อนุทิน 122822


ถวิล อรัญเวศ
เขียนเมื่อ

 

 

 

ความเป็นมาของประเพณีวันสงกรานต์ในประเทศไทย

 

 

ถวิล  อรัญเวศ

รอง ผอ.สพท.ชำนาญการพิเศษ

สพป.นครราชสีมา เขต 4

สงกรานต์ เป็นประเพณีปีใหม่ของประเทศไทย ลาว กัมพูชา พม่า ชนกลุ่มน้อยชาวไตแถบเวียดนามและมณฑลยูนนานของจีน ศรีลังกา และทางตะวันออกของประเทศอินเดีย 

  สงกรานต์เป็นคำสันสกฤต  หมายถึงการเคลื่อนย้าย  ซึ่งเป็นการอุปมาถึงการเคลื่อนย้ายของการประทับในจักรราศี หรือคือการเคลื่อนขึ้นปีใหม่ในความเชื่อของไทยและบางประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ชาวต่างประเทศเรียกว่า  "สงครามน้ำ”

สงกรานต์  เป็นประเพณีเก่าแก่ของไทยซึ่งสืบทอดมาแต่โบราณคู่มากับประเพณีตรุษ จึงมีการเรียกรวมกันว่า ประเพณีตรุษสงกรานต์  หมายถึงประเพณีส่งท้ายปีเก่า และต้อนรับปีใหม่ คำว่าตรุษเป็นภาษาทมิฬ แปลว่า การสิ้นปี

   คำว่า "ดำหัว" ปกติแปลว่า "สระผม" แต่ประเพณีสงกรานต์ล้านนา  หมายถึง การแสดง

ความเคารพ และขออโหสิกรรมที่ตนอาจจะเคยล่วงเกิน รวมทั้งขอพรจากผู้ใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นญาติผู้ใหญ่ ผู้อาวุโส ครูบาอาจารย์ หรือผู้บังคับบัญชา ส่วนมากจะใช้น้ำขมิ้นส้มป่อยนำไปไหว้ และผู้ใหญ่ก็จะจุ่มเอาน้ำแปะบนศีรษะก็เป็นอันเสร็จ

สงกรานต์ คือ วันปีใหม่ตามประเพณีไทยแต่โบราณ ซึ่งเริ่มต้นในวันที่ 13 เมษายนของปี รวมระยะเวลา  3 วัน เทศกาลสงกรานต์ในวันที่ 13 คือวันมหาสงกรานต์ หรือวันที่บ่งบอกถึง

การสิ้นสุดปีเก่า วันที่ 14  เมษายนคือวันเนา ซึ่งเป็นวันถัดมา และวันที่ 15 เมษายน คือวันเถลิงศก ซึ่งเป็นวันเริ่มต้นปีใหม่

สงกรานต์ หมายถึง การเคลื่อนที่ หรือการเปลี่ยนแปลง ตามโหราศาสตร์ไทยนั้น

พระอาทิตย์จะเคลื่อนเข้าเข้าสู่จักรราศีใหม่ในวันนี้ นอกจากนี้แล้ว สงกรานต์ยังเรียกว่า เทศกาลน้ำอีกด้วย  เชื่อว่าน้ำจะชำระล้างความชั่วร้ายทั้งมวลในช่วงวันสงกรานต์  ดังนั้น มันจึงเป็นช่วงเวลาในการทำความสะอาดบ้าน หมู่บ้าน วัด และศาลพระภูมิ

ตามประเพณีไทย วันปีใหม่จะเริ่มในช่วงเช้าหลังจากชาวพุทธทำบุญตักบาตรแด่พระสงฆ์แล้ว หลังจากนั้นก็จะมีการปล่อยสัตว์ที่ถูกขังจองจำ โดยเฉพาะนกและปลา บรรดาผู้สูงอายุและพ่อแม่ก็จะรอรับการสักการระจากลูกหลาน ผู้น้อยจะรินน้ำอบหอมผ่านมือผู้สูงอายุ และท่านก็จะ

อวยพรให้ลูกหลานมีสุขภาพแข็งแรง มีความสุขและมั่งคั่ง ประเพณีการแสดงการคาราวะนี้ เรียกว่า รดน้ำ ดำหัว” วันที่ 14 เมษายน เรียกว่า “วันครอบครัว”

ในช่วงบ่าย  พุทธศาสนิกชนจะปะพรมน้ำหอมแด่พระพุทธรูป หลังจากนั้นพวกเขาจะปะพรมน้ำหอม หรือสาดน้ำที่สะอาด เย็นให้แก่กันและกัน เป็นที่สังเกตว่าประเพณีสงกรานต์จะได้รับความนิยมมากในภาคเหนือ โดยเฉพาะในจังหวัดเชียงใหม่

  ผู้คนจำนวนมากจากทั่วทุกมุมในประเทศ  จะมุ่งหน้าขึ้นเหนือเพื่อร่วมเทศกาลที่จัดที่นั่น การประกวดนางสงกรานต์และการเดินพาเหรดขบวนยาวๆ ก็ถูกจัดขึ้นด้วย

 ในกรุงเทพ พระพุทธรูป “พุทธสิหิง” จะถูกนำออกจากพิพิธสถานภัณฑ์แห่งชาติ เพื่อให้ผู้คนได้รดน้ำที่ท้องสนามหลวง ตรงข้ามกับวัดพระแก้ว ใครก็ตามแต่ที่ออกมาเดินตามท้องถนน จะต้องเปียกโชกกันทั้งนั้น คนเชื่อกันว่าน้ำจะชะล้างความโชคร้ายและน้ำที่สาดให้เพื่อนๆหรือใครก็ตามแต่จะเป็นการอวยพรปีใหม่ให้แก่พวกเขา

คำอธิบาย: C:\Users\MYCOM\Desktop\รดน้ำสงกรานต์56\7[1>.jpg

         สำหรับคำว่า "สงกรานต์" มาจากภาษาสันสกฤตว่า "สํ-กรานต" ซึ่งแปลว่า ก้าวขึ้น ย่างขึ้น หรือการย้ายที่ เคลื่อนที่ โดยหมายความอีกนัยหนึ่ง เป็นการเข้าสู่ศักราชราศีใหม่ หรือวันขึ้นปีใหม่

นั่นเอง

ส่วนเทศกาลสงกรานต์นั้น เป็นประเพณีเก่าแก่ของคนไทยสืบทอดกันมาตั้งแต่โบราณคู่กันมากับประเพณีตรุษจีน จึงมีการเรียกรวมกันว่า "ประเพณีตรุษสงกรานต์" ซึ่งหมายถึง ประเพณี

ส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่ นั่นเองวันหยุดสงกรานต์  เป็นวันหยุดราชการ แบ่งออกเป็น 3 วัน ได้แก่ วันที่ 13 เมษายน เรียกว่า วันมหาสงกรานต์  วันที่ 14 เมษายน เรียกว่า วันเนา  วันที่ 15 เมษายน เรียกว่า วันเถลิงศก ส่วนกิจกรรมหลัก ๆ ที่ทำในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ก็จะเป็นการทำความสะอาดบ้านเรือนการร่วมกันทำบุญทำทาน สรงน้ำพระ รดน้ำของพรผู้ใหญ่ และเล่นสาดน้ำคลายร้อนกัน  เป็นต้น 

คำอธิบาย: C:\Users\MYCOM\Desktop\รดน้ำสงกรานต์56\9[1>.jpg

ประเพณีสงกรานต์ การฉลองการขึ้นปีใหม่ ตามสุริยะคติ

วันสงกรานต์ ในแต่ละท้องถิ่นอาจไม่ตรงกัน แต่เป็นช่วงระหว่างวัน โดยการนับวันทางจันทรคติ และนอกจากประเทศไทยเราแล้ว ยังมีประเทศเพื่อนบ้าน เช่น ลาว พม่า กัมพูชา ก็มีประเพณีสงกรานต์เป็นประเพณีขึ้นปีใหม่ด้วยเช่นกัน


วันมหาสงกรานต์

13 เมษายน เป็นวันมหาสงกรานต์ เป็นวันสิ้นปีเก่า และเป็นวันที่พระอาทิตย์เข้าสู่ราศีเมษ ต้องมีการยิงปืน หรือจุดประทัด ทำให้เกิดเสียงดัง เพื่อขับไล่สิ่งไม่ดีต่างๆ จะมีการปัดกวาดบ้านเรือน

ซักเสื้อผ้า เพื่อทำความสะอาดและขับไล่สิ่งไม่ดีจากปีเก่าให้หมดไป

วันเนา  14 เมษายน เป็นวันเนา บางแห่งเรียกว่า วันเน่า เป็นวันที่ เชื่อต่อระหว่าง ปีเก่าและปีใหม่ มีความเชื่อว่า ห้ามกระทำสิ่งที่ไม่เป็นมงคล ห้ามด่ากัน ห้ามทะเลาะกัน ซึ่งโดยรวมแล้ว วันเนานี้จะเป็นวันเตรียมงานทำบุญสงกรานต์ และมีการขนทรายเข้าวัดในตอนบ่าย

วันเถลิงศกขึ้นปีใหม่

 15 เมษายน เป็นวันเถลิงศกหรือวันพญาวัน เป็นวันที่มีการทำบุญทางศาสนา ทำบุญ ทำทานแก่ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว พร้อมทั้งยังมีการ รดน้ำดำหัว ผู้เฒ่าผู้แก่ ผู้อาวุโสเพื่อขอพร มีความเชื่อว่า จะสามารถช่วยให้ผู้ที่มีบาปหนัง พ้นทุกข์จากขุมนรกได้

คำอธิบาย: C:\Users\MYCOM\Desktop\รดน้ำสงกรานต์56\8[1>.jpg

นิทานปรัมปราเกี่ยวกับตำนานวันสงกรานต์

    มีท่านเศรษฐีผู้หนึ่งไม่มีบุตรแต่ต้องการบุตรมาก ด้วยถูกนักเลงสุราที่บ้านใกล้กันนั้นกล่าว

คำหยาบช้าต่อเศรษฐี

ท่านเศรษฐีจึงกล่าวถามว่า "เหตุใดท่านจึง กล่าวดูถูกเราผู้มีสมบัติมาก"

นักเลงสุราตอบกลับว่า "ถึงแม้ท่านเป็นผู้มีสมบัติมาก แต่ท่านก็ไม่มีบุตร เมื่อเสียชีวิตแล้ว สมบัติเหล่านี้ก็สูญเปล่า เรานั้นมีบุตร ย่อมประเสริฐกว่า"

ท่านเศรษฐีจึงได้จัดพิธีบวงสรวงขอบุตรจากพระอาทิตย์ และพระจันทร์ รอนานสามปีก็มิได้เกิดบุตร เมื่ออาทิตย์ยกขึ้นสู่ราศีเมษ ท่านเศรษฐีจึงพาบริวารไปบวงสรวงขอบุตรจากพระไทร

พระไทรมีความเมตตาสงสารเศรษฐีผู้นี้ จึงได้ขึ้นไปบนสวรรค์ทูลขอบุตรจากพระอินทร์ให้แก่เศรษฐี ผู้นั้น พระอินทร์จึงให้ธรรมบาลกุมารเทวบุตรลงมาเกิดเป็นบุตรของท่านเศรษฐี

เมื่อภรรยาของท่านเศรษฐีคลอดบุตร ท่านเศรษฐีได้ปลูกปราสาทเจ็ดชั้นให้อยู่ใต้ต้นไทรริม

ฝั่งแม่น้ำ และตั้งชื่อให้ว่าธรรมบาลกุมารธรรมบาลกุมารนี้เป็น เด็กที่มีปัญญาเฉลียวฉลาดอย่างมาก เรียนรู้ไตรเทพจบเมื่ออายุ 7 ขวบอีกทั้งยังสามารถเรียนรู้ภาษานกได้อีกด้วย

   ความดังกล่าวได้ล่วงรู้ถึงท้าวกบิลพรหม ท่านจึงต้องการที่จะทดสอบปัญญาของธรรมบาลกุมาร ท้าวกบิลพรหมจึงได้เสด็จลงมายังโลกมนุษย์ ถามปัญหาธรรมบาลกุมาร 3 ข้อคือ  ข้อที่ 1 เช้าราศีสถิตอยู่แห่งใด ข้อที่ 2 เที่ยงราศีสถิตอยู่แห่งใด ข้อที่ 3 ค่ำราศีสถิตอยู่แห่งใด และตกลงกันว่า

ถ้าธรรมกุมารสามารถตอบปัญหา ๓ ข้อนี้ได้ ภายใน ๗ วัน จะตัดเศียรของตนบูชาธรรมบาลกุมาร แต่ถ้าธรรมบาลกุมารไม่สามารถตอบปัญหาได้ ธรรมบาลกุมารต้องตัดศีรษะของตนบูชาท้าวกบิลพรหมเช่นกัน

  เวลาล่วงเลยไปถึง 6 วัน ธรรมบาลกุมารก็ยังไม่สามารถหาคำตอบได้ ด้วยความกลัวอาญาท้าวกบิลพรหม ธรรมบาลกุมาร จึงได้หนีไปแอบซ่อนอยู่ใต้ต้นตาลและบนต้นตาลนั้นมีนกอินทรี 2 ตัว ผัวเมียทำรังอยู่นกอินทรีทั้งสองได้สนทนากันอยู่ในเรื่องการออกไปหากินในวันพรุ่งนี้ นางนกอินทรี : "พรุ่งนี้เราจะไปหากินที่ไหนกันดี "นกอินทรีตัวผู้ : "พรุ่งนี้เราไม่ต้องออกไปหากินไกลหรอก ด้วยพรุ่งนี้ธรรมบาลกุมารจะต้องตัดศีรษะบูชาท้าวกบิลพรหม เนื่องจากตอบปัญหาไม่ได้"


นางนกอินทรี : "น่าสงสารกุมารน้อยยิ่งนัก ท้าวกบิลพรหมก็ช่างถามปัญหาที่มนุษย์เกินจะตอบได้"
นกอินทรีรู้สึกหมั่นไส้นางนกอินทรีจึงได้บอกถึงคำตอบที่ท้าวกบิลพรหมถามธรรมบาลกุมารให้นางนกอินทรีได้รู้นกอินทรีตัวผู้ : "ราศีแห่งมนุษย์นั้นจะสถิตอยู่ที่ร่างกายต่างวาระกัน คือ เวลาเช้าจะสถิตอยู่ที่หน้า มนุษย์จึงต้องล้างหน้า เวลาเที่ยงราศีสถิตอยู่ที่อก มนุษย์จึงต้องปะพรมน้ำที่หน้าอก และเวลาค่ำสถิตอยู่ที่เท้า มนุษย์จึงต้องล้างเท้า จึงจะพ้นอัปรีย์จัญไรทั้งปวง"

  ธรรมบาลกุมารเมื่อได้ยินดังนั้น ก็ได้จดจำคำตอบและนำไปบอกแก่ท้าวกบิลพรหม ท้าวกบิลพรหมจึงจำต้องตัดเศียรของตนบูชาธรรมบาลกุมาร แต่เศียรของท้าวกบิลพรหมมีพิษมาก คือ ถ้าตัดแล้วตั้งไว้บนแผ่นดิน แผ่นดินก็จะลุกเป็นไฟ ถ้าโยนขึ้นสู่ท้องฟ้าฝนก็จะตกไม่ถูกต้องตามฤดูกาล และถ้าทิ้งลงมหาสมุทรน้ำก็จะเหือดแห้ง ท้าวกบิลพรหมจึงรับสั่งเรียกธิดาทั้ง 7 เพื่อให้นำเศียรของท้าวกบิลพรหมไปแห่ประทักษิณรอบเขาพระสุเมรุ 60 นาที แล้วจึงนำไปเก็บไว้ในมณฑปถ้ำธุลีเขาไกรลาศ ครั้นครบกำหนด 365 วัน (โลกสมมุติว่าเป็น1๑ปี) เป็นสงกรานต์ ซึ่งหมายถึงขึ้นปีใหม่นั้นเอง นางสงกรานต์ก็จะต้องนำเศียรของท้าวกบิลพรหมแห่ประทักษิณรอบเขาพระสุเมรุเป็นประจำทุกปี


บทวิพากษ์

  ประเพณีสงกรานต์ของไทย ถือได้ว่าเป็นภูมิปัญญาชาวบ้านที่ฉลาดหลักแหลมมาก กล่าวคือ

ในช่วงเดือนเมษายน เป็นช่วงที่อากาศร้อนมากเพราะแสงแดดแผดเผาจ้ามาก  เพราะดวงอาทิตย์โคจรอยู่ในระดับเหนือศีรษะพอดี ฉะนั้น คนไทยในยุคนั้น จึงได้คิดกิจกรรมขึ้นมาเพื่อคลาย

ความร้อนทำให้เย็นสบายและมีความสุขสนุกสนานในการเล่นสาดน้ำ และรดน้ำขอพรผู้สูงอายุ

ซึ่งเป็นแสดงออกถึงความนอบน้อม การให้ความเคารพระหว่างกันและกันตามคุณวุฒิ และวัยวุฒิ

อันจะทำให้การกระทำสิ่งใดก็ตาม จะประสบความสำเร็จ เพราะการให้ความเคารพซึ่งกันและกัน และจะได้รับความเมตตาช่วยเหลือกัน

สรุป

  ประเพณีสงกรานต์ ถือว่าเป็นประเพณีการเล่นสาดน้ำและการรดน้ำขอพรจากผู้สูงอายุซึ่ง

เป็นกิจกรรมที่ชาวไทยได้ปฏิบัติมาตั้งแต่โบราณกาล และสืบทอดมาจนถึงทุกวันนี้  เดิมกิจกรรมนี้เป็นกิจกรรมที่เกี่ยวกับวันขึ้นปีใหม่ของไทยเรา  เมื่อวันสงกรานต์มาถึง ก็จะสรงน้ำพระ ปล่อยนก

ปล่อยปลา ทำบุญตักบาตร  ละเล่นสาดน้ำกันในคนหนุ่มสาว และกิจกรรมสนุกสนานร่าเริงอื่น ๆ

ตามแต่จะเล่นกันในแต่ละภูมิภาคของไทย  ประเพณีสงกรานต์ การเล่นสาดน้ำ ถือว่าเป็นภูมิปัญญา

ชาวบ้านที่สำคัญยิ่ง เพราะในช่วงเดือนเมษายน เป็นช่วงที่อุณภูมิอากาศของประเทศไทย ร้อนมาก ดังนั้น คนไทยเราในสมัยก่อนจึงหาวิธีที่จะทำให้มีกิจกรรมที่จะคลายความร้อน และสนุกสนาน คือการเล่นสาดน้ำกันและพัฒนาการเป็นกิจกรรมการทำความดีอย่างหลากหลายวิธี เช่น สรงน้ำพระ

รดน้ำขอ

พรจากผู้สูงอายุ  ทำบุญตักบาตร ปล่อยนกปล่อยปลา และทำประโยชน์ต่อสังคม  เรา

ชาวไทย จึงควรสืบสานประเพณีสงกรานต์ไว้ให้นานคู่ชาติไทย และแสดงออกด้วยวิธีการที่

สร้างสรรค์ ซึ่งไม่เป็นการละเมิดสิ ทธิส่วนบุคคล และไม่เป็นต้นเหตุให้เกิดการละเมิดทางเพศ

เป็นต้น


บรรณานุกรม

กระปุกดอดคอม. (2556) . กิจกรรมวันสงกรานต์ และข้อควรปฏิบัติ. (ออนไลน์).สืบค้นเมื่อ

  วันที่ 12 เมษายน 2556 จาก http://hilight.kapook.com/view/21053

วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี. (2556). สงกรานต์. (ออนไลน์). ).สืบค้นเมื่อ วันที่ 12 เมษายน 2556 จาก

  http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AA%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B9%8C

วิชาการ.คอม (2556). ประวัติตำนานวันสงกรานต์. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อวันที่ 12 เมษายน 2556

 จาก  http://www.vcharkarn.com/varticle/36247

วันสงกรานต์ภาคภาษาอังกฤษ. (2556). วันสงกรานต์. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อ

  วันที่ 12 เมษายน 2556 จาก  http://school.obec.go.th/nongplamowit/songkran1.html






ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท