"Clinical Tracer" เขียนยาก....จะเขียนยังไง?(1)


....ฉันเขียนบันทึกนี้เพราะมีผู้ที่เป็นคนหัวอกเดียวกัน...คอยอยู่....

 ฉันเองเคยได้เข้ารับการอบรมการเขียนรายงานของหน่วยงาน (Unit Profile)ฉบับฉลองสิริราชฯ 60ปี ตั้งแต่สมัยเป็นฉบับร่างเมื่อหลายปีก่อน ตอนนั้นฝรั่งที่ฉันเองจำชื่อไม่ได้มาช่วยอธิบาย... หนึ่งในนั้นเป็นหัวข้อของ Clinical Tracer….. 

....แล้วใครว่า Clinical Tracer เขียนยาก...อืมมม....มันก็เขียนยากจริงๆแหละ....แต่คนอ่านซิคะ อ่านได้ง่าย 

ให้เขียนเล่างานคุณภาพให้คนอ่านอ่านแล้วเข้าใจในหน้ากระดาษ A4 ไม่เกินหน้าครึ่ง...ผลงานตั้งเยอะตั้งแยะ...ทำได้ไหม?....ทำได้ไง?.....

ฉันเองเคยมาแล้ว.....ทำทุกวิธี....ทั้งทำให้ตัวหนังสือเล็ก  ทั้งตั้งขอบหน้ากระดาษแคบ...สารพัด.... 

.....ฉันยอมรับว่า พรพ. นี่เก่งสุดยอด.....ที่นำเอา Clinical Tracer มาให้คนทำคุณภาพเขียน  เพราะก่อนที่ท่านจะเขียนได้ท่านต้องมีเรื่องจริง..ข้อมูลจริง...ประมวลผลจริง...  วิเคราะห์แล้วดำเนินการทำมาแล้วจริงๆ...จึงนำมาเล่าได้ถูก...

นั่นหมายถึงต้องมีข้อมูลฉบับเต็มๆในมือ.....เชื่อมโยงเชิงระบบมาให้เรียบร้อย....ใช้เครื่องมืออะไรในขั้นตอนไหน...ผลเป็นอย่างไร...ตอบเป้าหมายองค์กรหรือสิ่งที่ต้องการอย่างไร?......ไม่งั้นคนอ่านอ่านไม่รู้เรื่อง(ในหน้าครึ่ง)...ก็คนเขียนเองยังไม่รู้เรื่องเลย.... 

ตอนเริ่มใหม่ๆตอนนั้นต่างคนต่างเขียน....คนเขียน(ที่พอรู้เรื่องหน่อย)ก็จะรู้สึกว่าอึดอัด  ยากมาก  เพราะระดับผู้นำไม่มีภาพรวมใหญ่ให้เรา....ก็ได้แต่เมาๆ...เอางานที่ทำเขียนไปแกนๆ...พอกล้อมแกล้มๆ...ส่ง... 

จะว่าไป....ผลงานของโรงพยาบาลได้จากผลงานหน่วยงานย่อยๆจริงอยู่....หากทิศทางการบริหารชัดเจนแต่แรกเริ่ม  คงไม่ยากที่จะเขียนเพราะทุกหน่วยย่อยคงทำให้ได้ตามเป้าหมายใหญ่...

แต่ที่ยากเย็นเข็ญใจเพราะปล่อยให้หน่วยเล็กๆทำกันไป   แล้วถึงมาเก็บผลงานไปรายงาน... 

...ก็ไม่เป็นไรค่ะ...ถ้าเอาvision  หรือ mission เป็นตัวตั้ง  ก็พอถูไถไปได้.... แต่ถ้าได้มีการวางแผนไว้แต่แรก  เราก็จะเขียนง่ายหน่อยค่ะ

....เราเริ่มต้นใหม่ได้ค่ะ....การเลือกเรื่องที่จะเล่าบางคราวอาจจะไม่ถึงกับต้องรอนโยบาย  เพราะเป็นงานประจำที่ทำ   เพียงทบทวนกันเป็นทีมว่าทำอะไรกันอยู่   มีอะไรดีแล้วรักษาไว้ได้ไหม   มีปัญหาอะไรทำให้ดีขึ้นได้ไหม........

สำหรับ รพ.ที่มีประสบการณ์แล้วก็จัดระบบซะเลยก็ดีค่ะ  สอดคล้องกันทั้งหน่วยเล็ก  หน่วยใหญ่...หน่วยใหญ่ก็เล่าเชิงระบบก็แล้วกัน   หน่วยเล็กก็ล้อไปตามนั้นจากงานประจำที่ทำอยู่น่ะแหละ .....จะได้เล่าเรื่องคุณภาพเป็นเรื่องเดียวกัน  เกิดปัญหางานจะได้แก้ไขทั้งระบบ  เกิดผลดีต่อภาพรวมโดยเฉพาะผู้ป่วยที่จะได้รับการดูแลเป็นทีมค่ะ

เอาเป็นว่า การเล่าลง Clinical tracer ต้องมีเนื้อหาที่จะเล่าเต็มๆไว้ในมือก่อนค่ะ....แล้วเอามาย่อความ...ขอเน้นค่ะ..ย่อความ(ไม่ใช่เรียงความนะคะ).....เล่าแต่ส่วนสำคัญค่ะ 

ที่เขียนเล่ามานี่ก็เพียงแต่เอามาประสบการณ์ที่เคยมาเล่าให้เพื่อนๆฟัง...ถ้าเข้าใจแนวคิดแล้วคงไม่ยากเกินไปค่ะ  หวังว่าเพื่อนๆคงไหวนะคะ

 

 

ขอขอบคุณ : เพื่อนร่วมวิชาชีพที่mailมาถามการเขียนให้ช่วยแชร์ค่ะ

(คุณขวัญพจน์  อวนพล

ข้อความ:
กำลังพยายามทำ Clinical  tracer  เรื่อง Postoperative  Reintubation 
พี่มีข้อแนะนำบ้างไหมคะเพราะรู้สึกงงกับการเขียนให้เป็นรูปแบบ  เริ่มตั้งแต่  บริบทเลยค่ะ)

.....จะทยอยเล่าการเขียนในแต่ละหัวข้อย่อยของ Clinical Tracer ในบันทึกถัดๆไปค่ะ.....  

คำสำคัญ (Tags): #ha#clinical tracer
หมายเลขบันทึก: 135765เขียนเมื่อ 7 ตุลาคม 2007 11:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 20:51 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สวัสดีครับ อ.ติ๋ว

เห็นด้วยอย่างยิ่งกับทัศนะนี้นะครับ   เรื่องจริง..ข้อมูลจริง...ประมวลผลจริง...  วิเคราะห์แล้วดำเนินการทำมาแล้วจริงๆ

...

ทุกอย่างไม่ยากไปกว่าการเริ่มต้นที่จะทำ.. ใช่ไหมครับ

และเชื่อว่า อ.ติ๋ว ..ทำได้และทำได้ดีเสียด้วย

....

ผมเชื่อเช่นนั้น..และเป็นกำลังใจให้เสมอ   (นะครับ)

สวัสดีค่ะ น้องแผ่นดิน

  • เขียนบันทึกนี้เพราะเข้าใจดีค่ะว่า  ผู้ที่รับผิดชอบต้องเขียนรายงานให้ผู้อื่นอ่านให้สั้นและเข้าใจนั้นยากยิ่ง...หากมีเพื่อนก็คงเบาลงหน่อยตรงที่มีเพื่อนที่เข้าใจน่ะคะ...สุดท้ายก็คือ..."งานของเรา....เราเท่านั้นที่รู้ดีที่สุด"
  • ขอบคุณที่แวะเวียนมาเยี่ยมเยียนคะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท