มัทนา
มัทนา (พฤกษาพงษ์) เกษตระทัต

ใช้เลโก้ สอน นศ. แพทย์ ให้เรียนรู้วิธีการคุยกับผู้ป่วย


"The effectiveness of the Lego activity may be due to the properties of analogies." - Harding HR

วันนี้เพื่อนร่วมออฟฟิศ ชื่อ ชีว่า (Shiva) ไปเข้า workshop แล้วเค้าประทับใจมาก มาเล่าต่อให้ฟัง จนผู้เขียนก็ประทับใจตามและอยากนำมาเล่าต่อค่ะ

---------------------

คุณ Harding HR เป็นวิทยากร มาสอนเรื่องการใช้ ตัวต่อเลโก้ เป็นเครื่องมือในการสอนนักศึกษา เรื่อง การสัมภาษณ์ผู้ป่วย

อ่านบทคัดย่อได้ที่นี่ค่ะ 

  

วิทยากรให้ผู้เข้าร่วม workshop แบ่งเป็นสองกลุ่ม ฝั่งนึงเป็นหมอ อีกฝั่งเป็นผู้ป่วย แล้วจับกันเป็นคู่ๆ หมอ vs. ผู้ป่วย นั่งตรงข้ามกันมีโต๊ะกั้น

บนโต๊ะมีแผ่นกั้นตรงกลาง ฝั่งคนที่เล่นเป็นหมอมีกระบะใส่ตัวต่อเลโก้หลากหลายแบบกระจัดกระจายไว้เต็มกระบะ

ฝั่งคนที่เล่นเป็นผู้ป่วย มีหุ่นเลโก้ที่ต่อเสร็จแล้ว 1 ตัว (วิทยากรเอาเลโก้แบบที่เห็นในภาพด้านบนมาต่อๆให้เป็นรูปร่างคล้ายๆคน)

กฎข้อที่ 1 ผู้ป่วยห้ามจับหุ่น เลโก้ตัวนั้น

กฎข้อที่ 2 หมอห้ามชะโงกหน้ามาดูว่าอีกฝั่งของโต๊ะมีอะไร

--------------------- 

คำสั่งที่ 1: ให้หมอถามผู้ป่วยว่ามีอะไรบนโต๊ะฝั่งผู้ป่วย โดยผู้ป่วยตอบได้แค่ว่า ใช่/ไม่ใช่ (yes หรือ no) แล้วหมอต้องพยายามต่อเลโก้จากกระบะด้านตนให้ได้เหมือนหุ่นที่อยู่ฝั่งผู้ป่วย ให้เวลาทั้งหมด 7 นาที

บรรยากาศในห้อง แต่ละโต๊ะ ก็พยายามกันใหญ่

หมอถาม: เป็นไง รูปร่างเป็นไง มีตัวต่อมากกว่า 5 ตัวใช่ไม๊ ตัวสี่เหลี่ยม 8 ปุ่มสีแดงอยู่เป็นฐานล่างใช่ไม ๊ ไม่ใช่เหรอ งั้นตัว 10 ปุ่มเหรอ สีแดงใช่ไม๊ ไม่ใช่เหรอ อ้าว สีเขียวถ้างั้น ....

ผ่านไป 7 นาที ไม่ได้เรื่องซักโต๊ะค่ะ สร้างหุ่นกันไม่สำเร็จ

---------------------

คำสั่งที่ 2: คราวนี้หมอถามคำถามแบบเปิด ให้คนไข้ตอบอะไรก็ได้

บรรยากาศในห้องก็คึกคักมากยิ่งขึ้นไปอีก ฝั่งผู้ป่วยบรรยายกัน อย่าละเอียด ไม่ถึง 5 นาทีค่ะ ทุกโต๊ะค่อยๆทะยอยต่อหุ่นกันเสร็จครบถ้วนหน้า

ทุกคนยิ้มแฉ่งดีใจ ทุกคนก็คิดว่า อ๋อ เข้าใจละ นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า

=ต้องฟังผู้ป่วยดีๆ ฟังให้มาก ฟังให้ลึก ให้ผู้ป่วยพูดเยอะๆ= 

แต่เรื่องยังไม่จบค่ะ

---------------------

วิทยากรหักมุขด้วยการให้ผู้เข้าร่วม workshop ยกหุ่นตัวที่วิทยากรต่อไว้แต่แรกขึ้นมาเขย่า

ปรากฎว่าด้านในหุ่นนั้นกลวง แล้วก็มีอะไรไม่รู้ชิ้นเล็กๆอยู่ด้านในส่วนที่กลวง พอเขย่าก็มีเสียงดัง "shake shake"

วิทยากรปิดท้าย ด้วยว่า บางทีผู้ป่วยอธิบายมาอย่างละเอียดแล้ว แต่ผู้ป่วยเองก็อาจไม่รู้ข้อมูลที่หมอต้องการไปซะหมด (ถ้ารู้ก็โทรถามเอา ไม่ต้องมาหาหมอถึงที่แล้วหล่ะเนอะ)

เพราะฉะนั้น เป็นหน้าที่ของหมอที่จะต้อง ล้วงเอาข้อมูลเหล่านั้นออกมาช่วยการวินิจฉันและวางแผนการรักษาด้วย

จบข่าว : ) 

แหล่งที่มาของข่าว: personal communication with Shiva Khatami

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ Harding SR and D'Eon MF. Using a Lego-based communications simulation to introduce medical students to patient-centered interviewing. Teach Learn Med. 2001 Spring;13(2):130-5.

หมายเลขบันทึก: 79162เขียนเมื่อ 17 กุมภาพันธ์ 2007 12:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 มิถุนายน 2012 18:30 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)
แล้วเอามาช่วยในงานไหนได้บ้างอะ คับ

น่าสนใจค่ะ อาจารย์อธิบายได้ชัดดีจัง

 

นำมาสอนเรื่องการสื่อสารในน้กศึกษาแพทย์ หรือ แพทย์จบแล้วได้สบายเลยค่ะ

ขอบคุณค่ะ คุณกวิน และ คุณหมอรวิวรรณ ที่แวะมาอ่าน ยินดีที่ได้รู้จักนะคะ

คุณหมอรวิวรรณค่ะ ชอบชื่อ blog และ วัตถุประสงค์ของ blog "ร่วมกันสร้างหมอใหม่หัวใจเต็มร้อย ความท้าทายอันยิ่งใหญ่"  มากๆเลยค่ะ

สวัสดีครับ อ. มัทนา

มาตามคำเชิญ และต้องขอบคุณอย่างมากที่ให้โอกาสได้รับรู้เรื่องราวที่ดีครับ

ผมทำ

สวัสดีครับ อ. มัทนา

มาตามคำเชิญ และต้องขอบคุณอย่างมากที่ให้โอกาสได้รับรู้เรื่องราวที่ดีครับ

ผมทำ palliative care อยู่ที่ รพ.สงขลานครินทร์ จึงมีความเห็นด้วยในเรื่องการ ฟัง ที่อาจารย์เล่ามา 100% นอกจากนี้ ที่เราเคยพบ คนไข้และญาติ จะ เลือกเล่าเรื่อง ให้หมอแต่ละคนไม่เหมือนกันด้วย

ผมเคยถามนักศึกษาแพทย์ (ม.อ. เป็นโรงเรียนแพทย์ครับ) ว่าเคยไหมที่เวลาทำ bedside round นศพ. present case ที่ไปซักประวัติมาอย่างดี แต่พออาจารย์ถามคนไข้เพิ่ม บางทีคนไข้เปลี่ยนเรื่องเฉยเลย ทำให้น้องๆหน้าแตกเป็นเสี่ยงๆ มองเห็นอาจารย์ส่งรังสีอำมหิตข้ามเตียงมาวูบวาบ

ผมถามน้องๆว่าเกิดอะไรขึ้นรู้ไหม

  • หนูซักไม่ดีเองค่ะ (self หายหมดครับ คนนี้)
  • คนไข้ confused ครับ (สงสัย brain metas!)
  • คนไข้ความจำไม่ดีค่ะ (เอ.. หรือหนูกันแน่จ๊ะ)
  • ฯลฯ

เวลาคนไข้มีปฏิสัมพันธ์กับหมอนั้น จะมีการสร้าง doctor-patient relationship ขึ้น ตอนคนไข้เดินเข้ามาในคลินิก ดราเริ่มประเมินตั้งแต่ ท่าเดิน หน้าตา การแต่งตัว กิริยามารยาท กลิ่นบุหรี่ กลิ่นเหล้า ความั่นใจ ฯลฯ ที่เรามักจะลืมไปก็คือ คนไข้ก็ประเมินหมอเหมือนกัน หน้าตา ท่าทาง เท้าอยู่บนโต๊ะ หรืออยู่ใต้โต๊ะ ตามองเขาหรือว่ามองที่ computer monitor แต่งตัว หวีผม พูดจาอย่างไร ฯลฯ

ภาษาที่สื่อกันส่วนใหญ่เป็นอวจนภาษา ตรงนี้ก็เป็น pitfall เวลาเกิดเรื่องทีไร หมอก็บอก "ผมไม่ได้พูดอะไรซักหน่อย" หารู้ไม่ก็ไอ้ที่ "ไม่พูดอะไรซักหน่อย" นี่แหละตัวดี ในการเกิดการฟ้องร้อง

เวลาคนไข้เล่าเรื่องต่างๆ เขาจะ "เลือกเล่า" สิ่งที่เขาคิดว่าหมอรับได้ และตัวเขาไม่ถูกดูถูก คนไข้บางคนจะลังเลที่จะเล่าเรื่องการไม่รับยาหม้อ ยาแผนโบราณ ถ้ารู้สึกว่าเล่าแล้วจะถูกดุ จะไม่เล่ารายละเอียกของความทุกข์ทรมาน ถ้าหมอทำท่าไม่สนใจ ตัดบทสนทนาบ่อยๆ เปลี่ยนเรื่อง (ตาม style การซักประวัติแบบ checklist)

และจะเล่า ตามบริบท ของคนฟังด้วย

นศพ. แนะนำตัวเองว่าเป็นนักศึกษาแพทย์ บางทีคนไข้ที่อาการมากๆ อาจจะประเมินว่าเล่าแล้วก็ไม่ได้อะไร รอหมอใหญ่มาดีกว่า (คนไข้เราสามารถสังเกตและรู้เรื่องแบบนี้มากกว่าที่เราคิดเยอะครับ) ดังนั้นไม่แปลกอะไรที่ประวัติเด็ดๆ มักจะออกมาตอนอาจารย์มาราวน์กับ นศพ. ถามตูมไหนตูมนั้น ออกมาพรั่งพรู นศพ. ก็ทึ่งกันใหญ่ ทำไมอาจาร์เก่งขนาดนี้ฟะ ตูซักอยู่ตั้งนานไม่เห็นมีประวัติเคยพยายามฆ่าตัวตาย บ้านแตกสาแหรกขาดแบบอาจารย์ซักเลย เพราะเขาไม่เข้าใจเรื่อง "บริบท" นั่นเอง

  • อ.มัทนา ครับ คนคิดเค้าคิดวิธีสอนได้เยี่ยมเลยครับ ผมว่าน่าจะเอาไปใช้ apply ได้อีกหลาย ๆ ด้านเลยครับ ขอบคุณที่นำมาแลกเปลี่ยนครับ

     ส่วนตัวผมนะครับจารย์ ผมว่านักเรียนแพทย์ หรือใครก็แล้วแต่ถ้าพยายามตั้งใจที่จะทำอะไรให้ดี หรือมากไปมักจะทำให้เกิด step ในการทำงาน จนทำให้ลืมไปว่า การทำบางสิ่ง หรือสิ่งหนึ่งสิ่งใด ควรจะปล่อยให้ตัวเองรู้สึก free หรือใจให้ว่างก่อน รอให้ได้มาซึ่งข้อมูลก่อน แล้วจึงค่อนทำการวินิจฉัย ผมเคยสัมผัสมาเองจากการเป้นคนไข้ เหมือนผมถูกดึงให้ตอบแต่คำถามที่เป็น step ซึ่งจริงๆ คนธรรมดาเวลาเล่าอะไร เขาจะเล่าเป็นเรื่องๆ แต่ผมก้เข้าใจเพราะบางที เวลาก้เป็นตัวกำหนดระยะเวลาของการรักษาเหมือนกัน เพราะบางที ที่ข้อจำกัดของจำนวนคนไข้ต่อคุณหมอ ไม่ได้สัดส่วนกัน

 

   เป็นกำลังใจให้ครับคุณหมอทุกท่านครับ คนไข้ยังมีรออีกไม่น้อยครับ

โหหห  แนวคิดนี้ดีมาก  ๆเลยคะ..เยี่ยมเลยคะ....
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท