ชาวนาก็ยังเป็นกระดูกสันหลังของชาติเสมอ


ชาวนาก็ยังเป็นกระดูกสันหลังของชาติเสมอ
ชาวนาก็ยังเป็นกระดูกสันหลังของชาติเสมอ จนกว่าประเทศไทยจะกินขนมปังแทนข้าว หรือกินข้าวเป็นอาหารพิเศษจานหนึ่ง พูดอย่างนี้แล้วต้องทำให้ทุกคนให้มาพิจารณาว่าทำไมเป็นแบบนี้ ผมจะยกตัวอย่างท้องถิ่นในละแวกบ้านผมนะครับว่ามีอะไรเปลี่ยนไปกับทุ่งนาบ้าง จากที่เราวิ่งเล่นบนคันหา หาปูนา หาปลา และสัตว์น้ำในตอนเด็กๆ เมื่อก่อนปลาเคยมีเยอะแยกตอนนี้หายากครับ เพราะสารเคมีที่ใส่ในนาข้าวมากเกินไป บางครั้งเจอปลาเปื่อย

จากเมื่อก่อนนาทุกผืนจะกลายเป็นสีเขียวในฤดูทำนาและจะสีเหลืองในช่วงฤดูเก็บเกี่ยว พอจะจินตนาการกันออกนะครับ ตอนนี้ ที่นาในช่วงทำนามีที่นาร้างเกิดขึ้นเต็มไปหมด ที่บ้านก็ทำนา เชื่อไหมว่ามีคนเอานามาเสนอให้ทำโดยค่อยแบ่งปันผลผลิตกันเพราะชาวนาหลายคนคิดว่าทำนาแล้วขาดทุน ผลผลิตก็น้อย ที่ทำกันส่วนใหญ่จะทำไว้กินกันเอง หรือขายหากผลผลิตมากพอเกินหรือหนึ่ง สำหรับที่บ้าน ทำไว้กินกันเองและไว้แจกญาติพี่น้องคนที่ไม่ทำนาเวลามาเยี่ยมเยียน หรือเวลาเราไปเยี่ยมญาติ เพราะว่ากระบวนการทำนา โดยเฉพาะนาน้ำลึก ไม่ใช่กระบวนการสั้นๆ กว่าจะได้มาเป็นเม็ดข้าว ส่วนหากใครทำข้าวหว่านประเภทพวกหอมมะลิ หรือข้าวระยะสั้นสามเดือน อันนี้ไม่ต้องมีการโยกย้ายต้นกล้า อย่างข้าวน้ำลึกที่จะต้องถอนกันก่อนแล้วเอาไปปักดำกันใหม่

ปกติแล้วที่นาจะเป็นที่ลุ่มใช่ไหมครับ บางคนก็ทำข้าวที่เรียกว่าข้าวไร่ คือเอาเข้าไปปักหลุมแล้วก็หยอดเมล็ดในพื้นที่สูงในไร่ อันนี้จะใช้น้ำน้อย คือใช้น้ำตามวิถีธรรมชาติ ข้าวก็จะได้กลิ่นหอมมากๆเลยครับ แต่ที่น่าเศร้าใจอีกอย่างเนื่องจาก ชาวนาได้กลายพันธุ์ตัวเองจากกระดูกสันหลังกลายเป็นปลูกสวนยางในท้องทุ่งนา อันนี้หล่ะปัญหาเลยครับ เชื่อไหมว่าที่นาจากที่เคยเป็นที่นา ระบบนาอาจจะสูงต่ำบ้างเป็นบางที่แต่ยังไงระบบน้ำมันก็ยังไหลของมันได้ในระบบ เพราะทำนาจำเป็นต้องใช้น้ำครับ แต่พอมีสวนยางเกิดขึ้นในบางแห่ง การทำนาในบางทีก็เจอปัญหาเลยครับ ระบบการไหลของน้ำก็ไม่เหมือนเดิม คนทำนาเองก็มีปัญหา จะไปชักน้ำให้ไหลเข้ามาในนา ก็อาจจะผ่านสวนยางคนอื่น ก็มีปัญหาอีก พอจะจินตนาการออกนะครับ สวนทุ่งนาผืนใหญ่ มีชาวนาหลายร้อยคนเป็นเจ้าของ แล้วในนั้นจะมีสวยยางผุดขึ้นมา และที่อนาถกว่านั้นคือความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ของชาวนาที่ดันไปปลูกยางด้วยเพราะราคายางมีราคาสูง และด้วยว่าการดูและวัชพืชในที่นาดูแลง่ายครับ เพราะดินส่วนใหญ่เป็นดินเหนี่ยว เหมาะสำหรับน้ำขัง แต่ตัวนิสัยยางพารา มันไม่ได้ชอบในที่น้ำขังเพราะจะทำให้ระบบรากมีปัญหา จะเห็นว่าเค้าจะปลูกยางกันบริเวณชายเขา บริเวณเนินสูง ซึ่งตอนเรากรีดยางเค้าก็จะนิยมกรีดในตอนกลางคืนช่วงที่อากาศเย็นจะทำให้น้ำยางไม่แห้งและน้ำยางไหลยาวนานกว่าปกติ ซึ่งจะต่างจากการกรีดในตอนเช้าหลังจากพระอาทิตย์ขึ้น

การปลูกยางในที่นาในช่วงระยะแรกสองสามปี เหมือนว่าต้นยางจะหลอกให้คนปลูกดีใจยังไงไม่ทราบ เพราะว่าก่อนปลูกเค้าจะทำให้แถวยางมันสูงกว่าระดับคันนาก่อนเพื่อป้องกันน้ำท่วมขัง แล้วต้นยางจะเจริญดีมากๆในช่วงนั้น แต่หลังจากนั้นแล้ว การโตของต้นยางในด้านการขยายตัวของลำต้นออกทางเชิงรัศมีลำต้นมันจะมีน้ำ นั่นคือ หลังจากคุณปลูกไปแล้ว เกินสามปีไปแล้ว ลำต้นยางมันจะไม่โตแล้ว ด้วยระบบรากด้วยที่ไปทางไหนก็เจอแต่ดินเหนียว บางทีน้ำขังตายหมด นี่คือตัวอย่างชาวนากลายพันธุ์

ส่วนมามองถึงระบบสังคมกับชาวนาครับ ด้วยระบบทุนนิยมเข้าไปครอบในสังคมเรามาก จนแม้ว่าชาวนาจะเป็นกระดูกสันหลังของชาติก็ตาม แต่ลองดูซิครับ ชาวนามีเกียรติแค่ไหนในการทำนา ไม่ต้องมองไกล เด็กลูกชาวนาบางคนจบปริญญาตรีแล้วทำนาไม่เป็นแล้ว การทำนามันเป็นอาชีพที่ต้อยต่ำเกินไปสำหรับพวกเค้าเหล่านั้น แม้ว่าส่วนหนึ่งก็ยังอยากจะทำนาอยู่ก็ตาม ดังนั้นรุ่นของการทำนาก็คือมีแต่รุ่นพ่อแม่หรือรุ่นของพี่น้องที่ไม่ได้เรียนหนังสือ เหมือนกับว่าความรู้หรือว่าระดับการศึกษามันไม่เหมาะกับการทำนาแล้วหรือเปล่า เพราะสังคมมักจะวัดกันที่วัตถุนำหน้า

เอาไว้แล้ววันหนึ่ง ระบบเศรษฐกิจพังแล้วจะมีชาวนาเพิ่มขึ้นเองครับ ตอนนี้ผมก็เน้นให้ที่บ้านมีกินแบบพอเพียงไป ทำนาไว้กินเอง มีสระน้ำไว้เลี้ยงปลา ปลูกยางพาราในที่ที่ควรปลูก ปลูกผักของกินทั่วไปเสริมในสวนยาง อยากกินอะไรอยากได้อะไรก็ศึกษาแล้วก็ปลูกกันในที่ของตัวเอง ค่อยๆทำไป เตรียมไว้หากวันหนึ่งระบบเศรษฐกิจของประเทศพัง เราจะยังอยู่ได้ ส่วนคนที่ไม่เคยทำนามาก่อนก็จะได้เรียนรู้วิธีการทำนากันครับ

จริงๆแล้วต้นไม้นี่น่าสงสารก็ว่าได้ หรือจะบอกว่ามันฉลาดที่สุดก็ว่าได้นะครับ ต้นไม้ มันเดินไม่ได้ ต้นข้าวก็เหมือนกัน มันเดินไม่ได้ ปลูกให้อยู่ตรงไหนมันก็กินอยู่ตรงนั้น อย่างมากรากก็ชอนไชไปหาอาหารบริเวณนั้น แต่มันจะไม่สามารถสาวอาหารได้ไกลเกินความจริงจากข้อจำกัดทางพันธุกรรมของมัน

ที่ผมว่าต้นไม้ฉลาดก็เพราะว่า รู้จักการปรับตัวเป็นอย่างดีไม่ว่าจะอยู่ในสถานการณ์ใด แล้วจะไม่ตายในทันทีหากไม่โดนถอนรากถอนโคน ต่างจากคนเราที่วิ่งหนีปัญหาหรือสู้ปัญหา ไม่พอใจกับสิ่งที่เป็นก็ไขว่คว้ากันอย่างเอาเป็นเอาตาย เขียนนอกประเด็นหน่อยนะครับ แต่เผื่อจะมีคนเอาไปคิดเล่นๆครับ

หากสนใจวิธีการทำนาบอกมาได้ครับ จะเขียนเล่าให้ฟังครับ แม้ผมเองก็ไม่ได้ช่วยพ่อแม่ทำนามานานแล้ว แต่ยังจำทุกกระบวนการได้อย่างไม่มีวันลืม กับชีวิตในท้องทุ่ง

ขอบคุณครับ
หมายเลขบันทึก: 10891เขียนเมื่อ 28 ธันวาคม 2005 20:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 มิถุนายน 2012 14:35 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ลองแสดงความเห็นกันดูนะครับ ผมเขียนไว้ปีกว่าแล้วครับ ขอบคุณครับ

สวัสดีครับเม้ง

    เรื่องนี้ ณ วันนี้ ราคาข้าวนั้นได้สูงขึ้นแล้วนะ ก.ก. ละหลายสิบบาทเลยครับ อย่างในเยอรมันเอง ก็แพงครับ สำหรับข้าวไทยเรา ตอนนี้ผมก็กินข้าวหักนะครับ เพราะว่าราคามันลดลงกว่าเยอะครับ ข้าวสวยหรือข้าวหักท้ายที่สุดแล้วนั้น มันก็ต้องย่อยให้ละเอียดที่ปากอยู่ดีครับ การที่ราคาข้าวขึ้นก็สอนเราหลายๆ อย่างเหมือนกันนะครับ

  • ได้รู้ค่าของข้าวหัก เห็นธรรมชาติของระบบการขึ้นลงของธรรมชาติ สิ่งของปรับตัว
  • เมื่อก่อนคนทิ้งนา บางก็หันไปปลูกยาง ปลูกปาล์ม ปลูกไม้โตเร็ว ตอนนี้ราคาข้าวดีขึ้น นาที่บอกว่าเค้าไม่ทำกัน ตอนนี้ก็โดนปลุกขึ้นมาใหม่ ให้ทำนากัน
  • จริงๆ มันเป็นวัฏจักรจริงๆ นะครับ หลายๆ ที่ตื่นจากนาเคมีหันไปสู่ธรรมชาติิ ไปทำนาอินทรีย์กันมากขึ้น หันมาใช้ปุ๋ยธรรมชาติที่มีอยู่แล้ว
  • บทความนี้ผมว่า เม้งเอาไว้เตือนตัวเองและมองเห็นอะไรต่อไปอีกมากมายครับ ส่วนเรื่องชาวนาจะเป็นกรรมกรหรือไม่ มันอยู่ที่ตัวเกษตรกรเอง หากเม้งทำนาเม้งก็จะรู้เองว่าตัวเองจะเป็นอะไร
  • แต่ผมคิดว่า การได้เป็นนายจ้างของตัวเองนั้นดีกว่า เพราะมีอิสระั้ทั้งการทำ ทั้งการคิด

แล้วผมจะค่อยมาเติมในปีต่อๆ ไปครับ หากมีอะไรเพิ่มเติมครับ

ขอบคุณมากนะครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท