"ห้อง D" บทเรียนของตนเอง


นักจัดกระบวนการเรียนรู้ บางครั้งก็ต้องลองเสียงดู..ถึงจะรู้ว่า...ประสบการณ์ใหม่เป็นอย่างไร?

     [อ่าน : ไปเที่ยวงาน "ตลาดนัด กสก. ปี' 50]

     "ห้อง D"  เป็นชั้นเรียนที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อจัดการองค์ความรู้ใน 2 เนื้อหา คือ  เรื่องที่ 1  เรื่องกระบวนการจัดการความรู้ ที่นักส่งเสริมการเกษตรนำไปใช้ทำงานและจดการเรียนรู้ให้กับตนเอง  และ เรื่องที่ 2 เรื่องรูปแบบและวิธีการจัดการตนเองของนักส่งเสริมการเกษตรให้ "บันทึกและเขียนงานที่ตนเองทำและความรู้ที่ตนเองสรุปจากการลงมือทำ"

         
      "เฮฮา...ภาษา KM" จึงเป็นฉายาของ ห้อง D ที่กำหนดขึ้นมาภายใต้ข้อคิดที่ว่า "เราจะคุยเรื่องการจัดการความรู้ให้มีความสุขสรร...สนุกสนาน...กบทุกคนที่มารวมกันในห้องนี้  และชั้นเรียนแห่งนี้เป็นของทุกคน"

         
     ฉะนั้นการออกแบบจึงเริ่มต้งแต่การคัดสรรนักส่งเสริมการเกษตรที่มี "จุดเด่น" มาเดินเรื่องและชักจูงให้เห็นกรณีตัวอย่างที่ตนเองได้ทำ คือ
อาทิเช่น

         
        คนที่ 1  คุณจำลอง  พุฒิซ้อน  (สำนักงานเกษตรจังหวัดพระนครศรีอยุธยา) มีจุดเด่นเรื่อง การบูรณาการโครงการ แล้วนำการจัดการความรู้เข้าไปใส่เพื่อใช้ทำงาน
        คนที่ 2  คุณวีระยุทธ์  สมป่าสัก (สำนักงานเกษตรจังหวัดกำแพงเพชร) มีจุดเด่นเรื่อง การจัดระบบงานส่งเสริมการเกษตร แล้วนำการจัดการความรู้เข้าไปใช้เป็นเครื่องมือ
        คนที่ 3  คุณสรณพงษ์  บัวโรย (สำนักงานเกษตรจังหวัดสมุทรสงคราม) มีจุดเด่นเรื่อง กระบวนการตรวจสอบงานส่งเสริมการเกษตร ที่นำการจัดการความรู้ไปร่วมทำงานกับชุมชน
        คนที่ 4  คุณสมศักดิ์  แสภู่ (สำนักงานเกษตรจังหวัดสุพรรณบุรี) มีจุดเด่นเรื่อง การวิเคราะห์งานส่งเสริมการเกษตร แล้วใช้การจัดการความรู้เข้าไปขับเคลื่อน
        คนที่ 5  คุณพยอม  วุฒิสวัสดิ์ (สำนักงานเกษตรจังหวัดน่าน) มีจุดเด่นเรื่อง  เครือข่ายการทำงานส่งเสริมการเกษตร แล้วนำการจัดการความรู้เข้าในสวมและเชื่อมโยงสู่กัน

         
     ห้อง D ได้จัดที่นั่งแบบ "จัดเวทีเสวนา" ที่ลดระดับความต่างกันให้มากที่สุด ที่ทำให้ทุกคนในชั้นเรียนมีความสบายตัวให้มากที่สุด และสามารถใช้สื่อและอุปกรณ์เสมือนกับ "อยู่บ้านตนเอง" เช่น  จะลุกจะนั่ง,  จะคุยจะกิน,  จะพูดจะแนะนำ,  จะบอกจะเล่า เป็นต้น

         
      และในขณะที่หน้าชั้นเรียนกำลังมีการ "ชวนคุย ชวนเล่า ชวนแลกเปลี่ยน" นั้น ด้านหลังชั้นเรียนก็จะมีคนจับประเด็น  สรุปความ  บันทึกเรื่องราว  และใช้เครื่องมือเขียนเนื้อหา"
     โดยจะมีคนที่คอยป้อนประเด็นคำถาม มากระตุ้นชั้นเรียนให้มีข้อมูลและเนื้อหาออกมาจากทุกคน และคอยชวนให้ทุกคนได้มาร่วมกันสร้างบรรยากาศของ "ห้อง D"  เช่น  นำประเด็นหลัก ๆ มาแซว, นำข้อคิดมาสะกิด, เล่านิทาน เป็นต้น
      ห้องเรียน D จึงเกิดขึ้นภายใต้หลักการของ "เฮฮา...ภาษา KM" ที่ถอดบทเรียนของคนในห้องมารวมกันเป็นอัลบั้มที่ชื่อว่า "เทคนิคงานส่งเสริมการเกษตร" ที่เกิดขึ้นจากการใช้วิธีการจัดการความรู้
มาจัดกระบวนการ  แล้วใส่บทบาทของผู้อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ หรือ Facilitator เข้าไป ตั้งแต่เริ่มเปิดชั้นเรียนจนปิดชั้นเรียน
      นอกจากนี้ในห้องเรียน D มีคนมารวมกัน ประมาณ 70 คน (ดิฉันนับด้วยตนเองค่ะ) ที่สนใจมาสมัครและลงชื่อด้วยตนเอง และคนเหล่านั้นอยู่ร่วมห้องกันจนปิดชั้นเรียน

     ส่วนผลงานของเนื้อหา "เทคนิคในงานส่งเสริมการเกษตร" ได้มีการรวบรวมและจัดเก็บไว้ในเครื่องมือ 3 แบบคือ

       เครื่องมือที่ 1 Mine Map

         

       เครื่องมือที่ 2 Diagram and Flow Chart

         

       เครื่องมือที่ 3 Problem tree

         

 

หมายเลขบันทึก: 129532เขียนเมื่อ 19 กันยายน 2007 11:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:21 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)
  • สวัสดีครับพี่ศิริวรรณ
  • แวะมาเยี่ยมครับ
  • รวดเร็วปานสายฟ้าแลบจริง ๆ
ขอบคุณค่ะ "ไวไฟเช่นกันนะ"

sawasdee p' siriwan

so quick so good and so cute

  • น้องจือ อย่าลืมเล่ากระบวนการในภาคบ่ายด้วยนะคะ
  • จะคอยติดตามค่ะ...อิอิ
  • พี่เบริดเราก็ใช่ย่อยนะครับ
  • ห้องเฮฮาภาษาKM ก็ไม่สนุกสนานเบานะ
  • ขอบพระคุณมากครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท