ว่าด้วยเลย์เอ้าท์ ภาค 1


มีกระแสเรียกร้องจากน้องๆ และเพื่อนให้ถอดความรู้เกี่ยวกับเลย์เอ้าท์มาอธิบายนานมากแล้ว เมื่อนึกได้ทีไรก็รู้สึกผิดที่ไม่ได้เขียนสักที มัวแต่วุ่นงาน และสนุกสนานเรื่องต่างๆ วันนี้ได้ฤกษ์ดีมีชัย แต่จะเขียนได้จนครบทุกชนิดหรือไม่ก็ต้องแล้วแต่เวลาว่างจะอำนวย การจัดเรียงลำดับเลย์เอ้าท์และแบ่งประเภทอาจจะไม่เหมือนกับตำราที่เคยร่ำเรียนมา แต่เขียนออกมาจากประสบการณ์ในการทำงานมากกว่า หวังว่าจะอ่านแล้วนำไปประยุกต์ใช้กันเองได้



ว่าด้วยเลย์เอ้าท์ชนิดแรกที่นึกออกและใช้บ่อยมาก
- Heavy Copy Layout/Big Copy Layout/Typography Layout
เป็นเลย์เอ้าท์ประเภทที่ใช้ตัวอักษรเป็นพระเอกในการนำเสนอ ซึ่งนอกจากสามารถสื่อสารเป็นถ้อยคำบอกความหมายออกมาได้อย่างชัดเจนแล้ว ตัว typography เองยังสามารถนำเสนอเกี่ยวกับอารมณ์และความรู้สึกได้ด้วย shape & form จะขนาดตัวอักษรใหญ่ เล็ก หรือจัดเรียงเป็นรูปภาพก็นับอยู่ในหมวดนี้ อาจจะนับรวม Alphabet Inspiration Layout เข้าไปด้วยก็ได้ ตัวอย่างงานก็มีหลายลักษณะ บางทีกลายพันธุ์เป็นลูกผสมชนิด 70:30 แต่ถ้าตัวอักษรยังมีบทบาทมากกว่ารายละเอียดอื่นในภาพก็ยังจัดว่าเป็นประเภทนี้อยู่ดี





ข้อคำนึงในและสิ่งที่ควรทำในการเลือกใช้งานเลย์เอ้าท์ลักษณะนี้คือ
1. ต้องรู้จักฟอนต์ให้มาก จำให้ได้ว่าลักษณะเด่นของแต่ละฟอนต์เป็นอย่างไรเพื่อสะดวกต่อการเลือกใช้
2. รู้จักอารมณ์ของฟอนต์นั้นๆ ว่าให้ความรู้สึกอย่างไร luxury, modern, antique, traditional ต้องแยกให้ออกและเลือกใช้ให้เหมาะกับงาน
3. ไม่ควรใช้ฟอนต์เกิน 3 ฟอนต์ขึ้นไปต่องาน 1 ชิ้น เพื่อป้องกันการดึงดูดความสนใจให้ลดลงจากความหลากหลายของฟอนต์
4. การเลือกใช้สีของฟอนต์เพื่อการสื่ออารมณ์ ต้องเลือกใช้ให้เหมาะสม และหากต้องการจุดเด่นเน้น ณ ส่วนไหน ควรใช้สีที่ต่างออกไป และควรคำนึงถึงพื้นหลังด้วย
5. การเลือกใช้ขนาดฟอนต์ เน้นส่วนที่สำคัญด้วย bold บางครั้งอาจไม่เพียงพอ การเลือกขนาดที่ใหญ่ขึ้นจะทำให้น้ำหนักความสนใจถูกดึงดูดไป ณ จุดนั้น
6. การเปลี่ยนบางส่วนของฟอนต์ เป็นการสร้างจุดสนใจบริเวณจุดที่ต้องการเน้น เช่น กลับข้างตัว e หรือเปลี่ยนฟอนต์ให้เป็นเครื่องหมายหรือภาพที่ยังคงอ่านได้ว่าเป็นตัวอักษรนั้น


หมายเลขบันทึก: 181513เขียนเมื่อ 10 พฤษภาคม 2008 01:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:02 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (23)

หวัดดีจ้าน้องซูซาน

นอนดึกจัง อิอิ  แอบเข้ามาหาความรู้ เป็นคน low technology จ้า  อิอิ. รักษาสุขภาพนะจ้ะ

ซูซาน

ดีๆพี่ชอบเรื่อง layout น่าจะเขียนนานแล้ว สนใจมานาน..ช่างเป็นงานที่น่าสนุกและมีสีสันดีจัง..เป็นเรื่องของ ความคิดสร้างสรรค์จริงเนอะ..

นักเรียนโข่งมารายงานตัวเข้าชั้นเรียน  อิอิ

ตามมาศึกษาเรื่องนี้ด้วยคนค่ะ น้องซูซาน

  • สวัสดีคุณซูซาน..

ขอนั่งเรียนแถวหน้าด้วยคนค่ะ วันนี้  ^^

สวัสดีจ้ะ น้องเล็ก

  • ขอบคุณที่พยายามนำมาบอกเล่าค่ะ...เป็นอะไรที่ยากนิ...
  • อารมณ์ศิลป์นี่แฝงในทุกช่วงจริงๆ...แม้ตัวอักษร....
  • ขอบคุณค่ะ

@พี่ราณี: ขอบคุณค่ะพี่ที่เป็นห่วง บังเอิญเป็นเวลาปกติของนกฮูก ไม่เป็นไร ^ ^ ลองอ่านดูก็ได้ค่ะ ไม่เกี่ยวกับ technology เรื่องนี้มันเป็นงานเฉพาะทาง เขียนไว้ให้น้องๆ มาตามอ่านกัน
@พี่อุ๊: เดี๋ยวก็คงเขียนต่ออีก ติดค้างคนอื่นไว้นานแล้ว เลย์เอ้าท์แบบอื่นยังมีน่าสนใจอีกเยอะ จริงๆ พวกนี้ลงรายละเอียดหมดไม่ได้ มันแล้วแต่คนเอาไปประยุกต์ใช้ เพียงแต่ลงหลักการแบ่งประเภทและข้อสำคัญคร่าวๆ ไว้ให้ดูเป็นหลัก ส่วนความสร้างสรรค์ต้องมาจากแต่ละบุคคลเอง
@คุณหมอ: ยินดีค่ะ เดี๋ยวหนูตามไปเรียนกับคุณหมอมั่งนะค้า เรียนแบบ f2f เลย 555
@พี่อุบล: ยังมีต่ออีกค่ะ อ่านไว้ได้ความรู้ ต่อไปดูพวกงานโฆษณาก็จะได้แยกประเภทเลย์เอ้าท์ออก
@คุณต้อม: มาเลยๆ แต่ถ้านั่งหลับจะให้คาบชอล์ค
@พี่ติ๋ว: ศิลปะนี่อยู่ในทุกที่แหล่ะพี่ เพียงแต่เราจะมองหรือมองข้ามต่างหาก การศึกษาลึกลงไปมากๆ ก็มีทั้งข้อดีข้อเสียนะ ข้อดีคือทำให้เรามีความรู้แยกแยะออกว่าอะไรเป็นอะไร แต่ข้อเสียก็คือแทนที่จะดื่มด่ำกับสิ่งที่ได้เห็นดันจะไปมองแยกรายละเอียดอยู่นั่นแหล่ะ น้องเป็นมากเลยในเรื่องนี้

สวัสดีค่ะคุณซูซาน

มาเข้าชั้นเรียนด้วยค่ะ แต่มาสายหรือเปล่านี่ กลัวถูกทำโทษ :) ปล. มีใครมองภาพนี้แล้วเห็นเป็นคลื่นๆ เหมือนกันบ้างคะ

@คุณแจ๋ว: งวดแรกยกให้ค่ะ 555 ถ้ามันธรรมดาจะเอามาให้ดูเหรอคะ ตัวหนังสือไม่ได้สวย คำก็ไม่มีอะไร แค่บอกว่าจะเกิดอะไรเมื่อเมาแล้วขับ ก็ตาลายจิคะ ^ ^ นี่ล่ะเทคนิคของงานอาร์ต โฮ่ๆๆ

คุณซูซานคะ

ขอเป็นลูกศิษย์ตั้งใจเรียนด้วยคนนะคะ

เป็นประโยชน์กับงานเป็ด ที่ทำอยู่อย่างมากเลยค่ะ ขอบคุณค่ะ

คุณซูซาน ดีใจๆ วันนี้ไม่ถูกทำโทษที่มาเรียนสาย

พอดีช่วงนี้มีปัญหาเกี่ยวกับสายตา  เลยกังวลมากกว่าปกติ

นี่ถ้าหากเห็นไม่เหมือนชาวบ้าน ต้องวิ่งแจ้นไปหาหมอแน่ๆ เลยค่ะ

ขอบคุณมากสำหรับ link น่ะค่ะ คุณซูซาน งั้นอ๋อลบบันทึกออกเหมาะสมกว่านะคะ ขอบคุณค่ะ

 

  • น่าจะมาเปิดสอนในสวนป่าสัก2-3 หนาวนี้ดีไหม?

พี่ดาวลูกไก่: ถ้าเป็นประโยชน์กับงานของพี่ก็ยินดีค่ะ จะเขียนต่อเรื่อยๆ ถ้าไม่หมดแรงซะก่อน
คุณแจ๋ว: 555 ใครจะกล้าทำโทษ แต่ขำที่ภาพทำให้คิดว่าสายตามีปัญหา ถ้าเจอพวกภาพลวงตาที่เขาตั้งใจทำกันจะอาการหนักกว่านี้อีก
หมออ๋อ: ม่ายเป็นไร รู้แล้วก็บอกกัน ไม่อยากให้เกิดความผิดพลาดโดยไม่ได้ตั้งใจ ยิ่งมีเจตนาดีด้วยแล้วล่ะก็ ไม่อยากเห็นใครมาว่าหมอได้ เลยบอกด้วยความหวังดีค่ะ ขอบคุณสำหรับรูปอาหาร หิวเลย จิ๊กเอาไปใส่อนุทินแล้วด้วย
พ่อครูฯ: ใครจะเรียนอ่ะคะ มันเฉพาะทางเกินไป สอนกันสองสามวันท่าจะไม่ได้ผล หนูว่าหนูไปเรียนปลูกต้นไม้กับพ่อน่าจะดีกว่า เผื่อกลับมาจะได้ปลูกอะไรขึ้นบ้างนอกจากถั่วงอก ^ ^

คุณซูซาน

ไม่ได้มองภาพที่คุณซูซานำมาประกอบเรื่องแล้วคิดว่าสายตามีปัญหานะคะ

แต่มันพอดี๊พอดีที่ช่วงนี้จ้องคอมมาก สายตากำลังแย่ๆ อยู่ด้วยล่ะค่ะ

พอเจอภาพนี้เลยจิตตกไป 555

ส่วนพวกภาพที่เขาตั้งใจลวงตานั่น มันเห็นชัดมากค่ะ :)

คุณแจ๋ว: อ้อ ค่ะบังเอิญพอดีเลยสับสน รักษาสุขภาพสายตาด้วยนะคะ สำคัญมากๆ

หาอ่านมานานแล้ว

มีมาให้อ่านถึงบ้านเลย ขอบคุณมากครับ

คุณโก้: ไม่ใช่คุณโก้คนเดียวที่หาอ่าน หลายคนก็หาค่ะ ยิ่งถ้าเรียนจบมานานๆ แล้วคืนครูหมด ทำไปด้วยความเคยชิน แต่บางทีมีหลักเอามาเป็นตัวตรวจสอบก็ดีเหมือนกันนะคะ ถึงเขียนเพื่อเพื่อนพ้องน้องพี่คนอาชีพเดียวกัน ก่อนที่จะคืนครูไปอย่างถาวร นี่ต้องนั่งนึกกันนานทีเดียวค่ะ ^ ^

ผิดแล้ว ผิดแล้ว รูปสุดท้าย ต้องเป็นกางเกงใน ไม่ใช่กางเกงยีนส์

ดีจังค่ะ ได้ความรู้ใหม่ๆอีกแล้ว ขอบคุณค่ะ

555 นี่ใช่มะ แต่ไม่เป็น typography นี่นา หลุดไปไกล แต่ขำๆ ก่อนนอนก็พอไหว พอไหว โลกจะได้หายร้อน

พี่ศศินันท์: ยินดีค่ะ ก็คงจะหาเวลาเขียนอีกเร็วๆ นี้

  • พี่มาสมัครเป็นลูกศิษย์ด้วยคนค่ะ
  • ชอบดูภาพสวยๆ  เลยอยากทำความเข้าใจค่ะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท