การไม่รู้จัก "KM":สาเหตุ (?)ของการจัดการความรู้ต่างระดับในระดับปัจเจก


ผมก็ไม่เข้าใจว่าอะไรที่ทำให้คนไม่เข้าใจว่า KM คืออะไร และทำให้ความฝันของ สคส. ที่จะทำให้ “มีการจัดการความรู้ทุกหย่อมหญ้า” เป็นไปอย่างไม่ค่อยทันใจเจ้าของเงินสักเท่าไหร่

จากการเปิดประเด็น ปรากฏการณ์มหาชีวาลัยอีสาน (http://gotoknow.org/blog/knowledge-construction/115678) โดยคุณกระปุ๋ม ที่พยายามอธิบายการจัดการความรู้ในระดับ จิตวิญญาณ ที่ทำให้ผมกลับมาคิดว่า เราได้ทำงานก้าวหน้ากันถึงระดับนั้นเลยหรือ นี่ว่ากันเฉพาะคนที่อยู่ในวงการ KM นะครับ แต่คนที่ไม่รู้ก็อาจจะทำอยู่บ้างแล้ว ไม่งั้นคงไม่รอดมาได้ทุกวันนี้

 

แต่พอพูดถึง KM บางคนที่ไม่เข้าใจก็คิดว่าเป็นเรื่องใหม่ ทั้งๆที่ KM มีมาพร้อมๆกับการก่อกำเนิดสิ่งมีชีวิตแล้ว ที่มี KM ธรรมชาติ ตั้งแต่ระดับ พันธุกรรม จนพัฒนามาถึงจิตวิญญาณ ในระดับต่างๆ

 ความไม่เข้าใจได้ทำให้มีทั้งคนเห็นด้วย เฉยๆ หรือต่อต้านก็มี จึงปรากฏผลในปัจจุบัน ว่า มีระดับการจัดการความรู้ ดังนี้
  1. ตามคำสั่ง
  2. ตามกระแส
  3. ตามใจตัวเอง
  4. ตามศรัทธาในสิ่งที่ทำ
  5. อยู่ในสายเลือด ทำโดยไม่รู้ตัว
  6. อยู่ในจิตวิญญาณ
ผมจึงมาคิดว่าอะไรทำให้มีระดับความแตกต่างในการจัดการความรู้ และขอคิดดังๆออกมาดังนี้
  • สำหรับคนที่รู้ว่า KM คืออะไร (ผมคิดว่า ง่ายที่สุดก็คือ ทำไป คิดไป ปรับไป) คงไม่ยากที่จะทำในระดับ ๕ และ ๖
  • สำหรับคนที่รู้ครึ่งๆกลางๆ ก็คงอยู่ระดับ ๓ และ ๔
  • ส่วนกลุ่มที่ไม่เข้าใจก็คงอยู่ในระดับ ๑ และ ๒
 ผมก็ไม่เข้าใจว่าอะไรที่ทำให้คนไม่เข้าใจว่า KM คืออะไร และทำให้ความฝันของ สคส. ที่จะทำให้ มีการจัดการความรู้ทุกหย่อมหญ้า เป็นไปอย่างไม่ค่อยทันใจเจ้าของเงินสักเท่าไหร่ผมเลยคิดไปเองว่า ถ้า
  1. เราทำงานแบบไม่ติดคำจำกัดความ แต่เน้นเนื้อหาสาระของการกระทำ
  2. เราทำงานแบบไม่ติดกรอบความคิดในการทำงาน แต่เน้นสิ่งที่เป็นจริงในสังคมของเรา
  3. เราทำงานแบบไม่ติดยึดวิธีการ หรือ กระบวนท่า แต่เน้นความเป็นประโยชน์ของผลงานต่อตนเองและผู้อื่น
  4. เราทำงานแบบไม่ติดยึดทฤษฎี แต่เน้นผลเชิงประจักษ์ แล้วนำทฤษฎีมาอธิบายทีหลัง หรือแก้ไขทฤษฎีที่ไม่เหมาะสม
  5. เราทำงานแบบไม่ติดยึดตัวบุคคล อำนาจ หรือการสั่งการชี้นำ แต่เน้นผลสัมฤทธิ์ของงาน
 กระบวนการทำงานโดยใช้ KM เป็นแกนในทางความคิด คงไปได้เร็วกว่านี้ แน่นอน(จาก ประสบการณ์ ทำงานกับชุมชน และ เป็นที่ปรึกษา นศ. การจัดการความรู้)
หมายเลขบันทึก: 116071เขียนเมื่อ 1 สิงหาคม 2007 14:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 พฤษภาคม 2012 18:50 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (14)
ผมก็ไม่รู้จัก KM เหมือนกันครับ. นึกไม่ออกว่าเป้าหมายจะเป็นอย่างไร. แต่ที่ไม่รู้จักอาจจะเป็นเพราะตัวย่อเยอะมากจนจำไม่ได้.

 สวัสดีครับท่านอาจารย์ ดร. แสวง รวยสูงเนิน

  • และทำไมต้องเปรียบเทียบ KM  กับปลาทูละครับท่าน 
  • ผมก็ยังไม่เข้าใจส่วนนี้  ใช้ปลาอื่นได้ไหมครับ
  • ยิ่งในหน่วยงานผมคงยังไม่มีใครรู้จัก  เพราะว่ายังไม่เห็นมีการพูดถึง KM เลยสักคน

ขอบพระคุณมากครับ

ผมชีวิตเปื้อนฝุ่นคลุกโคลนมาแต่เด็ก พยายามเรียนรู้เกี่ยวกับKMอยู่ ดูเหมือนเข้าใจแต่ยังงงๆ ยังไปไม่ถึงระดับ4 5 6

 

ขอบคูณครับพันธมิตร

จุดบอดหรือหลุมดำของเรื่องนี้ก็แค่

  • เล่นคำมากเกินไป จนทำให้ KM เป็นสิ่งที่เข้าใจยาก ทำยาก ทั้งๆที่ทุกคนก้ทำอยู่แล้ว (แต่อาจต้องปรับปรุงบ้าง) บางคนทำได้ดี แม้จะไม่รู้จักคำว่า KM
  • สร้างคำย่อให้สับสน คนไม่คุ้นเคยจะงงมาก ว่าอะไรเป็นอะไร กว่าจะคุ้นแค่คำศัพท์ก็เหนื่อยซะก่อน
  • ติดกรอบ ติดกระบวนท่า แบบเก่งแม่ไม้มวยไทย รู้ทุกกระบวน จนแทบลืมไปว่าพอขึ้นเวทีจะต้องต่อยอย่างไร
  • วิชาการและหลักการไม่สอดคล้องกับความเป็นจริง หรือ แทบไม่มีประโยชน์ในโลกแห่งความเป็นจริง
  • อาศัยหลักการต่างประเทศ ที่ไม่ค่อยสอดคล้องกับระบบสังคมไทย
  • นักจัดการความรู้ที่ไม่เคยวิเคราะห์ตัวเอง ย่อมไม่เข้าใจปัญหา ทางเลือก และทางออกในการแก้ไขปัญหา และยิ่งพึ่งแนวคิดจากภายนอก ยิ่งทำให้ระบบไม่พัฒนา

ฉะนั้น ผมว่าเอาง่าย แค่ ทำไป คิดไป ปรับไป ในที่สุดจะลงตัวไปเอง แล้ว คำย่อต่างๆ เดี๋ยวก้เข้าใจแบบอัตโนมัติไปเอง

ถ้ากังวลกับคำย่อในตอนแรก รับรองว่าไม่ได้ไปไหนแน่นอน

ลองดูนะครับ

P ผมก็ทำไปเรื่อยๆหละครับ. แต่ว่าไม่รู้ไปทางไหน และจะไปถึงไหน. เน้นแก้ปัญหาในชีวิตเอา. คำย่อทาง KM ผมจำได้ 2-3 คำแล้ว. :-)

อย่าทำ KM เลยครับ .. ทำงานดีกว่า
    มันจะน่าหัวเราะขนาดไหน หากพูดมาพูดไป แล้วใครคนหนึ่งบอกว่า .. ผมต้องปลีกเวลาทำงาน เพื่อมาทำ KM !
    การทำงานต้องใช้ความรู้  และความรู้มีหลากหลาย ต่างชนิด  ต่างระดับ กันอยู่มากมาย เพื่อให้เหมาะและสะดวกแก่การใช้ จึงต้องมีการ "จัดการ" ที่ฉลาดเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ  จากผิดๆถูกๆ  มาสู่ถูกมากกว่าผิด
     ในที่สุดคนหรือองค์กร ก็สามารถทำงาน แก้ปัญหาต่างๆได้ สำเร็จ มีคุณภาพ  มีประสิทธิภาพเต็มที่  และทุกคนที่เกี่ยวข้องล้วนมีความสุข ตามส่วนที่ควรมี ควรได้
     ถึงตอนนั้น จะเรียก KM หรือ MK หรืออะไร ตรงกับโมเดลไหน ไม่ต้องถาม  ไม่ต้องตอบก็ได้กระมังครับ.

อาจารย์พินิจ

ผมว่าเราพยายามจะสร้าง logo ใหม่ ทั้งๆที่เป็นของเก่า โดยไม่แน่ใจว่าจะ promote logo หรือจะทำให้เกิดผลงานกันแน่

ตอนนี้ที่ไหนๆก็มึน

KM คืออะไร

ทำอย่างไร

ไม่ทำได้ไหม

ไม่ทำจะล้าสมัยไหม

ผมก็เลยมามึนกับคำถามแบบขำไม่ออกนี่แหละครับ

  • แวะมาทักทายอาจารย์ผ่านบล็อกครับ
  • วันเฮฮาฟังอาจารย์หลายท่านคุยกันจนเพลินครับ
  • เห็นด้วยเช่นเดียวกันครับ ทำไป คิดไป ปรับไป  เป็นการเรียนรู้และพัฒนาอย่างไม่มีที่สิ้นสุด
  • โดยการทำงานครับ ใครอย่าได้หลงไปทำKMแบบที่อาจารย์handy กล่าวไว้

เรียนท่านPที่นับถือ

ผมดีใจที่ได้พบท่านตัวต่อตัว แต่ก็เสียดายเรามีเวลาน้อย ไม่ค่อยได้คุยกัน โอกาสต่อไปน่าจะยังมีนะครับ

  • ขอบคุณที่แปลงความคิดออกมาอย่างเป็นขั้นเป็นตอน เพื่อให้คนได้อ่านอย่างวิเคราะห์ ว่าที่จริงมันก็เป็นเรื่องพื้นฐานที่มีอยู่ในจิตใจของคนที่สนใจเรียนรู้โดยธรรมชาติอยู่แล้ว เพียงแต่เอาเบื้องหลังมาอธิบาย ไม่ปล่อยให้นึกเอาเองเหมือนเซ็น

 

  • ขอคาระ 1 จอก ชอบมาก ทำให้ไม่ต้องเหนื่อยแปลงทำเรื่องง่ายให้เป็นเรื่องยาก อีกต่อไป.
พัชรี ดำรงสุนทรชัย

วันนี้มีโอกาสอ่านบทความน่าสนใจของอาจารย์หลายเรื่อง ทำให้ได้ความกระจ่างมากมายในเรื่องการจัดการความรู้ ที่ตัวเองยังสับสนและงงๆ เมื่อคุยกับนักวิชาการแต่ละท่านในความหมาย ต้องขอบคุณมากๆ ในความกรุณาของอาจารย์ที่นำเรื่องดีๆ มาแบ่งปันและเปิดกว้างไม่ยึดติด

ด้วยความเคารพ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท