Outcome Mapping ขั้นตอนที่ 4 กำหนดผลลัพธ์ที่พึงประสงค์


ขั้นตอนนี้เป็นการกำหนด "ผลลัพธ์" ซึ่งในที่นี้ คือ พฤติกรรม ความสัมพันธ์ กิจกรรม และการกระทำของคน กลุ่มคน และองค์กรที่เราทำงานด้วยโดยตรง ว่าจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร ถ้างานนี้ประสบความสำเร็จสูงสุด

เป็น "ผลลัพธ์" ที่เน้นพฤติกรรมนั่นเอง เพราะเชื่อว่าการพัฒนา ทำโดยคนและเพื่อคน และควรระบุเป็นชุดของการเปลี่ยนแปลงเพราะพฤติกรรมของแต่ละคนไม่สามารถเกิดขึ้นได้ตามลำพังโดยแยกจากสิ่งอื่นๆ อย่างสิ้นเชิง

วิธีการอย่างหนึ่งของการระบุผลลัพธ์ที่พึงประสงค์ (เริ่มทำครั้งละ 1 ภาคีหุ้นส่วน)

1. ให้ทุกคนตอบคำถาม "หากต้องการไปให้ถึงวิสัยทัศน์ ภาคีหุ้นส่วนจะต้องมีพฤติกรรมอย่างไร ต้องเกิดความสัมพันธ์ใหม่กับใคร อย่างไร"

2. ให้แต่ละคนออกไปเขียนที่ flip chart หน้าห้อง หลีกเลี่ยงการเขียนซ้ำกับผู้อื่น แต่ใส่ความคิดเห็นเพิ่มเติมได้

3. อ่านทวนอีกรอบ แล้วถามตัวเองอีกครั้งว่า "การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้เป็นสิ่งที่ต้องการจริงๆ หรือไม่ เป็นไปได้จริงทางการปฏิบัติหรือไม่"

4. ช่วยกันจัดหมวดหมู่ แล้วช่วยกันพิจารณาอีก 1 ครั้ง

ตัวอย่างจาก NEPED

Boundary Partners – Farmers

Outcome Challenge:  NEPED/SARS intend to see farmers who are less dependent on the government. They introduce local innovations and use research findings to experiment with new ideas and challenges with a business mindset. They engage in more economically productive activities by effectively using local resources, Agro based income generating schemes, knowing proper outlets for their products and cooperating to create market mechanisms. Farmers use credit facilities and repay loans. Farmers establish a means to ensure equitable sharing of benefits between women and men farmers. Women participate in community decision-making. Farmers encourage others to adopt new practices. In summary, farmers have access to the resources and the skills to use them to build stronger, healthier communities.

ตัวอย่างจาก รพ.เขาวง (โครงการชุมชนสุขสันต์ไร้ควันบุหรี่)

ภาคีหุ้นส่วน - กลุ่มผู้สูบบุหรี่

ผลลัพธ์ที่พึงประสงค์ จากการทำงานร่วมกันคือ กลุ่มผู้สูบบุหรี่เข้าร่วมกิจกรรมคลินิกอดบุหรี่ทุกครั้ง และมีความรู้เรื่องโทษของบุหรี่ สามารถถ่ายทอดความรู้สู่ผู้อื่น และสามารถ ลด ละ เลิก สูบบุหรี่ได้ เป็นตัวอย่างที่ดีแก่ลูกหลาน จนเป็นชุมชนปลอดบุหรี่

- กลุ่มสมาชิกครอบครัว

ผลลัพธ์ที่พึงประสงค์ จากการทำงานร่วมกันคือ สมาชิกครอบครัวเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่มครอบครัวทุกครั้ง มีความรู้เรื่องโทษ และวิธีเลิกสูบบุหรี่ ส่งเสริมสนับสนุนการเลิกสูบบุหรี่ในครอบครัวและชุมชน และป้องกันการเกิดผู้สูบบุหรี่รายใหม่ในครอบครัวและชุมชน

- กลุ่มผู้นำชุมชน

ผลลัพธ์ที่พึงประสงค์ จากการทำงานร่วมกันคือ ผู้นำชุมชนสนับสนุนกิจกรรมที่ส่งเสริมการเลิกบุหรี่ในชุมชน สอดส่อง ดูแล ขับเคลื่อนให้เกิดความยั่งยืนในชุมชน มีนโยบาย/มาตรการเกี่ยวกับการสูบบุหรี่เพื่อบรรลุวิสัยทัศน์

- ทีมสุขภาพ

ผลลัพธ์ที่พึงประสงค์ จากการทำงานร่วมกันคือ สนับสนุนให้เกิดกิจกรรมที่ส่งเสริมการเลิกสูบบุหรี่โดยชุมชนเอง โดยเป็นผู้ประสานงนและให้ข้อมูลวิชาการ มีการปรับเปลี่ยนระบบบริการสาธารณสุขที่สอดคล้องกับบริบทของชุมชน เพื่อการไม่สูบบุหรี่

อ้อม สคส.

วิสัยทัศน์ พันธกิจ ภาคีหุ้นส่วน  

คำสำคัญ (Tags): #outcome challenges#outcome mapping
หมายเลขบันทึก: 89284เขียนเมื่อ 9 เมษายน 2007 13:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 18:07 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท