Outcome Mapping ขั้นตอนที่ 1 สร้างวิสัยทัศน์ของแผนงาน


OM คือ การติดตามและประเมินผลที่มีกระบวนการเรียนรู้เกิดขึ้นตลอดเวลา

    จากการเข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการเมื่อ 20 - 22 มีนาคม 2550 ที่ผ่านมา ทำให้เกิดการปฏิวัติทางความคิดว่าแท้ที่จริงแล้วแผนที่ผลลัพธ์ (Outcome Mapping: OM) เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการวางแผนการดำเนินงาน ไม่ใช่การติดตามและประเมินผลงาน ขั้นตอนของ OM จึงเริ่มจากการสร้างวิสัยทัศน์ของแผนงาน

ซึ่งมีความแตกต่างกับวิสัยทัศน์ที่เราคุ้นเคย คือ ในมุมของ OM จะระบุวิสัยทัศน์ไว้ค่อนข้างยาว (ครึ่งหน้า A4) บอกผู้ที่เกี่ยวข้อง (ภาคีหุ้นส่วน) สิ่งที่ภาคีหุ้นส่วนจะทำ และจะได้จากการทำงานร่วมกัน

และเนื่องจากเมื่อเช้า ได้ทำ AAR เรื่องที่ไปอบรม จึงได้ความเห็นจาก อ.วิจารณ์ว่า วิสัยทัศน์ที่ค่อนข้างยาวนี้ อาจจะเรียกได้อีกอย่างหนึ่งว่า Operational Vision หรือวิสัยทัศน์สำหรับการทำงานจริง  ซึ่งตรงกับที่ได้สอบถามคุณ Terry (วิทยากร) ว่า จริงหรือไม่ที่วิสัยทัศน์แบบสั้นๆ เป็นประโยคที่โดนใจ ฟังแล้วติดหู เหมาะสำหรับองค์กรใหญ่ๆ เพื่อเปิดโอกาสให้สามารถทำงานได้หลากหลายประเด็น  แต่วิสัยทัศน์แบบยาว เหมาะสำหรับฝ่าย แผนก ขององค์กรนั้น  ซึ่งคุณ Terry ได้ตอบว่าข้อดีของวิสัยทัศน์แบบยาวคือ ทำให้คนในองค์กรเข้าใจตรงกัน ทำงานไปในทิศทางเดียวกัน (คำตอบนี้อาจมีผลมาจากการที่ IDRC ที่คุณ Terry เคยทำงานอยู่ มีสำนักงานอยู่ในหลายภูมิภาคของโลก)

ยกตัวอย่างวิสัยทัศน์ของ สคส. (ร่าง) คนไทยใช้การเรียนรู้สร้างทุนทางปัญญา พัฒนาสุขภาวะของสังคม

ในกรณีนี้ จะเห็นว่า คำว่า "คนไทย" เป็นคำที่กว้างมาก ในด้าน OM จะขอให้ระบุให้เฉพาะเจาะจงกว่านี้ว่าหมายถึงคนกลุ่มไหนบ้าง ที่จะให้ความสำคัญในการทำงานระยะต่างๆ (เป้าหมายสุดท้ายคือคนไทยทุกคน แต่จะทำงานกับใครก่อน เพื่อให้สามารถวัดผลการทำงานได้สะดวกและเข้าใจตรงกันระหว่าง สคส. และ ผู้ให้การสนับสนุนนั่นเอง)

"OM คือ การติดตามและประเมินผลที่มีกระบวนการเรียนรู้เกิดขึ้นตลอดเวลา  เพราะฉะนั้น OM จึงมี KM เนียนอยู่ในทุกขั้นตอนแล้ว" (อ.ประพนธ์)

ตัวอย่างวิสัยทัศน์ของโครงการ NEPED (Nagaland Environment Protection & Economic Development) สนันสนุนโดย IDRC ประเทศแคนาดา

In Nagaland, communities are self-reliant and no longer subsidy oriented. Farmers practice sustainable agriculture, building on traditional practices and integrating agricultural innovations. Through the development of agro-business, establishment of marketing infrastructure and entrepreneurship, both women and men benefit from increased economic return and improved agricultural production. Communities are empowered and actively managing their own affairs and resources judiciously, and women play an active role in community decision-making. Government consults with communities on policies and practices that affect them. NEPED becomes a model throughout Nagaland and in the rest of the world.

ตัวอย่างวิสัยทัศน์ของโรงพยาบาลเขาวง โครงการชุมชนสุขสันต์ไร้ควันบุหรี่ คือ ชุมชนม่วงไข่เป็นชุมชนที่ปลอดบุหรี่ โดยมีนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพในการลด ละ เลิกการสูบบุหรี่ในชุมชน

หมายเหตุ บันทึกชุด Outcome Mapping จะใช้ตัวอย่างของ NEPED และโรงพยาบาลเขาวง ประกอบทุกขั้นตอน

อ้อม สคส.

คำสำคัญ (Tags): #outcome_mapping
หมายเลขบันทึก: 87076เขียนเมื่อ 28 มีนาคม 2007 14:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 17:57 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท