จิตตปัญญาเวชศึกษา 36: ห่วยได้ ไม่ยี่หระ (Episode II)


ห่วยได้ ไม่ยี่หระ (Episode II)


หลังจากเขียนภาคหนึ่งจบไป เมื่อเช่้าก็ได้ chat กับพี่สมพลอีกสี่ซ้าห้าประโยค ปรากฏว่าเกิดแรงบันดาลใจ (อะไรมันจะหาได้ง่ายขนาดนั้น!!) Episode II ก็เลยคลอดตามมาติดๆ ยังกะฝาแฝดที่คลานตามกันมา (delay ไปแค่ไม่กี่ชั่วโมง) ปฏิสนธิพร้อมกัน แต่คลานตามกันมาต่างเวลาเท่านั้น

ห่วยได้ คือ เปราะบางได้ และ ไม่ยี่หระ คือ ปราศจากความกลัว (อภัยทาน No Fear)

ห่วยได้ ไม่ได้เป็นหน่วยการประเมิน แต่เสมือนเป็นการภาวนานั้นทีเดียว ตั้ม (วิจักษณ์ พานิช) เขียนเรื่องภาวนากล้าเจ็บ (ได้อย่างเจ็บปวด สะเทือนกระดองใจ) หลวงพี่ไพศาลพูดถึง Think Impossible, Do Impossible พูดถึงจิตอาสาที่บังเกิดขณะถูกรุมกระทืบ จิตแห่งนักรบเพื่อความยุติธรรมที่บังเกิดขณะชอกช้ำถึงที่สุด เป็นแรงบันดาลที่คงอยู่เป็นนิรันดร์ เพราะมาจากเอาชีวิต จิตใจ อารมณ์ ความรู้สึกเข้าแลก

ห่วยได้ ยังเป็นการซื่อตรงอีกด้ว ซื่อตรงต่อตนเอง ต่อความรู้สึกของตนเอง หากปราศจากซึ่งความซื่อตรงต่อตนเองนี้ไป ก็ไม่มีทางเกิดจิตวิวัฒน์ เพราะฐานที่จะวิวัฒน์ไม่มี ว่างเปล่า โอนเอน สั่นคลอน ห่วยได้เป็นเงื่อนไขแรกของการทำงานสะท้อนตนเอง (self reflection) ที่สามารถเจ็บปวด สั่นคลอน อ่อนไหว กับความจริงแท้ จึงจะเป็นประตูธรรม ไปสู่ธรรม หรือธรรมชาติที่ลึกซึ้งยิ่งๆขึ้น โดยไม่ติดกรอบกุศลกรรม อกุศลกรรม หรืออัพยกฤต (ไม่ทราบว่าเป็นกุศล หรืออกุศล) ที่เราใช้สัญญา เวทนา สร้างเป็นสังขาร วิญญาณทีหลัง

ห่วยได้ เป็นการเดินทะลุ voice of judgment เพื่อบังเกิด Open Mind ยังเป็นการยอมรับ มองรับรู้อย่างอ่อนโยนต่อเด็กน้อยคนอื่นๆ จึงเดินทะลุ voice of cynicism เพื่อบังเกิด Open Heart โดยจะทำอย่างนั้นได้ จะต้องภาวนาจนมีอภัยทาน หรือ no fear ก็คือ Open Will ที่ทะลุทะลวง voice of fear คำๆนี้คำเดียวเป็นคำบรรยายหลักสูตร Theory U ของ Otto Scharmer นำพาเราจาก I in it, I in Me, I in You ลงไปถึง I in Now หลังจากนั้น ก็รอ รอ รอ รอ Hold tension รอเวลาผุดบังเกิด รอเวลาตกตะกอน รอเวลาที่ผลึกตกผนึก กลายเป็นเพชรธรรมชาติ หรือเพชรแห่งธรรม

คำๆเดียวที่ไม่ธรรมดาเสียแล้วนะท่าน !!
หมายเลขบันทึก: 151683เขียนเมื่อ 6 ธันวาคม 2007 09:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 21:51 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

พอดีต้องออกไปคุม project health promotion ของ นศพ. เลยดูออกจะสั้น ห้วน (ห่วย หรือไม่่ห่วย ก็ไม่สน อิ อิ) ขอต่อยอด แบบไม่ edit ก็แล้วกัน

ตอนลงจากเล่าเต๊ง (ห้องทำงานอยู่ชั้้น 7)  ไปหา นศพ.ชั้น 1 ก็ยังมีอารมณ์ค้างจากบทความอยู่ ไปถึง นศพ.ก็นำเสนอโครงการ บอกว่าจะทำเรื่อง mental fitness ของนักศึกษาแพทย์ มีแบบตัวอย่างที่มีคนทำที่ขอนแก่นมาเป็นฐาน และรายงานการแพทย์เชิงประจักษ์อีกสองสามรายงาน ที่บ่งชี้ว่านักศึกษาแพทย์มีแนวโน้มจะเครียดมากกว่านักศึกษาคณะอื่นๆ

ฟังจบ ผมก็โพล่งออกไป "พวกเราอยากทำโครงการนี้ไปทำไม?"

นศพ.ก็ค่อยๆบอกเหตุผลมาทีละคน

 

  • "เพื่อปรับปรุงพัฒนาสุขภาพจิต"
  • "เพื่อหาแนวทางแก้ไข ป้องกัน"
  • "อยากจะรู้ว่า ที่จริงเราเรียนมันเครียดจริงรึเปล่า และเพราะอะไร?"
  • "เป็นองค์ความรู้เพิ่่มเติม เช่น สำหรับคนจะเรียนวิชาจิตแพทย์ต่อ"
  • ......
  • ......
ผมเลยถามใหม่ "ไหน พวกเราอยากทำจริงๆรึเปล่า?"
 
เสียงตอบอ้อมๆ แอ้มๆ
 
"ไหน พูดออกมาดังๆครับ ทีละคน"
"อยากค่ะ อยากครับ อยากฮ่ะ อยากค่า...." 
"ดังๆครับ"
"อยากค่ะ อยากครับ อยากฮ่ะ อยากค่า แค่กๆๆ (ไอ เพราะตะเบ็งเสียง)
 
ผมยิ้มรับกับความกระตือรือร้น และการที่สามารถทำให้นักเรียนแพทย์เริ่มเลิ่กลั่ก หัวเราะ และผ่อนคลายลง
"ผมอยากจะให้ทุกคนลองพูดดังๆอีกครั้งหนึ่งว่า "ฉันห่วยได้" นะครับ ลองดู พูดดังๆอย่างเมื่อตะกี้นี้นะครับ"
"ฉันห่วยได้ ผมห่วยได้ครับ หนูห่วยได้ค่ะ
 
"โอเค ครับ" หยุดกลืนน้ำลายหนึ่งเอืีอก
"ผมอยากจะให้พวกเราทราบอย่างหนึ่ง ขอให้พวกเราทำโครงการนี้เพราะอยากทำ และทำอย่างที่ไม่สนใจว่าใครจะว่าอะไร แต่ฉันอยาาาากกก และทำแบบที่ฉันจะรู้สึกดี ดีในงานของฉันเอง แบบที่มองย้อนหลังกลับมาอีกที ฉันจะชี้มาที่รายงานฉบับนี้ ตะโกนว่า "นี่ไงๆ งานของฉันๆ" โดยไม่ได้เป็นเพราะมันดี มันได้รางวัล แต่เพราะมีความผูกพัน จำได้ว่าเราทำกันยังไง ใครออกความคิดอะไร ใครทะเลาะกัน ใครบอกว่าห่วยว่าดี ว่าเออว่ะเจ๋ง เป็นความทรงจำอันหอมหวานของฉัน"
 
นักศึกษาแพทย์มองหน้ากัน บางคนเริ่่มมีรอยยิ้มน้อยๆฉาบ บางคนอมยิ้มแก้มตุ่ย บางคนก้มหน้าค้นหาของในกระเป๋า ไม่สบตา บางคนแทะก้นดินสอที่ควักมาว่าจะจด comment ของผม แต่จดอะไรไม่ได้ 
 
ผมแนะนำต่อ
"เวลารวมกลุ่ม ผมแนะนำให้กลับหอไปเปลี่ยนชุด เป็นขาสั้น เสื้อยืด ไปนั่งใต้ต้นไม้ริมอ่างเก็บน้ำ ไม่ต้องมานั่งแถวๆห้องสมุด หรือห้องเรียนแถวนี้ ใครทุกข์ ใครสุข ขอให้ซื่อตรงต่อตนเอง และบอกให้กลุ่มรับทราบ กลุ่มเมื่อรับทราบความสุข ความทุกข์ ก็ขอให้โอบกอดความรู้สึกของเพื่อนเอาไว้และประคับประคองนาวาของทีมของเราไปถึงจุดมุ่งหมายปลายทาง"
 
"ขอให้จดจำประสบการณ์ตรง และขอให้ (ถ้าเป็นไปได้) บันทึกความรู้สึกของตัวเอง ลงไปในรายงานฉบับนี้ด้วย เป็นภาคผนวก
 
จิตตปัญญาเวชศึกษา ฉบับฉับพลันทันที ไร้หลักสูตร
 
ห่วยได้ ไม่ยี่หระ ครับ 

 

 

สวัสดีครับอาจารย์

  ..ดีใจแทน  น้องๆนศพ. นะครับที่ได้เรียนรู้และซึมซับจากอาจารย์

  ... ตอนนี้กำลังดูแลน้องๆปี 4 จำนวน2 ท่านครับ

  ...แอบ  ถามถึงอาจารย์เล็กน้อย...น้องๆก็ยิ้มๆ ครับ

 

  ...มีเพื่อเป็น..อาจารย์ที่ Fammed.. ก็แอบถามถึงนะครับ  อยากให้เขาได้เรียนรู้และเข้าถึง  และได้ประโยชน์จากคำชี้แนะของอาจารย์มากที่สุดครับ

   เพราะผมอยู่ไกลยังซึมซับได้บ้างเลยครับ

   เกือบได้มาร่วมงานครั้งนี้เหมือนกันครับ

  เพราะอาจารย์เก่ง(พบกันตอนที่ท่านมาเป็นกระบวนกร..สุนทรีย..ที่รพปายครับ) จะจองที่ไว้ให้ผมกับพี่หมอสราวุธ(ศัลยแพทย์)  ที่ย้ายมาเป็นผอ.คนใหม่ครับ

   เสียดายมากๆครับ  สองครั้งแล้วที่ไม่ได้มาทั้งๆที่จะมาตั้งแต่ครั้งแรก..หรือว่าเป็นการจัดสรรของธรรมชาติ  ที่ว่าสภาวะของผมยังไม่พร้อมที่จะมาร่วมเรียนรู้สิ่งที่มีค่าเช่นนี้...

  ตอนนี้ก็ติดตามทั้งบันทึกใน GTK  และ วงน้ำชาครับ

  ขอบพระคุณอาจารย์มากๆครับ ^_^

สวัสดีครับ

ลืมลิงค์ท่านสมคบไว้ อนุญาตครับ

http://gotoknow.org/blog/somkob2550

เพราะว่าผมกับท่านผอ..ติดตามบันทึกอาจารย์ตลอดแล้วก็นำมาสนทนา  ซักถามกันเพิ่มเติมก็ทำให้เกิดการเรียนรู้และเข้าใจมากขึ้นครับ

เข้าไปอ่านใน blog ของคุณหมอสมคบแล้วครับ

น่ารักมาก หาที่หาทางเพื่่อจะได้สนทนาอย่างอบอุ่น ปลอดภัย น่าจะแก้หนาวได้ดีทีเดียว

มี นศพ.ไปปายด้วยหรือครับ ฝากเอาตัวน้องๆ "จุ่ม" ลงไปในชีวิตหมอเยอะๆด้วยครับ ยิ่งหมอแถวนั้นด้วย จุ่มให้โชก ไม่ต้องสลัดเลยทีเดียว หนาวๆแบบนี้ประสบการณ์เข้าไขกระดูกดีนัก 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท