KM กับห้องสมุดมหาวิทยาลัยนเรศวร


บทความประกอบหนังสือ มหกรรม KM ส่วนภูมิภาค

ความเป็นมาเป็นไปเกี่ยวกับ KM ห้องสมุดมหาวิทยาลัยนเรศวร

 ถาม  รู้จัก KM ได้อย่างไร

ตอบ  เริ่มรู้จัก KM ตอนที่ รองฯ วิบูลย์ เชิญประชุมเกี่ยวกับ
        เรื่อง
KM ซึ่งคนที่มาเข้าร่วมประชุมคือคนที่ทำงาน|
        เกี่ยวกับการประกันคุณภาพ ก็ยังงงๆ  อยู่ว่าทำไมจึงใช้ทีมงาน
QA 

ถาม  รู้สึกอย่างไรกับ KM

ตอบ ตอนนั้นรู้สึกว่าเอาอีกแล้ว เรื่อง QA  ก็ยุ่งๆกับเอกสาร มีเอกสารมากมาย
        
แล้ว นี่ KM มาอีกแล้ว 

ถาม  แล้วทำอย่างไรต่อ

ตอบ ตอนนั้นมอนอทำประกันคุณภาพ และประสบความสำเร็จกับการทำประกันคุณภาพโดยเรามีทีมงานและเครือข่ายที่เข้มแข็ง ดังนั้นที่นเรศวรจึงมีจุดเริ่ม KM ไม่เหมือนที่อื่นเราเริ่มด้วย QA เราจึงใช้ชื่อเว็บบล็อกว่า NUQAKM ซึ่งแยกกันไม่ออก ระหว่าง QA และ KM 

ถาม  แล้วนำ KM เข้าไปใช้ในงานห้องสมุดอย่างไร

ตอบ ตอนแรก จำได้ว่า ทางมหาวิทยาลัยเชิญ ดร.ประพนธ์ กับหมอวิจารณ์ มาบรรยายให้ความรู้เกี่ยวกับ KM ให้กับพวกเรา ซึ่งก็คงคล้ายๆ กับหลายหน่วยงานที่ไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นอย่างไร ก็เชิญคนที่มีความรู้มาให้ความรู้กับพวกเราก่อน

 ถาม แล้วอาจารย์ได้ฟังแล้วรู้สึกอย่างไร

ตอบ ตอนไปฟัง ต้องบอกว่ารู้สึกดี มากๆ เป็นการฟังบรรยายที่ ดร.ประพนธ์บรรยายได้อย่างมีรสชาด รู้สึกสนุกกับลีลาการบรรยาย ของ ดร.ประพนธ์ รู้สึกว่า KM เป็นเครื่องมือที่ดีมากและทรงพลัง น่าที่จะนำไปใช้กับห้องสมุด

 ถาม  แล้วอาจารย์ทำอย่างไรต่อไป

ตอบ ก็นิ่งไปเลย เกือบ 3-4 เดือน ไม่รู้จะเริ่มต้นอย่างไร อย่างที่ ฟังดูเหมือนไม่ยาก แต่ก็ยาก มีแต่คำศัพท์มากมาย ธารปัญญา หัวปลา หางปลา คุณเอื้อ คุณอำนวย คุณกิจ แล้วนี่เราจะไปทำอย่างไรกับห้องสมุด เริ่มไม่ถูก 

ถาม  เคเอ็มนี่ไม่ลองไม่รู้จริงๆ นะครับ แล้วทำอย่างไรครับหลังจากนั้น

ตอบ จากนั้นก็ได้ไปเข้าร่วม Work Shop ที่จัดโดยทีมงาน อ.วิบูลย์ แต่ตอนนั้น จำได้ว่ารู้สึกว่าจะได้รู้จักเรื่องบล็อกก่อน ซึ่งเป็นเรื่องที่ใหม่มาก แต่ด้วยเราเป็น คนไอทีอยู่แล้ว จึงเรียนรู้เรื่องบล็อกก่อน เขียนบล็อก เข้าไปแจมกันคนนั้นคนนี้ จนรู้สึกว่าเกิดเครือข่ายของคนในหลายๆ หน่วยงาน ช่วยเหลือกัน แต่ทุกคนมา ด้วยใจ  

ถาม  แล้วอาจารย์นำบล็อกไปใช้อย่างไร

ตอบ ผมก็นำเรื่องบล็อกเข้าไปใช้ในห้องสมุด เริ่มด้วยบล็อกก่อน แล้วผมก็ได้ เครือข่ายที่เข้มแข็งคนหนึ่ง คือคุณวันเพ็ญ โดยช่วงแรก เขียนกันสารพัดเรื่อง ไปอบรมสัมมนา มาก็จะลงบล็อก ใครไม่เขียน คุณวันเพ็ญก็จะตามทวง

 ถาม  แล้วได้ผลดีไหมครับ

ตอบ ตอนแรกได้ผลดีมาก มีคนเขียนบล็อก หลายคน แต่มันเหมือนกราฟชีวิตมีขึ้นก็มีลง จาก สิบกว่าคน ปัจจุบัน เหลือเขียนอยู่ไม่ถึง 5 คน แต่ละคนก็นานๆ เขียนที

ถาม  ทำไมจึงเป็นอย่างนั้นล่ะครับ

ตอบ ก็เพราะเราไม่รู้เป้าหมายว่าเขียนไปทำไม บางคนเขียนเพื่อประชาสัมพันธ์ หน่วยงาน บางคนเขียนเรื่องงาน บางคนเขียนเรื่องความรู้ บางคน โดยเฉพาะผมเขียนเรื่อง ครอบครัว  

ถาม  แล้วทำไมมีคนห้องสมุดได้รับรางวัลเบสบล็อกออฟเดอะมันท์ (Best Blog of NU)

ตอบ อ๋อ หมายถึงแก่นจัง เหมือนเป็นเครื่องมือสื่อสาร เขียนเรื่องเล่า แก่นจังเพิ่งเข้ามาทำงานใหม่ เค้า ทำเว็บ และสนใจเรื่องไอทีอยู่แล้ว และเมื่อได้มารู้จัก
      บล็อก ได้รับแรงเสริมจากคุณวันเพ็ญ ทำให้แก่นจังเป็นดาวได้โดยง่าย โดยอาศัยเรื่องเล่า และวิธีการเล่าเรื่องอย่างน่าสนใจ แก่นจังเค้ามีแฟนคลับเยอะมาก
 

ถาม  แล้วคนอื่นๆ ล่ะครับ

ตอบ ความจริงแล้วห้องสมุดมีดาวหลายคน ดรีม ก็เป็นอีกคนที่มีแฟนคลับติดตามอ่านบันทึกเรื่องเล่าของดรีมเยอะมาก แต่ตอนหลังๆ ก็หายไป ปุ๊ก ศศิธรก็เป็นคนหนึ่งที่เขียนบล็อก บางคนเขียนดีมากอย่าง คุณขวัญตระกูล เขียนดีมาก แต่ด้วยภารกิจเยอะ ก็เลยหายไป แต่ทุกคนก็ยังอ่านบล็อกอย่างต่อเนื่อง  

ถาม แล้วทำไมถึงได้มีทีมงาน KM ในห้องสมุดได้ครับ

ตอบ ช่วงนั้น ผมเองได้รับการกระตุ้นจากการเข้าร่วมกิจกรรม KM ของมหาวิทยาลัยบ่อยๆ เข้าร่วม UKM (Universities KM) ได้มีเครือข่าย จากการเข้าร่วม กลายเป็นฟาน้อย กลายเป็นฟาใหญ่ 

ถาม  ฟาคืออะไรครับ

ตอบ อ๋อ เราเรียกกันเองครับ ว่าฟา คือ Facilitator คือตอนนั้นอาจารย์วิบูลย์ได้รับเชิญให้ไปเป็นวิทยากรเกี่ยวกับ KM จากทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย ซึ่งรองฯวิบูลย์เองก็มีภารกิจมาก ก็เลยมีการถ่ายทอดวิทยายุทธ หรือพัฒนาบุคลากรภายในให้มีความสามารถเรื่องของการเป็นวิทยากรกระบวนการ KM  

ถาม  แล้วสร้างทีมงานอย่างไรครับ

ตอบ ช่วงนี้เองที่ผมได้มีโอกาส ชักชวนคนให้ห้องสมุด โดยเฉพาะพยายามกระจายไปตามฝ่ายงานต่างๆ ให้ได้เข้าร่วมกิจกรรม Km ส่งไปเข้าร่วมบ้าง ไปทำหน้าที่ฟาน้อยบ้าง 

ถาม  กลายเป็นว่าได้ทีมงาน

ตอบ ใช่ครับ จากที่ทำหน้าที่ฟาน้อย รองฯ วิบูลก็ไว้วางใจให้ไปเป็นวิทยากร KM จำได้ว่าครั้งแรก ก็ยังเป็นวิทยากรในลักษณะของการบรรยายอยู่ จำได้ว่าที่ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์  

ถาม  ไปดำเนินการให้ที่ไหนบ้างครับ

ตอบ ถ้าเป็นลักษณะเวิร์คชอป นี่ เท่าที่จำได้ ก็มี มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร เชียงราย พิบูลสงคราม ครูสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุทัยธานี สำนักหอสมุดกลางลาดกระบัง ข่ายงานห้องสมุดอุดมศึกษาส่วนภูมิภาค ส่วนที่ไปร่วมกิจกรรม ก็เช่น KM ที่ประชุมสภาคณบดีครุศาสตร์ศึกษาศาสตร์ งานบัณฑิตอุดมคติไทย  

ถาม  แล้วห้องสมุดได้ประโยชน์อะไรบ้างครับ

ตอบ สำหรับห้องสมุด ผมว่าหลายอย่างกลายเป็นวัฒนธรรมเปลี่ยนไปนะครับ เรื่องของการคุยกันก่อนทำงาน ระหว่างทำงาน และสรุปผลหลังการทำงาน เราทำกันเป็นประจำ อย่างงานใหญ่ๆ การขนย้ายห้องสมุด เราก็คุยปรับแผนกันตลอด  เวลาเราไปทำกิจกรรม แผนงานอะไร เรามีการคุยกันก่อน คุยกันได้ทุกที่ 

ถาม คุยกันที่ไหนบ้างครับที่ว่าคุยทุกที่

ตอบ  คุยกันในรถตู้ คุยกันบนรถบัส คุยกันในห้องพักในโรงแรมก่อนที่เราไปทำงานกัน คุยกันในที่ทำงาน ลากเก้าอี้มาก็คุยกันได้แล้ว 

ถาม  แล้วอนาคตของ KM ห้องสมุดจะเป็นอย่างไรครับ

ตอบ  ผมว่าเราคงข้ามคำว่า KM ไป จนรู้สึกว่าเราคงไม่ต้องพูดถึงคำนี้อีกแล้วว่าคืออะไร แต่เราคงใช้เครื่องมือนี้เนียนอยู่ในเนื้องาน ห้องสมุดมีจุดเด่นเรื่องการพัฒนาบุคลากร ผมว่าเรื่องหนึ่งที่ KM เข้ามาช่วยได้ อย่าง เช่น เรื่องของภาวะผู้นำ  

ถาม  คืออย่างไรครับ

ตอบ  ผมว่า ตอนนี้ที่สำคัญคือทำอย่างไรให้ผู้บริหาร หัวหน้างานเปิดใจยอมรับวัฒนธรรม การฟังปัญหาจากการทำงานได้ อย่างเมื่อเร็วๆ นี้ห้องสมุด เด็กๆ เค้าเชิญประชุมกันเองจากปัญหา ความไม่เข้าใจการทำงาน เค้าคุยกันเอง คุยกันด้วยใจ ใช้ใจคุยกัน แล้วได้ผลดีมาก แต่ก็ยังมีอยู่บ้างที่บางคนอาจจะรู้สึกต่อต้าน ว่าเอ๊ะ !  เธอเป็นใครทำไมมาเรียกประชุม ทำไมฝ่ายบริหารไม่ได้รับรู้ แต่ผมกับขอมองในมุมกลับกัน ว่านั่นแหละคือจุดเริ่มต้นที่ดี

ถาม ขอบคุณอาจารย์มากครับ

หมายเลขบันทึก: 120757เขียนเมื่อ 20 สิงหาคม 2007 11:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 19:59 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

ปัจจุบันแหล่งเรียนรู้มีมากมาย...แต่เป็นเรื่องยากที่จะทำให้เกิดองค์กรแห่งการเรียนรู้...ความรู้ที่สำคัญที่สุดเกิดจากคนในองค์กรคะ...หากทุกคนในองค์กรสามารถเปิดใจพูดกันได้ทุกเรื่องเหมือนในบล็อก...ปัญหาการทำงานคงน้อยลงกว่านี้...เพราะในการทำงานส่วนใหญ่ประชุม..แจกงาน...หลายครั้งเหมือนถูกบังคับ...บางครั้งคนส่วนใหญ่เลยไม่สนุกกับงาน...ถือเป็นหน้าที่เท่านั้น...รู้จัก KM มานานและรู้จักกับ G2K มา2 ปีแล้ว...มาวันนี้หลังจากติดตามงานของน้องชายคนนี้มานาน...พี่สาวเลยเริ่มอยากเล่ามั่งอิๆ...ไม่เล่าเรื่องงานคะ...ประสบการณ์การทำงานไม่มี...ฮ่าๆ(อิจฉาคนในองค์กรของน้องจัง...น่ารักกันทั้งนั้น..ถึงได้พัฒนาไปได้อย่างรวดเร็ว)...แต่ประสบการณ์ชีวิตมีเพียบคะ...

  • ขอบคุณค่ะอาจารย์  ตูนมารับไปดำเนินการต่อแล้วนะคะ
  • ขอบคุณอ.หนึ่ง ค่ะ ได้ความรู้ดี และได้ข้อคิดว่า จะนำไปเขียนจุลสารคณะว่าควรเริ่มจากไหนดี
  • ความจริง เราทำKm กันอยู่ทุกวันแต่ว่า ไม่เป็นทางการเท่านั้น ว่าไหมค่ะ
  • เป็นกำลังใจให้หอสมุดนะคะ
  • เขียนได้ดีทีเดียวค่ะ
  • ดีใจที่ได้มีส่วนร่วมกับ KMห้องสมุด
  • ภูมิใจกับNU blogger (อิอิ) ทั้งๆที่บางทีเองก็ไม่คิดว่ามันเป็นKmอะไร เครื่องมือง่ายๆที่ฝึกให้คิดให้เขียน ดีกว่ารู้แล้วเก็บไว้คนเดียว
  • ถ้าหัวหน้างานลงมาร่วมด้วยช่วยกันโดยไม่คิดว่าเป็นภาระ ทุกอย่างก็เนียนอยู่ในเนื้องานอยู่แล้ว
  • การเป็นฟาน้อย ทำให้รู้จัก KM และเข้าใจขึ้นทุกวัน
  • สุดท้ายแล้ว KM ห้องสมุด คงต้องมีต่อไป พร้อมๆกับการพัฒนางานห้องสมุดเรื่อยๆ

                                   

ทำไมมีแต่ถามกับตอบ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท