มหัศจรรย์สังสรรค์สนทนา (7): สมองสามชั้น กับไข่ไดโนเสาร์ ภาคสอง


สมองสามชั้น กับไข่ไดโนเสาร์ ภาคสอง

มนุษย์/สัตว์มีความกลัวและภาวะเครียดต่างๆเพื่อ ความอยู่รอด เป็นสัญญานเตือนเพื่อสนองความต้องการพื้นฐานของชีวิต ได้แก่ มีชีวิต หิว สืบพันธุ์ เพื่อทำให้ species อยู่ต่อๆไปได้ สิ่งมีชีวิตต้องการ "พื้นที่ของตนเอง" จึงจะเติบโต ยิ่งมีการพัฒนาจิต พัฒนาสมองเท่าไร นอกเหนือจาก "พื้นที่อยู่อาศัยทางกาย" แล้ว ก็จะเริ่มต้องการ "พื้นที่อยู่อาศัยของจิตใจ" อีกด้วย

การทำงานในปัจจุบัน มีลำดับขั้นของสายการปฏิบัติงานมากมาย ฉันเป็นนาย เป็นครู เป็นหัวหน้า เธอเป็นลูกน้อง เป็นลูกศิษย์ เป็นลูกจ้าง พอเราแบ่ง "สายปฏิบัติงาน" เสร็จ ก็มีการ แจกบทบาท หน้าที่ ไปว่านี่ๆ หัวหน้า ครู นาย ต้องทำอย่างนี้ๆ มีหน้าที่อย่างนี้ๆ อยู่ตรงนี้ พูดอย่างนี้ ทำหน้าทำตาอย่างนี้ จึงจะสมบทบาท และ vice versa สำหรับอีกฝ่ายหนึ่ง

เมื่อไรก็ตามมีการ break norm ของบทที่ได้เขียนไว้ มีการแหก script ก็จะมีการปั่นป่วนเกิดขึ้นมาต่อชีวิตทันที เฮ้! ตรงนี้ต้องผ.อ. พูด ตรงนี้หัวหน้า ward พูด ตอนโน้นถึงจะถึงตาเธอ ลูกกะจ๊อกพูดจ้ะ เอาไว้ตอนผู้หลักผู้ใหญ่จะแสดงความมีเมตตาว่าท่านก็พูดกับลูกน้องหวานๆเป็น ไหนๆ กล้องพร้อมรึยังจ๊ะ เอา action! shoot ได้! แตห้ามใครจู่ๆก็ยกมือขอพด หรือตะโกนโพล่งออกมาว่า "ไม่ใช่นะครับ ที่พูดไปพูดผิดแล้ว มันเป็นอย่างงี้ๆตะหาก" รับรองว่าจะเกิดความโกลาหลอลหม่านขึ้นมาทันที

การมี norm ไม่ใช่ของไม่ดีนะครับ บางที "กาละ เทศะ" มันก็มีเหตุผลสมควรที่พึงปฏิบัติเช่นกัน แต่ความหมายของ กาละ เทศะ นั้น มันมีเชิงจินตนาการผสมอบยู่ด้วยรึเปล่าน้า? เพราะมันน่าจะแปลว่า "ตามความเหมาะสมต่อเวลาและสถานที่ หรือนัยหนึ่ง "เป็นไปตามบริบท" นั่นเอง มันไม่ได้แปลว่า ท่านั่งสวย เดินสวย ยิ้มสวย ทรงผมสวย ชุดสวย มีอยู่แบบเดียว ชุดไทยดูสวยจริงแต่เดินชายหาดไม่ค่อยสะดวก ทรงผมบางอย่างเหมาะสำหรับเวลาใส่หมวก ใส่มงกุฎ สวมช่อดอกไม้ แต่ไม่เหมาะเวลาเล่นกีฬา หรือเดินป่า นั่งสวยแบบพับเพียบ ขัดสมาธิ หรือหุบขา หรือแม้กระทั่งบางทีนั่งเหยียดยาว ก็มีที่ใช้ของมันอยู่

คำว่า norm นั้น หมายถึงอะไรกันแน่? สภาวะจิตรับรู้ หมายรู้ หรือว่าการกระทำภายนอก หรือหนังสือกฏกติกามารยาท? 

ทฤษฎีไข่ไดโนเสาร์

จินตนาการไข่แห่งการตื่นรู้ขึ้นมาใบนึง เอาเป้นใบไย้ใหญ่นะครับ ไหนๆจะตื่นรู้แล้ว เอาใบเล็กๆมันไม่สมศักดิ์ศรี ลองแบ่งออกเป็นสามชั้น ชั้นบน ชั้นกลาง ชั้นล่าง ขนาดของทั้งสามชั้นไม่เท่ากัน แต่เอาเป็นชั้นบนเล็กสุด สัก 20% อย่างมาก

ไข่ชั้นบน คือ ปัญญาภาคทฤษฎี ที่เราตั้งตาตั้งตา lecture จดบันทึก ทำงานวิจัยหาคำตอบ อ่าน ท่อง จด เขียน แล้วก็สอบ หนังสือหนังหาที่เราไปค้นมาอ่าน textbook etc

ไข่ชั้นกลาง คือ ปัญญาเชิงปฏิบัติ คือ เรื่องเล่า เกิดขึ้นหลังจากนำเอาทฤษฎีต่างๆที่ร่ำเรียนมาไปใช้ แล้วเกิดอะไรขึ้น สำเร็จ / ไม่สำเร็จ, มี / ไม่มีปัญหา, ดี / ไม่ดี เพราะอะไร ประทับใจยังไง ผลมันเป็นอย่างไร

ไข่ชั้นสุดท้าย ชั้นล่าง คือ ความหมายตัวตน ความหมายคุณค่าแห่งชีวิต ไอ้ที่เรียนรู้มา ไอ้ที่นำไปปฏิบัติ เราคิดว่าสอดคล้องกับจริต กับคุณค่าภายใน และมีผลอย่างไรต่อชีวิตของเรา ต่อความหมายของชีวิต ต่อเป้าหมายของชีวิต

ถ้าความรู้ของเรายังวนเวียนอยู่ที่การท่องบ่น การจำ การเล่นเทปม้วนเก่า ไม่มีการต่อยอด ไม่มีจินตนาการ ไม่มีภาคปฏิบัติ การเรียนรู้เราก็ติดอยู่ที่ไข่ชั้นบนเท่านั้นเอง เป็นชั้นที่ลอยฟ่องอยู่บนมหาสมุทรแห่งปัญญา คิดเป็นแค่ 10-20% ของสิ่งทีที่มันควรจะลงไป หรือน่าจะลงไป หรือที่สามารถลงไปได้ แต่เชื่อหรือไม่ ในชีวิตจริงนั้น เราอาจจะเคยพบเห็นคนที่ติดไข่ชั้นบนนี้มาทั้งชีวิต ศึกษา อ่าน ท่อง จำได้หมด 84,000 บท จำได้ทุกทฤษฎี จำได้ทุก school มีอบรมที่ไหนก็ไป ไปจดมา ไปเข้าประชุมมาแต่ไม่สามารถทำให้มันต่อเนื่องกับภาคปฏิบัติได้

ไม่ได้หมายความว่า "ไข่ชั้นบน" ไม่มีค่า หรือมีค่าน้อยนะครับ ใครจะลงมาไข่ชั้นกลาง หรือไข่ชั้นล่างเลย ก็อาจจะทำได้ แต่ใช้เวลามากหน่อย เพื่อจะไปคลุกคลี ลองผิด ลองถูก สิ่งที่อาจจะมีคนเคยทำมาแล้วเป็นหมื่นๆแสนๆครั้ง กว่าจะได้ปัญญาเชิงปฏิบัติเป็นของตนเอง และเรื่องที่เราจะ "ปฏิบัติ" เพื่อให้พิสูจน์นั้น มันมีมากมายสุดคณะนับจนชั่วชีวิตนี้ เราคนๆเดียวก็จะไม่สามารถทดลอง ทดสอบด้วยตนเองได้ ดังนั้น จึงไม่ผิด ไม่แปลก อะไรที่เราจะ ขอยืม ปัญญาภาคทฤษฎี มาเพื่อทดลอง ทดสอบ หรือแม้กระทั้ง เอามาใช้ เลยดูสิว่ามัน work ไหมในบริบทของเรา

ไข่ชั้นล่าง ดูเหมือนเป็น optional ไหม?

ก็ไม่เชิงจะเรียกเป็น optional ทีเดียว แต่ว่าเราอาจจะตั้งคำถามใหม่ว่า "ถ้าเราจะต้องเลือกทำกิจกรรมอะไรหนึ่งอย่าง จากสิบๆร้อยๆพันๆอย่าง ระหว่างสิ่งที่จะมีผล มีความสำคัญต่อตัวตนของเรา กับสิ่งอื่นๆ อย่างไหนเราจะมีแนวโน้มที่จะทำด้วยความตั้งใจ ด้วยความสุข มากกว่ากัน?"

เมื่อไหร่ก็ตามปัญญาเชิงทฤษฎี ปัญญาเชิงปฏิบัติ ได้มีการบูรณาการเข้าหาคุณค่าภายในของตัวเราเอง งานทุกวันก็เปรียบเสมือนการพัฒนาตนเอง ทั้งทางจิต วิญญาณ และความรู้ความชำนาญไปพร้อมๆกัน

ถามว่า "บรรยากาศการทำงานทุกวันนี้ เอื้อให้เราอยู่ใน mode ปกติ หรือ mode ปกป้อง?"

ถามว่า "ใน mode ปกติ หรือ mode ปกป้องนั้น เอื้อให้เราได้ "เรียนรู้" ในระดับไข่ส่วนไหน?"

ถามว่า "ทุกวันนี้ ที่เราทำงาน เรารู้สึกคุณค่าตัวตนของเราเพิ่มมากขึ้น แข็งแกร่งขึ้น หรือไม่? หรือเฉยๆ หรือลดลง หรือไม่ทราบ?"

หมายเลขบันทึก: 92359เขียนเมื่อ 25 เมษายน 2007 11:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 พฤษภาคม 2012 20:25 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

 

แวะเข้ามาคุยคนแรกอีกแล้ว (แล้วก็หันมองซ้ายขวา..เอ๊ะ.. ทำไมมีแต่เราเข้ามาพูดอยู่คนเดียว ^^' )

ชอบทฤษฎีไข่ไดโนเสาร์ค่ะ  อ่านแล้วเข้าใจและเห็นภาพเลย เพียงแต่ไม่เข้าใจตรงที่ ทำไมต้องเป็นไข่ เพราะว่า ไข่มันไม่เป็นชั้นๆนี่นา หรือว่าไปหมายภาพถึง เปลือกไข่ ไข่ขาว และไข่แดง

ถ้าอย่างนั้น.. ไข่ตรงนี้ มันยังมีความหมายของสัญลักษณ์อะไรซ่อนอยู่อีกไหม  เช่น เปลือกไข่ ที่เป็น ไข่ชั้นนอกสุด (ไม่น่าจะเรียกชั้นบนนะ เพราะไข่มันกลม ถ้าเอาเปลือกไข่เป็นชั้นบน มันก็จะมีเปลือกไข่ที่อยู่ชั้นล่างสุดด้วย แล้วมีไข่แดงอยู่ตรงกลาง)

เปลือกไข่ที่อยู่ชั้นนอนสุด มันแข็งนะ มันจะเกี่ยวอะไรกับปัญญาภาคทฤษฎีไหม หรือว่ามันเจาะยากใช่ไหม กว่าจะเข้าไปหา ไข่ขาวได้ หรือว่า เปรียบเหมือนมันทำหน้าที่ โอบอุ้มทั้งปัญญาเชิงปฏิบัติและความหมายแห่งตัวตนไว้ ?

ส่วนไข่ชั้นกลาง หรือไข่ขาว มันก็เหลว ไหลไปมาได้ จะเปรียบมันเป็นเหมือนสิ่งปกป้อง ความหมายแห่งตัวตน ในคนๆนั้นหือเปล่า ?

ส่วนไข่แดง ซึ่งเป็นไข่ชั้นในสุด หรืออยู่ตรงกลางสุด มันเหมือนรักษาความเป็นตัวตนแห่งความกลมไว้ แต่ความจริง มันเหลว เพราะต้องพึ่งพาเยี่อหุ้มบางๆ บางอย่าง ตรงนี้ยังมีคามหมายเชิงสัญลักษณ์แห่งตัวตน หรือคุณค่าแห่งชีวิตของคนผู้นั้นไหม ?

พอจุดให้คิด ก็คิดไปเรื่อยน่ะค่ะ แต่ยิ่งคิด ก็เหมือนเห็นอะไรอยู่ว๊อบแว่บ แต่ก็มองไม่ชัด จึงขอลองทักขึ้น เผื่อมีคนเห็น จะได้ช่วยชี้แจ้งแจงบอกกันบ้าง .. ขอบคุณค่ะ

 

 

ถามว่า "บรรยากาศการทำงานทุกวันนี้ เอื้อให้เราอยู่ใน mode ปกติ หรือ mode ปกป้อง?"

  •  ถ้าให้ตอบกันตามตรง ตามจริง คิดว่าอยู่ใน mode ปกป้องค่ะ อย่างน้อยๆก็มากกว่า 60-70% เลย ดูแลคนไข้ ก็ ห่วงกล้วแต่จะเกิดอันตรายแก่คนไข้ และก็ยอมรับลึกๆว่า การเฝ้าห่วง นั้น ก็เพราะกลัวความผิดพลาด ที่จะนำความผิดมาสู่ตนเองด้วย
  • นั่นเพราะ.. หลายอย่าง ที่ถูกเข้มงวดมา ถูกเน้นย้ำมา จาก "ข้างบน" จากนโยบาย ที่ยิ่งกระตุ้นให้ผู้ปฏิบัติงาน หวั่นกลัวความผิดพลาด การถูกฟ้องร้อง การเสียชื่อเสียง
  • ยอมรับว่า mode นี้ ทำให้ทำงานไปแล้วรู้สึกเครียด แต่ก็ยังดี ที่มีบางเวลา ที่เราทำงานด้วยความรู้สึก "ลึกๆที่มาจากข้างในตัวเรา เป็นความรู้สึกรัก และหวังดีต่อเพื่อนมนุษย์ ที่อยากจะทำให้เขาจริงๆ" เวลาใดก็ตาม ที่ทำงานด้วย mode นี้ ขอบอกว่า มีความสุขมากๆ

 

 

ถามว่า "ใน mode ปกติ หรือ mode ปกป้องนั้น เอื้อให้เราได้ "เรียนรู้" ในระดับไข่ส่วนไหน?"

  • ขอตอบด้วยความรู้สึก ไม่กลัวผิด กลัวถูกนะคะว่า การทำงานใน mode ปกป้องนั้น เราใช้ไข่ชั้นบนมาก หลายอย่างอิงกับทฤษฏี เพราะมันต้องไปอิงกับกฏหมาย อิงกับความถูกผิด อิงกับกฏเกณฑ์ เช่นการทำหัตถการตามมาตรฐานการพยาบาล  บางอย่างมันห้วนๆ.. แต่เอาเถิด ทำไปเถิด เพราะตัวผู้ปฏิบัติ จะไม่มีความผิด
  • เอาตัวอย่างง่ายๆ เรื่องการให้ญาติเฝ้าในห้องพิเศษ  ห้องพิเศษต้องมีญาติเฝ้าตลอด  ถ้าไม่มีญาติ ต้องย้ายคนไข้ไปไว้ที่ห้องทั่วไป  แต่ในทางปฏิบัตินั้น บางครั้งมันก็มีเรื่องของ "เหตุผล และความจำเป็น" เข้ามาเกี่ยวโยง
  • ถ้าหากพยาบาลทำตามกฏนั้น ก็ถือว่าไม่ผิด เพราะเราทำตามกฏกติกาแล้วนี่ แต่หากเราใช้วิจารณญาณบ้าง  พิจารณาว่าคนไข้สามารถอยู่ได้ โดยไม่มีญาติชั่วคราว พยาบาลแค่อาจจะต้องแวะเวียนไปดูแลเขาบ่อยๆระหว่างไม่มีญาติ สักชั่วคราว  เพราะเขาก็คงมีความจำเป็นที่ต้อง "ไม่มีญาติเฝ้าชั่วคราว" แบบนั้น .. กล่าวคือ.. เราสามารถรับผิดชอบได้ 
  • การกระทำโดยแหกกฏแบบนี้  รุ่นน้องพยาบาลที่จบใหม่ อาจจะไม่กล้าปฏิบัติ ไม่กล้าตัดสินใจทำ เพราะเขายังต้องพึ่งพา การปฏิบัติตามกฏ ตามทฤษฏี  แต่สำหรับรุ่นพี่ ที่มีประสบการณ์ สามารถมองสถานการณ์ได้ และมีความรับผิดชอบมากขึ้น เขาสามารถใช้การเรียนรู้จาก ไข่ชั้นกลาง และชั้นในสุด ออกมาใช้ ดึงเอา mode ปกติ ที่เข้าถึงมโนธรรม และความเข้าใจต่อมนุษย์ มาใช้ได้ โดยไม่จำเป็นต้องไปอยู่ใน mode ปกป้อง

 

 

ถามว่า "ทุกวันนี้ ที่เราทำงาน เรารู้สึกคุณค่าตัวตนของเราเพิ่มมากขึ้น แข็งแกร่งขึ้น หรือไม่? หรือเฉยๆ หรือลดลง หรือไม่ทราบ?"

  • คิดว่า เวลาที่เราอยู่ใน mode ปกป้อง ทำงานด้วยความกลัวความผิด หรือความผิดพลาดที่จะมาเกิดกับตัวเอง  จะรู้สึกเครียด และคุณค่าของตนเองลดลง บางครั้งก็รู้สึกเหนื่อยค่ะ
  • แต่เมื่อใดที่เราอยู่ใน mode ปกติ ทำงานด้วยหน้าที่ ด้วยใจ ด้วยความไม่กลัว แค่รู้สึกว่า นั่นคือสิ่งที่ควร สิ่งที่ดี ไม่ต้องคอยระแวงว่า นั่นอาจจะมีสิ่งไม่ดี อาจจะเกิดความผิด โดนลงโทษ โดนตำหนิ .. เวลานั้น เราจะรู้สึกว่าตัวเรามีคุณค่าขึ้น รู้สึกแกร่งขึ้น  รู้สึกได้เรียนรู้อะไรมากขึ้น
  • เพียงแต่.. สิ่งที่เราคิดว่าดี สำหรับเรา อาจจะไม่ใชสิ่งที่คนอื่นคิดว่าดี สำหรับเขา  ประสบการณ์ที่เลวร้าย บางทีก็ทำให้คนที่อยากทำงานใน mode ปกติ ต้องพึ่งพา mode ปกป้องขึ้นมา และเผลอยึดไว้ตลอดไป
  • ดั่งภาษิตที่ว่า.. โดนงูกัดครั้งเดียว  กลัวเชือกเปียกน้ำไป 10 ปี

 

มาตอบคุณจูนว่า กำลังอ่านอยู่นะครับ เนื่องจากมีอะไรให้คิดเยอะ ขอ "ห้อยแขวน" ให้เคลื่อนไปตาม "ขาลงของตัว U" อีกนิด

จะได้ตอบได้งดงาม

  • ขอบคุณค่ะ
  • เข้าใจค่ะ
  • โอเคค่ะ
  • จะรอค่ะ

^________^

คุณจูน  P ครับ

ที่จริงผมไม่ทราบดอกนะครับว่าทำไมเรียก "ไข่ไดโนเสาร์" แต่ชอบที่คุณจูนคาดเดา ต่อเติมจินตนาการให้ เลยอยากจะขอเล่นด้วยคน

ผมชอบกินไข่มาแต่ไหนแต่ไร กินมาแต่เด็กๆ ชอบมาแต่เด็กๆ ที่จริงนอกจากไข่น่ากินแล้ว ไข่ยังพัวพัน สัมพันธ์ ทั้งตัวมันเองและความเป็นสัญญลักษณ์มากมาย

"ไข่" เป้นสัญญลักษณ์ของการ "กำเนิด" แน่ๆประการหนึ่ง การเกิดหรือการกำเนิดนั้น ผูกพันกับความอยู่รอดของชีวิต และที่เราทำอะไรทุกสิ่งทุกอย่างอยู่ ณ ปัจจุบันนี้ก็เพราะ เรามีชีวิต เพื่อชีวิต เพื่อความหมายของชีวิต ของเราเองทั้งสิ้น

ไข่มีเปลือกแข็ง (แบบไข่สัตว์ปีก) หรือไม่มีก็ได้ ก็จะแบ่งเป็นชั้นนอก shell หรือ เปลือก หรือ membrane อะไรก็แล้วแต่ ดูเผินๆเปลือกจะมีหน้าที่ปกป้องกันภยันอันตรายไม่ให้เกิดขึ้นกับของที่อยู่ข้างในเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว เปลือก shell หรือ membrane นั้น มีหน้าที่ที่สำคัญมากๆ มากไปกว่านั้นเยอะ นั้นคือ การควบคุมสิ่งแวดล้อมต่างๆให้เหมาะสม และเป็นทาง "สื่อสาร" ระหว่างภายใน ภายนอก ซึ่งเป็นหน้าที่ที่สำคัญใน mode ปกติของเซลล์

อ่อนไป หรือแข็งไป ก็ไม่ดีทั้งสิ้น

ความสำคัญของแต่ละส่วนของไข่ ไมได้ขึ้นกับ "สัดส่วน" พื้นที่ ปริมาตร การที่บางส่วนกินพื้นที่ กินปริมาตรน้อยกว่า ไม่ได้บ่งชี้ถึงความสำคัญที่ยิ่งหย่อนไปกว่ากันเลย เพราะจะมี "ชีวิต" ชีวิตนั้นจะต้อง WHOLE จึงจะเป้นชีวิตที่สมบูรณ์ คำที่สำคัญอีกคำนึงก็โผล่อออกมานั้นคือ "สมดุล (balance)"

และส่วนไหนจะสำคัญ ก็จะเกี่ยวข้องกับ "ตอนไหน" หรือ/และ "กับใคร/อะไร" ด้วย

ประเด็นที่สำคัญอีกประการก็คือ ตัวเราเองที่สามารถ "เลือกได้" ที่จะอยู่ในชั้นไหน ตอนไหน และอย่างไร เราเองที่เป็นผู้เลือก ถึงแม้ว่าบางครั้งเราจะถูกกระทบจากคลื่นวิบากในอดีต แต่เราก็จะมี "ส่วนต้องเลือก" ในสิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นเสมอ

สิ่งที่เรา "กลัว" หรือเป็น barrier ที่ทำให้เราตกค้างอยู่ใน mode ปกป้องนั้น บางทีก็เป็นเรา "สร้าง" ขึ้นมาเอง แม้ว่าเราจะบอกว่ามันเป็นสิ่งที่ถูกกำหนดมา แต่โดย instinct แล้ว มนุษย์ถูกมอบมาด้วย instinct ด้วย free will ที่บางครั้งเราต้อง "ขอยืม" courage ในการทำงาน ตรงนี้ Stephen Batchelor เรียกว่า Ethical Couragement

เรากลัวทำผิด เรากลัวถูกประเมิน (หรือจริงๆกลัวถูกมองลดค่าลง) และบางครั้งคุณค่าเหล่านี้ก็ไม่ใช่เราที่เป้นผู้กำหนด และเราเองเป็น "คนยอม" ให้เราถูกประเมินด้วย values เหล่านี้เอง

บางทีเรารู้สึกเสีย self ได้ ทั้งๆที่เราทราบว่าเราได้ทำดีที่สุดแล้ว แต่เนืองจาก "ความคาดหวัง" ที่สูงเกินไป หรือบริบทของเราไม่ได้อยู่ใน optimal condition และทำให้เราไปไม่ถึงจุดคาดหวัง เราก็จะเสีย self ได้

subpersonality ที่ต้องการถูกรัก ถูกชอบ ตรงนี้บางทีก็กลายมาเป็น pusher controller ของเราอยู่ตลอดเวลา (ขอเอา terms ของ voice dialogue มาใช้หน่อย เดี๋ยวจะมีการพูดเรื่องนี้อีกทีในบทความหลังๆ)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท