หนูรี
นารี เอี่ยมวิวัฒน์กิจ ชูเรืองสุข

อนุทิน 122693


หนูรี
เขียนเมื่อ

"ถึงบางอ้อ" ...

  • กับ "ผักตุ๊ด" บันทึก นี้ "แกงผักตุ๊ด" อาหารชั้นยอด
  • ก็คือ ...
  • ต้น พฤกษ์

    ชื่อพื้นเมือง: กะซึง กาแซ กาไพ จามจุรีสีทอง เจร ซึก

    พฤกษ์มีถิ่นกำเนิดอยู่ในเขตร้อนชื้นของทวีปเอเชีย ซึ่งรวมทั้งประเทศไทยด้วยจึงพบว่าเป็นต้นไม้ พื้นบ้านที่พบขึ้นเองตามธรรมชาติอยู่ทุกภาคของประเทศไทย มีชื่อเรียกต่างๆกันไปมากมาย เช่น พฤกษ์, ซึก, ซิก, จามจุรี, กะซึก, ชุงรุ้ง, ก้ามปู, คะโก, จามรี (ภาคกลาง) มะขามโคก, มะรุมป่า (นครราชสีมา) ก้านฮุ้ง (ชัยภูมิ) ถ่อนนา (เลย) พญากะบุก (ปราจีน) จ๊าขาม (ภาคเหนือ) ตุ๊ด (ตาก) กรีด, แกร๊ะ (ภาคใต้) กาแซ, กาไม (สุราษฎร์ธานี) เป็นต้น ภาษาอังกฤษ เรียกว่า Indian Walnut หรือ Siris น่าสังเกตว่า พฤกษ์ มีชื่อซ้ำกับพืชชนิดอื่นที่เรารู้จักกันดีด้วย คือ จามจุรี และก้ามปู อันเป็นต้นไม้อยู่ในวงศ์เดียวกัน มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Samanea saman (Jacq.) Merr. มีชื่อภาษาอังกฤษว่า Rain Tree ความจริงจามจุรี (ก้ามปู, ฉำฉา) เป็นต้นไม้มาจากทวีปอเมริกาใต้ นำเข้ามาปลูกในประเทศไทยสมัยรัชกาลที่ ๕ นี้เอง ชื่อจามจุรี หรือก้ามปูก็นำไปจากชื่อของต้นพฤกษ์นี้เอง เพราะมีลักษณะคล้ายคลึงกัน โดยเฉพาะลักษณะดอกที่มีเกสรยาวเป็นฝอย ต่างกันที่สีดอกพฤกษ์มี  สีขาวเหลือง แต่ดอกจามจุรี(ใหม่) สีออกชมพูแดง จึงเรียกในสมัยแรกๆ ว่าจามจุรีแดง เพื่อให้เห็นความแตกต่างจากจามจุรีเดิม(พฤกษ์) ซึ่งมี ดอกสีขาวเหลือง ต่อมาเรียกสั้น  ลงว่าจามจุรี (เฉยๆ) ไม่มีคำว่าแดง ตามหลัง และไม่มีเรียกต้นพฤกษ์ ว่าจามจุรีหรือก้ามปูอีกมาจนถึงปัจจุบัน

    ที่มา https://sites.google.com/site/kiranapat72/tnmi-ni-teriym-xu-dm ขอบคุณค่ะ



ความเห็น (2)

ขอบคุณค่ะคุณหนูรี ไม่รู้มาก่อนว่าจามจุรีก็กินได้

ขอบคุณค่ะ

อั้ยย้า... จามจุรีสีทองหรือเจร... สึกนี้ (เราตั้งชื่อกันเองว่า ผัก "ขุนศึก" ต้นใหญ่พอๆกับผักกุ่มเลยค่ะ )

พันธุ์ที่ปรุงอาหารได้นี้ หาใช่ จามจุรีที่ใบเขียวเข้ม ต้นเปลือกออกดำที่พบเห็นทั่วไปนะคะ

วันหลังจะเก็บภาพมาเปรียบเทียบความต่างค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท