อนุทิน 113079


P. Rinchakorn
เขียนเมื่อ

“การที่มนุษย์ไม่สามารถมีความสุขด้วยตัวเองและต้องคอยเพิ่มปริมาณของวัตถุภายนอกมากขึ้น เพื่อให้ตนเองมีความสุข อันนี้ในแง่ของพระพุทธศาสนาถือว่า มนุษย์สูญเสียอิสรภาพ กลายเป็นผู้ขึ้นต่อสิ่งภายนอก ความสุขของเขาขึ้นต่อวัตถุ เป็นการมองสวนทางกันกับแนวคิดตะวันตก ซึ่งมองว่า เป็นความยิ่งใหญ่หรือความมีอิสรภาพของมนุษย์ที่สามารถไปเอาวัตถุมาบำรุงบำเรอตนให้พรั่งพร้อมได้ แล้วตนก็จะมีความสุขเต็มที่ แต่พุทธศาสนากลับมองว่า การรอความสุขจากวัตถุบำเรอพรั่งพร้อมเต็มที่นั้นคือ การสูญเสียอิสรภาพ”

 

                  จากหนังสือ “วาทะธรรมเพื่อการพัฒนาตน” โดย พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต) หน้า. ๓๙๗

 



ความเห็น (2)

อิสระภาพ กับ ภารดรภาพ ต่างกันอย่างไร ครับ

ขอบคุณ คุณแสงแห่งความดี สำหรับคำถามมากครับ 

      อิสรภาพหรือเสรีภาพ คือ ความสามารถ ที่จะทำอะไร ได้ตามใจชอบ ไม่ว่าจะเป็นคิด พูด ทำ โดยที่ต้องไม่ไปละเมิดสิทธิของผู้อื่น รวมทั้งไม่ทำให้ ตนเองเดือดร้อน หรืออาจมองในแง่ของเป็นการเคารพนับถือคนอื่น เคารพกฎหมาย และประเพณี อันดีงามของสังคม

      ภราดรภาพ ก็คือ หลักปฏิบัติต่อกันและกันระหว่างบุคคลต่อบุคคล และระหว่างรัฐต่อบุคคล แบบมีความเป็นฉันพี่น้องกัน ค่านิยมอันนี้ เน้นเรื่องความรัก ความปรารถนาดี ต่อกันโดยตรง นำไปสู่ ความช่วยเหลือ เกื้อกูล และการพึ่งพาอาศัยกัน อันจะก่อเกิด ความสงบสุข อันเป็นยอดปรารถนาของบุคคล และสังคมก็จะตามมา

หากถามว่า อิสรภาพต่างจากภราดรภาพอย่างไร?

       ในทัศนะของผมมองว่า

         ๑. อิสรภาพหรือเสรีภาพ เป็นเรื่องแรงขับ (คิด พูด ทำ) ขั้นปฐมฐานของปัจเจกชน

         ๒. ภราดรภาพ เป็นไปในลักษณะขององค์ประกอบที่เชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างปัจเจกชน ชุมชน สังคม...

         ๓. เมื่อใดที่อิสรภาพหรือเสรีภาพถูกต้องตามจริง (ไม่ไปละเมิดหรือเบียดเบียนบุคคลอื่น) ภราดรภาพก็จะเกิดขึ้นเองโดยอัตโนมัติ เกี่ยวเนื่องจาก เมื่อทุกคนในสังคมตระหนักถึงสิทธิเสรีภาพที่ตนพึงมี ไม่ไปละเมิดสิทธืผู้อื่น เคารพผู้อื่น...เมื่อนั้นความรัก ความปรารถนาดี ความช่วยเหลือเกื้อกูลกันในสังคมก็จะบังเกิดขึ้น (ภราดรภาพ นั่นเอง)


     ***เป็นความคิดเห็นส่วนตัวนะครับ... 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท