สิทธิของเด็กและเยาวชนในการกระทำผิดทางอาญา


สิทธิของเด็กและเยาวชนในการกระทำผิดทางอาญา, 1. ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน 1948/2491, 2. สิทธิเด็กตามอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก 1989/2532, 3. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550, 4. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 (พ.ศ.2550 - 2554), 5. คำแถลงนโยบายรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชาชีวะ เมื่อ 30 ธันวาคม 2551, 6. พระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ.2546, 7. พระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัว และวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2553, 8. ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา, 9. ประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ. 2499

29 มกราคม 2554
ความสำคัญของปัญหา


    ขอบข่ายของกฎหมายอาญา (Scope of Criminal Law) มีการศึกษาใน 3 เรื่องด้วยกัน คือ เรื่องอาชญาวิทยา (Criminology) เรื่องความรับผิดทางอาญา (Guilty) และ เรื่องทัณฑวิทยาหรือการลงโทษ (Punishment)
การกระทำผิดทางอาญาหรืออาชญากรรม (Crime) เป็นปัญหาสังคมที่มีผลกระทบต่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน ทำให้ต้องมีการสูญเสียชีวิตและทรัพย์สินเป็นจำนวนมาก รัฐจึงให้ความสำคัญกับปัญหาอาชญากรรมนี้ โดยกำหนดมาตรการเกี่ยวกับการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมไว้ในแผนพัฒนา เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 พ.ศ.2550-2554 โดยได้กำหนดเป้าหมายในการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรม โดยลดคดีอาชญากรรมลงร้อยละ 10 ปัญหาที่น่าสนใจยิ่งก็คือ การกระทำความผิดของเด็กและเยาวชนมีแนวโน้มที่เพิ่มขึ้นมาก จากสถิติปี 2545, 2547, 2548, 2549, 2550 เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.2, 11.34, 8.32, 33.64, 6.03 (ข้อมูล กรมพินิจฯ) สรุปเพิ่มขึ้นร้อยละ 66.7 ในรอบ 10 ปี (พ.ศ. 2540-พ.ศ.2550) เกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจถึงปีละ 36,687 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 0.5 ของ GDP ในประเทศไทย (สำนักข่าวไทย,พฤศจิกายน 2549 อ้างถึงใน อนันต์,2553)
การกระทำความผิดของเยาวชนไม่ถือเป็น “อาชญากรรม” (Crime) แต่เรียกว่าเป็น “การกระทำความผิดของเยาวชน” (Juvenile  Delinquency) หรืออาจจะเรียกง่าย ๆ ว่า “การกระทำผิดของเด็กเกเร” ในทางอาชญาวิทยานั้น เป็นเครื่องแสดงว่าครอบครัวและสังคมไม่สามารถควบคุมสมาชิก เด็กและเยาวชนได้  นักอาชญาวิทยา นักจิตวิทยาและนักสังคมสงเคราะห์ เชื่อว่าปัจจัยที่มีผลต่อการกระทำความผิดของเด็กและเยาวชน ประการหนึ่งที่สำคัญก็คือ ครอบครัว และสภาพแวดล้อมของเด็กและเยาวชน
    ตามทฤษฎีมานุษยวิทยาของ Burgess (1982) (อ้างใน ธีรพล, 2540) พบว่า เขตที่มีอาชญากรรมมากคือ เขตที่มีความเจริญทางธุรกิจและมีบุคคลที่มีรายได้น้อยอาศัยอยู่อย่างหนาแน่น ซึ่งสอดคล้องกับอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ (Economic Growth) หรือ GDP (Gross Domestic Product ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ) ของไทยที่มีอัตราเฉลี่ยสูงต่อปีถึงร้อยละ 2.6 – 7.6 (ยกเว้นปี 2552 ที่ติดลบ)
    สถิติข้อมูล สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ตั้งแต่ปี 2549 เป็นต้นมา ไทยมีอัตราการเติบโตของ GDP เฉลี่ยต่อปี (Annual percentage change) และ อัตราร้อยละการว่างงาน (unemployment rate) ดังนี้


ปี             2549   2550    2551     2552     2553   2554(ประมาณการ)
GDP           5.2    4.9       2.6        -2.3        7.6      4.5
%การว่างงาน 1.5    1.2      1.3        1.8         nd      nd
    จึงทำให้สังคมไทยเกิดอาชญากรรมประเภทต่าง ๆ ขึ้นมากมาย ซึ่งรวมทั้งการกระทำความผิดของเด็กและเยาวชน ที่นับวันจะมีความรุนแรงเพิ่มขึ้นเป็นลำดับ
    ประกอบกับได้มีการตราพระราชบัญญัติศาลคดีเด็กและเยาวชนและวิธีพิจารณาคดี เยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2553 ยกเลิกกฎหมายเดิม ประกาศใช้เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2553 จะมีผลบังคับใช้ในอีก 180 วัน ตั้งแต่วันที่ 21 พฤษภาคม 2554 เป็นต้นไป

 

บทบัญญัติ กฎหมาย ที่เกี่ยวข้องกับสิทธิของเด็กและเยาวชนในการกระทำผิดทางอาญา

1.    ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน 1948/2491
2.    สิทธิเด็กตามอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก 1989/2532
3.    รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550
4.    แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 (พ.ศ.2550 - 2554)
5.    คำแถลงนโยบายรัฐบาลนายอภิสิทธิ์  เวชาชีวะ เมื่อ 30 ธันวาคม 2551
6.    พระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ.2546
7.    พระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัว  และวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว  พ.ศ.  2553
8.    ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
9.    ประมวลกฎหมายอาญา  พ.ศ.  2499

1. ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน 1948/2491
    สิทธิมนุษยชน (Human Right) เป็นสิทธิของมนุษย์โดยตรงที่มีขึ้นมาพร้อมกับกำเนิดของมนุษย์ หลังสงครามโลกครั้งที่สอง ได้ก่อตั้งองค์การสหประชาชาติ (United Nations) ร่วมกันร่างกฎบัตรสหประชาติไว้ในคำนำว่า “ชนชาติต่าง ๆ ในสหประชาชาติจะยึดมั่นในความเชื่อในสิทธิมนุษยชนขั้นมูลฐานในศักดิ์ศรีและ คุณค่าแห่งความเป็นมนุษย์ในสิทธิเท่าเทียมกันระหว่างชายหญิงและชนชาติทั้ง ใหญ่น้อย” และในมาตรา 55 บัญญัติว่า “โดยมุ่งหมายที่จะก่อให้เกิดสถานการณ์ที่มั่นคงและความผาสุกซึ่งจำเป็น สำหรับความสัมพันธ์โดยสันติ และฉันท์มิตรระหว่างประเทศ ซึ่งตั้งอยู่บนความเคารพในหลักการแห่งความเสมอภาค และการตัดสินใจด้วยตนเองของมวลชน สหประชาชาติจะส่งเสริมความเคารพต่อและรักษาไว้ซึ่งสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพ ขั้นมูลฐานของมวลชนโดยไม่มีความแตกต่างในเรื่องเชื่อชาติ เพศภาษาหรือศาสนา” (กุลพล  พลวัน, 2538 อ้างใน พรรณกรณ์, 2548) ซึ่งประเทศไทยได้ลงนามรับรองเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 1948/2491 (นพนิธิ  สุริยะ,2542 อ้างใน พรรณกรณ์, 2548, Ibid.)
    บทบัญญัติรับรองสิทธิของผู้ถูกกล่าวหาในคดีอาญา ได้บัญญัติไว้ ดังนี้
(ข้อ 10) บุคคลชอบที่จะได้รับความเท่าเทียมกันอย่างบริบูรณ์ในอันที่จะได้รับการ พิจารณาอย่างเป็นธรรมและเปิดเผยโดยศาลซึ่งเป็นอิสระและไร้อคติในการวินิจฉัย ชี้ขาด สิทธิและหน้าที่ตลอดจนข้อที่ถูกกล่าวหาใด ๆ ทางอาญา” (พรรณกรณ์, 2548, Ibid.)

2. สิทธิเด็กตามอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก 1989/2532 (วันชัย, มปป.)
สิทธิ เด็กได้รับการรับรองในรูปแบบต่าง ๆ โดยองค์การสหประชาชาติมาเป็นเวลาพอสมควรแล้ว และต่อมาได้พัฒนานำหลักการต่าง ๆ มารวบรวมไว้เป็นกฎหมายระหว่างประเทศในรูปของอนุสัญญาคือ อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก (Convention on the Rights of the Child =CRC) เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 1989/2532 และมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 2 กันยายน 1990/2533 อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กมีหลักการที่สำคัญว่า เด็กทุกคนมีสิทธิต่าง ๆ ติดตัวมาตั้งแต่เกิดและประเทศสมาชิกของอนุสัญญาฉบับนี้ต้องดำเนินมาตรการต่าง ๆ เพื่อให้การปกป้องคุ้มครองและ ส่งเสริมการใช้สิทธิของเด็กอย่างเต็มที่และอย่างน้อยต้องเป็นไปตามมาตรฐานของอนุสัญญาฯ
ซึ่งได้รับการยอมรับทั่วโลกว่าข้อกำหนดต่าง ๆ ในอนุสัญญาฯ เป็นมาตรฐานขั้นต่ำในการดูแลคุ้มครองเด็ก
กฎ อันเป็นมาตรฐานขั้นต่ำของสหประชาชาติว่าด้วยการบริหารงานยุติธรรมเกี่ยวกับ คดีเด็กและเยาวชน ซึ่งรู้จักในนามกฎแห่งกรุงปักกิ่ง (BEIJING RULE) สภาคองเกรสแห่งสหประชาชาติว่าด้วยการป้องกันอาชญากรรมและการปฏิบัติต่อผู้ กระทำผิด ประชุม ณ กรุงปักกิ่ง ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน 14-18 พฤษภาคม ค.ศ. 1984/2527 สมัชชาใหญ่เพื่อลงมติยอมรับ วันที่ 29 พฤศจิกายน ค.ศ. 1985/2528  ([Online], Available URL :  http://www.nan-ju.ago.go.th/document/beijing.doc)
ปัจจุบันอนุสัญญาว่า ด้วยสิทธิเด็กฉบับนี้มีภาคีสมาชิกถึง 195 ประเทศ คงเหลือเพียง 2 ประเทศเท่านั้นที่ยังไม่เข้าเป็นภาคีสมาชิกคือประเทศโซมาเลียและสหรัฐ อเมริกา ในส่วนของประเทศไทยได้เข้าเป็นภาคีสมาชิกอนุสัญญานี้เมื่อวันที่ 27 มีนาคม 1992/2535 และมีผลใช้บังคับกับประเทศไทยในฐานะเป็นกฎหมายระหว่างประเทศเมื่อวันที่ 26 เมษายน 1992/2535

พัฒนาการของการคุ้มครองสิทธิเด็ก


สิทธิเด็กเป็นส่วนหนึ่งของสิทธิมนุษยชนแต่เด็กเป็นกลุ่มชนที่ต้องการการปกป้อง คุ้มครองมากกว่าคนทั่วไปเนื่องจากความสามารถของสภาวะทางร่างกายและสติ ปัญญาของเด็กเองที่ไม่เท่าเทียมกับผู้ใหญ่จึงต้องได้รับการคุ้มครองเป็นกรณี พิเศษเพื่อให้พัฒนาการและเจริญเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่เป็นทรัพยากรมนุษย์ที่มี คุณค่าต่อสังคม ในประชาคมระหว่างประเทศเห็นความสำคัญในการปกป้องคุ้มครองสิทธิเด็กเป็นอย่าง ยิ่งดังนั้นในปี พ.ศ. 1924/2467 องค์การสันนิบาตชาติได้ประกาศปฏิญญาว่าด้วยสิทธิเด็กหรือที่เรียกว่าปฏิญญาเจนีวา (the Declaration of Geneva 1924/2467) เมื่อมีการจัดตั้งองค์การสหประชาชาติได้มีการประกาศปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิ มนุษยชน (the Universal Declaration of Human Rights) เมื่อปี 1948/2491 แล้ว ต่อมาในปี1959/2502 องค์การสหประชาชาติได้พัฒนาและประกาศปฏิญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก (the United Nations Declaration on the Rights of the Child 1959/2502) แต่ปฏิญญาไม่มีผลผูกพันเป็นกฎหมายระหว่างประเทศ ต่อมาจนถึงปี 1989/2532 สหประชาชาติจึงได้พัฒนาการคุ้มครองเด็กให้เป็นกฎหมายระหว่างประเทศในรูป ของอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก (Convention on the Rights of the Child 1989/2532) ซึ่งอยู่ในรูปแบบปัจจุบันในปี2000/2543องค์การสหประชาชาติได้จัดทำตราสารทาง กฎหมายระหว่างประเทศอีก 2 ฉบับ ในรูปแบบของพิธีสารต่อท้ายอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก คือ พิธีสารเลือกรับของอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กเรื่องความเกี่ยวพันของเด็กใน ความขัดแย้งกันด้วยกำลังอาวุธ (Optional Protocol on the involvement of Children in Armed Conflict) และพิธีสารเลือกรับของอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กเรื่องการค้าเด็ก การค้าประเวณีเด็กและสื่อลามกที่เกี่ยวกับเด็ก (Optional Protocol on the Sale of Children, Child Prostitution and Child Pornography)
ในปัจจุบันถือว่าอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กและพิธีสารต่อท้ายทั้งสองฉบับเป็น กฎหมายระหว่างประเทศที่มีผลสำคัญอย่างยิ่งในการกำหนดมาตรฐานการคุ้มครอง สิทธิเด็ก อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กเป็นอนุสัญญาที่มีประเทศต่าง ๆ เข้าเป็นภาคีสมาชิกมากกว่าอนุสัญญาอื่นทุกฉบับ ส่วนพิธีสารทั้งสองฉบับนั้นอยู่ระหว่างการเปิดให้ลงนามและให้สัตยาบัน ดังได้กล่าวแล้วว่าอนุสัญญาฯ ว่าด้วยสิทธิเด็กมีหลักการสำคัญสองประการ คือ
1. สิทธิของเด็กนั้นไม่ใช่เรื่องที่รัฐหรือใครให้กับเด็ก แต่เป็นสิทธิของเด็กทุกคนที่มีติดตัวมาตั้งแต่เกิด ซึ่งอนุสัญญาใช้คำว่า “สิทธิติดตัว” (inherent rights) ดังนั้น เด็กจึงเป็นผู้มีสิทธิที่ไม่มีผู้ใดสามารถไปตัดทอนหรือจำกัดการใช้สิทธิอันชอบธรรมของเด็กหรือละเมิดสิทธิของเด็กได้
2. ในการดำเนินการต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับเด็ก จะต้องคำนึงถึงสิทธิเด็กและที่สำคัญที่สุดคือต้องยึดถือหลักประโยชน์สูงสุดของเด็ก (the best interest of the child) เป็นข้อพิจารณาในการดำเนินการในการเป็นภาคีอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กนั้นเป็นประโยชน์โดยตรงต่อประเทศภาคีสมาชิก เพราะเป็นการกำหนดมาตรฐานในการคุ้มครองเด็กขั้นต่ำที่ประเทศเหล่านั้นจะต้อง ยกมาตรฐานของตนเองขึ้นให้เท่ากับที่กำหนดในอนุสัญญาฯ หรือสูงกว่า ส่วนประเทศที่มีการคุ้มครองที่สูงกว่าที่อนุสัญญาฯ กำหนดไว้จะได้รับการยกย่องและกระตุ้นให้พัฒนาการคุ้มครอง
เด็กให้สูงยิ่งขึ้น เหตุที่เป็นประโยชน์โดยตรงต่อประเทศภาคีสมาชิก เพราะการคุ้มครองเด็กอย่างน้อย ตามมาตรฐานขั้นต่ำของอนุสัญญาฯ เป็นการรับประกันว่า เด็กทุกคนที่อยู่ในเขตอำนาจของรัฐนั้นจะได้มีอัตราการอยู่รอดที่สูง ได้รับการพัฒนาทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจในระดับที่เด็กจะเติบโตเป็น ผู้ใหญ่ที่มีความสามารถและมีสุขภาพกายแข็งแรงและมีสุขภาพจิตดี เด็กต้องไม่ถูกนำไปใช้แรงงานก่อนวัยอันควรซึ่งขัดขวางการพัฒนาการทางด้านการ ศึกษาของเด็กและต้องไม่ถูกนำไปใช้ประโยชน์โดยมิชอบไม่ว่าในการค้าประเวณี ในการใช้ประโยชน์ทางเพศหรือทางด้านอื่นๆ อันเป็นการทำลายชีวิตและอนาคตของเด็กโดยตรง และให้เด็กได้มีส่วนร่วมตามระดับความสามารถซึ่งเป็นการพัฒนาเด็กให้เป็น ผู้ใหญ่ที่ดีต่อไป เนื่องจากเด็กเป็นทรัพยากรมนุษย์ของประเทศในอนาคตการพัฒนาเด็กซึ่งเป็นสิ่ง ที่มีค่าที่สุดของประเทศให้เติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่ดีมีความสามารถ เป็นทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณค่าและทำประโยชน์ให้ต่อประเทศชาติทั้งทางเศรษฐกิจและสังคม เป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งต่อความเจริญก้าวหน้าของประเทศนั้น ๆ และจำเป็นอย่างยิ่งต่อการแข่งขันกันทั้งทางด้านเศรษฐกิจและสังคม ในสังคมโลกทุกวันนี้ที่ประชากรทุกคนในประเทศต้องมีส่วนในการร่วมกันพัฒนาและ รับผิดชอบในการแข่งขันด้วยการ
ทำหน้าที่ของแต่ละคนให้ดีที่สุด หากเด็กไม่ได้รับการคุ้มครองตามมาตรฐานที่ดีของอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก เด็กจะเติบโตขึ้นมาอย่างไร้คุณภาพแทนที่จะเติบโตเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่าของสังคม อาจมีจำนวนหนึ่งที่ถูกกระทำจนต้องกลับมาเป็นภาระเช่นเป็นผู้ป่วยโรค เอดส์ให้สังคมต้องดูหรือเด็กที่กระทำความผิดและมีการจัดการไม่คำนึงถึงสิทธิ เด็กทำให้เด็กเติบโตไปเป็นอาชญากร ทำให้สังคมต้องมีภาระในการปราบปราม กรณีเหล่านี้จะทำให้ไม่สามารถพัฒนาประเทศได้อย่างเต็มที่และจะทำให้สังคมและ ทรัพยากรของประเทศนั้นอ่อนแอและตกเป็นรองประเทศอื่น ๆ ในการแข่งขันเพื่อความอยู่รอดและการพัฒนาของประเทศนั้นเอง
คำว่า “เด็ก” ปัจจุบันเป็นที่ยอมรับกันทั่วไปในตราสารทางกฎหมายระหว่างประเทศต่าง ๆ ว่าหมายความถึงบุคคลทุกคนที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี
อนุสัญญา ว่าด้วยสิทธิเด็กให้คำนิยาม “เด็ก” ไว้ในข้อ 1 ว่า “เพื่อความมุ่งประสงค์ของอนุสัญญานี้ เด็กหมายถึง มนุษย์ทุกคนที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี เว้นแต่จะบรรลุนิติภาวะก่อนหน้านั้นตามกฎหมายที่ใช้บังคับแก่เด็กนั้น”
จาก คำนิยามดังกล่าวมนุษย์ทุกคนที่มีอายุต่ำว่า 18 ปี อยู่ในความหมายของคำว่าเด็กทั้งสิ้น เว้นแต่จะบรรลุนิติภาวะตามกฎหมายของแต่ประเทศที่ใช้อยู่ เช่น ในกรณีของประเทศไทย ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 1 ว่าด้วยบุคคล มาตรา 19 กำหนดว่า บุคคลจะบรรลุนิติภาวะเมื่ออายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ แต่หากบุคคลนั้นได้ทำการสมรสก่อนอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์โดยผู้เยาว์ฝ่ายชายมีอายุ 17 ปีบริบูรณ์ และฝ่ายหญิงมีอายุ 17 ปีบริบูรณ์ ตามมาตรา 20 ของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บุคคลนั้นเป็นผู้บรรลุนิติภาวะตามกฎหมาย ( มาตรา 1448  การสมรสจะทำได้ต่อเมื่อชายและหญิงมีอายุสิบเจ็ดปีบริบูรณ์แล้ว แต่ในกรณีที่มีเหตุอันสมควร ศาลอาจอนุญาตให้ทำการสมรสก่อนนั้นได้ ) ดังนั้น หากเด็กที่อายุยังไม่เกิน 18 ปี แต่ได้ทำการสมรสก่อนและเข้าเงื่อนไขตามกฎหมายที่ถือว่าเด็กนั้นพ้นจากสภาวะ ความเป็นเด็กและบรรลุนิติภาวะตามกฎหมาย จะไม่อยู่ในความคุ้มครองของอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กอีกต่อไป และดังได้กล่าวแล้วอนุสัญญานี้เป็นอนุสัญญาที่มีประเทศเข้าเป็นภาคีสมาชิก มากที่สุดในโลก คือ 195 ประเทศ และข้อผูกพันในการเป็นภาคีสมาชิกของอนุสัญญา คือ การยอมรับที่จะปฏิบัติตามกฎหมายระหว่างประเทศฉบับนี้ ดังนั้น คำจำกัดความ “เด็ก” ในกฎหมายของทั้ง 195 ประเทศ จะต้องมีความหมายเช่นเดียวกับอนุสัญญานี้ทำให้ความหมายของคำว่าเด็กนั้นเป็น ความหมายสากลที่ต้องเหมือนกันทั่วโลก
อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กคุ้มครอง และส่งเสริมสิทธิขั้นพื้นฐานของเด็กทุกคนในโลก โดยได้กำหนดมาตรฐานขั้นต่ำ (ซึ่งหมายความว่าประเทศอาจกำหนดสิทธิและการคุ้มครองสูงกว่าที่กำหนดไว้ใน อนุสัญญานี้ได้ แต่จะต่ำกว่าที่กำหนดไว้ในอนุสัญญาไม่ได้)
อนุสัญญาฯ ได้กำหนดว่ารัฐภาคีสมาชิกต้องเคารพและคุ้มครองสิทธิเด็กทุกคนที่อยู่ภายใน เขตอำนาจของตนไม่ว่าจะเป็นคนสัญชาติของประเทศนั้นหรือไม่ ที่อยู่ภายในเขตอำนาจของตนโดยไม่เลือกปฏิบัติในทุกรูปแบบ โดยไม่คำนึงถึงเชื้อชาติ สีผิว เพศ ภาษา ศาสนา ความคิดเห็นทางการเมืองหรือทางอื่น ต้นกำเนิดทางชาติพันธุ์ หรือสังคม ทรัพย์สิน ความทุพพลภาพ การเกิด หรือสถานะอื่น ๆ ของเด็ก หรือ บิดามารดา หรือผู้ปกครองตามกฎหมาย (ข้อ 2) การไม่เลือกปฏิบัตินั้นไม่ได้หมายความว่ารัฐจะต้องปฏิบัติต่อเด็กทุกคน เหมือนกันหมด หากเด็กกลุ่มใดไม่สามารถใช้สิทธิเช่นเดียวกับเด็กอื่น เพราะสภาวะทางร่างกาย จิตใจ หรือสังคม เช่นเด็กพิการทางร่างกายหรือทางสมอง เด็กเร่ร่อน ยากจน เป็นต้น รัฐอาจจัดบริการให้เด็กเหล่านี้เป็นกรณีพิเศษ เพื่อช่วยให้เด็กกลุ่มนี้ได้ใช้สิทธิเท่าเทียมกับเด็กอื่น ๆ หลักการนี้ได้มีบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 มาตรา 30 วรรคสาม ซึ่งกำหนดว่า “มาตรการที่รัฐกำหนดขึ้นเพื่อขจัดอุปสรรคหรือส่งเสริมให้บุคคลสามารถใช้ สิทธิและเสรีภาพได้เช่นเดียวกับบุคคลอื่น ย่อมไม่ถือเป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรม…” อนุสัญญาฯ ยังได้กำหนดว่าในการกระทำทั้งปวงที่เกี่ยวกับเด็ก…ผลประโยชน์สูงสุดของเด็ก เป็นสิ่งที่ต้องคำนึงถึงเป็นลำดับแรก “In all actions concerning children,… the best interests of the Child shall be a primary consideration” (ข้อ 3 วรรคแรก)


อนุสัญญาฯ กำหนดพันธกรณีให้ประเทศภาคีสมาชิกคุ้มครองสิทธิเด็ก โดยแยกเป็น ประเภทใหญ่ ๆ ได้ 4 ประเภท
1. สิทธิในชีวิตและการอยู่รอด (Survival Rights)
เด็ก มีสิทธิในการมีชีวิต การได้รับการดูแลสุขภาพอนามัยโภชนาการ ความรัก การเอาใจใส่จากครอบครัวและสังคมในการเลี้ยงดูอย่างดีที่สุด การศึกษา การมีชีวิตที่ถูกต้อง
2. สิทธิในการได้รับการปกป้องคุ้มครอง (Protection Rights)
เด็ก มีสิทธิที่จะได้รับการคุ้มครองจากการถูกเลือกปฏิบัติจากการถูกล่วงละเมิด สิทธิ ถูกกลั่นแกล้งรังแก ทอดทิ้งคุ้มครองเด็กที่ไม่มีครอบครัว เด็กลี้ภัย เด็กพิการ แรงงานเด็ก การเอาเปรียบความเป็นส่วนตัวของเด็ก
(ขยายความ)
ข้อ 3 (1) ในการกระทำทั้งปวงที่เกี่ยวแก่เด็กไม่ว่าจะกระทำโดยสถาบันสังคมสงเคราะห์ของ รัฐ หรือเอกชน, ศาลยุติธรรม, หน่วยงานฝ่ายบริหาร,องค์กรนิติบัญญัติ ฯลฯ ต้องคำนึงถึงผลประโยชน์สูงสุดของเด็กเป็นลำดับแรก
3. สิทธิในการพัฒนา (Development Rights)
เด็ก มีสิทธิที่จะได้เล่นและพักผ่อน เข้ามีส่วนร่วมในกิจกรรมทางวัฒนธรรม คือ การศึกษาทั้งในและนอกโรงเรียน การรับข่าวสาร สิทธิที่จะได้มีมาตรฐานความเป็นอยู่พอเพียงกับการพัฒนาทางร่างกาย จิตใจ ความรู้สึกนึกคิด ศีลธรรมและสังคม
4. สิทธิในการมีส่วนร่วม (Participation Rights)
เด็ก มีสิทธิแสดงความคิดเห็นทุกเรื่องที่มีผลกระทบต่อเด็กเปิดโอกาสให้เด็กมี บทบาทในชุมชน มีเสรีภาพในการติดต่อ การแสดงทัศนะของเด็กจะต้องมีการให้ความสำคัญอย่างเหมาะสม

2.1 ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิเด็กและเยาวชน 1955/2498
([Online], Available URL : http://blog.eduzones.com/racchidlom/38926)
ข้อ 1. เด็กและเยาวชน พึงได้รับสิทธิเท่าเทียมกันโดยปราศจากการแบ่งแยกหรือกีดกัน ไม่ว่าโดยวิธีใด ๆในเรื่อง เชื้อชาติ ผิว เพศ ภาษา ศาสนา ความคิดเห็นทางการเมือง เผ่าพันธุ์แห่งชาติ หรือสังคมทรัพย์สิน กำเนิดหรือสถานะอื่น ๆ ไม่ว่าจะของเด็กหรือของครอบครัวก็ตาม

2.2 อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก (ตอนที่ 1)
([Online], Available URL : http://learners.in.th/blog/patranart/258581)
อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก(Convention on the Rights of the Child : CRC)
เป็น สัญญาด้านสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศที่ได้รับความเห็นชอบมากที่สุดในโลก โดยทุกประเทศในโลกได้ให้สัตยาบัน ยกเว้นประเทศโซมาเลียและสหรัฐอเมริกา ส่วนประเทศไทยได้ให้สัตยาบันอนุสัญญานี้ในปี 1992/2535
หลักการคุ้มครองเด็กที่มีปัญหาความประพฤติหรือกระทำความผิดทางอาญา
มุ่ง คุ้มครองให้เด็ก ที่ถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิดทางอาญา ได้รับการปฏิบัติที่แตกต่างไปจากผู้ต้องหาที่เป็นผู้ใหญ่โดยให้ได้รับผล กระทบจากการต้องถูกดำเนินคดีและควบคุมตัวน้อยที่สุด สำหรับเด็กที่มีปัญหาความประพฤติ หรือกระทำความผิดทางอาญาคุ้มครองให้ได้รับโอกาสแก้ไขเยียวยาให้สามารถเติบโต เป็นพลเมืองดีของสังคม โดยมีสมมติฐานว่าเด็กกระทำการใดๆ เพราะขาดวุฒิภาวะทำให้สิ่งแวดล้อมมีอิทธิพลผลักดันต่อความประพฤติของเด็ก นอกจากนั้นยังมีหลักประกันมิให้เด็กต้องรับโทษจำคุกตลอดชีวิตหรือประหาร ชีวิตมีสาระสำคัญอยู่ใน ข้อ 37 และ 40
ข้อ 37
รัฐภาคีประกันว่า
ก) จะไม่มีเด็กคนใดได้รับการทรมาน หรือถูกปฏิบัติ หรือลงโทษที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือต่ำช้าจะไม่มีการลงโทษประหารชีวิตหรือจำคุกตลอดชีวิตที่ไม่มีโอกาสจะได้ รับการปล่อยตัวสำหรับความผิดที่กระทำโดยบุคคลที่มีอายุต่ำกว่าสิบแปดปี
ข) จะไม่มีเด็กคนใดถูกลิดรอนเสรีภาพโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายหรือโดยพลการ การจับกุมกักขังหรือจำคุกเด็กจะต้องเป็นไปตามกฎหมาย และจะใช้เป็นมาตรการสุดท้ายเท่านั้น และให้มีระยะเวลาที่สั้นที่สุดอย่างเหมาะสม
ค) เด็กทุกคนที่ถูกลิดรอนเสรีภาพจะได้รับการปฏิบัติด้วยมนุษยธรรม และด้วยความเคารพในศักดิ์ศรีแต่กำเนิดของมนุษย์และในลักษณะที่คำนึงถึงความ ต้องการของบุคคลในวัยนั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เด็กทุกคนที่ถูกลิดรอนเสรีภาพจะต้องถูกแยกต่างหากจากผู้ใหญ่ เว้นแต่จะพิจารณาเห็นว่าจะเป็นประโยชน์สูงสุดต่อเด็กที่จะไม่แยกเช่นนั้น และเด็กจะมีสิทธิที่จะคงการติดต่อกับครอบครัวทางหนังสือโต้ตอบและการเยี่ยม เยียน เว้นแต่ในสภาพการณ์พิเศษ
ง) เด็กทุกคนที่ถูกลิดรอนเสรีภาพมีสิทธิที่จะขอความช่วยเหลือทางกฎหมาย หรือทางอื่นที่เหมาะสมโดยพลัน ตลอดจนสิทธิที่จะค้านความชอบด้วยกฎหมายของการลิดรอนเสรีภาพของเขาต่อศาล หรือหน่วยงานที่มีอำนาจอื่นที่เป็นอิสระและเป็นกลาง และที่จะได้รับคำวินิจฉัยโดยพลันต่อการดำเนินการเช่นว่า
ข้อ 40
1. รัฐภาคียอมรับสิทธิของเด็กทุกคนที่ถูกกล่าวหา ตั้งข้อหา หรือถูกถือว่าได้ฝ่าฝืนกฎหมายอาญา ที่จะได้รับการปฏิบัติต่อในลักษณะที่สอดคล้องกับการส่งเสริมความสำนึกใน ศักดิ์ศรีและคุณค่าของเด็ก ซึ่งจะเสริมความเคารพของเด็กต่อสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นพื้นฐานของผู้ อื่น ในลักษณะที่ต้องคำนึงถึงอายุของเด็กและความปรารถนาที่จะส่งเสริมการกลับคืน สู่สังคม และการมีบทบาทเชิงสร้างสรรค์ของเด็กในสังคม
2. เพื่อการนี้ และโดยคำนึงถึงบทบัญญัติที่เกี่ยวข้องของตราสารระหว่างประเทศ รัฐภาคีประกันว่า
ก) จะไม่มีเด็กคนใดถูกกล่าวหา ตั้งข้อหา หรือถูกถือว่าฝ่าฝืนกฎหมายอาญาโดยเหตุแห่งการกระทำหรืองดเว้นการกระทำ ซึ่งไม่ต้องห้ามตามกฎหมายภายในหรือกฎหมายระหว่างประเทศในขณะที่การกระทำหรือ การงดเว้นการกระทำนั้นเกิดขึ้น
ข) เด็กทุกคนที่ถูกกล่าวหาหรือตั้งข้อหาว่าได้ฝ่าฝืนกฎหมายอาญาอย่างน้อยที่สุดจะได้รับหลักประกันดังต่อไปนี้
(1) ได้รับการสันนิษฐานว่าบริสุทธิ์ จนกว่าจะได้รับการพิสูจน์ว่ามีความผิดตามกฎหมาย
(2) ได้รับแจ้งข้อหาทันทีและโดยตรง และในกรณีที่เหมาะสมโดยผ่านบิดามารดา หรือผู้ปกครองตามกฎหมาย และจะได้รับความช่วยเหลือทางกฎหมายหรือทางอื่นที่เหมาะสม เพื่อการตระเตรียมและการสู้คดีของเด็ก
(3) ได้รับการตัดสินโดยไม่ชักช้า โดยหน่วยงานหรือองค์กรทางตุลาการที่มีอำนาจเป็นอิสระและเป็นกลาง ในการพิจารณาความอย่างยุติธรรมตามกฎหมาย ทั้งนี้ ให้มีความช่วยเหลือทางกฎหมายหรือทางอื่นที่เหมาะสมเว้นเสียแต่เมื่อพิจารณา เห็นว่าจะไม่เป็นประโยชน์สูงสุดต่อเด็ก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อคำนึงถึงอายุของเด็กหรือสถานการณ์บิดามารดา หรือผู้ปกครองตามกฎหมาย
(4) จะไม่ถูกบังคับให้เบิกความหรือสารภาพผิด สามารถซักถามหรือซักค้านพยาน และให้พยานของตนเข้ามามีส่วนร่วม และให้มีการซักถามพยานแทนตนภายใต้เงื่อนไขแห่งความเท่าเทียมกัน
(5) หากพิจารณาว่าได้มีการฝ่าฝืนกฎหมายอาญา ก็ให้การวินิจฉัยหรือมาตรการใดที่กำหนดโดยผลของการวินิจฉัยนั้น ได้รับการทบทวนโดยหน่วยงานหรือองค์กรทางตุลาการที่มีอำนาจเป็นอิสระและเป็น กลางในระดับสูงขึ้นไป
(6) ให้มีความช่วยเหลือของล่ามโดยไม่คิดมูลค่า หากเด็กไม่สามารถเข้าใจ หรือพูดภาษาที่ใช้อยู่
(7) ในทุกขั้นตอนของกระบวนการพิจารณา ให้เคารพต่อเรื่องส่วนตัวของเด็กอย่างเต็มที่
3. รัฐภาคีจะหาทางส่งเสริมให้มีการตรากฎหมาย กำหนดกระบวนวิธีพิจารณา จัดตั้งหน่วยงานและสถาบันซึ่งจะใช้เป็นการเฉพาะกับเด็กที่ถูกกล่าวหา ตั้งข้อหา หรือถูกถือว่าได้ฝ่าฝืนกฎหมายอาญา และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง
ก) การกำหนดอายุขั้นต่ำ ซึ่งเด็กที่มีอายุต่ำกว่านั้นจะถูกถือว่าไม่มีความสามารถที่จะฝ่าฝืนกฎหมายอาญาได้
ข) เมื่อเห็นว่าเหมาะสมและเป็นที่พึงปรารถนา ให้กำหนดมาตรการที่จะใช้กับเด็กเหล่านั้น โดยไม่ต้องอาศัยกระบวนการทางตุลาการ ทั้งนี้ โดยมีเงื่อนไขว่าสิทธิมนุษยชนและการคุ้มครองตามกฎหมายจะได้รับการเคารพอย่าง เต็มที่อยู่
4. การดำเนินการต่าง ๆ เช่น คำสั่งให้มีการดูแล แนะแนว และควบคุมการให้คำปรึกษา การภาคทัณฑ์การอุปการะดูแล แผนงานการศึกษาและฝึกอบรมวิชาชีพ และทางอื่นนอกเหนือจากการให้สถาบันเป็นผู้ดูแล จะต้องมีไว้เพื่อประกันว่าเด็กจะได้รับการปฏิบัติในลักษณะที่เหมาะสมแก่ความ เป็นอยู่ที่ดีของเด็ก และได้สัดส่วนกับทั้งสภาพการณ์และความผิดของเด็ก

2.3 ข้อสรุปอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก
ข้อ 37 หลักประกันการดำเนินกระบวนยุติธรรมเกี่ยวกับคดีเด็กและเยาวชน
จะ ไม่มีเด็กคนใดได้รับการทรมาน หรือถูกปฏิบัติ หรือถูกลงโทษที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือต่ำช้า จะไม่มีการลงโทษประหารชีวิต หรือจำคุกตลอดชีวิต...
จะ ไม่มีเด็กคนใดถูกลิดรอนเสรีภาพ โดยไม่ชอบด้วยกฎหมายหรือโดยพลการ การจับกุม กักขังหรือจำคุกเด็กจะต้องเป็นไปตามกฎหมาย และจะใช้เป็นมาตรการสุดท้ายเท่านั้น และให้มีระยะเวลาที่สั้นที่สุดอย่างเหมาะสม
การลิดรอนเสรีภาพเด็ก ต้องแยกออกจากผู้ใหญ่ และมีสิทธิจะได้รับความช่วยเหลือทางกฎหมาย
ข้อ 40  หลักการเกี่ยวกับเด็กที่ถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิด
เด็ก ที่ถูกกล่าวหา ต้องได้รับการปฏิบัติในลักษณะที่สอดคล้องกับการส่งเสริมความสำนึกใน ศักดิ์ศรี และคุณค่าของเด็ก ต้องคำนึงถึงอายุ และส่งเสริมการกลับคืนสู่สังคม การมีบทบาทเชิงสร้างสรรค์ของเด็กในสังคม
กำหนดมาตรการที่ใช้กับเด็ก โดยไม่ต้องอาศัยกระบวนการยุติธรรมทางอาญาปกติ

3. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550

มาตรา 30 บุคคลย่อมเสมอกันในกฎหมายและได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายเท่าเทียมกัน
ชายและหญิงมีสิทธิเท่าเทียมกัน
การเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อบุคคลเพราะเหตุแห่งความแตกต่างในเรื่องถิ่นกำเนิด เชื้อชาติ ภาษา เพศ อายุ ความพิการ สภาพทางกายหรือสุขภาพ สถานะของบุคคล ฐานะทางเศรษฐกิจหรือสังคม ความเชื่อทางศาสนา การศึกษาอบรม หรือความคิดเห็นทางการเมืองอันไม่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ จะกระทำมิได้
มาตรการ ที่รัฐกำหนดขึ้นเพื่อขจัดอุปสรรคหรือส่งเสริมให้บุคคลสามารถใช้สิทธิและ เสรีภาพได้เช่นเดียวกับบุคคลอื่น ย่อมไม่ถือเป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมตามวรรคสาม
มาตรา 40 บุคคลย่อมมีสิทธิในกระบวนการยุติธรรม ดังต่อไปนี้ ...
(6) เด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ หรือผู้พิการหรือทุพพลภาพ ย่อมมีสิทธิได้รับความคุ้มครองในการดำเนินกระบวนพิจารณาคดีอย่างเหมาะสม และย่อมมีสิทธิได้รับการปฏิบัติที่เหมาะสมในคดีที่เกี่ยวกับความรุนแรงทาง เพศ …
มาตรา 52 เด็กและเยาวชน มีสิทธิในการอยู่รอดและได้รับการพัฒนาด้านร่างกาย จิตใจและสติปัญญา ตามศักยภาพในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม โดยคำนึงถึงการมีส่วนร่วมของเด็กและเยาวชนเป็นสำคัญ
เด็ก เยาวชน สตรี และบุคคลในครอบครัว มีสิทธิได้รับความคุ้มครองจากรัฐ ให้ปราศจากการใช้ความรุนแรงและการปฏิบัติอันไม่เป็นธรรม ทั้งมีสิทธิได้รับการบำบัดฟื้นฟูในกรณีที่มีเหตุดังกล่าว
การแทรกแซงและการจำกัดสิทธิของเด็ก เยาวชน และบุคคลในครอบครัว จะกระทำมิได้ เว้นแต่โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย เฉพาะเพื่อสงวนและรักษาไว้ซึ่งสถานะของครอบครัวหรือประโยชน์สูงสุดของบุคคลนั้น
เด็กและเยาวชนซึ่งไม่มีผู้ดูแลมีสิทธิได้รับการเลี้ยงดูและการศึกษาอบรมที่เหมาะสมจากรัฐ

4. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 (พ.ศ. 2550 – 2554)
ได้กำหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมายหลักของการพัฒนาไว้ ดังนี้
3.2 เป้าหมาย (4 ด้าน) ...
(2) เป้าหมายการพัฒนาชุมชนและแก้ป

หมายเลขบันทึก: 449433เขียนเมื่อ 17 กรกฎาคม 2011 00:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 มกราคม 2013 10:25 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

ขจัดการกระทำความรุนแรง และการเลือกปฏิบัติต่อเด็ก สตรี และผู้พิการให้การคุ้มครองและส่งเสริมการจัดสวัสดิการทางสังคมที่เหมาะสมแก่ผู้ยากไร้ ผู้พิการหรือทุพพลภาพ และผู้ที่อยู่ในภาวะยากลำบาก ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น พึ่งตนเองได้รัฐบาลจะเร่งรัดการแก้ไขปัญหายาเสพติดอย่างเป็นระบบครบวงจร และเพิ่มประสิทธิภาพการแก้ไขปัญหาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน โดยส่งเสริมให้มีระบบติดตามและเฝ้าระวังปัญหาอาชญากรรมที่ทันต่อการเปลี่ยนแปลงและสร้างเครือข่ายอาสาสมัครชุมชนในพื้นที่ต่าง ๆ รัฐบาลจะให้ความสำคัญในการคุ้มครองผู้บริโภคในทุกมิติ โดยเฉพาะการใช้กลไกทางกฎหมายในการป้องกันการเอาเปรียบผู้บริโภคในด้านอื่น ๆ เช่น การโฆษณาเกินเวลา การโฆษณาแฝง หรือการใช้สื่อเพื่อประโยชน์ส่วนตน

8. นโยบายการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี มี 3 ด้าน …

ด้านกฎหมายและการยุติธรรม

รัฐบาลจะปรับปรุงแก้ไขกฎหมายและกฎระเบียบที่ล้าสมัยและเปิดช่องให้เกิดการทุจริตประพฤติมิชอบ หรือทำให้เกิดประโยชน์ทับซ้อน ขยายและยกเลิกอายุความในคดีอาญาบางประเภท และคดีทุจริต และปราบปรามการทุจริตประพฤติมิชอบในทุกระดับอย่างจริงจัง รวมทั้งปลูกฝังค่านิยมคนไทยต้องไม่โกง พัฒนากระบวนการยุติธรรมให้มีระบบการอำนวยความยุติธรรมที่มีประสิทธิภาพ โปร่งใสและเป็นธรรมต่อทุกกลุ่ม โดยส่งเสริมให้มีการนำหลักความยุติธรรมเชิงสมานฉันท์และหลักการระงับข้อพิพาททางเลือกมาใช้ในการไกล่เกลี่ยและการประนอมข้อพิพาท ตลอดจนพัฒนาระบบและวิธีการปฏิบัติในการแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำความผิดที่เป็นเด็กหรือเยาวชน และผู้ใหญ่ให้มีความหลากหลายและเหมาะสมต่อกลุ่มเป้าหมาย ทั้งนี้ รัฐบาลจะเร่งจัดตั้งองค์กร เพื่อการปฏิรูปกฎหมายและองค์กรเพื่อการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย รัฐบาลจะส่งเสริมให้ประชาชนและเพิ่มบทบาทของอาสาสมัครมากขึ้นในการมีส่วนร่วมในกระบวนการยุติธรรม ตั้งแต่ชั้นการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารกระบวนการยุติธรรม ชั้นการป้องกันอาชญากรรม การไกล่เกลี่ยข้อพิพาท การตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐและการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ภาครัฐ ตลอดจนจัดให้มีบริการด้านทนายและการปรึกษาทางกฎหมายแก่ประชาชนผู้มีรายได้น้อย รวมทั้งมีส่วนร่วมในการติดตาม ประเมินผลการทำงานของตำรวจ อัยการ และผู้ใช้อำนาจรัฐอื่น ๆ และที่สำคัญคือ จะสนับสนุนและพัฒนาตำรวจให้มีประสิทธิภาพมีความโปร่งใส และเป็นตำรวจมืออาชีพที่มีเกียรติและศักดิ์ศรี

6. พระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ.2546

ประกาศราชกิจจานุเบกษา เล่ม 120 ตอนที่ 95 ก 2 ตุลาคม 2546

หมายเหตุ:- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 132 ลงวันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2515 และประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 294 ลง

วันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2515 ใช้บังคับมาเป็นเวลานานสาระสำคัญและรายละเอียดเกี่ยวกับ

วิธีการสงเคราะห์ คุ้มครองสวัสดิภาพ และส่งเสริมความประพฤติเด็ก ไม่เหมาะสมกับสภาพสังคมปัจจุบัน สมควรกำหนดขั้นตอนและปรับปรุงวิธีการปฏิบัติต่อเด็กให้เหมาะสมยิ่งขึ้น เพื่อให้เด็กได้รับการอุปการะเลี้ยงดู อบรมสั่งสอน และมีพัฒนาการที่เหมาะสม อันเป็นการส่งเสริมความ

มั่นคงของสถาบันครอบครัว รวมทั้งป้องกันมิให้เด็กถูกทารุณกรรม ตกเป็นเครื่องมือในการ

แสวงหาประโยชน์โดยมิชอบ หรือถูกเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรม และสมควรปรับปรุงวิธีการ

ส่งเสริมความร่วมมือในการคุ้มครองเด็กระหว่างหน่วยงานของรัฐและเอกชนให้เหมาะสมยิ่งขึ้น

เพื่อให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

และอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้

มาตรา 26 ภายใต้บังคับบทบัญญัติแห่งกฎหมายอื่น ไม่ว่าเด็กจะยินยอมหรือไม่ห้ามมิให้ผู้ใดกระทำ ดังต่อไปนี้

(1) กระทำหรือละเว้นการกระทำอันเป็นการทารุณกรรมต่อร่างกายหรือจิตใจของเด็ก

(2) จงใจหรือละเลยไม่ให้สิ่งจำเป็นแก่การดำรงชีวิตหรือรักษาพยาบาลแก่เด็กที่อยู่ในความดูแลของตน จนน่าจะเกิดอันตรายแก่ร่างกายหรือจิตใจของเด็ก

(3) บังคับ ขู่เข็ญ ชักจูง ส่งเสริม หรือยินยอมให้เด็กประพฤติตนไม่สมควรหรือน่าจะทำให้เด็กมีความประพฤติเสี่ยงต่อการกระทำผิด

(4) โฆษณาทางสื่อมวลชนหรือเผยแพร่ด้วยประการใด เพื่อรับเด็กหรือยกเด็กให้แก่บุคคลอื่นที่มิใช่ญาติของเด็ก เว้นแต่เป็นการกระทำ ของทางราชการหรือได้รับอนุญาตจากทางราชการแล้ว

(5) บังคับ ขู่เข็ญ ชักจูง ส่งเสริม ยินยอม หรือกระทำด้วยประการใดให้เด็กไปเป็นขอทาน เด็กเร่ร่อน หรือใช้เด็กเป็นเครื่องมือในการขอทานหรือการกระทำผิด หรือกระทำด้วยประการใดอันเป็นการแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบจากเด็ก

(6) ใช้ จ้าง หรือวานเด็กให้ทำงานหรือกระทำการอันอาจเป็นอันตรายแก่ร่างกายหรือจิตใจมีผลกระทบต่อการเจริญเติบโต หรือขัดขวางต่อพัฒนาการของเด็ก

(7) บังคับ ขู่เข็ญ ใช้ ชักจูง ยุยง ส่งเสริม หรือยินยอมให้เด็กเล่นกีฬาหรือให้กระทำการใดเพื่อแสวงหาประโยชน์ทางการค้าอันมีลักษณะเป็นการขัดขวางต่อการเจริญเติบโตหรือพัฒนาการของเด็กหรือมีลักษณะเป็นการทารุณกรรมต่อเด็ก

(8) ใช้หรือยินยอมให้เด็กเล่นการพนันไม่ว่าชนิดใดหรือเข้าไปในสถานที่เล่นการพนัน สถานค้าประเวณี หรือสถานที่ที่ห้ามมิให้เด็กเข้า

(9) บังคับ ขู่เข็ญ ใช้ ชักจูง ยุยง ส่งเสริม หรือยินยอมให้เด็กแสดงหรือกระทำการอันมีลักษณะลามกอนาจาร ไม่ว่าจะเป็นไปเพื่อให้ได้มาซึ่งค่าตอบแทนหรือเพื่อการใด

(10) จำหน่าย แลกเปลี่ยน หรือให้สุราหรือบุหรี่แก่เด็ก เว้นแต่การปฏิบัติทางการแพทย์ถ้าการกระทำความผิดตามวรรคหนึ่งมีโทษตามกฎหมายอื่นที่หนักกว่าก็ให้ลงโทษตามกฎหมายนั้น

มาตรา 78 ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 26 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามเดือน หรือปรับไม่เกินสามหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

7. พระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัว และวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2553

ศาลเยาวชนและครอบครัว มีหลักการ คือ มีอำนาจหน้าที่พิจารณาพิพากษา และไกล่เกลี่ยคดีไปพร้อม ๆ กัน การดำ เนินคดีเด็กและเยาวชนกระทำ ผิดจะคำนึงถึง “สวัสดิภาพ” และ “อนาคต” ของเด็กและเยาวชน ให้ได้รับการอบรมสั่งสอนและสามารถกลับตัวเป็นพลเมืองดียิ่งกว่าการลงโทษให้เข็ดหลาบ

ประกาศราชกิจจานุเบกษา เล่ม 127 ตอนที่ 72 ก 22 พฤศจิกายน 2553

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่ปัจจุบันได้มีการแยกศาลยุติธรรมออกจากกระทรวงยุติธรรม โดยมีสำนักงานศาลยุติธรรมเป็นหน่วยธุรการของศาลยุติธรรมที่เป็นอิสระและกรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน เป็นหน่วยงานในสังกัดกระทรวงยุติธรรม สมควรปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัวให้สอดคล้องกับอำนาจหน้าที่และโครงสร้างใหม่ ประกอบกับสมควรปรับปรุงในส่วนที่เกี่ยวกับการให้ความคุ้มครองสิทธิสวัสดิภาพ และวิธีปฏิบัติต่อเด็ก เยาวชน สตรี และบุคคลในครอบครัว รวมทั้งในส่วนของกระบวนการพิจารณาคดีของศาลเยาวชนและครอบครัว เพื่อให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญ อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กและอนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบ จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้

หมวด 1 บททั่วไป

มาตรา 4 ในพระราชบัญญัตินี้

“เด็ก” หมายความว่า บุคคลอายุยังไม่เกินสิบห้าปีบริบูรณ์

“เยาวชน” หมายความว่า บุคคลอายุเกินสิบห้าปีบริบูรณ์ แต่ยังไม่ถึงสิบแปดปีบริบูรณ์

“คดีเยาวชนและครอบครัว” หมายความว่า คดีที่ศาลเยาวชนและครอบครัวมีอำนาจพิจารณาพิพากษาตามพระราชบัญญัตินี้

มาตรา 5 คดีอาญาที่มีข้อหาว่าเด็กหรือเยาวชนกระทำความผิด ให้ถืออายุเด็กหรือเยาวชนนั้นในวันที่กระทำความผิดได้เกิดขึ้น

หมวด 2 ศาลเยาวชนและครอบครัว

มาตรา 10 ศาลเยาวชนและครอบครัวมีอำนาจพิจารณาพิพากษาหรือมีคำสั่งในคดีดังต่อไปนี้

(1) คดีอาญาที่มีข้อหาว่าเด็กหรือเยาวชนกระทำความผิด

(2) คดีอาญาที่ศาลซึ่งมีอำนาจพิจารณาคดีธรรมดาได้โอนมาตามมาตรา 97

วรรคหนึ่ง

(3) คดีครอบครัว

(4) คดีคุ้มครองสวัสดิภาพ

(5) คดีอื่นที่มีกฎหมายบัญญัติให้เป็นอำนาจหน้าที่ของศาลเยาวชนและครอบครัว

มาตรา 19 อธิบดีผู้พิพากษาศาลเยาวชนและครอบครัวกลางเป็น ผู้รับผิดชอบงานของศาลเยาวชนและครอบครัวทั่วราชอาณาจักร โดยให้มีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับอธิบดีผู้พิพากษาศาลชั้นต้นและ อธิบดีผู้พิพากษาตามที่บัญญัติไว้ในพระธรรมนูญศาลยุติธรรม

หมวด 3 สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน

มาตรา 42 ทัณฑ์ที่จะลงแก่เด็กหรือเยาวชนซึ่งอยู่ในความควบคุมของสถานพินิจ ให้มีดังต่อไปนี้

(1) เข้าแผนฟื้นฟูพิเศษเพื่อปรับพฤติกรรม

(2) ตัดสิทธิประโยชน์และความสะดวกที่สถานพินิจอำนวยให้บางประการ

มาตรา 43 ให้มีคณะกรรมการสหวิชาชีพประจำสถานพินิจ ประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิ

ในวิชาชีพด้านจิตวิทยา สังคมสงเคราะห์ สาธารณสุข และการศึกษา ด้านละหนึ่งคนมีหน้าที่ให้

ข้อเสนอแนะต่อผู้อำนวยการสถานพินิจในกรณี ดังต่อไปนี้

(1) การจำแนกเด็กและเยาวชน

(2) การแก้ไขบำบัดฟื้นฟูเด็กหรือเยาวชนแต่ละราย

(3) หน้าที่อื่นตามพระราชบัญญัตินี้

คณะกรรมการสหวิชาชีพอย่างน้อยกึ่งหนึ่งต้องไม่เป็นเจ้าหน้าที่ของสถานพินิจและในแต่ละสถานพินิจอาจมีคณะกรรมการสหวิชาชีพหลายคณะก็ได้

คุณสมบัติ ลักษณะต้องห้าม การแต่งตั้ง การปฏิบัติหน้าที่ และการพ้นจากตำแหน่งของ

คณะกรรมการสหวิชาชีพให้เป็นไปตามระเบียบที่รัฐมนตรีกำหนด

ในการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการสหวิชาชีพที่ไม่ใช่เจ้าหน้าที่สถานพินิจ ให้ได้รับค่าป่วยการ ค่าพาหนะเดินทาง ค่าเช่าที่พัก และค่าตอบแทนอย่างอื่นตามระเบียบที่รัฐมนตรีกำหนด โดยความเห็นชอบจากกระทรวงการคลัง

หมวด 7 มาตรการพิเศษแทนการดำเนินคดีอาญา

มาตรา 86 ในคดีที่เด็กหรือเยาวชนต้องหาว่ากระทำความผิดอาญาซึ่งมีอัตราโทษอย่างสูง

ตามที่กฎหมายกำหนดไว้ให้จำคุกไม่เกินห้าปี ไม่ว่าจะมีโทษปรับด้วยหรือไม่ก็ตาม ถ้าปรากฏว่าเด็กหรือเยาวชนไม่เคยได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ หากเด็กหรือเยาวชนสำนึกในการกระทำก่อนฟ้องคดี เมื่อคำนึงถึงอายุ ประวัติ ความประพฤติ สติปัญญา การศึกษาอบรม สภาพร่างกาย สภาพจิต อาชีพ ฐานะ และเหตุแห่งการกระทำความผิดแล้ว หากผู้อำนวยการสถานพินิจพิจารณาเห็นว่าเด็กหรือเยาวชนนั้นอาจกลับตนเป็นคนดีได้โดยไม่ต้องฟ้อง ให้จัดทำแผนแก้ไขบำบัดฟื้นฟูให้เด็กหรือเยาวชนปฏิบัติและหากจำเป็นเพื่อประโยชน์ในการคุ้มครองเด็กหรือเยาวชนอาจกำหนดให้บิดา มารดา ผู้ปกครอง บุคคลหรือผู้แทนองค์การซึ่งเด็กหรือเยาวชนอาศัยอยู่ด้วยปฏิบัติด้วยก็ได้ ทั้งนี้ เพื่อแก้ไขปรับเปลี่ยนความประพฤติของเด็กหรือเยาวชน บรรเทา ทดแทน หรือชดเชยความเสียหายแก่ผู้เสียหายหรือเพื่อให้เกิดความปลอดภัยแก่ชุมชนและสังคม แล้วเสนอความเห็นประกอบแผนแก้ไขบำบัดฟื้นฟูต่อพนักงานอัยการเพื่อพิจารณา ทั้งนี้ การจัดทำแผนแก้ไขบำบัดฟื้นฟูต้องได้รับความยินยอมจากผู้เสียหายและเด็กหรือเยาวชนด้วย

เมื่อพนักงานอัยการได้รับแผนแก้ไขบำบัดฟื้นฟูและความเห็นของผู้อำนวยการสถานพินิจ

ตามวรรคหนึ่งแล้ว หากมีข้อสงสัยอาจสอบถามผู้อำนวยการสถานพินิจหรือบุคคลที่เกี่ยวข้องเพื่อ

ประกอบการพิจารณาได้ ถ้าพนักงานอัยการ ไม่เห็นชอบด้วยกับแผนแก้ไขบำบัดฟื้นฟู ให้สั่งแก้ไขแผนแก้ไขบำบัดฟื้นฟูหรือสั่งดำเนินคดีต่อไปและให้ผู้อำนวยการสถานพินิจแจ้งคำสั่งของพนักงานอัยการ ให้พนักงานสอบสวนและผู้ที่เกี่ยวข้องทราบ หากพนักงานอัยการเห็นว่าแผนแก้ไขบำบัดฟื้นฟูได้เป็นไปเพื่อประโยชน์สูงสุดของเด็กหรือเยาวชนแล้วเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมให้พนักงานอัยการเห็นชอบกับแผนดังกล่าว และให้มีการดำเนินการตามแผนแก้ไขบำบัดฟื้นฟูดังกล่าวได้ทันทีพร้อมทั้งให้รายงานให้ศาลทราบ

ในกรณีที่ปรากฏข้อเท็จจริงแก่ศาลว่ากระบวนการจัดทำแผนแก้ไขบำบัดฟื้นฟูนั้นไม่ชอบด้วยกฎหมาย ให้ศาลพิจารณาสั่งตามที่เห็นสมควร

ศาลต้องมีคำสั่งตามวรรคสามภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับรายงาน ทั้งนี้ ให้ประธานศาลฎีกาโดยความเห็นชอบของที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาออกข้อกำหนดเกี่ยวกับแนวทางในการดำเนินการของศาลด้วย

แผนแก้ไขบำบัดฟื้นฟูตามมาตรานี้ต้องได้รับความยินยอมจากผู้เสียหายและเด็กหรือเยาวชนด้วย

(พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัว และวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534

มาตรา 63 ในกรณีที่เด็กหรือเยาวชนต้องหาว่ากระทำ ความผิด เมื่อผู้อำนวยการสถานพินิจพิจารณาโดยคำนึงถึงอายุ ประวัติ ความประพฤติ สติปัญญา การศึกษาอบรม สุขภาพ ภาวะแห่งจิต นิสัย อาชีพ ฐานะ ตลอดจนสิ่งแวดล้อมเกี่ยวกับเด็กหรือเยาวชนและพฤติการณ์ต่างๆ แห่งคดีแล้วเห็นว่าเด็กหรือเยาวชนอาจกลับตนเป็นคนดีได้โดยไม่ต้องฟ้อง และเด็กหรือเยาวชนนั้นยินยอมที่จะอยู่ในความควบคุมของสถานพินิจด้วยแล้ว ให้ผู้อำนวยการสถานพินิจแจ้งความเห็นไปยังพนักงานอัยการ ถ้าพนักงานอัยการเห็นชอบด้วย ให้มีอำนาจสั่งไม่ฟ้องเด็กหรือเยาวชนนั้นได้ คำสั่งไม่ฟ้องของพนักงานอัยการนั้นให้เป็นที่สุด

การควบคุมเด็กหรือเยาวชนในสถานพินิจตามวรรคหนึ่ง ให้มีกำหนดเวลาตามที่ผู้อำนวยการสถานพินิจเห็นสมควร แต่ต้องไม่เกินสองปี

บทบัญญัติมาตรานี้มิให้ใช้บังคับแก่การกระทำความผิดอาญาที่มีอัตราโทษอย่างสูงตามที่กฎหมายกำหนดไว้ให้จำคุกเกินกว่าห้าปีขึ้นไป)

มาตรา 90 เมื่อมีการฟ้องคดีต่อศาลว่าเด็กหรือเยาวชนกระทำความผิดอาญาซึ่งมีอัตราโทษ

อย่างสูงตามที่กฎหมายกำหนดไว้ให้จำคุกไม่เกินยี่สิบปี ไม่ว่าจะมีโทษปรับด้วยหรือไม่ก็ตาม ถ้าปรากฏว่าเด็กหรือเยาวชนไม่เคยได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกมาก่อน เว้นแต่เป็นความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ ก่อนมีคำพิพากษา หากเด็กหรือเยาวชนสำนึกในการกระทำและผู้เสียหายยินยอมและโจทก์ไม่คัดค้าน เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าพฤติการณ์แห่งคดีไม่เป็นภัยร้ายแรงต่อสังคมเกินสมควร และศาลเห็นว่าเด็กหรือเยาวชนอาจกลับตนเป็นคนดีได้ และผู้เสียหายอาจได้รับการชดเชยเยียวยาตามสมควรหากนำวิธีจัดทำแผนแก้ไขบำบัดฟื้นฟู ซึ่งเป็นประโยชน์ต่ออนาคตของเด็กหรือเยาวชนและต่อผู้เสียหายมากกว่าการพิจารณาพิพากษา ให้ศาลมีคำสั่งให้ผู้อำนวยการสถานพินิจหรือบุคคลที่ศาลเห็นสมควรจัดให้มีการดำเนินการเพื่อจัดทำแผนดังกล่าว โดยมีเงื่อนไขให้เด็กหรือเยาวชน บิดา มารดา ผู้ปกครอง บุคคลหรือองค์การซึ่งเด็กหรือเยาวชนอาศัยอยู่ด้วยปฏิบัติ แล้วเสนอต่อศาลเพื่อพิจารณาภายในสามสิบวันนับแต่ที่ศาลมีคำสั่ง หากศาลเห็นชอบด้วยกับแผนแก้ไขบำบัดฟื้นฟู ให้ดำเนินการตามนั้นและให้มีคำสั่งจำหน่ายคดีไว้ชั่วคราว หากศาลไม่เห็นชอบ ให้ดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไป

หมวด 9 การฟ้องคดีอาญา

มาตรา 99 ห้ามมิให้ผู้เสียหายฟ้องคดีอาญาซึ่งมีข้อหาว่าเด็กหรือเยาวชนกระทำความผิด

ต่อศาลเยาวชนและครอบครัว เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากผู้อำนวยการสถานพินิจที่เด็กหรือเยาวชนนั้นอยู่ในเขตอำนาจ

เมื่อผู้อำนวยการสถานพินิจได้รับการร้องขอของผู้เสียหายที่จะฟ้องคดีอาญาตามวรรคหนึ่งแล้วให้ผู้อำนวยการสถานพินิจดำเนินการสืบสวนและสอบสวนว่าข้อกล่าวหานั้นมีมูลสมควรอนุญาตให้ผู้เสียหายฟ้องหรือไม่ แล้วแจ้งให้ผู้เสียหายทราบว่าอนุญาตให้ฟ้องหรือไม่อนุญาตให้ฟ้อง

ในกรณีที่ผู้อำนวยการสถานพินิจไม่อนุญาตให้ฟ้อง ผู้เสียหายจะร้องต่อศาลขอให้สั่งอนุญาตก็ได้ ในกรณีเช่นว่านี้ ให้ศาลเรียกผู้อำนวยการสถานพินิจมาสอบถามแล้วสั่งตามที่เห็นสมควร คำสั่งศาลให้เป็นที่สุด

เมื่อศาลเยาวชนและครอบครัวได้ไต่สวนมูลฟ้องและมีคำสั่งประทับรับฟ้องของผู้เสียหายแล้ว ให้ผู้อำนวยการสถานพินิจดำเนินการตามมาตรา 82 ตามควรแก่กรณี

8. ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

พรบ.แก้ไขเพิ่มเติมป.วิอาญา ฉบับที่ 22(2547)

ประกาศราชกิจจานุเบกษา เล่ม 121 ตอนที่ 79 ก 23 ธันวาคม 2547

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยได้บัญญัติรับรองและคุ้มครองสิทธิของผู้ถูกจับผู้ต้องหา และจำเลยในคดีอาญาไว้หลายประการ อาทิเช่น การจับกุมหรือคุมขังบุคคลและการค้นในที่รโหฐานจะกระทำไม่ได้ เว้นแต่มีคำสั่งหรือหมายของศาล หรือมีเหตุจำเป็นอื่น ๆ ตามที่กฎหมายบัญญัติและผู้ต้องหาและจำเลยย่อมมีสิทธิได้รับการสอบสวนหรือการพิจารณาคดีด้วยความรวดเร็ว ต่อเนื่อง และเป็นธรรม รวมทั้งมีสิทธิได้รับความช่วยเหลือจากรัฐด้วยการจัดหาทนายความให้ สมควรที่จะได้แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาให้สอดคล้องกับบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญดังกล่าว จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้

พรบ.แก้ไขเพิ่มเติมป.วิอาญา ฉบับที่ 26(2550)

ประกาศราชกิจจานุเบกษา เล่ม 124 ตอนที่ 100 ก 28 ธันวาคม 2550

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาได้กำหนดวิธีปฏิบัติในการถามปากคำ การสืบพยาน และการชี้ตัวผู้ต้องหาของผู้เสียหายหรือพยานที่เป็นเด็กอายุไม่เกินสิบแปดปี รวมถึงการสอบสวนผู้ต้องหาที่เป็นเด็กอายุไม่เกินสิบแปดปี ต้องมีนักจิตวิทยาหรือนักสังคมสงเคราะห์ บุคคลที่เด็กร้องขอ และพนักงานอัยการอยู่ร่วมด้วย โดยมุ่งหมายมิให้เด็กได้รับผลกระทบทั้งทางร่างกายและสภาวะทางจิตใจจากกระบวนการยุติธรรม แต่เนื่องจากการที่มิได้จำกัดประเภทคดีซึ่งมีความจำเป็นต้องใช้วิธีการพิเศษอย่างแท้จริงไว้ จึงทำให้การดำเนินคดีบางประเภทเป็นไปด้วยความล่าช้าโดยไม่จำเป็น ประกอบกับการถามปากคำมีความซ้ำซ้อนในแต่ละขั้นตอน ทำให้ผู้เสียหายหรือพยานที่เป็นเด็กได้รับผลกระทบจากกระบวนการยุติธรรมเกินสมควร ดังนั้น เพื่อให้การใช้บังคับกฎหมายเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้

มาตรา 133 ทวิ ในคดีที่มีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงตั้งแต่สามปีขึ้นไป หรือในคดีที่มีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงไม่ถึงสามปีและผู้เสียหายหรือพยานซึ่งเป็นเด็กร้องขอ หรือในคดีทำร้ายร่างกายเด็กอายุ ไม่เกินสิบแปดปี การถามปากคำเด็กไว้ในฐานะเป็นผู้เสียหายหรือพยาน ให้แยกกระทำเป็นส่วนสัดในสถานที่ที่เหมาะสมสำหรับเด็กและให้มีนักจิตวิทยาหรือนักสังคมสงเคราะห์บุคคลที่เด็กร้องขอ และพนักงานอัยการเข้าร่วมในการถามปากคำนั้นด้วย

ให้เป็นหน้าที่ของพนักงานสอบสวนที่จะต้องแจ้งให้นักจิตวิทยาหรือนักสังคมสงเคราะห์ บุคคลที่เด็กร้องขอ และพนักงานอัยการทราบ

นักจิตวิทยาหรือนักสังคมสงเคราะห์ หรือพนักงานอัยการที่เข้าร่วมในการถามปากคำอาจถูกผู้เสียหายหรือพยานซึ่งเป็นเด็กตั้งรังเกียจได้ หากมีกรณีดังกล่าวให้เปลี่ยนตัวผู้นั้น

ภายใต้บังคับแห่งมาตรา 139 การถามปากคำเด็กตามวรรคหนึ่ง ให้พนักงานสอบสวนจัดให้มีการบันทึกภาพ และเสียงการถามปากคำดังกล่าวซึ่งสามารถนำออกถ่ายทอดได้อย่างต่อเนื่องไว้เป็นพยาน

ในกรณีจำเป็นเร่งด่วนอย่างยิ่งซึ่งมีเหตุอันควรไม่อาจรอนักจิตวิทยาหรือนักสังคมสงเคราะห์ บุคคลที่เด็กร้องขอ และพนักงานอัยการเข้าร่วมในการถามปากคำพร้อมกันได้ ให้พนักงานสอบสวนถามปากคำเด็กโดยมีบุคคลใดบุคคลหนึ่งตามวรรคหนึ่งอยู่ร่วมด้วยก็ได้ แต่ต้องบันทึกเหตุที่ไม่อาจรอบุคคลอื่นไว้ในสำนวนการสอบสวน และมิให้ถือว่าการถามปากคำผู้เสียหายหรือพยานซึ่งเป็นเด็กในกรณีดังกล่าวที่ได้กระทำไปแล้วไม่ชอบด้วยกฎหมาย

(มาตรา 133 ทวิ วรรค 1,2 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ.แก้ไขเพิ่มเติมวิปอ. (ฉบับที่ 26) พ.ศ.2550)

มาตรา 133 ตรี ในกรณีที่พนักงานสอบสวนมีความจำเป็นต้องจัดให้เด็กอายุไม่เกินสิบแปดปี ในฐานะเป็นผู้เสียหายหรือพยานชี้ตัวบุคคลใด ให้พนักงานสอบสวนจัดให้มีการชี้ตัวบุคคลในสถานที่ที่เหมาะ สมและสามารถจะป้องกันมิให้บุคคลซึ่งจะถูกชี้ตัวนั้นเห็นตัวเด็กการชี้ตัวบุคคลดังกล่าวให้มีนักจิตวิทยาหรือนักสังคมสงเคราะห์ บุคคลซึ่งเด็กร้องขอ และพนักงานอัยการร่วมอยู่ด้วย และให้นำบทบัญญัติในมาตรา 133 ทวิ วรรคห้า มาใช้บังคับโดยอนุโลม

(มาตรา 133 ตรี แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ.แก้ไขเพิ่มเติมวิปอ. (ฉบับที่ 26) พ.ศ.2550)

มาตรา 134/1 ในคดีที่มีอัตราโทษประหารชีวิต หรือในคดีที่ผู้ต้องหามีอายุไม่เกินสิบแปดปีในวัน ที่พนักงานสอบสวนแจ้งข้อหา ก่อนเริ่มถามคำให้การให้พนักงานสอบสวนถามผู้ต้องหาว่ามีทนายความหรือไม่ ถ้าไม่มีให้รัฐจัดหาทนายความให้

ในคดีที่มีอัตราโทษจำคุก ก่อนเริ่มถามคำให้การให้พนักงานสอบสวนถามผู้ต้องหาว่ามีทนายความหรือไม่ ถ้าไม่มีและผู้ต้องหาต้องการทนายความ ให้รัฐจัดหาทนายความให้

การจัดหาทนายความตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสอง ให้พนักงานสอบสวนปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง และให้ทนายความที่รัฐจัดหาให้ได้รับเงินรางวัลและค่าใช้จ่ายตามระเบียบที่กระทรวงยุติธรรมกำหนดโดยได้รับความเห็นชอบจากกระทรวงการคลัง

เมื่อได้จัดหาทนายความให้แก่ผู้ต้องหาตามวรรคหนึ่ง วรรคสอง หรือวรรคสามแล้ว ในกรณีจำเป็นเร่งด่วน หากทนายความไม่อาจมาพบผู้ต้องหาได้ โดยไม่แจ้งเหตุขัดข้องให้พนักงานสอบสวนทราบหรือแจ้งแต่ไม่มาพบผู้ต้องหาภายในเวลาอันสมควร ให้พนักงานสอบสวนทำการสอบสวนผู้ต้องหาไปได้โดยไม่ต้องรอทนายความ แต่พนักงานสอบสวนต้องบันทึกเหตุนั้นไว้ในสำนวนการสอบสวนด้วย

(มาตรา 134/1 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ.แก้ไขเพิ่มเติมวิปอ. (ฉบับที่ 22) พ.ศ.2547)

มาตรา 134/2 ให้นำบทบัญญัติในมาตรา 133 ทวิ และมาตรา 133 ตรี มาใช้บังคับโดยอนุโลมแก่การสอบสวนผู้ต้องหาอายุไม่เกินสิบแปดปี

(มาตรา 134/2 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ.แก้ไขเพิ่มเติมวิปอ. (ฉบับที่ 26) พ.ศ.2550)

มาตรา 173 ในคดีที่มีอัตราโทษประหารชีวิต หรือในคดีที่จำเลยมีอายุไม่เกินสิบแปดปีในวันที่ถูกฟ้องต่อศาล ก่อนเริ่มพิจารณาให้ศาลถามจำเลยว่ามีทนายความหรือไม่ถ้าไม่มีก็ให้ศาลตั้งทนายความให้

ในคดีที่มีอัตราโทษจำคุก ก่อนเริ่มพิจารณาให้ศาลถามจำเลยว่ามีทนายความหรือไม่ ถ้าไม่มีและจำเลยต้องการทนายความ ก็ให้ศาลตั้งทนายความให้

ให้ศาลจ่ายเงินรางวัลและค่าใช้จ่ายแก่ทนายความที่ศาลตั้งตามมาตรานี้ โดยคำนึงถึงสภาพแห่งคดีและสภาวะทางเศรษฐกิจ ทั้งนี้ ตามระเบียบที่คณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรมกำหนดโดยความเห็นชอบจากกระทรวงการคลัง

(มาตรา 173 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ.แก้ไขเพิ่มเติมวิปอ. (ฉบับที่ 22) พ.ศ.2547)

การศึกษาเรื่องเด็กและเยาวชนในการกระทำความผิดทางอาญาจำเป็นต้องศึกษาทั้งทางด้านสังคม และ ทางด้านกฎหมายควบคู่กันไปด้วย ผู้เขียนจึงขอจำกัดขอบข่ายการวิเคราะห์ในประเด็นที่เกี่ยวข้อง ดังนี้


1 ความหมาย “เด็ก” และ “เยาวชน”

เนื่องจากมีความสับสนในการให้นิยามศัพท์ หรือ การกำหนดอายุขั้นต่ำ-ขั้นสูงในการรับผิดขั้นสูงของเด็กไว้ นอกจากนี้ยังมีเรื่อง “ความสามารถ” ในทางกฎหมาย หรือที่เรียกว่า “นิติภาวะ” (lawful age or sui juris) ผู้ที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ เรียกว่า “ผู้เยาว์” (minor) ซึ่งเป็นเรื่องของทางแพ่งเข้ามาเกี่ยวข้อง

สำหรับในทางอาญานั้น มี คำว่า เด็ก และ เยาวชน ส่วนในทางอื่น ๆ เช่น ทางการแพทย์ ทางประชากรศาสตร์ หรือทางอื่น ก็อาจมีนิยามความหมายแตกต่างกันออกไป ฉะนั้นเรื่องอายุ จึงเป็นเรื่องสำคัญในทางกฎหมาย เพราะเกี่ยวกับความรับผิดในทางอาญา หรือความสามารถในการทำนิติกรรมสัญญา

1.1 ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ได้ให้ความหมาย ของคำว่า "เด็ก" และ “เยาวชน” ไว้ดังนี้

เด็ก หมายถึง คนที่มีอายุยังน้อย ยังเล็ก

เด็กชาย คือ คำนำเรียกเด็กผู้ชายที่มีอายุไม่เกิน 14 ปีบริบูรณ์

เด็กหญิง คือ คำนำเรียกเด็กผู้หญิงที่มีอายุไม่เกิน 14 ปีบริบูรณ์

เยาวชน หมายถึง บุคคลที่มีอายุเกิน 14 ปีบริบูรณ์ แต่ยังไม่ถึง 18 ปีบริบูรณ์ และไม่ใช่ เป็นผู้บรรลุนิติภาวะแล้วด้วยการสมรส

1.2 ตามพระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัวพ.ศ. 2553 (มีผลใช้บังคับ 21 พฤษภาคม 2554) มาตรา 4

“เด็ก” หมายความว่า บุคคลอายุยังไม่เกิน 15 ปีบริบูรณ์

“เยาวชน” หมายความว่า บุคคลอายุเกิน 15 ปีบริบูรณ์ แต่ยังไม่ถึง 18 ปีบริบูรณ์

1.3 ตามประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ.2499 และที่แก้ไขเพิ่มเติมใหม่ (พ.ศ.2551) มาตรา 73, 74 , 75 และ มาตรา 76 ได้แบ่งเกณฑ์อายุในความรับผิดทางอาญาไว้ เป็น 4 ช่วง คือ

1. อายุยังไม่เกิน 10 ปี (ไม่ต้องรับโทษ)

2. อายุกว่า 10 ปี แต่ยังไม่เกิน 15 ปี (ไม่ต้องรับโทษ แต่ศาลมีอำนาจดำเนินการ...)

3. อายุกว่า 15 ปี แต่ต่ำกว่า 18 ปี (ถ้าศาลเห็นสมควรลงโทษให้ลดมาตราส่วนโทษลงกึ่งหนึ่ง)

4. อายุตั้งแต่ 18 ปี แต่ยังไม่เกิน 20 ปี (ถ้าศาลเห็นสมควรลดโทษลงหนึ่งในสามหรือกึ่งหนึ่งก็ได้)

1.4 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ได้บัญญัติถึงการ “บรรลุนิติภาวะ” ไว้ ดังนี้

มาตรา 19 “บุคคลย่อมพ้นจากภาวะผู้เยาว์และบรรลุนิติภาวะเมื่อมีอายุยี่สิบปีบริบูรณ์”

มาตรา 20 “ผู้เยาว์ย่อมบรรลุนิติภาวะเมื่อทำการสมรส หากการสมรสนั้น ได้ทำตามบทบัญญัติมาตรา 1448”

มาตรา 1448 “การสมรสจะทำได้ต่อเมื่อชายและหญิงมีอายุสิบเจ็ดปีบริบูรณ์แล้ว แต่ในกรณีที่มีเหตุอันสมควร ศาลอาจอนุญาตให้ทำการสมรส ก่อนนั้นได้”

มาตรา 1503 “เหตุที่จะขอให้ศาลพิพากษาเพิกถอนการสมรส เพราะเหตุว่าเป็นโมฆียะ มีเฉพาะในกรณีที่คู่สมรสทำการฝ่าฝืน มาตรา 1448 มาตรา 1505 มาตรา 1506 มาตรา 1507 และมาตรา 1509”

1.5 ตามประกาศคณะปฎิวัติ ฉบับที่ 294(พ.ศ.2515) เยาวชนหมายถึง ผู้ซึ่งอายุไม่ครบ 18 ปีบริบูรณ์ และยังไม่บรรลุนิติภาวะด้วยการแต่งงาน (นริมา, 2551, Ibid.)

1.6 ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและประสานเยาวชนแห่งชาติ พ.ศ.2521 “เยาวชน” หมายถึง บุคคลที่มีอายุไม่เกิน 25 ปี ซึ่งมีความหมายครอบคลุมความหมายของ “เด็ก” ซึ่งมีอายุไม่เกิน 18 ปีด้วย (นริมา, 2551, Ibid.)

1.7 ความหมายในระดับสากล โดย สหประชาชาติ

“เด็ก” หมายความถึงบุคคลที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี (ในอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก)

“เยาวชน” หมายถึง คนในวัยหนุ่มสาว คือ ผู้มีอายุระหว่าง 15 - 25 ปี หรือเป็นช่วงวัยหนุ่มสาว (สุภักดิ์, 2539)

1.8 ความหมายศัพท์ทางวิชาการกฎหมาย “Technical Term” มีคำที่ใช้ในทางสากลที่ใกล้เคียงกัน พอเทียบได้กับคำในภาษาไทยได้ สรุปดังนี้ (ดูใน ประหยัด, 2495)

Child หมายถึง “เด็ก”

young person หมายถึง “เยาวชน”

juvenile หมายถึง “เด็กและเยาวชน”

อย่างไรก็ตามยังมีคำศัพท์แยกย่อยต่าง ๆ ออกไป ได้แก่

คำว่า “youth” ในภาษาไทยใช้ในความหมาย “เยาวชน” หรือคนรุ่นหนุ่มสาว ได้แก่ โครงการเรือเยาวชนเอเชีย (Asian Youth อายุไม่เกิน 30 ปี)

คำว่า “adult” (โตเต็มวัย) หรือ “young” (เยาวชนหนุ่มสาว) หรือ “adolescent” (เยาวชนวัยรุ่นหนุ่มสาว) อาจใช้เป็นศัพท์ทางวิชาการ เป็นความหมายเฉพาะไป เช่น ทางประชากรศาสตร์ หรือ ทางการแพทย์

คำว่า “Teenage” (วัยรุ่นอายุ 13-19 ปี)


2 สิทธิของเด็กและเยาวชน

การพิจารณาความหมายของเด็กกระทำผิด พิจารณาแยกได้เป็นสองส่วน คือ (1) ในฐานะที่เด็กเป็นผู้กระทำผิดทางอาญา และ (2) ในฐานะที่เด็กเป็นผู้ถูกกระทำผิดอาญา หรือ เด็ก “เป็นเหยื่อ” นั่นเอง ฉะนั้นสิทธิของเด็กก็พิจารณาใน 2 มุมมองดังกล่าวเช่นกัน ในที่นี้ขอกล่าวถึง “เด็กในฐานะผู้กระทำผิดอาญา” เพียงด้านเดียว

ในประเด็นนี้ กฎหมายถือว่าเด็กมิใช่ “อาชญากร” แต่เป็นเพียง “ผู้กระทำผิด” ซึ่งเป็นนิสัยหรือพฤติการณ์ของเด็กที่อ่อนด้อยประสบการณ์ เรียกว่า “Juvenile Delinquency” หรือ อาจเรียกง่าย ๆ เป็นภาษาพูดว่า “เด็กเกเร”

ประเทศไทยได้เข้าเป็นภาคีอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กตั้งแต่วันที่ 27 มีนาคม 2535 ซึ่งเป็นมาตรฐานขั้นต่ำในการดูแลคุ้มครองเด็ก ในอนุสัญญาฯข้อ 40 เรื่อง “เด็กถูกกล่าวหา ตั้งข้อหา หรือถูกถือว่าได้ฝ่าฝืนกฎหมายอาญา” ซึ่งเป็นเรื่องมาตรการของเด็กโดยเฉพาะ ไม่ต้องอาศัยกระบวนการยุติธรรมทางอาญาปกติ

ในด้านเกี่ยวกับคดีอาญาก็จะไปอิงกับมาตรฐานขั้นต่ำของสหประชาชาติว่าด้วยกระบวนการยุติธรรมสำหรับเด็ก และเยาวชน หรือที่รู้จักกันในชื่อว่า กฎแห่งกรุงปักกิ่ง (BEIJING RULE) ปี 1985/2528

ขณะนั้นอยู่ในช่วงของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2534 มาตรา 69 บัญญัติไว้เพียงว่า “รัฐพึงสนับสนุนและส่งเสริมการพัฒนาพลเมืองของชาติโดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กและเยาวชนให้เป็นผู้มีความสมบูรณ์ทั้งทางร่างกาย จิตใจ สติปัญญา คุณธรรม และจริยธรรม” ต่อมาเมื่อมีการร่างและประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ จึงมีบทบัญญัติเกี่ยวกับเด็กและเยาวชนเพิ่มขึ้น ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540

มาตรา 53 “เด็ก เยาวชน และบุคคลในครอบครัว มีสิทธิได้รับความคุ้มครองโดยรัฐจากการใช้ความรุนแรงและการปฏิบัติอันไม่เป็นธรรม…”

มาตรา 80 “รัฐต้องคุ้มครองและพัฒนาเด็กและเยาวชน ส่งเสริมความเสมอภาคของหญิงและชาย เสริมสร้างและพัฒนาความเป็นปึกแผ่นของครอบครัว และความเข้มแข็งของชุมชน …”

ซึ่งยังไม่ถือว่าสมบูรณ์ เพราะ บทบัญญัติตามกฎหมายต่าง ๆ ยังไม่ได้แก้ไขตาม เนื่องจากต้องใช้ระยะเวลา ต่อมา ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 ก็มิได้ยกเลิกบทบัญญัติเดิมที่มีในปี 2540 ยังคงบัญญัติเกี่ยวกับเด็กในคดีอาญาไว้ใน มาตรา 52 และบัญญัติเพิ่มเติมถึง “การขจัดการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรม และสิทธิในกระบวนการยุติธรรม” ในมาตรา 30 วรรคสาม และ มาตรา 40(6)

มาตรา 30 วรรคสาม “มาตรการที่รัฐกำหนดขึ้นเพื่อขจัดอุปสรรคหรือส่งเสริมให้บุคคลสามารถใช้สิทธิและเสรีภาพได้เช่นเดียวกับบุคคลอื่น ย่อมไม่ถือเป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรม…”

มาตรา 40 “บุคคลย่อมมีสิทธิในกระบวนการยุติธรรม ดังต่อไปนี้ ...

(6) เด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ หรือผู้พิการหรือทุพพลภาพ ย่อมมีสิทธิได้รับความคุ้มครองในการดำเนินกระบวนพิจารณาคดีอย่างเหมาะสม และย่อมมีสิทธิได้รับการปฏิบัติที่เหมาะสมในคดีที่เกี่ยวกับความรุนแรงทางเพศ …”

สรุปเกี่ยวกับสิทธิของเด็กในทางอาญาคือ (อรพรรณ , มปป.)

1. การแยกกระบวนการยุติธรรมเด็กเยาวชนออกจากผู้ใหญ่

2. ใช้คำเรียก “เด็กกระทำความผิด” ไม่ใช่ อาชญากรเด็ก

3. การศึกษาสาเหตุการกระทำความผิดของเด็กหรือเยาวชนรายบุคคล

4. ใช้การแก้ไข ฟื้นฟู ไม่ใช่การลงโทษ


3 ความเป็นมาของกฎหมายเด็กและเยาวชนในประเทศไทย

กฎหมายเด็กและเยาวชนมีการถือเอาอายุเป็นเกณฑ์ความรับผิด เริ่มมาจากดำริของจอมพลป. พิบูลสงคราม ในปี พ.ศ.2482 จนกระทั่งได้ตราพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลคดีเด็กและเยาวชน พ.ศ.2494 มีการแก้ไข ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2506 หลังจากนั้นก็ได้ตราพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลคดีเด็กและเยาวชนและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2534 มีการแก้ไข ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2543 และปัจจุบันได้ตราพระราชบัญญัติศาลคดีเด็กและเยาวชน และวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2553 ซึ่งจะมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 21 พฤษภาคม 2554 เป็นต้นไป

จากการศึกษาดูจากบันทึกหมายเหตุท้ายพระราชบัญญัติจะเห็นได้ว่ามีพัฒนาการออกกฎหมายที่สอดคล้องกับสภาพสังคมที่เจริญวิวัฒนาการก้าวหน้ามาตลอด อย่างไรก็ตามข้อบกพร่องที่ได้มีปรากฏในพระราชบัญญัติฯฉบับก่อนๆ ก็ได้รับการแก้ไขในฉบับต่อ ๆ มา ทั้งนี้หลักปรัชญาของคดีเด็กและเยาวชนก็คือ ถือว่าเด็กและเยาวชนมิใช่อาชญากร ต้องได้รับการฟื้นฟูแก้ไข มิใช่การลงโทษรุนแรงแบบแก้แค้นทดแทน เพราะเด็กและเยาวชนคืออนาคตของชาติ เช่นมีข้อสังเกตว่าตามกฎหมายปัจจุบัน ปี 2553 เด็กและเยาวชนจะไม่มีโทษ “เฆี่ยน” อีกต่อไป


4 เกณฑ์อายุของเด็กและเยาวชน

1. เกณฑ์อายุ

1.1 ขั้นต่ำ: อายุต่ำกว่า 10 ปีลงมาไม่มีความผิดอาญา

1.2 ขั้นสูง: อายุไม่เกิน 18 ปีขณะกระทำความผิดอยู่ในเกณฑ์ศาลคดีเด็กฯ

แต่เดิมตามประมวลกฎหมายอาญาก่อนปี พ.ศ.2551 เกณฑ์อายุขั้นต่ำของเด็กและเยาวชนอยู่ที่ไม่เกิน 7 ปี อายุขั้นสูงอยู่ที่ไม่เกิน 17 ปี ซึ่งไม่สอดคล้องกับวุฒิภาวะ และสภาพสังคม อีกทั้งไม่สอดคล้องกับอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กซึ่งกำหนดอายุขั้นสูงไว้ที่ไม่เกิน 18 ปี

ปัทมปาณี,2545 เคยศึกษาและเสนอให้แก้ไขเกณฑ์อายุขั้นต่ำเดิม 7 ปี และเกณฑ์อายุขั้นสูง เดิม17 ปีให้สอดคล้องกับอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก ซึ่งต่อมาก็ได้มีการแก้ไขในปี 2551

อย่างไรก็ตามเรื่องอายุขั้นต่ำขั้นสูงความรับผิดในคดีอาญานี้ ยังมีข้อสังเกตเกี่ยวกับอายุที่กำหนดว่า “บรรลุนิติภาวะตามกฎหมาย” ในหลาย ๆ ประเทศกำหนดไว้แตกต่างกันมาก โดยปกติอายุมาตรฐานที่จะบรรลุนิติภาวะจะอยู่ที่ 18 – 20 ปี แต่จากการตรวจสอบข้อมูลอ้างอิงพบว่ามีหลายประเทศที่กำหนดช่วงอายุในการบรรลุนิติภาวะของบุคคลแตกต่างกันออกไป มีที่อายุต่ำกว่า 18 ปี และ อายุเกินกว่า 20 ปี ดังนี้

ประเทศ อายุที่บรรลุนิติภาวะ(ปี) หมายเหตุ

เกาะแมน (ดินแดนอาณานิคมอังกฤษ), ดินแดนอเมริกันซามัว 14 ปี 14 (ชาย),18 (หญิง)

ชิลี 15 ปี 18 (ชาย),15 (หญิง)

คีร์กีซสถาน, เติร์กเมนิสถาน, สกอตแลนด์, อุซเบกิสถาน 16 ปี

สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี, ทาจิกิสถาน 17 ปี

บาห์เรน, แคเมอรูน, ชาด, โครเอเชีย, อียิปต์, ฮอนดูรัส, เลโซโท, มาดากัสการ์, นามิเบีย, เปอร์โตริโก, สิงคโปร์, สวาซิแลนด์, รัฐมิสซิสซิปปี 21 ปี

เอลซัลวาดอร์ 25 ปี 25 (ชาย),17 (หญิง)

ที่มา http://th.wikipedia.org/wiki/

5 แนวโน้มในการกระทำผิดของเด็กและเยาวชน

เกณฑ์การกระทำผิด

1. ผิดกฎหมายอาญา

2. เป็นความผิดของเด็กโดยเฉพาะ

ปัญหาที่น่าสนใจยิ่งก็คือ การกระทำความผิดของเด็กและเยาวชนมีแนวโน้มที่เพิ่มขึ้นมาก มีจำนวนเป็นหมื่นๆ ราย อย่างเช่นในปี พ.ศ. 2544 มีจำนวน 31,448 ราย ปี พ.ศ. 2545 มีจำนวน 35,285 ราย (เพิ่มขึ้นร้อยละ12.20) ปี พ.ศ. 2546 มีจำนวน 29,915 ราย (มีอัตราลดลง) ปี พ.ศ. 2547 มีจำนวน 33,308 ราย (เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.34)ในปี พ.ศ. 2548 มีจำนวน 36,080 ราย (เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.32) ในปี พ.ศ. 2549 มีจำนวนถึง 48,218 ราย (เพิ่มขึ้นร้อยละ 33.64) ในปี พ.ศ. 2550 มีจำนวนถึง 51,128 ราย (เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.03) และในปี พ.ศ. 2551 มีจำนวนถึง 42,766 ราย (มีอัตราลดลง) เนื่องจากเด็กและเยาวชนเหล่านี้นั้นเป็นวัยที่อยู่ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อ (Transitional period) (อ้างใน ชาญคณิตและอุนิสา, 2553 จากรายงานสถิติคดีประจำปี, กลุ่มงานข้อมูลและสารสนเทศ, สำนักงานพัฒนาระบบงานยุติธรรมเด็กและเยาวชน, 2551 : 22) สรุปเพิ่มขึ้นร้อยละ 66.7 ในรอบ 10 ปี (พ.ศ. 2540-พ.ศ.2550) เกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจถึงปีละ 36,687 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 0.5 ของ GDP ในประเทศไทย (สำนักข่าวไทย,พฤศจิกายน 2549 อ้างถึงใน อนันต์,2553)

มีข้อมูลเกี่ยวกับเยาวชนไทยในเรื่องเพศอย่างน่าสนใจ ซึ่งสะท้อนถึงการเลี้ยงดูบุตรของบิดามารดา และ สภาพแวดล้อมทางสังคมไทย อันอาจนำไปสู่ปัญหาสังคมได้ในหลาย ๆ ปัญหา อันอาจรวมถึงการทำผิดอาญาด้วย คือ วัยรุ่นไทยครองแชมป์ในเรื่องต่อไปนี้

1. ยอมรับการมีคู่นอนมากกว่า 1 คน ค่าเฉลี่ย "สูงที่สุดในโลก"

คือมีร้อยละ 52 (ค่าเฉลี่ยทั่วโลกคือ ร้อยละ 34)

2. เริ่มเรียนรู้เรื่องเพศศึกษา "ช้าที่สุดในโลก"

คือเมื่ออายุ 13.5 ปี (ค่าเฉลี่ยทั่วโลกคือ 12.2 ปี)

3. มีการใช้ถุงยางอนามัยเมื่อมีเซ็กส์ครั้งแรก "น้อยที่สุดในโลก"

เพียงร้อยละ 23 (ค่าเฉลี่ยทั่วโลกคือ ร้อยละ 57)

4. พ่อแม่ไทยมีบทบาทในการสอนเรื่องเพศแก่ลูก "น้อยที่สุดในโลก"

คือร้อยละ 1 เท่านั้น (ค่าเฉลี่ยทั่วโลกคือร้อยละ 12)

(สถาบัน Durex Global Sex Survey 1999 อ้างในณัฐวุฒิ, 2553)


6 แนวคิดการบริหารงานยุติธรรมปัจจุบัน

เมื่อพิจารณาดูแนวโน้มที่เพิ่มขึ้นของสถิติการทำผิดของเด็กและเยาวชน และ ความสูญเสียทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้น นับว่าน่าเป็นห่วงยิ่ง ต้องปฏิบัติตามกระบวนการยุติธรรมอันสมควร (Due process of law) การมุ่งเน้นการควบคุมอาชญากรรมเกินสมควร (Crime control) ก็อาจเกิดปัญหาความไม่พอดี ความไม่เป็นธรรม ความอยุติธรรมได้

นริมา, 2551 ได้ศึกษามาตรการทางอาญาในการลงโทษผู้กระทำผิดตามพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ.2546 มาตรา 26(3) และ มาตรา 78 ไว้ โดยเสนอแนะว่าควรแก้ไขเพราะขัดเจตนารมณ์ในการที่ไปลงโทษจำคุกบิดามารดาหรือผู้ปกครองฯ ซึ่งเรื่องนี้ยังไม่มีการแก้ไขบทบัญญัติของกฎหมายแต่อย่างใด

ศ.ดร.คณิต ณ นคร ให้ความเห็นเกี่ยวกับกระบวนการยุติธรรมของประเทศไทยมีประเด็นที่น่าสนใจมาก คือ “กติกาของกระบวนการยุติธรรมของไทยมีการเปลี่ยนแปลง แต่ทางปฏิบัติยังไม่เปลี่ยนแปลง” ควรเน้นเรื่องหลักการนิติรัฐ ในเรื่องสิทธิของผู้ต้องหาที่ถูกจับกุมคุมขัง ปัจจุบันศาลฎีกามีคดีค้างมากถึง 3 หมื่นคดี ผู้ต้องหาถูกคุมขังโดยไม่ให้ประกันมีมากถึง 30 % ทำให้เกิดปัญหาผู้ต้องขังล้นคุก เจ้าหน้าที่ไม่เพียงพอ ซึ่งต้องมีการปล่อยชั่วคราว(ให้ประกันตัว) โดยไม่ต้องไปคุมขัง เพราะเป็นการให้โอกาสคน และเราก็ยังสามารถที่จะฟ้องเอาผิดคนได้ (คณิต, 2553 และ ปิยนุช, 2554) แสดงให้เห็นว่ากระบวนการยุติธรรมของไทยยังมีปัญหาอยู่ในทัศนะของนักกฎหมาย

นอกจากนี้ สรุปตามหลักการแนวคิดในการบริหารงานยุติธรรมควร เป็นดังนี้ (อรพรรณ , มปป., Ibid.)

1. เน้นการแก้ไข ฟื้นฟู มากกว่าการลงโทษ หรือแก้แค้นทดแทน

2. เน้นการอำนวยความยุติธรรมเชิงสมานฉันท์มากกว่าการแก้แค้นทดแทน

3. เน้นการสร้างทางเลือกใหม่ที่ไม่นำคดีเข้าสู่ระบบยุติธรรมและระบบศาลโดยไม่จำเป็น

4. ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนและประชาสังคม

5. ให้ความสำคัญกับมาตรฐานความเป็นสากลและความร่วมมือระหว่างประเทศในกระแสโลกาภิวัตน์


7 รูปแบบทางเลือก (Alternative)

รูปแบบในกระบวนการยุติธรรมในโลกสมัยใหม่ยุคโลกาภิวัตน์ ต้องมีการปรับกระบวนทรรศน์ใหม่ในการบริหารจัดการแก้ปัญหาอาชญากรรมที่เกิดขึ้น จึงมีนักคิด นักศึกษา วิจัย เสนอรูปแบบขึ้นมา ซึ่งนับว่าเป็นประโยชน์ต่อสังคมสมัยใหม่อยู่ไม่น้อย แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ก็ต้องมีการปรับแก้กฎหมายที่เกี่ยวข้องให้สอดคล้องกับหลักการทฤษฎีที่นำเสนอด้วย

Thomas Hobbes ชาวอังกฤษ เสนอแนวคิดว่า คนเกิดมาเลว คือ มีความเลวอยู่ในตัว ฉะนั้นต้องมี “กฎหมาย” ออกมาบังคับใช้ แต่ต่อมาลูกศิษย์คือ John Locke เสนอแนวคิดกลับกันว่า คนเกิดมาเป็นคนดีมาแต่เกิด ฉะนั้น เพื่อรักษาความดีนั้นเอาไว้ ต้องมี “กฎหมาย” ออกมาบังคับใช้ ฉันใดก็ฉันนั้น แนวคิดในการมองโลกย่อมแตกต่างกันไป แต่การพิจารณาว่าสิ่งใดควรไม่ควร คงมิใช่อยู่ที่อัตวิสัย (Subjective) เท่านั้น กลับต้องอยู่ที่ภาวะวิสัย (Ojective) ด้วยเป็นสำคัญ

ปัจจุบันกรมพินิจฯ ได้นำแนวคิด “ศาลวัยทีน” (Teens Court) ได้นำกระบวนการจัดการเด็กอย่างมีระบบของสถานพินิจฯในไมอามี มาปรับปรุงเพื่อใช้ดูแลเด็กและเยาวชนในเมืองไทยได้ คนที่ทำหน้าที่ในศาลทั้งหมดเป็นเยาวชน ไม่ว่าจะเป็นเสมียนศาล ลูกขุน อัยการ ตัวทนายของผู้ต้องหา ยกเว้นผู้พิพากษาตัวจริงที่นั่งอยู่ตรงกลาง ซึ่งการนำเยาวชนมาทำหน้าที่ตรงนี้ เนื่องจากเข้าใจและเป็นมิตรมากกว่า Teens Court ของไมอามีน่าจะเป็นบทเรียนให้แก่ศาลเยาวชนของไทยได้ ซึ่งสอดคล้องกับการเตรียมการใช้กฎหมายใหม่คือ พระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2553

กระบวนการจัดการเด็กอย่างมีระบบของสถานพินิจฯในไมอามี 3 แบบ คือ

1. เครื่องมือประเมินเด็กว่าอะไรคือปัจจัยเสี่ยงให้ทำผิด ทำผิดซ้ำ

2. โปรแกรมบำบัด เพื่อติดตามและเตรียมเด็กก่อนที่จะปล่อยออกไป และ

3. เครื่องมือจำแนกเด็ก โดยศาลจะต้องเข้ามามีส่วนร่วม เพื่อที่จะจำแนกเด็กออกไปอยู่ ตามความผิด (ศาลวัยทีน,29 มิ.ย. 53)

ข่าวสารเกี่ยวกับวัยรุ่นกระทำผิดอาญา ไม่ว่าจะเป็นคดีเล็กน้อย หรือคดีสำคัญอุกฉกรรจ์ มักปรากฏทำนองว่าเป็นความผิดพลาดของสังคม อาทิคดีน้องหมูแฮม บุตรชายสาวิณี ปะการะนัง ที่มีปัญหาสมาธิสั้น โมโหร้ายทำร้ายประชาชนขับรถชนเสียชีวิตหลายราย (เหตุเกิดปี 2550) หรือ ล่าสุด คดีสาวซีวิคเด็กสาวอายุ 16 ปี ขับรถเฉี่ยวชนรถตู้บนทางด่วนจนมีผู้เสียหายและเสียชีวิตหลายราย (เหตุเกิดเมื่อปลายปี 2553) หรือ คดี ทารก 2,002 ศพ ซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับการทำแท้งของหญิงสาว เหล่านี้ล้วนสะท้อนให้เห็นถึงปัญหาสังคมที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา

จากการศึกษาจากผลงานวิจัยและวิทยานิพนธ์หลายฉบับพบว่า ปัจจัยทางสังคมมีอิทธิพลต่อการกระทำผิดของเด็กและเยาวชน ไม่ว่าจะเป็นสื่อสารมวลชน ปัญหาเศรษฐกิจ ยาเสพติด การคบเพื่อนเสเพล สภาพแวดล้อมในยุคโลกาภิวัตน์ ฯลฯ เหล่านี้ ทำให้เกิดพฤติกรรมเบี่ยงเบน เกิดภาวะ “สังคมพิการ” (Social Disorganization)ได้ง่าย

สถาบันครอบครัวเป็นสิ่งสำคัญ เพราะเด็กและเยาวชนจะผูกติดอยู่กับสถาบันครอบครัว ถือเป็นสถาบันแรกที่มีความสำคัญในการสร้างรากฐานชีวิตของเด็ก แนวคิดแบบองค์รวม (Holistic) ที่มีการวิเคราะห์แบบรอบด้าน ควรนำมาใช้ ฉะนั้น รูปแบบทางเลือก ของกระบวนการยุติธรรมควรเป็นดังนี้ (อรพรรณ , มปป., Ibid.)

1. การหันเหคดีออกนอกระบบ diversion กล่าวคือ ไม่เข้าสู่กระบวนการศาลยุติธรรม

2. กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ Restorative justice โดยมีชุมชนเข้ามาร่วมพิจารณา และ ให้ผู้กระทำผิด ผู้เสียหายยอมรับ

3. การคุมความประพฤติ เป็นมาตรการป้องกัน เพื่อมิให้เกิดการกระทำผิด หรือ มีโอกาสเสี่ยงน้อย

4. มาตรการแทรกแซงระดับกลาง เป็นมาตรการป้องกันอีกแบบหนึ่ง

(1) การจำกัดบริเวณ

(2) การควบคุมโดยใช้อิเล็กโทรนิคส์ electronic monitoring

(3) การชดใช้ค่าเสียหาย

(4) การควบคุมระยะสั้น Shock Incarceration : Boot Camp

1. การฝึกอบรมในสถานควบคุม

2. การจำคุก เป็นมาตรการที่จำเป็นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

3. การกำกับดูแลแบบเข้มข้น Intensive Supervision

4. การบำบัดเชิงระบบ Multisystemic Therapy

(5) บ้าน โรงเรียน ชุมชน เพื่อน


8 ข้อควรคำนึงในการนำไปใช้

มีข้อควรคำนึงในการพิจารณานำรูปแบบกระบวนการยุติธรรมเพื่อแก้ไขปัญหาเด็กและเยาวชนกระทำผิด โดยสังเขป ดังนี้ (อรพรรณ , มปป., Ibid.)

1. เข้าใจกลุ่มเด็กเยาวชนกระทำผิด

2. วิเคราะห์สาเหตุการกระทำผิดของเด็กเยาวชน

3. กำหนดแนวทางและดำเนินการแก้ไข ฟื้นฟู

4. มาตรการป้องกันมากกว่ารอแก้ไข

5. พัฒนานวัตกรรม แนวทางใหม่ ๆ Innovation


9 อำนาจผู้อำนวยการสถานพินิจในการฟ้องเด็กหรือเยาวชน

ตามมาตรา 63 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2534 ได้เปลี่ยนแปลงแก้ไขใหม่เป็นมาตรา 86 แห่งพระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2553

“มาตรา 63 ในกรณีที่เด็กหรือเยาวชนต้องหาว่ากระทำ ความผิด เมื่อผู้อำนวยการสถานพินิจพิจารณาโดยคำนึงถึงอายุ ประวัติ ความประพฤติ สติปัญญา การศึกษาอบรม สุขภาพ ภาวะแห่งจิต นิสัย อาชีพ ฐานะ ตลอดจนสิ่งแวดล้อมเกี่ยวกับเด็กหรือเยาวชนและพฤติการณ์ต่างๆ แห่งคดีแล้วเห็นว่าเด็กหรือเยาวชนอาจกลับตนเป็นคนดีได้โดยไม่ต้องฟ้อง และเด็กหรือเยาวชนนั้นยินยอมที่จะอยู่ในความควบคุมของสถานพินิจด้วยแล้ว ให้ผู้อำนวยการสถานพินิจแจ้งความเห็นไปยังพนักงานอัยการ ถ้าพนักงานอัยการเห็นชอบด้วย ให้มีอำนาจสั่งไม่ฟ้องเด็กหรือเยาวชนนั้นได้ คำสั่งไม่ฟ้องของพนักงานอัยการนั้นให้เป็นที่สุด

การควบคุมเด็กหรือเยาวชนในสถานพินิจตามวรรคหนึ่ง ให้มีกำหนดเวลาตามที่ผู้อำนวยการสถานพินิจเห็นสมควร แต่ต้องไม่เกินสองปี

บทบัญญัติมาตรานี้มิให้ใช้บังคับแก่การกระทำความผิดอาญาที่มีอัตราโทษอย่างสูงตามที่กฎหมายกำหนดไว้ให้จำคุกเกินกว่าห้าปีขึ้นไป”

หลักการใหม่ตามมาตรา 86 กรณีที่ผู้อำนวยการสถานพินิจพิจารณาเห็นว่าเด็กหรือเยาวชนนั้นอาจกลับตนเป็นคนดีได้โดยไม่ต้องฟ้อง ให้จัดทำ “แผนแก้ไขบำบัดฟื้นฟูให้เด็กหรือเยาวชนปฏิบัติ…เสนอต่อพนักงานอัยการ...รายงานให้ศาลทราบ... ”

จะเห็นว่าหลักการใหม่จะค่อนข้างชัดเจนกว่าหลักการเดิม นอกจากนี้บทบาทของ สหวิชาชีพ ตามหลักการใหม่ ในมาตรา 43 จะเข้ามามีบทบาทช่วยเหลือในกระบวนการยุติธรรมของเด็กและเยาวชนมากขึ้น ซึ่งจะเป็นผลดีต่อการแก้ไขเยียวยาและพัฒนาการเด็กและเยาวชนผู้เป็นอนาคตของชาติที่มีคุณภาพต่อไป (สราวุธ, 2554)

บทสรุปและข้อเสนอแนะ

1 บทสรุป เด็กในคดีอาญามี 2 สถานะ คือ

(1) สถานะที่เป็นผู้กระทำผิดทางอาญา และ
(2) สถานะที่เป็นผู้ถูกกระทำผิดอาญา หรือ “เหยื่อ”

มีบทสรุปใน 2 ด้าน คือ ด้านสังคมอาชญาวิทยา การควบคุมอาชญากรรม และด้านกฎหมายที่บัญญัติ

สถานการณ์โลกในยุคข้อมูลข่าวสาร “โลกาภิวัตน์” ทำให้มีความเจริญทางด้านวัตถุมากขึ้น แต่ความเจริญทางด้านจิตใจไม่ทัดเทียมกัน จึงเกิดช่องว่างการพัฒนา ก่อให้เกิดผลต่อสังคม มีปัญหาสังคม มีปัญหาอาชญากรรม โดยเฉพาะปัญหาการกระทำผิดของเด็กและเยาวชนที่เพิ่มมากขึ้น การศึกษาในด้านสังคมวิทยา อาชญาวิทยา ควบคู่ไปกับการศึกษาด้านกฎหมาย จึงเป็นสิ่งจำเป็น เพื่อให้ทันต่อกระแสโลก อาทิเช่น การให้ความสำคัญกับสถาบันครอบครัว การมองแบบองค์รวม (Holistic) การเพิ่มบทบาทของ “สหวิชาชีพ” หรือ การนำกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ (Restorative Justice) มาใช้ในการพิจารณาคดีเด็กและเยาวชนกระทำผิด ซึ่งเป็นการแก้ไขฟื้นฟู (Rehabilitation) อันเป็นการใช้วิธีการแก้ไขปัญหาเด็กและเยาวชนกระทำผิดโดยวิธี หันเหคดีออกจากกระบวนการยุติธรรม (Diversion) เพราะเด็กไม่ใช่ “อาชญากร” แต่เด็กเป็นกำลังสำคัญของชาติในอนาคต หรือ การเข้มงวดใช้มาตรการควบคุมป้องกัน (Prevention) อาทิ ข้อเสนอของกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ที่เสนอให้เอาใจใส่ดูแลเด็กเยาวชน จำกัดเวลาในการออกนอกบ้านโดยไม่มีเหตุจำเป็น เป็นต้น

อย่างไรก็ตามในด้านกฎหมาย แนวโน้มสถานการณ์ด้านสิทธิของเด็กในประเทศไทยเริ่มดีขึ้นเป็นลำดับ เป็นมาตรฐานสากลมากขึ้น สังเกตได้จากการตรากฎหมายใหม่ หรือการแก้ไขกฎหมายต่าง ๆ ขึ้นหลายสิบฉบับ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของเด็กและเยาวชนมากขึ้น ข้อเสนอแนะข้อทักท้วงของนักวิชาการรวมทั้งนักศึกษาหลายกรณี ได้รับการพิจารณาและมีการนำไปเป็นแนวทางในการแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้อง อาทิ เช่น การแก้ไขพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2534 ในหลาย ๆ มาตรา โดยเฉพาะ มาตรา 63 มาตรา 26(3) มาตรา 78 และมีการบัญญัติใหม่เป็น “พระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2553” ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ในเร็ววันนี้ (ตั้งแต่ 21 พฤษภาคม 2554 เป็นต้นไป) หรือ การแก้ไขอายุขั้นสูงของเยาวชนในการกระทำผิดทางอาญาเป็น “18 ปี” เป็นต้น


กฎหมายใหม่ที่สำคัญที่มีผลบังคับใช้แล้วในรอบ 14 ปีที่ผ่านมา ตั้งแต่ปี พ.ศ.2539 - 2553

1.พระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2553.
2.พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 20 และ 21) พ.ศ.2550 และ 2551
3.พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ 22, 25, 26 และ 28) พ.ศ.2547, 2550, 2550 และ 2551
4.พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ.2551
5.พระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ.2551
6.พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ.2550
7.พระราชบัญญัติส่งเสริมการพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ พ.ศ.2550
8.พระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2550
9.พระราชบัญญัติสุขภาพจิต พ.ศ.2550
10.พระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ.2546
11.พระราชบัญญัติคุ้มครองพยาน พ.ศ.2546
12.พระราชบัญญัติส่งเสริมการจัดการสวัสดิการสังคม พ.ศ.2546
13.พระราชบัญญัติค่าตอบแทนผู้เสียหายฯ ในคดีอาญาฯ พ.ศ.2544
14.พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปราบการฟอกเงิน พ.ศ.2542
15.พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณี พ.ศ.2539

2 ข้อเสนอแนะ

1. การต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามกระบวนการยุติธรรมอันสมควร (Due process of law) เป็นสิ่งจำเป็น ไม่ควรมุ่งเน้นการควบคุมอาชญากรรม (Crime control) เพียงอย่างเดียว

2. สถาบันครอบครัวเป็นสิ่งสำคัญ เพราะเป็นสถาบันแรกที่สำคัญในการสร้างรากฐานของชีวิต ควรมีมาตรการในการส่งเสริมพัฒนา

3. กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ (Restorative Justice) การหันเหคดีออกนอกระบบศาล (Diversion) ศาลวัยทีน (Teens Court) แนวคิดแบบองค์รวม (Holistic) ควรนำมาพิจารณาปรับใช้

4. การฟื้นฟูเยียวยาเด็กและเยาวชนที่กระทำผิดอาญา เป็นสิ่งสำคัญ เพราะ เด็กและเยาวชนคืออนาคตของชาติ การพัฒนาแก้ไขเยียวเด็กให้มีคุณภาพ จักเป็นกำลังอันสำคัญในการพัฒนาของประเทศต่อไป.

บรรณานุกรม

กฎบัตรสหประชาชาติ

กฎอันเป็นมาตรฐานขั้นต่ำของสหประชาชาติ ว่าด้วยการบริหารงานยุติธรรมเกี่ยวแก่คดีเด็กและเยาวชน (กฎแห่งกรุงปักกิ่ง - BEIJING RULE) 1985/2528 [Online], Available URL :  http://www.nan-ju.ago.go.th/document/beijing.doc

ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (the Universal Declaration of Human Rights) 1948/2491

ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิเด็กและเยาวชน 1955/2498

อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก(Convention on the Rights of the Child : CRC) 1989/2532

 

กฎหมาย ระเบียบ

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550

คำแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 2551

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

ประมวลกฎหมายอาญา

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

พระราชบัญญัติส่งเสริมและประสานเยาวชนแห่งชาติ พ.ศ.2521

พระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2553

พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2534

พระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ.2546

ประกาศคณะปฎิวัติ ฉบับที่ 294(พ.ศ.2515)

ระเบียบสำนักงานอัยการสูงสุดว่าด้วยการคุ้มครองเด็กในคดีอาญา พ.ศ. 2543

 

รายงานการวิจัย

ชาญคณิต กฤตยา สุริยะมณี และอุนิสา เลิศโตมรสกุล. “การกระทำผิดซ้ำของเด็กและเยาวชนในคดีความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ในประเทศไทย : แนวทางในการป้องกันและแก้ไขโดยอาศัยปัจจัยที่เป็นตัวทำนายทางด้านอาชญาวิทยา. รายงานการวิจัยคณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล, มกราคม 2553 [Online], Available URL :  www.oja.go.th/doc/Lists/doc1/Attachments/431/บทสรุปผู้บริหาร.doc

เรืองชัย  บุญศักดิ์. “การศึกษาการกระทำความผิดของเยาวชนในจังหวัดนครราชสีมา.” รายงานการวิจัยเสนอสภาสถาบันราชภัฏ, 2538

อนันต์  จันทรโอภากร. “ความรับผิดในความเสียหายของบิดา มารดา หรือผู้มีหน้าที่ดูแลต่อการกระทำผิดของเด็กและเยาวชน.” สถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ได้รับทุนสนับสนุนจากสำนักงานกิจการยุติธรรม), 2553 [Online], Available URL :  http://www.oja.go.th/doc/Lists/doc1/DispForm.aspx?ID=464&Source=http%3A%2F%2Fwww%2Eoja%2Ego%2Eth%2Fdoc%2FLists%2Fdoc1%2FAllItems%2Easpx

 

 

วิทยานิพนธ์

            ขวัญพัฒน์  ธนะธรรมนิตย์. “การลงโทษทางอาญา : ศึกษากรณีความเหมาะสมในการลงโทษเด็กกระทำความผิด.” วิทยานิพนธ์ นิติศาสตร์มหาบัณฑิต จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย, 2551

งามจิต  ใจตรง. “แนวทางการพัฒนาเด็กและเยาวชนของศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนเขต 4 จังหวัดขอนแก่น.” วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต(พัฒนาสังคม) มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2551

            นริมา ปิยปัทมกานต์. “มาตรการทางอาญาในการลงโทษผู้กระทำความผิดตามมาตรา 26(3)ของพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ.2546.” วิทยานิพนธ์ นิติศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 2551

นัฏชนก  หลักดี.ผลการดำเนินงานตามกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์กับเด็กและเยาวชนที่กระทำผิดทางอาญาของสถานพินิจและคุ้มครองเด็ก จังหวัดเชียงใหม่.การค้นคว้าแบบอิสระรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2552

            นันทิพัฒน์  บุญทวี. "ปัญหาการรอการลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา." วิทยานิพนธ์ นิติศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 2550

เบ็ญจรัตน์ จริยธาราสิทธิ์. “ยุทธศาสตร์การกันผู้กระทำผิดที่เป็นเด็กและเยาวชนออกจากคดีอาญา ตามบทบาทของผู้พิพากษาสมทบ.” วิทยานิพนธ์ ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขายุทธศาสตร์การพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง, 2550

            ประหยัด  สมานมิตร. ปัญหาเด็กกระทำผิดและวิธีปฏิบัติต่อเด็กกระทำผิดในประเทศไทย.” วิทยานิพนธ์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2495

ปัทมปาณี  พลวัน. ความรับผิดทางอาญา : ศึกษากรณีเกณฑ์อายุขั้นต่ำและขั้นสูงของเด็กและเยาวชน.” วิทยานิพนธ์ นิติศาสตร์มหาบัณฑิต จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย, 2545

            พรรณกรณ์  พรหมเพ็ญ. ปัญหาการดำเนินคดีอาญาตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2534 ที่มีผลกระทบต่อสิทธิเสรีภาพของเด็กและเยาวชน.”  วิทยานิพนธ์ นิติศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 2548

พิมลมาศ  ศิลานุภาพ. การนำมาตรการในกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์มาใช้แก้ไขปัญหาเด็กและเยาวชนที่กระทำผิด.” วิทยานิพนธ์ นิติศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 2546

วัชราภรณ์  พิมพ์จุฬา. ปัญหาบุคลากรและการดำเนินคดีเด็กและเยาวชนที่กระทำผิดของศาลเยาวชนและครอบครัว.” วิทยานิพนธ์ นิติศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 2547

สุณีย์  กัลป์ยะจิตร. “การวิเคราะห์สาเหตุการมีพฤติกรรมเบี่ยงเบนของเยาวชนในยุคโลกาภิวัตน์.” วิทยานิพนธ์ ดุษฎีบัณฑิต(อาชญาวิทยา การบริหารงานยุติธรรมและสังคม) จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย, 2546

สุวาทินี วงษ์อาทิตย์. “สาเหตุการกระทำผิดของเด็กและเยาวชนหญิงในลักษณะความผิดเกี่ยวกับชีวิตและร่างกาย ศึกษาเฉพาะกรณีศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนหญิงบ้านปรานี.” สารนิพนธ์ ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารงานยุติธรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2552

อดิศร  ตรีเนตร. “อำนาจของผู้อำนวยการสถานพินิจในการทำความเห็นไม่ฟ้องคดีอาญาที่เด็กหรือเยาวชนกระทำผิด.” วิทยานิพนธ์ นิติศาสตร์มหาบัณฑิต จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย, 2543

            อุ้มพร  คำพิทักษ์. “การคุ้มครองเด็กและเยาวชนในกรณีที่ตกเป็นผู้เสียหายในความผิดอาญา : ศึกษาอำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานภายได้พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวฯ.” วิทยานิพนธ์ นิติศาสตร์มหาบัณฑิต จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย, 2540

โอฬาร  เอี่ยมประภาส. “ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการกระทำผิดของเด็กและเยาวชน.” วิทยานิพนธ์ รัฐศาสตร์มหาบัณฑิต(สังคมวิทยา) จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย, 2541

 

เอกสารวิชาการ บทความ ข่าว หนังสือพิมพ์ วารสาร

Pawin Siripraphanukul,Nada Wasi. “Fighting Unemployment during Recessions : A Review of Fiscal Policies in Theory and Pracetice.” TDRI Quarterly Review. Vol.24 No.4 Dec.2009

เกรียงศักดิ์ ธีระโกวิทขจร .“กำเนิดและพัฒนาการแนวคิดเศรษฐกิจเสรีนิยมใหม่.” 2551 [Online], Available URL :  http://kriangsakt.blogspot.com

คณิต ณ นคร. “นิติรัฐและพลเมือง : ทางออกประเทศไทย.” ปาฐกถาพิเศษในการประชุมวิชาการระดับชาติว่าด้วยงานยุติธรรม ครั้งที่ 8 และการประชุมนิติศาตร์แห่งชาติ ครั้งที่ 7, คณบดีคณะนิติศาสตร์ปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์, วันพฤหัสบดีที่ 2 กันยายน 2553 [Online]., Available URL : http://www.oja.go.th/pr/Lists/new2/DispForm.aspx?ID=316&RootFolder=%2Fpr%2FLists%2Fnew2

คณิต ณ นคร. “อินไซด์ยุติธรรม.” คมชัดลึก, 10 มกราคม 2554 [Online]., Available URL : http://www.komchadluek.net/detail/20110110/85141/อินไซด์ยุติธรรมประจำวันที่10ม.ค..html

 “คำแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรี.” [Online]., Available URL : http://www.thaigov.go.th/multimedia/vana/คำแถลงนโยบาย%20.pdf

 “ซีเอสอาร์คืออะไร.” 2553 [Online]., Available URL :  http://thaicsr.blogspot.com/2006/03/blog-post_20.html

ณัฐวุฒิ บัวประทุม.  “กฎหมายและการทำงานแบบทีมสหวิชาชีพที่เกี่ยวข้องในการให้ความช่วยเหลือเด็กและสตรีที่ถูกกระทำรุนแรง.”  มูลนิธิศูนย์พิทักษ์สิทธิเด็ก ณ โรงแรมเจบี หาดใหญ่ จ.สงขลา วันที่ 14 ธ.ค. 53 [Online], Available URL : phdb.moph.go.th/ewtadmin/ewt/hss_sp/.../article_20110113105129.ppt

บุญพลอย  ตุลาพันธุ์ . “กฎหมายและการทำงานแบบทีมสหวิชาชีพที่เกี่ยวข้องในการใหความช่วยเหลือเด็กและสตรีที่ถูกกระทำรุนแรง.” สำนักพัฒนาระบบบริการสุขภาพ [Online], Available URL : 203.157.3.249/ewtadmin/ewt/hss_sp/download/.../13401215568523.ppt

ประภัสสร์ เทพชาตรี , คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ .“ระบบเศรษฐกิจโลกในปี 2050.” สยามรัฐสัปดาหวิจารณ์ ,15 - 21 มกราคม 2553, 16 กุมภาพันธ์ 2553 [Online], Available URL :  http://thepchatree.blogspot.com/2010/02/2050.html

ปรเมศวร์ กุมารบุญ, คิดตามหนังสือเก่า “ทฤษฎีคลื่นลูกที่สาม” ของอัลวิน ทอฟเลอร์.” 2550 [Online], Available URL : http://lab.tosdn.com/?p=40

ปิยะนุช ทำนุเกษตรไชย. คณิตข้องใจขังเสื้อแดงทำไม-ฟ้องเอาผิดได้.”  2 มกราคม 2554

[Online], Available URL : http://www.norsorpor.com/ข่าว/

พงษ์เทพ สันติกุล. “กระบวนทัศน์ยุติธรรมเด็กและเยาวชน.” คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2553 [Online], Available URL : www.oja.go.th/doc/Lists/.../วิธีพิจารณาคดีเด็กและเยาวชน.ppt

            พิชญ์  พงษ์สวัสดิ์. “การเมืองกับวิกฤติเศรษฐกิจ : โลกาภิวัตน์ ธรรมาภิบาล และสมัชชาคนจน.” เอกสารสรุปคำบรรยายจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย, 2547

วันชัย รุจนวงศ์.“สิทธิเด็ก.” กรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน กระทรวงยุติธรรม, มปป.  [Online], Available URL : http://www.law-webservice.com/ti01.htm

            “วิกฤติเศรษฐกิจของประเทศไทย.[Online]., Available URL :  http://www.pattanakit.net/index.php?lay=show&ac=article&Id=429669&Ntype=120

“ศาลวัยทีน.” 29 มิ.ย. 53 [Online]., Available URL :  http://campus.sanook.com/%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B8%A7%E0%B

สราวุธ เบญจกุล. “กฎหมายใหม่กับการกระทำผิดของเด็กและเยาวชน.” สำนักงานศาลยุติธรรม,  6 มกราคม 2554 [Online]., Available URL :  http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1294286048&grpid=01&catid=02

อรพรรณ  เลาหัตถพงษ์ภูริ. อาชญาวิทยาและการกระทำความผิดของเด็กและเยาวชน.” [Online], Available URL : www2.djop.moj.go.th/download2/upload/...

อิศราวดี  ชำนาญกิจ. “New World Order การจัดระเบียบโลกใหม่ ที่ผู้นำควรรู้,” 2552 [Online], Available URL : http://leadership.exteen.com/20090420/new-world-order

 

หนังสือ

ประเทือง  ธนิยผล. กฎหมายเกี่ยวกับการกระทำผิดของเด็กและเยาวชนและวิธีพิจารณาคดีครอบครัว. กรุงเทพ : มหาวิทยาลัยรามคำแหง, พิมพ์ครั้งที่ 3, 2548 [Online], Available URL : http://e-book.ram.edu/e-book/inside/html/dlbook.asp?code=LW437(S)(48086)

เสรี พงศ์พิศ. ร้อยคำที่ควรรู้. กรุงเทพ : พลังปัญญา, 2547

สุภักดิ์ อนุกูล. วันสำคัญของไทย. กรุงเทพ : ทิพยวิสุทธิ์, 2539

สุธินี  รัตนวราห และ จรัล  เล็งวิทยา. เอกสารประกอบการบรรยายกระบวนวิชากฎหมายอาญาชั้นสูง (LA796). หลักสูตรนิติศาสตร์มหาบัณฑิต ภาคพิเศษ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 2553

 

 

 

 

เว็บไซต์

เว็บไซต์กฎหมายไทย http://www.thailaws.com/

เว็บไซต์กูเกิลกูรู  http://guru.google.co.th/

เว็บไซต์ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์อิเล็กทรอนิกส์ (TKC e-Thesis) http://www.tkc.go.th/thesis/

เว็บไซต์ผู้จัดการออนไลน์ http://www.manager.co.th/

เว็บไซต์รวมลิงค์กฎหมายไทย http://www.lawamendment.go.th/totallink.asp

เว็บไซต์ระบบฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ไทย http://www.thaithesis.org/

เว็บไซต์รัฐบาลไทย http://www.thaigov.go.th/

เว็บไซต์รัฐสภาไทย http://web.parliament.go.th/

เว็บไซต์ศูนย์บริการช่วยสืบค้นข้อมูลทางวิชาการ มหาวิทยาลัยรามคำแหง http://isc.ru.ac.th/

เว็บไซต์สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) http://www.tdri.or.th/

เว็บไซต์สำนักงานกิจการยุติธรรม http://www.oja.go.th/

เว็บไซต์สำนักงานคดีเยาวชนและครอบครัว http://www.juvenile.ago.go.th/

เว็บไซต์ห้องสมุดออนไลน์ https://history.myfirstinfo.com/    

“บรรลุนิติภาวะตามกฎหมาย” ในหลาย ๆ ประเทศกำหนดไว้แตกต่างกันมาก  

ประเทศ

อายุที่บรรลุนิติภาวะ(ปี)

หมายเหตุ

เกาะแมน (ดินแดนอาณานิคมอังกฤษ), ดินแดนอเมริกันซามัว

14 ปี

14 (ชาย),

18 (หญิง)

ชิลี

 

15 ปี

18 (ชาย),

15 (หญิง)

คีร์กีซสถาน, เติร์กเมนิสถาน, สกอตแลนด์, อุซเบกิสถาน

16 ปี

 

สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี,  ทาจิกิสถาน

17 ปี

 

บาห์เรน, แคเมอรูน, ชาด, โครเอเชีย, อียิปต์, ฮอนดูรัส, เลโซโท, มาดากัสการ์, นามิเบีย, เปอร์โตริโก, สิงคโปร์, สวาซิแลนด์, รัฐมิสซิสซิปปี

21 ปี

 

เอลซัลวาดอร์

 

25 ปี

25 (ชาย),

17 (หญิง)

ที่มา http://th.wikipedia.org/wiki/

 

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท