ชีวิตที่พอเพียง : ๑๓๓๑. เรียนรู้ creative tension จากเวที ลปรร. R2R ที่บ้านผู้หว่าน


หากจะให้ R2R ดำรงอยู่ ก้าวหน้า และทำประโยชน์ให้แก่ประเทศไทย ก็ต้องให้แนวคิดทั้งสองแนวนี้อยู่ร่วมกัน และหาทางทำให้พลังขัดแย้งนี้ส่งเสริมซึ่งกันและกัน ไม่ใช่เลือกเอาแนวคิดเดียว เราต้องใช้ยุทธศาสตร์ both – and ไม้ใช่ either – or

          เช้าวันที่ ๑๙ ส.ค. ๕๔ ในเวที ลปรร. เพื่อจัดทำคู่มือ R2R ครั้งที่ 2/2554 ที่บ้านผู้หว่าน  ให้ความรู้ที่สุดยอดแก่ผมในเรื่อง creative tension

 

          ช่วง ๘.๓๐ – ๑๐.๐๐ น. มีการอภิปรายเรื่อง “ภาคี R2R กับก้าวย่างที่มั่นคงของการพัฒนาระบบสาธารณสุขไทย”  โดย นพ. พงษ์พิสุทธิ์ จงอุดมสุข ผอ. สวรส., นพ. วีระวัฒน์ พันธ์ครุฑ, และ นพ. อนุวัฒน์ ศุภชุติกุล ผอ. สรพ.  โดย ๓ ท่านนี้เป็นผู้บริหาร จึงมอง R2R จากมุมมองเชิงระบบ  และมุมมองเชิง outside-in

 

          มุมมองนี้กระตุ้นให้ผู้มาร่วมประชุม และที่ใช้ R2R มา ๔ ปี และคุยกันจนตกผลึกว่า R2R เน้นที่คน เป็นเครื่องมือพัฒนาคน  ลุกขึ้นโต้แย้งว่ามุมมองของผู้บริหาร ๓ องค์กรนี้ ไม่ตรงกับหลักการที่แท้จริงของ R2R   และหากดำเนินการตามแนวของผู้บริหารของ ๓ องค์กรนี้ ผู้ดำเนินการ R2R รู้สึกว่าถูกหลอก 

 

          นี่คือของจริง ของ creative tension ระหว่างมุมมองต่อ R2R ต่างมุม  คือมุม inside-out (ของผู้ทำหรือสนับสนุน R2R) กับมุม outside-in ของผู้บริหารองค์กรทั้ง ๓
 
          ผมบอกที่ประชุมว่า นี่คือสุดยอดของการเรียนรู้ของจริงว่าด้วย creative tension ที่เสมือนเป็นความขัดแย้งระหว่างมุมมองตรงกันข้าม  โดยที่ทั้ง ๒ มุมมองเป็นของจริง และต่างก็มีคุณค่า
  
          หากจะให้ R2R ดำรงอยู่ ก้าวหน้า และทำประโยชน์ให้แก่ประเทศไทย ก็ต้องให้แนวคิดทั้งสองแนวนี้อยู่ร่วมกัน  และหาทางทำให้พลังขัดแย้งนี้ส่งเสริมซึ่งกันและกัน  ไม่ใช่เลือกเอาแนวคิดเดียว   เราต้องใช้ยุทธศาสตร์ both – and  ไม้ใช่ either – or

 

          การจัดการ R2R ประเทศไทยส่วนใหญ่จะเดินตามแนวพัฒนาคน พัฒนางาน และพัฒนาองค์กร   แต่ก็จะมีการจัดการอีกส่วนหนึ่งที่เชื่อมโยง R2R เข้าไปรับใช้เป้าหมายใหญ่ของประเทศ

 

 

วิจารณ์ พานิช
๑๙ ส.ค. ๕๔

         
          
              
หมายเลขบันทึก: 460358เขียนเมื่อ 14 กันยายน 2011 09:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 เมษายน 2012 00:36 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท