บทเรียนจาก ITRI เบื้องหลังความสำเร็จของไต้หวัน (2)


เมื่องานวิจัยแบบขึ้นหิ้งไม่ถูกผลิตขึ้นตั้งแต่ต้น ก็เป็นจุดเริ่มต้นของ value creation

ข. ไปเรียนจาก ITRI แล้วได้อะไร?

สิ่งที่เรียนรู้จาก course นี้ จาก perception ของผู้เขียน พอจะแยกได้ว่าเป็นภาคทฤษฎี 30% และภาคปฏิบัติ (จากการได้รู้ได้เห็นได้รับฟังประสบการณ์จริง) 70%

นี่ก็เป็นสัดส่วนตามที่คาดหวัง เพราะตั้งใจจะเน้นการมาหาความรู้นอกตำราตั้งแต่ต้นอยู่แล้ว

คำถามในใจตอนเริ่มต้นหลักสูตรมีอยู่สองส่วน

  1. โจทย์วิจัยของ ITRI มาจากไหน?
    • การสร้างให้มีตัวเลือกเยอะ ๆ (divergence)?
    • การเรียงลำดับความสำคัญเพื่อโฟกัสให้เหลือน้อย ๆ (convergence)?
    • เมื่อได้โจท์แล้วส่งต่อโจทย์นั้นให้แก่ห้องแล็ปหรือนักวิจัย?
  2. เมื่อได้โจทย์แล้ว ลงมือทำอย่างไร?
    • ข้อสมมติฐานคือ คงจะเป็นไปตามสูตรทั่วไป คือ จัดทำข้อเสนอ ส่งข้อเสนอของบประมาณ ติดตามประเมินผล กลับมาัจัดทำข้อเสนอ ... ฯลฯ

คำตอบที่ได้ (เท่าที่เขาบอกเรา) คือ กระบวนการสองส่วนนี้ แท้ที่จริงไม่ได้แยกจากกัน แต่ถูก integrate กันอยู่ในรูปของสูตรที่เรียกว่า NSDB เพื่อให้เกิด value creation แต่ละตัวอักษรมีความหมายว่า...

  • N = Identify Important Needs (ความต้องการของลูกค้า)
  • S = Provide Compelling Solution (อะไรคือทางออกของเราที่เสนอให้ใหม่)
  • D = Make Superior Differentiation (ทางออกของเราดีกว่าคนอื่นอย่างไร)
  • B = Maximize Customer’s Benefits (ทางออกที่เราเสนอมีประโยชน์ต่อลูกค้าอย่างไร วัดได้ไหม เขาควรยอมจ่ายไหม)

ทั้ง 4 ตัวนี้ แต่ละตัวแยกกันอยู่ไม่ได้ ต้องไปด้วยกันจึงจะมีความหมาย Dr. Wang ผู้อำนวยการของ ITRI College กล่าวว่า NSDB คือกรอบที่ช่วยให้เราโฟกัสความคิด ไปที่เรื่องสำคัญเพียงไม่กี่เรื่อง ที่มีผลต่อการเดินหน้าโครงการให้เกิดผลต่อผู้ใช้  (แล้วเลิกถามคำถามที่ฟุ้งซ่าน ไม่เกี่ยวข้องกับนักวิจัยหรืองานวิจัย)

NSDB จึงเป็น minimalist approach ที่ใช้ในการเขียนข้อเสนอโครงการวิจัย ลงไปถึงระดับรายโปรเจ็ค และที่สำคัญกว่านั้น มันเป็นเครืื่องมือเปลี่ยนวัฒนธรรมการคิดของผู้วิจัยเอง ให้เริ่มต้นมองที่ลูกค้า (ผู้ใช้ประโยชน์จากงานวิจัย) เป็นหลัก ไม่ใช่เอาความสนใจของตัวเองเป็นหลัก ท่าทีที่ปฏิบัติต่อลูกค้าเมื่อออกไปพบหารือก็จะเปลี่ยนไป นักวิจัยจะเข้าใจความรู้สึก และความต้องการ (unmet needs) ความเจ็บปวด (pain) ของลูกค้ามากขึ้น

เมื่องานวิจัยแบบขึ้นหิ้งไม่ถูกผลิตขึ้นตั้งแต่ต้น ก็เป็นจุดเริ่มต้นของ value creation ครับ!!! 

(มีต่อ)

หมายเลขบันทึก: 60452เขียนเมื่อ 16 พฤศจิกายน 2006 23:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 พฤษภาคม 2012 11:02 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท