อนุทิน 121681


Wasawat Deemarn
เขียนเมื่อ

| อนุทิน ... ๓๙๗๖ |

"จิตประภัสสร"

คุยกันเล่น ๆ กับใครสักคน เรื่อง "จิตประภัสสร"
แต่เมื่อค้นจาก Search Engine แล้ว
ไม่เล่น ๆ แต่เป็นเรื่องจริงจัง
ขนาดพระ ขนาดผู้อยู่ทางโลกมาห้ำหั่นกันในเว็บ


"จิตประภัสสร" ท่านพุทธทาสแปลว่า "จิตเดิมแท้"
"จิตประภัสสร" ดร. ซูสุกิแปลว่า "แก่นแท้แห่งจิต"

เพราะฉะนั้น "จิตประภัสสร" หรือ "จิตเดิมแท้" หรือ "แก่นแท้แห่งจิต" ก็คือ สิ่งเดียวกับอาลยวิญญาณ


"จิตประภัสสร" คือ "ธรรมชาติอันไม่เป็นของคู่ ซึ่งไม่ได้เป็นทั้งฝ่ายดีหรือฝ่ายชั่ว"


ท่านเว่ยหล่างได้ให้แนวคิดไว้ว่า "มนุษย์ทุกคนล้วนมีสิ่งที่เรียกว่า "จิตเดิมแท้" นี้ในตัวทั้งสิ้น จิตเดิมแท้นี้ครั้งหนึ่งเคยมีสภาพที่บริสุทธิ์ สะอาด ภายหลังเมื่อคนเราถูกสภาพแวดล้อมยั่วยวนให้เกิดกิเลส จิตเดิมแท้นี้ก็ค่อย ๆ เศร้าหมองลง เมื่อใดก็ตามที่เราสามารถขจัดสิ่งสกปรกที่หุ้มห่อจิตเดิมแท้นี้ออกได้หมด สิ้น เมื่อนั้นจิตเดิมแท้ก็จะส่องประกายสดใสออกมาอีกครั้ง เมื่อจิตเดิมแท้สิ่งประกายออกมาได้ ชีวิตของคนผู้นั้นก็จะหมดทุกข์ เป็นชีวิตที่สงบเยือกเย็น สว่างสดใส
อาการที่จิตเดิมแท้สามารถเปล่งประกายออกมาได้เพราะสิ่งสกปรกที่หุ้มห่ออยู่ ถูกชำระออกไปหมดด้วยปัญญานี้ ท่านเว่ยหล่างเรียกว่า "นิพพาน หรือ ความหลุดพ้น"

ที่มา:

สมภาร พรมทา.  พุทธศาสนามหายาน.  กรุงเทพฯ : มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2534.
สุมาลี มหณรงค์ชัย.  พุทธศาสนามหายาน.  กรุงเทพฯ : ศยาม, 2546.

http://th.answers.yahoo.com/question/index?qid=20101003053505AAge8ur


แต่พี่ ณัฐรดา เขียนบันทึก จิตประภัสสร (รวมคำบรรยายของท่านพุทธทาส)  เอาไว้เมื่อ ๒ ปีที่แล้วด้วยครับ ;)...



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท