อนุทิน 106529


Wasawat Deemarn
เขียนเมื่อ

| อนุทิน ... ๒๔๖๙ |

"ความแปรผันระหว่างงบประมาณกับผลที่ออกมา"

๔๒๒,๑๙๕ ล้านบาท คือ งบประมาณที่รัฐบาลทุ่มให้กับการปฏิรูปการศึกษาไทย ซึ่งเพิ่มขึ้นจากเดิม ๒ เท่า แต่ผลลัพธ์กลับแย่ลง

๑๐ ปีที่ผ่านมา รัฐบาลได้เพิ่มงบประมาณให้กับกระทรวงศึกษาธิการมากขึ้นประมาณ ๒ เท่า จากปี ๒๕๔๖ ที่มีงบไม่ถึง ๒๐๐,๐๐๐ ล้านบาท เป็น ๔๐๐,๐๐๐ ล้านบาทในปี ๒๕๕๔

โดยเพิ่มขึ้นทั้งเงินอุดหนุนให้กับโรงเรียนในสังกัด สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จากเดิมปีละ ๙,๐๐๐ บาทต่อนักเรียน ๑ คน เป็นปีละ ๑๙,๔๗๕ บาท

และเพิ่มเงินเดือนครูโรงเรียนรัฐบาลจากปี ๒๕๔๔ เฉลี่ยเดือนละ ๑๔,๐๐๐ บาท เป็น ๒๔,๐๐๐ บาท ในปี ๒๕๕๓

สัดส่วนงบประมาณการศึกษาต่องบประมาณรวมประเทศสูงถึงร้อยละ ๒๐ (ญี่ปุ่นร้อยละ ๙ เกาหลีใต้ร้อยละ ๑๖ สิงคโปร์ร้อยละ ๑๒)

ในขณะที่ผลคะแนนนักเรียนไทยกลับแย่ลง ปี ๒๕๔๖ เด็กไทยสอบวิชาคณิตศาสตร์และวิชาวิทยาศาสตร์ ได้คะแนนเฉลี่ย ๓๓.๙๙ และ ๔๘.๘๒ ตามลำดับ ปี ๒๕๕๓ คะแนนเฉลี่ยร่วงลงเหลือ ๑๔.๙๙ และ ๓๐.๙ ตามลำดับ

ตัวเลขนี้เป็นไปในทางเดียวกันกับข้อสอบวัดผลระดับนานาชาติที่ผลคะแนนของ นักเรียนไทยแพ้เกือบทุกประเทศ เช่น มาเลเซีย ญี่ปุ่น สิงคโปร์ เกาหลีใต้

สิ่งที่บ่งชี้คุณภาพการศึกษาอีกอย่างคือ จำนวนชั่วโมงเรียนต่อสัปดาห์ เด็กไทยเรียนวิทยาศาสตร์สัปดาห์ละ ๖.๕ ชั่วโมง เกือบมากที่สุดในโลก (น้อยกว่ารัสเซียและกรีซ) แต่กลับทำคะแนนได้ต่ำกว่าเกือบทุกประเทศ

ที่มา : สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย TDRI

เก็บไว้ในบันทึก ... "สามารถ สุทะ" ครูโรงเรียนเรือนแพ แห่งโรงเรียนบ้านก๊อจัดสรร อ.ลี้ จ.ลำพูน ... (ครูที่เป็นครูด้วยหัวใจไม่ใช่หน้าที่)



ความเห็น (2)

ขอบคุณมากครับสำหรับข้อมูล เมื่อสัก 3 ปีก่อนผมก็ค้นข้อมูลนี้ พบว่าไทยให้งบการศึกษาเมื่อคิดเป็นร้อยละงบประมาณ อยู่ในลำดับต้นๆของโลก แต่ทำไมการศึกษาจึงด้อยปานนี้

อ้าว...เงินเดือนครูเฉลี่ยสูงปานนี้แล้วหรือ หรือแสดงว่ามันมีช่องว่างสูงมากระหว่างระดับบนและระดับล่าง

ขอบคุณสำหรับการต่อยอดความคิดครับ ท่าน Ico48 คนถางทาง ;)...

สถิติที่ดูเหมือนดี แต่แย่ที่สุดในผล

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท