปัญญาเป็นหน้าที่ (3) มีความเลื่อมใสเป็นหน้าที่ ดุจแก้วมณีทำน้ำให้แจ่มใสฉะนั้น มีความแล่นไปอย่างแจ่มใสเป็นหน้าที่ ดุจห้วงน้ำใหญ่มีน้ำใสแจ๋วฉะนั้น (4) มีความไม่ขุ่นมัว เป็นผล มีความน้อมใจเชื่อ เป็นผลปรากฏ (5) มีวัตถุเป็นที่ตั้งแห่งความเชื่อ 3 ประการ ได้แก่ พระรัตนตรัย กรรม และผลแห่งกรรมเป็นเหตุใกล้ชิด คือ โสตาปัตติยังคธรรม (วุฑฒิธรรม) และ (๖) ฟังพระสัทธรรม คบหาสมาคมกับสัตบุรุษ ใส่ใจโดยอุบายอันแยบคาย และปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม (พระธรรมธีรราชมหามุนี 2548, :211)

นอกจากนี้ ยังมีศรัทธาอีก 2 ประการ คือ (1) สัทธานุสารี คือ ผู้แล่นไปตามสัทธา ที่เรียกว่า “สัทธาวิมุต” (2) สัทธาวิมุติ คือ การหลุดพ้นด้วยสัทธา ที่เรียกว่า “ปัญญาวิมุตติ” ดังความเชื่อในคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ในการปฏิบัติเบื้องต้นต้องอาศัยศรัทธาและปัญญา นำมาปฏิบัติให้เป็นไป (สมเด็จพระญาณสังวร (สุวัฑฒนมหาเถระ),2548,:20) เช่น เชื่อว่าทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เชื่อต่อพระรัตนตรัย เชื่อต่อการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า สัทธาเป็นเจตสิก แปลว่า ตั้งใจไว้ชอบ สำหรับแต่งใจของบุคคล ให้ใจงามใจดี คือให้ใจเป็นกุศล (พระธรรมธีรราชมหามุนี (โชดก ญาณสิทฺธิเถร ป.ธ.๙), 2484, :12)

4.2 ความหมายของปัญญา

คำว่า “ปัญญา” หมายถึง ความรู้แจ้ง ความรู้ทั่ว  รู้ซึ้ง ปรีชาหยั่งรู้เหตุผล ความรู้เข้าใจชัดเจน ความรู้เข้าใจหยั่งแยกได้ในเหตุผลดีชั่ว รู้คุณโทษ รู้ประโยชน์มิใช่ประโยชน์  เป็นความรู้ที่จัดการอาสวะกิเลสทั้งปวง  เป็นความรอบรู้ที่มองเห็นในกองสังขารตามความเป็นจริง (ที.ปา. (ไทย) 11/228/231 ; อภิ.วิ. 38/804/438) โดยวิธีปฏิบัติที่เกิดจากวิปัสสนา กล่าวคือ ความเห็นแจ้งสิ่งทั้งหลายตามเป็นจริง ที่เกิดขึ้นได้เฉพาะเมื่อจิตเป็นสมาธิเท่านั้น การเห็นแจ้งนี้บังคับไม่ได้ ทำได้แต่เพียงประคองจิตให้เป็นสมาธิไว้ให้ดีอยู่ตลอดเวลา ในลักษณะอำนวยแก่การพิจารณาสิ่งทั้งปวง จนกว่าเมื่อใดความเห็นแจ้งจะปรากฏขึ้น และความเห็นแจ้งที่ปรากฏขึ้นถึงที่สุดนี้ สามารถทำลายอวิชชา คือ ความหลงอันเป็นเชื้อของกิเลสทั้งหลายให้หมดสิ้นไปได้ กิเลสจึงจะไม่เกิดขึ้น ต่อจากนั้นไปศีลก็จะอยู่ในตัวเอง สมาธิก็อยู่ในตัวเองเป็นปกติและเด็ดขาด ความเห็นแจ้งย่อมเป็นเสมือนแสงสว่างอันแรงกล้า ที่สามารถส่องลึกไปทำลายเชื้ออันละเอียดทั้งปวงในส่วนลึกที่สุดของสันดาน คือ พื้นส่วนลึกที่สุดของจิต อันเป็นที่นอนเนื่องแอบแฝงความเคยชินของกิเลสเหล่านั้น(พุทธทาสภิกขุ :148-149) มีลักษณะของความรู้หรือปัญญาที่พอจะรวบรวมมาได้เด่นชัดที่สุด คงจะได้จากพระไตรปิฎกว่า “ปัญญาเหมือนแผ่นดิน ปัญญาเครื่องทำลายกิเลส ปัญญาเป็นเครื่องนำทาง ความเห็นแจ้ง ความรู้ชัด ปัญญาเหมือนประตัก ปัญญาเหมือนศัสตรา ปัญญาเหมือนปราสาท ความสว่างคือปัญญา แสงสว่างคือปัญญา ปัญญาเหมือนประทีป ปัญญาเหมือนดวงแก้ว” (อภิ.วิ. (ไทย) 34/612/287) และ “ปัญญามีการบรรลุสัจจะเป็นลักษณะ มีการค้นคว้าเป็นกิจ มีความไม่หลงเป็น ปัจจุปัฏฐาน มีสัจจะ 4 เป็นปทัฏฐาน และมีอริยสัจ 4เป็นปทัฏฐาน อีกอย่างหนึ่ง ความเข้าใจแจ่มแจ้งเป็นลักษณะของปัญญา การรู้สภาวธรรมตามความเป็นจริงเป็นกิจ การกำจัดความมืดคือ อวิชชาเป็นปัจจุปัฏฐาน ปฏิสัมภิทา 4 ตามหลักเหตุผลเป็นปทัฏฐานของปัญญา”(พระอุปติสสเถระ, 2541: 210)

  1.   ลักษณะและขั้นตอนของสัทธากับกระบวนการพัฒนาปัญญาในพุทธปรัชญาเถรวาท

5.1  ลักษณะและขั้นตอนของสัทธา

เนื่องจากศรัทธานี้เป็นปัจจัยพื้นฐานสำคัญที่จะทำให้เกิดจุดหมายสูงสุด คือ การหลุดพ้น โดยแยกตามคัมภีร์ตางๆ เช่น คัมภีร์พระสุตตันตปิฎก คัมภีร์พระอภิธรรม และคัมภีร์อรรถกถา ไว้ 10 ลักษณะ ได้แก่ (1) ลักษณะของศรัทธาเป็นเครื่องฝังจิตด้วยดี (2) ลักษณะของศรัทธาเป็นเพื่อนแท้ของมนุษย์ (3) ลักษณะของศรัทธาเป็นเครื่องสะสมเสบียง (4) ลักษณะของศรัทธาเป็นพืช (๕) ลักษณะของศรัทธาเป็นทรัพย์เครื่องปลื้มใจ (๖) ลักษณะของศรัทธาพาบุคคลข้ามโอฆะ (7) ลักษณะของศรัทธาทำให้หมู่ชนงดงาม (๘) ลักษณะของศรัทธาเป็นโสภณเจตสิกฝ่ายดี (9) ลักษณะของศรัทธาทำให้เกิดความเลื่อมใส และ(10) ลักษณะของศรัทธาทำให้จิตแล่นไปด้วยดี เพราะว่า ลักษณะของศรัทธาทั้ง 10 อย่าง เป็นศรัทธาความเชื่อที่แน่วแน่มั่นคงมาก จนสามารถทำให้จิตมีพลังข่มนิวรณ์ที่เป็นเครื่องกีดขวางความสำเร็จลงได้ ในขณะที่จิตไม่มีนิวรณ์ จิตก็จะใส สะอาด ปราศจากความเศร้าหมอง สามารถมองเห็นและเข้าใจในกุศลธรรมได้อย่างชัดเจน พร้อมที่จะเดินไปเพื่อมรรคผลต่อไป อีกประการหนึ่งคือกำลังแห่งศรัทธา ในจิตที่ใสสะอาดแล้วจัดเป็นจิตที่มีอิสระ ไม่คับแคบ มองสิ่งต่างๆ เป็นกุศล เมื่อได้พบเห็นบุคคลอื่นๆ ที่ได้บรรลุคุณธรรมขั้นต่างๆ จิตก็เกิดศรัทธาน้อมไปในคุณธรรมของบุคคลเหล่านั้น ทำให้ เกิดมีกำลังใจในการปฏิบัติธรรมเพื่อให้บรรลุคุณธรรมเช่นเดียวกับบุคคลเหล่านั้นบ้าง ศรัทธาประเภทนี้เรียกว่า “สัทธานุสารี” ตัวอย่างเช่น พระอริยสาวกหลายๆ พระองค์เช่น พระสารีบุตรมีความเลื่อมใสในอิริยาบทอันสำรวมเรียบร้อย มีสติทุกขณะของพระอัสสชิเกิดความเลื่อมใส อยากเป็นเช่นนั้นบ้าง จึงสนใจเข้าไปถามว่าผู้ใดเป็นศาสดา และหลักธรรมใดที่ท่านเชื่อถืออยู่และปฏิบัติตามอยู่ เมื่อพระสารีบุตรได้รับฟังธรรมที่พระอัสชิตอบ ท่านก็ได้บรรลุธรรมเช่นเดียวกับพระอัสชิ (พระครูกัลยาณสิทธิวัฒน์, 2546 :19-20) เป็นต้น 

 

5.2 ลักษณะและขั้นตอนของการพัฒนาปัญญา

ลักษณะและขั้นตอนของการพัฒนาปัญญา  มี ๓ ลักษณะ ได้แก่ ศีล สมาธิ และปัญญา เพราะว่า ผู้เข้าถึงความว่างจากกิเลส ย่อมบริสุทธิ์สมบูรณ์ด้วยไตรสรณคมน์ มีศีล สมาธิ และปัญญา ปัญญาคือทางที่ดำเนินไปสู่ความบริสุทธิ์ ดังคำบาลีว่า “ปญฺาย ปริสุชฺฌติ” แปลว่า บุคคลบริสุทธิ์ได้ด้วยปัญญา”(ขุ.สุ. (ไทย) 25/311 /228) แม้จะกล่าวถึงปัญญาอย่างเดียว ศีลและสมาธิก็รวมอยู่ในนั้นพร้อมอย่างสมบูรณ์ เป็นองค์รวมที่แยกออกจากกันไม่ได้ และเป็นทางทางสายกลาง (มัชฌิมาปฏิปทา) สิ่งที่เรียกว่าปัญญา หมายถึง การรู้จักตัวเองตามความเป็นจริง  คือไม่มีอะไรน่ายึดถือ ดังคำบาลีที่ว่า “สพฺเพ ธมฺมา นาลํ    อภินิเวสาย” แปลว่า  สิ่งทั้งหลายทั้งปวงไม่ควรยึดมั่นถือมั่น” (ม.มู.(บาลี) 12/390/348 ; ม.มู.(ไทย) 12/390/421) เรื่องนี้ถือว่า เป็นหัวใจที่สำคัญเป็นอย่างยิ่งของพระพุทธศาสนา ถ้ายังไม่รู้จักเรื่องนี้ เท่ากับว่าไม่รู้จักพระพุทธศาสนาที่ถูกต้องอย่างแท้จริง เมื่อมีศีลสมบูรณ์ คือ ไม่มีความเดือดร้อนทางกาย วาจา ใจ สมาธิก็เกิดขึ้นง่าย ทั้งที่เป็นสมาธิโดยธรรมชาติ หรือสมาธิที่เราฝึกให้มีขึ้น คือ จิตบริสุทธิ์ไม่มีกิเลสรบกวน จิตที่แน่วแน่ในสิ่งใดสิ่งหนึ่ง จิตว่องไวควรแก่การงาน สามารถนำไปใช้เพื่อพิจารณาขันธ์ ๕ หรืออารมณ์ทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็นความโลภ โกรธ หลง ล้วนมีความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา เพื่อให้เกิดปัญญาต่อไป เพราะว่า จิตที่เป็นสมาธิ ย่อมรู้เห็นสรรพสิ่งตามความเป็นจริง ฉะนั้นพึงทราบว่า ศีลควบคุมให้เกิดสมาธิ สมาธิควบคุมให้เกิดปัญญา ปัญญาควบคุมศีล เป็นบาทฐานซึ่งกันและกันอย่างแยกไม่ออก ทำงานหมุนเวียนต่อเนื่องกันไปเป็นธรรมจักรอันเดียวกันอย่างนี้ในทุกระดับ จนถึงพระนิพพานในที่สุด (พุทธทาสภิกขุ, 2541 : 5-6)

6. หลักธรรมที่เกี่ยวข้องกับศรัทธาและเป็นกระบวนการพัฒนาปัญญาในพุทธปรัชญาเถรวาท

6.1  หลักธรรมที่เกี่ยวข้องกับศรัทธา

เนื่องจากศรัทธามีส่วนสำคัญในการดำเนินกิจทั้งในส่วนที่เป็นโลกิยะและส่วนที่เป็นโลกุตตระ ตามหลักของศรัทธา ได้แก่ (1) พละ 5 หมายถึง ธรรมอันเป็นกำลัง (องฺ.ปญฺจก. (ไทย) 22/13/17) (2) อินทรีย์ 5 หมายถึง ธรรมที่เป็นใหญ่ในกิจของ (องฺ.จตุกฺก. (ไทย) 21/141/214) (3) สัมปรายิกัตถสังวัตตนิกธรรม 4 หรือ สัมปรายิกัตถประโยชน์ หมายถึง ประโยชน์ภายหน้า, ประโยชน์ขั้นสูงขึ้นไป (องฺ. จตุกฺก. (ไทย) 21/61/101) (4) สัปปุริสธรรม 8 เป็นธรรมของสัตบุรุษ หรือธรรมของคนดี (มชฺฌิมนิกาย อุปริปณฺณาสก 14/143/112) (5) จรณะ 15 เสขปฏิปทา  หมายถึงความประพฤติ ปฏิปทา ข้อปฏิบัติอันเป็นทางบรรลุวิชชา หรือนิพพาน บางทีเรียกว่า เสขปฏิปทา คือข้อปฏิบัติอันเป็นทางดำเนินของพระเสขะ (องฺ.สตฺตก (ไทย) 23/6/5) (6) หลักพิจารณาเรื่องความเชื่อในกาลามสูตร  กล่าวได้ว่าในหลักของกาลามสูตร ไม่ใช่หลักของสัทธาโดยตรง แต่เป็นหลักเพื่อสนับสนุนให้เกิดการตัดสินใจเชื่อต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่งอย่างมีปัญญา การลงความเห็นว่าสิ่งใดควรเชื่อหรือสิ่งใดไม่สมควรเชื่อนั้นเป็นประเด็นที่เกิดขึ้นได้เสมอ เพราะแต่ละสิ่งนั้นต่างก็มีเหตุผลมาสนับสนุนเสมอ พระพุทธองค์ตรัสถึงหลักเกณฑ์ที่ใช้พิจารณาเรื่องความเชื่อไว้ใน เกสปุตติสูตร ว่าด้วยกาลามะ ชาวเกสปุตตนิคม 10 ประการ คือ อย่าปลงใจเชื่อด้วยการฟังตามกันมา, อย่าปลงใจเชื่อด้วยการถือสืบๆ กันมา, อย่าปลงใจเชื่อด้วยการเล่าลือ, อย่าปลงใจเชื่อด้วยการอ้างตำราหรือคัมภีร์, อย่าปลงใจเชื่อเพราะตรรกะ (การคิดเอาเอง), อย่าปลงใจเชื่อเพราะการอนุมาน, อย่าปลงใจเชื่อด้วยการคิดตรองตามแนวเหตุผล, อย่าปลงใจเชื่อเพราะเข้าได้กับทฤษฎีที่พินิจไว้แล้ว, อย่าปลงใจเชื่อเพราะมองเห็นรูปลักษณะน่าจะเป็นไปได้, และอย่าปลงใจเชื่อเพราะนับถือว่า ท่านสมณะนี้เป็นครูของเรา (องฺ.ทุก.(ไทย) 20/ 66/257)

6.2  หลักธรรมที่สัมพันธ์ต่อการพัฒนาปัญญา

เนื่องจากหลักธรรมที่สัมพันธ์ต่อการพัฒนาปัญญาที่มีส่วนสำคัญ 3  อย่าง คือ

1. ไตรลักษณ์ กล่าวคือ เป็นหลักธรรมที่ต้องใช้ปัญญาพิจารณาลักษณะสามัญของสิ่งทั้งปวง  ประกอบอยู่ด้วยลักษณะ ๓ ประการ คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ทั้ง ๓ ลักษณะนี้ เป็นสามัญของสิ่งทั้งปวง เป็นของที่ตั้งอยู่เองตามธรรมชาติ โดยเฉพาะพระพุทธเจ้าเป็นเพียงผู้ทราบกฎนี้ และทราบวิธีปฏิบัติที่ถูกต้องต่อสิ่งเหล่านี้ ในลักษณะที่จะไม่ทำให้เกิดความทุกข์ขึ้น (อง.ติก. (ไทย) 20/137/384) ตามความเป็นจริง ฉะนั้น การเห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ที่แท้จริง  คือต้องเห็นด้วยใจจนเกิดความรู้สึกว่า สิ่งทั้งปวงน่าเบื่อหน่าย น่าสังเวช เป็นมายา ไม่มีอะไรน่ายึดมั่นถือมั่น โดยประการทั้งปวง (พุทธทาสภิกขุ, 2534 : 28-30)

2. อิทัปปัจจยตา กล่าวคือ ความเป็นปัจจัย คำว่า “อิทัปปัจจยจตา” แปลว่า ความที่เมื่อมีสิ่งนี้เป็นปัจจัย, คำว่า อิทัปปัจจยตานี้ กินความหมายกว้าง หมายความว่า ไม่ยกเว้นอะไรเลย ในบรรดาสิ่งที่เป็นสังขตธรรมทั้งหลาย จะเป็นรูปธรรม - นามธรรม, ภายนอก - ภายใน, หยาบ - ละเอียด กล่าวโดยสรุปให้เห็นเป็นประเภทใหญ่ ๆ ได้ 3 ประเภท คือ(1) อิทัปปัจจยตา ของสิ่งที่เป็นเหตุ (2) อิทัปปัจจยตา ของสิ่งที่เป็นผล และ(3) อิทัปปัจจยตา ของปัจจยาการ

นอกจากนี้ อิทัปปัจจยตา เป็นคำย่อของเรื่องปฏิจจสมุปบาท  มีใจความว่า  เมื่อมีสิ่งนี้ๆ เป็นปัจจัย สิ่งนี้ๆ ย่อมเกิดขึ้น ตลอดถึงปฏิปักขนัย (นัยตรงกันข้าม) ที่กลับกันอยู่ด้วยในตัว คือ ถ้าไม่มีสิ่งนี้ๆ เป็นปัจจัย สิ่งนี้ๆ ก็ไม่เกิดขึ้นฉะนั้น คำว่า “อิทัปปัจจยตา” มีความหมายกว้าง ๆ จะใช้กับรูปธรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง ในกรณีใดกรณีหนึ่งก็ได้  เป็นกฎวิทยาศาสตร์ทั่วไปก็ได้ ส่วนคำว่า “ปฏิจจสมุปบาท” มุ่งหมายใช้เฉพาะเรื่องเกิดทุกข์ และกับเรื่องดับทุกข์โดยตรงในพระพุทธศาสนา ใจความสำคัญ คือแสดงถึงกระแสแห่งปัจจัย  และสิ่งที่เกิดตามเหตุปัจจัย เป็นสายยาวสืบทอดกันไป ทั้งฝ่ายเกิด และฝ่ายดับเท่านั้น(พุทธทาสภิกขุ, 2517 :172)

3) สุญญตา กล่าวคือ เป็นสภาวะแห่งความว่างที่ปราศจากความเป็นสัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขา, เป็นสภาวะที่ขันธ์ ๕ หมายถึง อนัตตา กล่าวคือ ว่างจากความเป็นตัวตน ตลอดจนว่างจากสาระต่างๆ เช่น สาระ คือความเที่ยงแท้ ความสวยงาม ความสุข โดยปริยาย หมายถึง หลักธรรมฝ่ายปรมัตถ์ เช่น ขันธ์ ธาตุ อายตนะ และปัจจยาการ แสดงตัวสภาวะให้เห็นความว่างเปล่า ปราศจากความเป็นสัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขา เป็นเพียงธรรม หรือกระบวนการทางธรรมชาติล้วนๆ หมุนเวียนเปลี่ยนแปลงไปมีลักษณะ 2 ประการ คือ (1) ความว่างที่เป็นลักษณะของสิ่งทั้งปวง เช่นบาลีว่า “สพฺเพ ธมฺมา  อนตฺตา” แปลว่า สิ่งทั้งปวงเป็นอนัตตา โลกนี้จึงว่างโดยธรรมชาติ แต่คำว่า ว่าง ที่ท่านพุทธทาสเข้าใจในที่นี้ มิได้หมายความว่า ไม่มีอะไร แต่หมายความว่า มีทุกสิ่งทุกอย่างมีตามที่เราเห็นอยู่ เพียงแต่ว่ามันว่างจากความหมายที่ควรจะยึดถือว่า เป็นตัวตนหรือของตน ฉะนั้น ในสุญญตาสูตร จึงเขียนกล่าวไว้ชัดเจนว่า โลกนี้ว่าง เพราะว่าไม่มีส่วนใดที่ควรจะยึดถือเอาว่า  เป็นตัวตน หรือเป็นของตน แต่มิได้หมายความว่า  ไม่มีโลกนี้ หรือไม่ได้หมายความว่า ไม่มีอะไรอยู่ในโลกนี้ (2) ความว่างเป็นลักษณะของจิตที่ไม่ยึดมั่นถือมั่นสิ่งทั้งปวง ข้อนี้สืบต่อมาจากความว่างในข้อแรก นั่นคือ  สิ่งทั้งปวงรวมเอาทั้งจิตด้วย ว่างจากความหมายที่ควรจะยึดถือว่า เป็นตัวตนหรือของตน จิตนั้นจึงไม่ไปยึดถือเอาส่วนหนึ่งส่วนใดในโลกนี้ ว่าเป็นตัวตน จิตนั้นจึงว่าง เพราะจิตนั้นเห็นความว่างของโลกอยู่เสมอ  จึงไม่เกิดการปรุงแต่งยึดถือเอาเป็นตัวตน เมื่อไม่มีการปรุงแต่งยึดถือเอาเป็นตัวตน ก็ไม่อาจจะเกิดโลภะ โทสะ และโมหะได้  ดังนั้น ท่านจึงกล่าวว่า จิตว่าง เพราะว่างจากกิเลส คือ โลภะ โทสะ และโมหะ นั่นเอง(พุทธทาสภิกขุ, 2517: 20)

7. วิธีการพัฒนาของศรัทธาในปัญญาในพุทธปรัชญาเถรวาท

7.1  วิธีการพัฒนาของศรัทธา

วิธีการพัฒนาของศรัทธาแบ่งตามระดับคุณธรรม ๗ ในการความลุ่มลึกของศรัทธานั้นมีระดับที่ต่างกันไปตามคุณธรรมตามลำดับของศรัทธาทั้ง ๗ ประการ คือ (1) ปสาทสัทธา (2) โอกัปปนสัทธา (3) อาคมสัทธา (4) อธิคมสัทธา                 (5) ปัจจักขสัทธา (6) ปักขันทนสัทธา และ (7) โวสสัชชนสัทธา นอกจากนี้ ศรัทธายังแบ่งตามระดับของศรัทธาอีก 2 ประเภท ได้แก่ (1) โลกียสัทธา และ (2) โลกุตรสัทธา เพราะว่าศรัทธาแบ่งตามระดับของคุณธรรมทั้ง 7 ประการ คือ (1) โยนิโสมนสิกาโร (2) ปฏิรูปเทสวาโส (3) สปฺปุริสูปสํเสโว (4) สทฺธมฺมสฺสวนํ (5) สทฺธมฺมสมฺมุขตา (6) ปุพฺเพ กตปุญฺญตา (7) อตฺตสมฺมาปณิธิ(พระธรรมธีรราชมหามุนี, ๒๕๔๖ : ๒๒๓) เพราะเป็นเหตุปัจจัยที่ทำให้เกิดศรัทธาที่ทำให้บุคคลมีความเชื่อความเลื่อมใสศรัทธา ซึ่งพบได้ เห็นได้ทั่วไปในหมู่มนุษย์ มีกล่าวไว้ใน รูปสูตร ที่ว่าด้วยบุคคลผู้ถือรูปเป็นประมาณ คือ (1) บุคคลผู้ถือรูปเป็นประมาณ เลื่อมใสในรูป (2) บุคคลผู้ถือเสียงเป็นประมาณ เลื่อมใสในเสียง (3) บุคคลผู้ถือความเศร้าหมองเป็นประมาณ เลื่อมใสในความเศร้าหมอง (4) บุคคลผู้ถือธรรมเป็นประมาณ  เลื่อมใสในธรรม (องฺ.จตุกฺก.(ไทย) 21 /65 /109)

7.2  วิธีการพัฒนาปัญญา

วิธีการปฏิบัติเพื่อให้เกิดการพัฒนาปัญญา ไว้ 3 ประการ คือ (1) สุตมยปัญญา (2) จินตามยปัญญา (3) ภาวนามยปัญญา(ที.ปา.(ไทย) 11/228/271) หลังจากที่พระพุทธองค์ตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิยาน  (สํ.ม. (ไทย) 19/1081/592-596) เพื่อความหลุดพ้นกองทุกข์ในระดับโลกียะและโลกุตระ 2 ด้าน คือ

  1. ด้านของสมถภาวนา หมายถึง อุบาย วิธี และการกระทำให้จิตสงบระงับจากกิเลสเครื่องเศร้าหมองเร่าร้อนทั้งหลาย จนจิตใจไม่มีอาการดิ้นรน ไม่กระสับกระส่ายตลอดเวลาที่กิเลสเหล่านั้นสงบระงับอยู่ (ขุนสรรพกิจโกศล, 2534 :2) นอกจากนี้ ยังมีประเภทของสมาธิ  มี 5ประเภท ดังนี้ คือ (1) สมาธิ 1 ได้แก่ เอกัคคตาสมาธิ (2) สมาธิ 2 ได้แก่  โลกิยสมาธิ และโลกุตตรสมาธิ (3) สมาธิ 3 ได้แก่ ขณิกสมาธิ อุปจารสมาธิ และอัปปนาสมาธิ (4) สมาธิ 4 ได้แก่ ทิฏฐธัมมสุขวิหารสมาธิ ญาณทัสสนสมาธิ สติสัมปชัญญสมาธิ  และอาสวักขยสมาธิ และ (5) สมาธิ 5 ได้แก่ สุขสมาธิ สันตสมาธิ อริยสมาธิ นิรามิสสมาธิ อกาปุริสสมาธิ ได้แก่  สมาธิของมหาบุรุษดังนั้น สมถภาวนามี ๒ ลักษณะ คือ (1) ปริตตสมถภาวนา และ (2) มหัคคตสมถภาวนา (พระธรรมธีรราชมหามุนี, 2546 :123)
  2.   ด้านของวิปัสสนาภาวน กล่าวคือ(พระมหาไสว ญาณวีโร,  2544 :10) หมายถึง อารมณ์อันเป็นที่ตั้งแห่งการงานทางใจที่จะให้เห็นแจ้ง ซึ่งมีความหมายว่า ให้เห็นแจ้ง รูปนาม ให้เห็นแจ้ง ไตรลักษณ์ ให้เห็นแจ้ง อริยสัจ ให้เห็นแจ้งมรรคผล นิพพาน (ขุนสรรพกิจโกศล 2534 :73) มี 3 ประเภท ได้แก่ (1) วิปัสสนาญาณที่มีการกำหนดรู้ในสังขารธรรม รูปและนาม (2) วิปัสสนาญาณที่เป็นเหตุให้เข้าผลสมาบัติได้ (3) วิปัสสนาญาณที่เป็นเหตุให้เข้านิโรธสมาบัติได้ (ขุ.ป.อ. (ไทย) 68/889)นอกจากนี้  ยังมีประเภทของวิปัสสนากัมมัฏฐานนั้น มีอยู่ ๒ ประเภท คือ สุกขวิปัสสก (วิปัสสนายานิกะ) และฌานลาภีบุคคล (สมถยานิกะ) (1) สุกขวิปัสสกบุคคล (วิปัสสนายานิกะ) และ(2) ฌานลาภีบุคคล (สมถยานิกะ)(ขุนสรรพกิจโกศล 2534 :130-133)

 

8. สรุปวิเคราะห์

 

ศรัทธามีความสำคัญเป็นจุดเริ่มต้นของบุคคลทั่ว ๆ ไป เป็นธรรมที่ก่อให้เกิด กุศลหรืออกุศลตามมาก็ได้ แต่ในทางพระพุทธศาสนาศรัทธามีความหมายไปในทางการพัฒนาปัญญา เป็นไปเพื่อความเจริญงอกงามทั้งตนเองและสังคม ซึ่งพอสรุปความสำคัญของศรัทธา  ในฐานะเป็นธรรมเกิดก่อน เนื่องจากสัทธามีส่วนสำคัญในการส่งเสริมสนับสนุนกุศลธรรมข้ออื่นๆ ให้ขับเคลื่อนไปในแนวทางที่พึงประสงค์คือเกิดปัญญา เช่น ในพละ ๕ ประกอบด้วย สัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา ซึ่งเห็นได้ว่าเมื่อสัทธาเกิดขึ้นย่อมทำให้เกิดพลังความเพียร ตามด้วยการฝึกสติปัฎฐาน เจริญสมถวิปัสสนา จนเกิดปัญญาหยั่งรู้ หรือ อารยวัฒิ 5 ประกอบด้วย ศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา ผู้มีศรัทธา ทำให้จิตมีกุศลธรรม ด้วยการระวังรักษากาย ระวังรักษาวาจา ให้สุจริต หมั่นศึกษาพระสัทธรรมมีสติสมาธิ มีจิตเมตตาในการบริจาค การเสียสละโดยไม่หวังสิ่งตอบแทน จนสามารถเข้าถึงปัญญาได้ จากตัวอย่างที่ได้ยกมาเห็นได้ว่า ศรัทธาเป็นธรรมหรือกุศลธรรมที่เกิดขึ้นมาก่อนเพื่อสนับสนุนธรรมข้ออื่นๆให้เกิดขึ้นตามมา ในฐานะเป็นธรรมนำสู่ความเจริญ แบ่งออกเป็น 2 ประการ คือ (1) ความเจริญทางโลกิยะสัทธา (2) ความเจริญทางโลกุตตระสัทธา เพราะว่าสัทธาในฐานะเป็นธรรมสร้างพลัง เช่นในหลักธรรมหมวด พละ 5 อินทรีย์ 5 เป็นต้น   

ดังนั้น ในพุทธปรัชญาเถรวาท เป็นจุดเริ่มต้นที่จะทำให้บุคคลพัฒนาตนเองไปในทางที่ถูกต้อง เป็นไปเพื่อกุศล ศรัทธาเป็นธรรมที่เกิดก่อน เมื่อเกิดสัทธาแล้ว ธรรมอื่นจะบังเกิดตามมา ศรัทธาเป็นธรรมที่ทำให้เกิดพลังในการประพฤติปฏิบัติธรรม รวมทั้งเป็นธรรมที่ทำให้เกิดปีติ ผ่องใส จิตใจสงบเย็น สุดท้ายสัทธาก็จะนำไปสู่กระบวนการพัฒนาปัญญาในพุทธปรัชญาเถรวาท  โดยมีการมุ่งเน้นเริ่มตั้งแต่ให้มนุษย์เรามีการพัฒนาศีล สมาธิ ปัญญา ให้เต็มเปี่ยมบริบูรณ์ และละกิเลสคืออวิชชา ตัณหา อุปาทาน ได้เด็ดขาด เพื่อให้การดำเนินชีวิตอยู่สังคมโลกมนุษย์อย่างมีความปกติสุขเป็นประการแรก ต่อจากนั้นก็พัฒนาปัญญาไปสู่ความเป็นบุคคลที่มีมนุษย์สมบัติสมบูรณ์ เมื่อมีมนุษย์สมบัติสมบูรณ์แล้ว ก็ยกระดับจิตพัฒนาไปสู่สวรรค์สมบัติต่อไป จนถึงนิพพานสมบัติเป็นประการสุดท้าย ดังพุทธพจน์ของพระพุทธองค์ได้ทรงตรัสถึงการพัฒนาปัญญาในตัวบุคคลไว้ว่า “เมื่อใดบุคคลพิจารณาด้วยปัญญาว่า สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง เมื่อนั้น เขาย่อม เบื่อหน่ายในทุกข์ นี้เป็นทางแห่งความหมดจดเมื่อใดบุคคลพิจารณาด้วยปัญญาว่า สังขารทั้งปวงทุกข์ เมื่อนั้น เขาย่อมเบื่อหน่ายในทุกข์  นี้เป็นทางแห่งความหมดจดเมื่อใดบุคคลพิจารณาด้วยปัญญาว่า ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา เมื่อนั้น เขาย่อมเบื่อหน่ายในทุกข์ นี้เป็นทางแห่งความหมดจด”(ขุ.เถร. (ไทย) 26/383/126 ; ขุ.ธ. (ไทย) 25/277-279/118)

 

[1] สรวิชญ์ วงษ์สอาด, [email protected]



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท