เยียวยาเด็กและเยาวชน (3) เกมสื่อสารแบบไร้เสียง รึเปล่า


 พี่กะปุ๋มเอ่ยให้กำลังใจผู้เยียวยาและญาติ มาถึง ณ ตรงนี้แววตาของหลายท่านสว่างไสวขึ้น ฉายส่องประกายแห่งความหวัง ประหนึ่งการยิ้มรับโอกาสแห่งการเยียวยา บนพื้นฐานว่า

"ไม่ดีก็เอาใหม่ ต้องมีสักวันที่จะดีขึ้น"


แล้วพี่ปุ๋มก็ชวนทุกคนจัดห้องใหม่เป็นรูปตัวยู ประหนึ่งอ้อมกอดอันอบอุ่นของกันและกัน ทุกคนเข้าถึงวิทยากร วิทยากรเข้าถึงทุกๆคน ที่สำคัญทุกคนเข้าถึงกันและกัน แล้ว พี่กะปุ๋มก็เอ่ยต่อเนื่องว่า

ระหว่างช่วยกันจัดห้องใหม่

 

"ให้นั่งเป็นครอบครัว"

 รู้สึกแปลกๆที่ดูเหมือนว่า มีอะไรกลางกั้นทั้งๆที่นั่งติดกัน ถึงบางอ้อกับตนเอง กำแพงบาง ๆนี้กระมังที่เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้น้อง ๆ ต้องมาเจอกันในวันนี้ พี่กะปุ๋มคุยไปเรื่อย ๆว่า

"
การที่ตนกล้าเขาจะเติบโตก็อยู่ที่พ่อ แม่ ปู่ ย่า ไม่รู้ ตา ยาย มาด้วยรึเปล่า เด็กนักเรียนเดี๋ยวนี้ การที่เขาจะเติบโตขึ้นมาได้ก็ขึ้นอยู่กับครอบครัวด้วย การที่พี่กะปุ๋มมาก็มาเพื่อบอกว่า จะทำยังไง"

 

แล้วพี่กะปุ๋มก็ถามแต่ละคนว่ามากับใคร ทุกคนถูกถามโดยทั่วถึงกัน การได้ถูกเอ่ยชื่อถามไถ่ ทำให้แต่ละคน รู้สึกตื่นเต้นเตรียมพร้อมขึ้นมา แล้วยังรู้สึกได้ว่า เขาใจชื้นกับการที่เขาเป็นคนสำคัญที่พี่กะปุ๋มทักทายด้วย ทำให้รู้ว่าใครมากับใครและใครมาคนเดียว ทุกคนคือ “คนสำคัญ”

เหมือนพี่ปุ๋มสอนตรง ๆ จะ ๆ ว่า การให้ความสำคัญ ไม่ยากเพียงแค่ เอาใจใส่ รับฟังพูดคุยอย่างจริงใจ ระลึกกับตนเองพร้อมกับฟังแว่วเสียงบรรยายของพี่กะปุ๋ม

ระหว่างเดินสอบถามรอบวง ว่าผู้เยียวยามากับใคร

"วันนี้เราจะไม่ใช่แค่นั่งฟัง เราจะเรียนรู้ด้วย ที่นี้จะให้พี่ติ๋วมาพบกับพวกเรา พี่ติ๋วจะมาพูดถึงเรื่องการสื่อสาร ว่า ในครอบครัวของเรานี่สำคัญคือการสื่อสาร การสื่อสารมี 2 แบบ แบบเป็นคำพูดและไม่เป็นคำพูดแต่พี่ติ๋วจะพาทำอะไรอย่างไรก็ลองดูค่ะ"

เมื่อพี่กะปุ๋มมอบเวทีมา ทักทายกันเล็กน้อยแบบพอคุ้น แล้วก็แบ่งผู้ร่วมประชุมเป็นกลุ่มๆประมาณ 5 กลุ่มตั้งใจ ให้ครอบครัวเดียวกันอยู่ด้วยกัน กลุ่มสุดท้ายแม้จะจำนวนน้อย แต่ก็โอเค

“กับโจทย์ที่ได้มาคือ พาเล่นเกมประมาณสามสิบนาที แต่ต้องเป็นเกมที่มีสาระ”

กับตอนที่ได้โจทย์มา ระลึกกับตนเองว่า ปัญหาโดยส่วนใหญ่เกิดขึ้นจากการไม่เปิดใจคุยกัน ทำให้รอยแยกค่อย ๆ ห่างไปเรื่อย ๆ ประเด็นการสื่อสารด้วย กาย วาจา ใจ เป็นจุดที่น่าจะสะกิดให้แต่ละท่านเอาไปทบทวนดู เชื่อว่าทุกคนทำอยู่แล้ว แต่อยากจะต้องปรับให้ทรงประสิทธิภาพมากขึ้น

พอแบ่งกลุ่มเสร็จเรียบร้อย  ทำความเข้าใจกติกา ให้แต่ละกลุ่มเข้าแถวตอนเรียงหนึ่งแล้วก็นั่งลง แจกบัตรคำให้หัวแถว แล้วให้ตั้งแต่คนที่สอง นั่งหันหลัง แล้วค่อยสะกิดมาฟังคำใบ้

 

แจกถ้อยคำง่าย ๆฟังแล้วรู้สึกดีบ้าง สุภาษิตยากๆบ้าง คำที่ยาวๆบ้าง
เมื่อการใบ้คำเริ่มขึ้น ก็มีเสียงหัวเราะคิกคักบ้าง ทำหน้างงบ้าง มีกลุ่มหนึ่ง ที่สารส่งไม่ถึงไหน พี่กะปุ๋มจึงเดินไปขอดูคำใบ้ เพราะพ่อคนแรก นั่งยิ้มอยู่เฉยๆ
พี่ปุ๋มดูแล้วเอ่ยปนขำว่า "เขาใบ้แล้วค่ะ"
พอสารเริ่มส่ง. ระหว่างส่งสารไม่มีใครลุกยืนก็ส่งกันทั้งๆที่นั่งนั่นแหละ โดยรวมแล้วก็ตื่นเต้นคึกครื้นกัน
สำรวจดูทีท่าน่าจะ ส่งสารกันเรียบร้อย เดินเข้าไปถามคนสุดท้ายของกลุ่มแรก คิดว่าคำที่เขาสื่อมาคือคำว่าอะไร

น้องหนึ่งดูอึ้งๆ ไม่รู้จะตอบอะไร ช่วยย้ำ 
ตอบมาเลยค่ะ ไม่มีผิดไม่มีถูก 


"

ไม่มีสัญญาณตอบรับจากหมายเลขที่ท่านเรียก"

 

จึงให้น้องพักไว้ก่อน อาจจะตื่นเต้น จริงๆ ไม่ต้องการให้ตอบถูกหรืออะไรแต่ให้ได้เรียนรู้เท่านั้นว่า การสื่อสารมีอุปสรรคหลายอย่าง ความคิด ความเข้าใจ หรืออคติ ก็พร้อมที่จะทำให้เราแปลสารผิด 
ถามกลุ่มถัดมา กับท่าใบ้ที่ผลักสองมือออกจากหน้าอก แล้วก็ตอบว่า

"เข็นครกขึ้นภูเขา"
เฮ้ยเป็นไปได้ไง จากท่าทางไม่น่าจะตอบถูก แต่งานนี้ไม่ได้มาเพื่อจับผิด แต่แค่สะท้อนว่า มีการลักไก่ มองในแง่ดี ก็แสดงว่าทุกคนรู้อยู่แล้วว่า

“จะสื่อสารอย่างไร ถึงจะมีประสิทธิภาพมากที่สุด แต่ยังการการตระหนักและลงมือปฏิบัติอย่างจริงจัง”

คิดอยู่ในใจว่า ถ้ามีโอกาสจุดนี้น่าจี้ แล้วจะเห็นว่า เมื่อเจอสภาวะบีบคั้น เขามักจะทำอะไรกัน

ผ่านไป กลุ่มข้าง ๆ ให้คนสุดท้ายตอบ อะ ตอบว่า

“ผมขอโทษ”

แล้วคนแรกก็ลุกขึ้นมาทำท่าทาง

เอามือดึงเส้นผม

แล้วก็แบบมือสองข้างเหมือน

ขออะไรสักอย่าง แล้วก็ เอาสองมือมาประกบที่หน้าอก

อะแน่ สุดยอดมากเลยค่ะ สื่อสารง่ายเข้าใจ บรรลุเป้าหมาย

แล้วแถวข้าง ๆ

คนแรกลุกขึ้นมาทำ ชื่อน้องเบียร์

เอามือชี้หน้าอกตนเอง

แล้วก็ทำรูปหัวใจไว้กลางอก

แล้วก็ ชี้ไปที่ผู้หญิงมีอายุตรงหน้า

พี่กะปุ๋มมองเห็นแล้วบอกว่า

“น่ารักมากขอให้ทำอีกที” แล้วขอถ่ายภาพเก็บไว้

แล้วคำตอบของกลุ่มนี้คือ “ผมรักแม่”

กลุ่มสุดท้ายที่นั่งหัวเราะอยู่ แต่ติ๋วตัดสินใจ พักไว้ก่อน กลับมาทวงการบ้านกลุ่มแรก ปรากฏว่า “เปลี่ยนคนมาตอบเป็นผู้หญิง”

อะ แสดงว่ามีกระบวนการเข้าใจผิดอะไรเกิดขึ้น เดาว่าคงมีการคุยกันแล้ว แต่อย่างที่บอกงานนี้ไม่ได้มาเพื่อจับผิด แต่แค่ชี้ อดทนเอา จึงยิ้ม ๆแล้วให้น้องคนเดิมมาตอบว่า “ผมจะเป็นคนดี” อ้าวทำไมถูก รู้ค่ะว่ากลุ่มนี้ได้คำยากเพียงแค่สะท้อนภาพบางอย่าง จึงหันกลับไปถามแม่ที่ตั้งใจมาตอบว่า “แม่จะตอบว่าอะไรนะค่ะ” ซึ่งก็คือคำตอบเดียวกัน

อะกลับมาที่กลุ่มสุดท้าย หัวเราะกันขำ ๆ แล้วก็ตอบว่า “ยิ้มสยาม” คำสั้น ไม่ยากไม่ง่ายเกินไป แปลกดีไหมค่ะ สุดท้ายติ๋วจึงสรุปว่า

“เห็นไหมค่ะ การสื่อสารเรามีได้หลากหลายแบบ หากในครอบครัวเราสื่อสารกัน ก็จะมีความเข้าอกเข้าใจและลดช่องว่างได้”

มาถึงตรงนี้จึงส่งเวทีคือ พี่กะปุ๋ม มานั่งทบทวน

เอ...ณ จุดนี้ถ้าให้ แต่ละคนได้ใคร่ครวญก่อนว่า ได้เรียนรู้อะไรจากเกมเอง คงจะดีนะคะ เชื่อว่า น่าจะได้ชัดขึ้น ไม่เป็นไรเห็นข้อบกพร่องละ และก็พอรู้ว่า ต้องพัฒนาแก้ไขอย่างไร ขอบพระคุณนะคะ ทุกคนที่ให้โอกาสได้ร่วมเรียนรู้ด้วยกัน

 

รวมลิงค์

เยียวยาเด็กและเยาวชน (1) จากต้นกล้าสู่ต้นไม้ ทำอย่างไรจะพ้นเพลี้ยหนอนและพายุ

เยียวยาเด็กและเยาวชน (2) น้ำตาของผู้เลี้ยงดูกับทุกขณะของการเริ่มใหม่

เยียวยาเด็กและเยาวชน (3) เกมสื่อสารแบบไร้เสียง รึเปล่า

หมายเลขบันทึก: 455853เขียนเมื่อ 24 สิงหาคม 2011 14:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 มิถุนายน 2012 21:09 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท