บัวชูฝัก
นาย เศกสรร ครูเศก แสงจินดาวงศ์เมือง (สายวงศ์คำ)

งานประเพณี "อุ้มพระดำน้ำ"( ๒ )


"พระพุทธมหาธรรมราชา" นั้นเป็นพระพุทธรูปปางสมาธิ ศิลปะสมัยลพบุรี หล่อด้วยเนื้อทอง สัมฤทธิ์หน้าตักกว้าง 13 นิ้วสูง 18 นิ้ว ไม่มีฐาน มีพุทธลักษณะ พระพักตร์กว้าง พระโอษฐ์แบะ พระกรรณยาวย้อย จนจรดพระอังสาที่พระเศียรทรงชฎาเทริดหรือมีกระบังหน้า ทรงสร้อยพระศอพาหุรัด และประคตเป็นลวดลาย งดงามอีกทั้งยังแลดูน่าเกรงขามเป็นอย่างยิ่ง

<p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: center" class="MsoNormal" align="center"></p> <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: center" class="MsoNormal" align="center"></p> <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: center" class="MsoNormal" align="center">งานประเพณีอุ้มพระดำน้ำ”( ๒ )</p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">          ในวันนี้เราจะพาท่านมาเรียนรู้ถึง พระพุทธมหาธรรมราชา ว่าเป็นศิลปะสมัยใด และมีที่มาอย่างไรนะครับ</p> <div style="text-align: center"></div><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 36pt" class="MsoNormal">สำหรับ  “พระพุทธมหาธรรมราชา” นั้นเป็นพระพุทธรูปปางสมาธิ ศิลปะสมัยลพบุรี  หล่อด้วยเนื้อทอง สัมฤทธิ์หน้าตักกว้าง 13 นิ้วสูง 18 นิ้ว ไม่มีฐาน  มีพุทธลักษณะ พระพักตร์กว้าง พระโอษฐ์แบะ  พระกรรณยาวย้อย จนจรดพระอังสาที่พระเศียรทรงชฎาเทริดหรือมีกระบังหน้า ทรงสร้อยพระศอพาหุรัด และประคตเป็นลวดลาย งดงามอีกทั้งยังแลดูน่าเกรงขามเป็นอย่างยิ่ง  ส่วนประวัติการสร้างนั้นไม่ปรากฏเด่นชัด แต่ชาวเพชรบูรณ์มีความเชื่อที่เล่าสืบต่อกันมาว่า </p> <div style="text-align: center"></div><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 36pt" class="MsoNormal">พ่อขุนผาเมือง เจ้าเมืองราด (อ.หล่มสัก) ได้รับพระราชทานจาก พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 กษัตริย์แห่งนครธม ให้นำมาประดิษฐานเป็นพระคู่บ้านคู่เมือง  หลังจากทรงอภิเษกสมรสกับ พระนางสิงขรมหาเทวี พระราชธิดาของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7  แต่หลังจากพ่อขุนผาเมืองร่วมกับพ่อขุนบางกลางท่าว เจ้าเมืองบางยาง (อ.นครไทย) พระสหาย กอบกู้อิสรภาพ ให้กับคนไทย ทำให้พระนางสิงขรมหาเทวี แค้นเคืองถึงกับเผาเมืองราดจนย่อยยับจากนั้นตัดสินใจกระโดด แม่น้ำป่าสักฆ่าตัวตาย ทำให้ไพร่พลเสนาอำมาตย์ ต้องอัญเชิญพระพุทธมหาธรรมราชาลงแพล่องไปตามแม่น้ำป่าสัก เพื่อหลบหนีไฟ แต่ปรากฎว่าแม่น้ำป่าสักมีความคดเคี้ยว และกระแสน้ำไหลเชี่ยวกราก ทำให้แพที่อัญเชิญ พระพุทธมหาธรรมราชาแตก จนองค์พระจมดิ่งลงสู้ก้นแม่น้ำหายไป กระทั่งต่อมาชาวประมงได้ไปพบ จนก่อให้เกิด ตำนานมหัศจรรย์และ “ประเพณีอุ้มพระดำน้ำ” ขึ้น</p> <div style="text-align: center"></div><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 36pt" class="MsoNormal">ปัจจุบันนี้ หากปีใดน้ำน้อย ก็จะอัญเชิญไปสรงน้ำที่ท่าน้ำวัดโบสถ์ชนะมาร ทางเหนือเมือง เพชรบูรณ์  และการอัญเชิญพระพุทธมหาธรรมราชาลงสรงน้ำ เจ้าเมืองผู้ว่าราชการจังหวัดสมัยนั้น หรือผู้แทนเป็นผู้อัญเชิญ (อุ้ม)  ลงสรงน้ำและถือปฏิบัติกันต่อๆ มา ว่าอุ้มหันพระเนตรขึ้นเหนือน้ำ 3 หน หันพระเนตรลงใต้น้ำ 3 หน ฟ้าฝนปีต่อไปถึงจะตกต้องตามฤดูกาลบริบูรณ์ ซึ่งประชาชนพลเมือง อยู่เย็นเป็นสุข ผู้อัญเชิญจะต้องอธิษฐานขอพรขณะที่อัญเชิญลงสรงน้ำ </p> <div style="text-align: center"></div>ในการจัดงาน ประเพณีอุ้มพระดำน้ำ จะมีขึ้นประมาณปลายเดือนกันยายนของทุกปี หากปีใด มีเดือนแปดสองหน จะเลื่อนไปอยู่ประมาณกลางเดือนตุลาคม การจัดงานจะกำหนดขึ้น 5 วัน ในวันแรกจะมีพิธีอัญเชิญแห่องค์พระพุทธมหาธรรมราชาทางบก และในวันแรม 15 ค่ำ จะอัญเชิญ ลงสรงน้ำตามประเพณีอุ้มพระดำน้ำ ส่วนแสงเสียงตำนานพระพุทธมหาธรรมราชาจะมีทุกวัน เริ่มตั้งแต่เวลา 20.00 น. เป็นต้นไป ส่วนเทศกาลอาหารอร่อย เริ่มตั้งแต่ 17.00 24.00 น.  หากมีความเคลื่อนไหวอย่างไรจะนำมารายงานเป็นระยะๆครับ <div style="text-align: center"></div> <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal" align="center"> </p> <div style="text-align: center"></div>  <div style="text-align: center"></div>  <div style="text-align: center"></div> <p align="center"> </p> <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">ขบวนแห่ทางบก ประเพณีอุ้มพระดำน้ำ” - บัวชูฝัก - บัวชูฝัก</p>



ความเห็น (20)

เป็นประเพณีที่หน้าสนใจ เพราะเป็นเรื่องที่ว่า สิ่งที่เหนือธรรมชาติ เป็นวัฒนธรรมคือความเชื่อยังทรงสืบสานให้คู่กับคนไทยตลอดไป สิ่งต่างๆ เหล่านี้แสดงให้เห็นว่ามีการเรียนรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมที่ยั่งยืน ขอบคุณครับที่ให้ความรู้อย่างมีคุณค่า

  • สวยงามมากค่ะครูเสก
  • อุ๊ย  วันนี้ถือว่าได้นั่งแถวหน้า ๆ เลย
  • จองไว้ให้ครูหญ้าบัวกับป้าแดงด้วยดีกว่าก็ครูเสกเล่นเป็น  บล็อกเกอร์ในดวงใจป้าแดงนี่คะ  อิอิ
  • พระพุทธมหาธรรมราชา  ดูสง่างามมากค่ะ
  • ดีจังเลยไปบันทึกก็เอ่ยถึงประวัติศาสตร์ชอบ ๆ ได้ทบทวนความจำ
  • ขอบคุณค่ะ

สวัสดีค่ะ

 ขอโทษครูรักษ์นะคะ ขอแทรกแถวป้าแดงก่อน เดี๋ยวเห็นไม่ถนัด มีความรู้มาก ไม่เคยเห็นมาก่อนเลยค่ะ สักวันคงมีโอกาสได้ไปดูด้วยตา ช่วยกันสืบสานประเพณี ถือเป็นการทำความดีต่อแผ่นดินค่ะ

  • สวัสดีค่ะ ป้าแดง มาแล่น อิอิอิ
  • วันนี้มีภาระกิจเล็กน้อยค่ะ ไม่ได้ติดตามบันทึก ยอมให้ใครๆแซงได้ค่ะ ไม่ว่ากัน คนกันเองทั้งนั้นนี่นา อิอิอิ
  • เมืองหล่มเนี่ย ประวัติศาสตร์เยอะไม่เบานะคะ
  • ขอบคุณ สำหรับเรื่องดีๆ สงสัยจะต้องไปค้นประวัติศาสตร์บ้านเรา มาแข่ง ซะละ :-))

สวัสดีคะเป็นภาพที่หาดูได้ยากขอบคุณที่เอามาฝากคะ

  • สวัสดีค่ะน้องบัวชูฝัก
  • อยากบอกครูรักษ์ว่า....ขอบคุณค่ะที่จองที่ไว้ให้.....แต่ถูกคุณหมอตันติราพันธ์แซงอีกแล้ว  ยอมค่ะ แฟนคลับทั้งนั้นนี่ค่ะ
  • ไปดูของจริงมาแล้วแทบทุกปี    แต่พอเห็นภาพก็อดชื่นชมไม่ได้   ขอภาพทบทวนความประทับใจมากๆหน่อยนะค่ะ   เผื่อป้าแดงอยากมาเที่ยวเพชรบูรณ์..บ้านเราน้อ....

 

  • สวัสดีครับคุณรักชาติP
  • คนไทยกับความเชื่อเป็นสิ่งที่คู่กันมาช้านานแล้ว โดยเฉพาะในสิ่งที่เหนือธรรมชาตินั้นแหละครับ
  • ประเพณีอุ้มพระดำน้ำ น่าจะเป็นวัฒนธรรมที่ยั่งยืนได้ เนื่องจากสืบทอดกัน กว่า 400 ปีแล้วครับ
  • ขอบคุณคุณรักชาติครับ
  • สวัสดีครับครูรักษ์นะP
  • จองแถวหน้าเลยหรือครับ...แถมใจดีจองเผื่อป้าแดงและครูหญ้าบัวด้วย
  • พระพุทธมหาธรรมราชา ถือได้ว่าเป็นพระคู่บ้านคู่เมืองของชาวเพชรบูรณ์ครับ
  • มีการแสดงหลายชุดที่เลียนแบบเครื่องแต่งกาย จากการแต่งกายขององค์พระ เนื่องจากมีความงดงามและมีเอกลักษณ์ที่เด่นชัดครับ
  • ขอบคุณครูรักษ์นะครับ

สวัสดีค่ะอาจารย์(ท่านพี่)

ตามมาซึมซับสิ่งดีๆ ต่อค่ะ  ดูยิ่งใหญ่มากเลยค่ะ  ดีใจที่ได้มีโอกาสเห็น แม้จะในบล๊อกก็ตามค่ะ

ขอบคุณมากค่ะ

  • สวัสดีครับคุณหมอตันติราพันธ์P
  • ป้าแดงใจดีไม่ว่าอะไรหรอกครับ ครูรักษ์นะคงดีใจได้เพื่อนนั่งข้างๆนะครับ
  • ถ้ามีโอกาสก็แวะมาชมงานนะครับ ลืมบอกว่าเป็นหนึ่งในทีมงานกำกับแสงเสียง ในงานนี้ มาตั้งแต่ ปี 2541 ครับ เริ่มต้นด้วยตำแหน่ง ผู้ช่วยผู้กำกับการแสดง เลื่อนตำแหน่งขึ้นมาอยู่ 4 ปี ต่อมาก็เปลี่ยนหน้าที่มากำกับเครื่องแต่งกาย เพราะงานกำกับการแสดงหนักมากๆ เพราะผู้แสดงมีจำนวน 200 กว่าคน สุขภาพไม่แข็งแรงจริงๆ ก็ต้องเปลี่ยนบทบาทตัวเองครับ
  • ขอบคุณคุณหมอนะครับ
  • สวัสดีครับป้าแดงP
  • บอกแล้วว่าป้าแดงใจดียอมให้แซงจริงๆ เพราะเห็นว่าเป็นคนกันเอง อิอิ
  • เมืองหล่มมีประวัติศาสตร์เยอะน่าจะเกิดจากที่ว่าด้วย เมืองราด เป็นเมืองคู่เมืองบางยาง(นครไทย) ซึ่งมีมาช่วงสมัยสุโขทัยแล้วนะครับ
  • ตัวเมืองเพชรบูรณ์ ก็เป็นเมืองโบราณ หลักฐานที่พบยังมีแนวกำแพงเมือง หลงเหลือให้ศึกษาได้อยู่ ตลอดจนเจดีย์ในวัดมหาธาตุ ก็เป็นเจดีย์ศิลปสมัยสุโขทัย ซึ่งยังคงความสมบูรณ์อยู่มากครับ ชื่อเดิมของเพชรบูรณ์คือ พีชปุร หรือเพชรปุร ความหมาย เป็นเมืองแห่งพืชพันธุ์ธัญญาหาร ครับ
  • ขอบคุฯป้าแดงครับ
  • สวัสดีครับคุณรัตน์ชนกP
  • เนื่องจากเป็นส่วนหนึ่งในการจัดงานจึงพอจะมีภาพเหตุการณ์ต่างๆเก็บไว้ ไม่คิดเหมือนกันว่าจะได้นำมาเผยแพร่ใน gotoknow ครับ ภูมิใจที่ภาพมีประโยชน์ต่อส่วนรวมครับ
  • ความคืบหน้าของงานปีนี้จะเป็นอย่างไร จะนำมารายงานให้ทราบเป็นระยะๆครับ
  • ขอบคุณคุณรัตน์ชนกครับ

โห...ความรู้ใหม่นะคะเนี่ย...

  • ตัวเมืองเพชรบูรณ์ ก็เป็นเมืองโบราณ หลักฐานที่พบยังมีแนวกำแพงเมือง หลงเหลือให้ศึกษาได้อยู่ ตลอดจนเจดีย์ในวัดมหาธาตุ ก็เป็นเจดีย์ศิลปสมัยสุโขทัย ซึ่งยังคงความสมบูรณ์อยู่มากครับ ชื่อเดิมของเพชรบูรณ์คือ พีชปุร หรือเพชรปุร ความหมาย เป็นเมืองแห่งพืชพันธุ์ธัญญาหาร ครับ
  • ขนาดมีเพื่อนที่นั่น  ไม่เคยทราบมาก่อนเลยค่ะอาจารย์เศก  หนิงนึกว่าเมืองที่มีเพชร  หรือ สื่อความคล้ายๆของมีค่าอะไรแบบนี้อ่ะค่ะ  ไม่นึกว่าเป็นคำที่เสียงเปลี่ยนไปจนรูปเปลี่ยนไป  ซึ่งในภาษาไทยมีเยอะอ่ะค่ะ  เกี่ยวกับสถานที่อ่ะเนอะ  เช่น ชนบท (บ้านนอก)จาก ชลบท (ทางน้ำผ่าน)

    ขอบพระคุณค่ะ

    • สวัสดีครับครูหญ้าบัวP
    • ขอบคุณครูหญ้าบัวครับ จะพยามนำภาพทบทวนความหลังมาให้ชมครับ
    • ปีนี้เชิญครูหญ้าบัวมาเก็บภาพนะครับ ตัวผมเองไม่ค่อยมีเวลา เนื่องจากวิ่งวุ่นๆอยู่หลังเวที หน้าเวที คงจะมีเวลาโผล่ไม่ค่อยมากครับ
    • สวัสดีครับอ.ราณีP
    • ประเพณีอุ้มพระดำน้ำ ชาวเพชรบูรณ์จะให้ความสำคัญมากๆ เนื่องจากวันแรก ขบวนแห่ทางบก จะประกอบไปด้วยวัฒนธรรม และประเพณีต่างๆ ของทั้ง 11 อำเภอ จะแสดงถึงความร่วมมือร่วมใจของชาวเพชรบูรณ์เป็นอย่างดี
    • งานนี้กำกับขบวนทางบก โดย อาจารย์ปิลันธนา  สงวนบุญยพงษ์ โปรแกรมนิเทศศาสตร์ ม.ราชภัฏเพชรบูรณ์ ท่านเป็นอาจารย์ของผมเอง ท่านเคยสอนนาฏศิลป์ ช่วงที่ผมกำลังศึกษาอยู่ ภายหลังมาท่านเปลี่ยวิชาที่สอนครับ
    • ขอบคุณอ.ราณีครับ
    • สวัสดีครับคุณหนิงP
    • ครั้งแรกก็เข้าใจเหมือนกันครับ คำว่าเพชรน่าจะมาจากเพชร นิล จินดา แต่พอศึกษาแล้วถึงได้รู้ว่า มาจาก พีชปุร แล้วค่อยกลายมาเป็นเพชรปุร เนื่องจากอุปมาว่าพืชพันธ์มีค่าดังเพชร หรืออาจเป็นเพราะใช้กันมานาน ภาษาจึงเปลี่ยนไป จากพี เป็น เพชร ประมาณนี้ครับ ฟังจากท่านผู้รู้มาอีกที่ครับ
    • ขอบคุณคุณหนิงครับ

    สวัสดีค่ะ อ.บัวชูฝัก

    อ่านและดูภาพประกอบแล้วขนลุกค่ะ ... ชอบเรื่องราวประวัติศาสตร์ ชอบการแสดงแสง สี เสียงมากค่ะ เคยไปดูที่สุโขทัย ชอบมากๆๆค่ะ ขนลุก...แบบแอบจินตนาการตามไปด้วยค่ะ ... แบบว่า รักชาติค่ะ อ่านประวัติศาสตร์บ้านเราแล้วอิน...ขอบคุณค่ะ

    • สวัสดีครับอ.แป๋วP
    • เรื่องราวประวัติศาสตร์ของไทยมักทำให้เกิดความรูสึกคล้อยตามได้ง่าย อาจเกิดจากความรักชาติของเรานะครับ
    • การแสดงแสง สี เสียง ผู้เขียนบท และผู้กำกับ แต่ละฝ่ายต้องพยายามถ่ายทอดความรู้สึกของตัวละคร เทคนิคต่างๆ เพื่อให้ผู้ชมเกิดการคล้อยตามไปกับเหตุการณ์ เปรียบเสมือนว่าได้อยู่ในเหตุการณ์ในบทนั้นด้วยครับ
    • ขอบคุณอ.แป๋วครับ

    สวัสดีค่ะ

    สวยจังค่ะ

    ชอบเรื่องประวัติศาสตร์แบบนี้ค่ะ 

    • สวัสดีครับคุณsasinandaP
    • ขอบคุณครับที่เข้ามาเยี่ยมชม
    • ประวัติศาสตร์บอกเรื่องราวในอดีตให้กับเรา และยังให้เราได้มองไปในอนาคตข้างหน้า เราได้อะไรดีๆจากประวัติศาสตร์มากๆครับ
    • ขอบคุณครับ
    พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
    ClassStart
    ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
    ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
    ClassStart Books
    โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท