เก็บ2 (ตก ๆ หล่น ๆ)กับเสวนา "ทำงานประจำอย่างไร ให้เป็นงานวิจัยได้ง่าย ๆ"


ต่อจากเรื่องราวของพี่กุ้ง ในบันทึกก่อนหน้านี้ก็เป็นคราวของพี่เพ็ญแข คงทอง ผู้เขียนเรียกเธอสั้น ๆ ว่า "พี่เพ็ญ" ค่ะ ซึ่งประเด็นที่เขียนนี้ก็ได้กล่าวไว้แล้วในบันทึกก่อนซึ่งเกิดขึ้นจากการขุด คุ้ย ล้วง แคะ แกะ และเกา ทั้งก่อนหน้าวันเสวนา และในวันเสวนาโดยอ.มุกดา ปลูกผล นั่นเอง

"พี่เพ็ญ" ปัจจุบันเป็นพนักงานวิทยาศาสตร์การแพทย์ ทำงานอยู่ในหน่วยรับส่งสิ่งส่งตรวจ หรือที่เรียกกันสั้น  ๆ ว่า "Center Lab" นั่นเอง ซึ่งเป็นหน่วยน้องใหม่ที่เพิ่งเกิดขึ้นได้ไม่นาน จะว่าไปพี่เพ็ญก็ย้ายลงมาทำงานประจำที่นี่พร้อมกับการก่อเกิดของหน่วยเลยทีเดียว แม้ในตอนแรกก็มีหลายเสียงบอกว่าทำงานหน่วยนี้ ไม่น่าจะมีความก้าวหน้า (ประมาณนั้น) แต่ไม่น่าเชื่อก็ต้องเชื่อ ถ้าจำไม่ผิด เธอมีผลงานมากมายไม่ว่าจะใน Patho OTOP 1 (เป็นหัวหน้าโครงการ 2 เรื่อง ผู้ร่วมโครงการอีก 1 เรื่อง) Patho OTOP2 (เป็นหัวหน้าโครงการ 2 เรื่อง ผู้ร่วมโครงการอีก 2 เรื่อง ) และ Patho OTOP3 เธอก็เตรียมวางแผนไว้แล้ว เอ๊ะ !! แล้วมีที่มาและที่ไปได้อย่างไร????

งานประจำของพี่เพ็ญ ก็คือการรับและปฏิเสธสิ่งส่งตรวจจากหอผู้ป่วยทั้งหมดภายในโรงพยาบาลสงขลานครินทร์รวมทั้งคลินิกฉุกเฉินด้วย และยังส่งต่อสิ่งส่งตรวจไปยังห้องปฏิบัติการต่างๆ  อีกด้วย

ขณะที่ทำงานเธอก็คิดไปด้วยว่า ในหน่วยเธอมีเพียงแค่เครื่องคอมพิวเตอร์เพียงเครื่องเดียวในการตรวจรับและปฏิเสธสิ่งส่งตรวจที่ส่งมาเท่านั้น เธอจะทำอะไรอย่างอื่นได้หรือไม่ ?? จึงได้ปรึกษาอ.นุวิท อ.ประสิทธิ์ ว่าเธอจะซึ่งก็ได้รับคำแนะนำให้รวบรวมและเก็บข้อมูลความผิดพลาดต่าง ๆ ไว้ แต่จากการล้วงลึกพบว่า เธอเป็นคนละเอียดละออตั้งแต่สมัยเธอปฏิบัติงานอยู่หน่วยพันธุศาสตร์แล้ว เพราะต้องเก็บข้อมูลและรายละเอียดของสิ่งส่งตรวจโดยละเอียด อีกทั้งพบว่าบางหอผู้ป่วยจะมีการขอข้อมูลความผิดพลาดหรือรายละเอียดต่าง ๆ และเธอก็พร้อมที่จะรายงานได้ในทันที (และนี่อาจจะเป็นที่มาของฉายา "เจ้าแม่ข้อมูล")

จากปัญหาและความผิดพลาดซึ่งมีมากมายในแต่ละวัน เธอจึงคิดที่จะพัฒนาและเพิ่มคุณภาพและพัฒนาการรับและส่งสิ่งส่งตรวจ ไม่ว่าจะเป็นกระป๋องรับและส่งสิ่งส่งตรวจ โครงการท่อลม โครงการเพิ่มคุณภาพสิ่งส่งตรวจ ไม่ว่าจะแผ่นภาพการเก็บตัวอย่าง และล่าสุดเธอก็นำข้อมูลเหล่านั้นมาพัฒนาเป็นโครงการวิจัยโดยรวบรวมข้อมูลความผิดพลาด มาศึกษาวิเคราะห์ ซึ่งแรกเริ่มเดิมทีก็กลัวว่าจะมีผลกระทบหรือไม่ แต่พบว่าในประเทศไทยนั้นก็มีการศึกษาและรายงานวิจัยอยู่บ้าง แต่มีน้อยมากและในต่างประเทศก็มีการศึกษาและวิจัย

ซึ่งขณะนี้ผลงานของเธอก็อยู่ในระหว่างขั้นตอนการเขียนและแก้ไข คาดว่าคงใกล้คลอดในเวลาไม่นานนี้ และหากใครจะช่วยเพิ่มเติมผู้เขียนยินดีเป็นอย่างยิ่งค่ะ ^___^

 

คำสำคัญ (Tags): #r2r#เสวนา
หมายเลขบันทึก: 102048เขียนเมื่อ 9 มิถุนายน 2007 13:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 18:56 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

การเก็บข้อมูลของเพ็ญนั้น ไม่ได้เก็บไว้อย่างเดียว นำมาจัดหมวดหมู่ และ ส่งเป็นข้อมูลป้อนกลับให้กับผู้ส่ง specimen มาด้วย 

ที่เป็นประโยชน์มากๆ จากการเก็บข้อมูลที่เป็นระบบของเธอซึ่งทำมา 2-3 ปีแล้ว พอปีนี้ รพ.เขาประกาศนโยบาย Patient safety goal  ทำให้เรามีข้อมูลเรื่องนี้ อยู่พร้อมแล้ว จะทำการปรับปรุงอะไร ก็มีตัวเลขรอไว้เปรียบเทียบไว้พร้อม

  • มีอยู่ตอนหนึ่งเพ็ญบอกว่า บางครั้งที่เกิดปัญหา แล้วโดนคำถามจากผู้รับบริการมาว่า "พี่ผิดตรงไหน?"   ก็จะใช้ข้อมูลเหล่านี้ในการตอบ แล้วก็พบว่า "คุยกันได้เข้าใจง่ายขึ้น"
  • พี่เม่ยก็เลยสกัดเคล็ดลับคุณกิจออกมาได้อีกอย่างหนึ่งค่ะ คือ "ต้องพูดกันด้วยหลักฐาน พูดกันด้วยข้อมูล" ช่วยให้เข้าใจกันได้ง่ายขึ้น ลดความขัดแย้งได้อีกต่างหากเนาะ
คุณศิริสรุปและถอดความได้เยี่ยมอีกแล้วค่ะ ตอนฟังรู้สึกนิดๆว่าต้องตีความเองอยู่บ้าง แต่รู้สึกได้ถึงพลังความตั้งใจจริงอันน่าชื่นชมของคุณเพ็ญแขเป็นอย่างมากค่ะ  
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท