พัฒนา Fa & Note ชาวกรมอนามัย (10) ตารางอิสรภาพจากเรื่องเล่า


กลุ่มที่ทำนั้น เขาได้เอาเนื้อหาเรื่องราว มาจากประเด็นที่แต่ละกลุ่มมารวมกัน ก็คิดร่วมกัน สรุปได้ในเรื่องของ "การมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย" และนำมาคิดระดับ (level) ได้ ระดับ 1 ถึง 5

 

กิจกรรมในช่วงนี้ก็จะเป็นเรื่องของตารางอิสรภาพละค่ะ ซึ่งใช้ระดับของตารางพื้นฐานมาจากเรื่องเล่าของแต่ละกลุ่มที่สรุปกันมา อ.หมอนันทา ก็จะ split จากคนในแต่ละกลุ่ม ออกมา 2 คน ที่จะมาทำในเรื่อง ปัจจัยความสำเร็จของการทำงานส่งเสริมสุขภาพ ซึ่งเป็นหัวปลาในการประชุมครั้งนี้ ... เพื่อมาทำตารางอิสรภาพ ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบละค่ะ

ซึ่งได้ตารางอิสรภาพมาแสดงให้เห็นเป็นตัวอย่าง 1 ข้อ (ตัวอย่างนี้ ยังไม่ใช่การนำไปใช้จริงนะคะ เพราะว่า เป็นการทำในกลุ่มเรียนรู้ ถ้าจะนำไปใช้จริงได้ ควรไปจัดกลุ่มเพื่อพิจารณาในกลุ่มที่จะทำจริง แล้วจึงนำไปใช้ในบริบทของกลุ่มนั้นๆ ละค่ะ)

ตัวอย่างตารางอิสรภาพ จากกลุ่ม ที่คุยกันเรื่อง ความสำเร็จในการทำงานส่งเสริมสุขภาพ ที่เราได้ก็คือ

ภาพรวม องค์ประกอบ / ปัจจัยความสำเร็จ ในประเด็นหัวปลา ::: ความสำเร็จในการส่งเสริมสุขภาพ มี 5 ปัจจัย คือ

  1. บุคลากร ประกอบด้วย 6H ได้แก่
    ... ความมุ่งมั่นตั้งใจจริง
    ... การเสริมสร้างแรงจูงใจ
    ... Service Mind
    ... การทำงานเชิงรุก
    ... การทำงานเป็นทีม
    ... ความรู้ความสามารถของบุคลากร
  2. การสนับสนุนจากภาคีเครือข่าย
  3. ผู้นำที่ดี
  4. ระบบการตลาดที่ดี
  5. การประชาสัมพันธ์

กลุ่มที่ทำนั้น เขาได้เอาเนื้อหาเรื่องราว มาจากประเด็นที่แต่ละกลุ่มมารวมกัน ก็คิดร่วมกัน สรุปได้ในเรื่องของ "การมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย" และนำมาคิดระดับ (level) ได้ ระดับ 1 ถึง 5 คือ

  1. มีข้อมูลพื้นฐาน และมีช่องทางการติดต่อกับภาคีเครือข่าย
  2. โครงการ / กิจกรรม และการเข้าร่วมประชุมกับภาคีเครือข่ายอย่างต่อเนื่อง
  3. ภาคีเครือข่ายยอมรับความสามารถของบุคลากรกรมอนามัย และมีภาคีเครือข่ายเพิ่มขึ้น
  4. ภาคีเครือข่ายมีส่วนร่วมและมีการพัฒนาการส่งเสริมสุขภาพ
  5. ภาคีเครือข่ายมีความเข้มแข็งด้านการส่งเสริมสุขภาพ และความยั่งยืน

มีเรื่องเล่า รายละเอียดระหว่างการจัดทำตารางอิสรภาพ และข้อแนะนำจากคุณหมอนันทา และคุณศรีวิภา และก็จะมี CKO นครสวรรค์ค่ะ คุณหมอก้องร่วมแจมด้วยในบางจังหวะ ในระหว่างการนำเสนอในช่วงนี้ มีเทคนิคคลุกๆ อยู่บ้างละค่ะ ลองอ่านดูนะคะ 

  • การทำตารางอิสรภาพ ... เราเริ่มต้นจากเรื่องเล่าเป็นฐาน ซึ่งจะเป็นเรื่องเล่าที่มีความสำเร็จ แต่อาจจะยังไม่ถึงในระดับที่ 5
  • มองว่า ในเรื่องนี้ควรอยู่ในระดับไหน ไปเขียนอันนั้นก่อน
  • และมาดูว่า ความสำเร็จนั้นๆ คืออะไร ก็ไม่ใช่ว่า มีเครือข่ายที่ประสบความสำเร็จ 1 ภาคี แล้วถือว่าเป็นระดับ 5 แต่ส่วนใหญ่จะเป็นในระดับนี้ เช่น เราคิดว่า รร. เข้มแข็ง พึ่งตนเองได้ นั่นคือความสำเร็จสูงสุดของเขา ในการเป็นภาคีเครือข่าย แต่อาจจะเป็น 1 รร. และการเป็น 1 รร. นั้น ภาพรวมเราก็ทำได้แค่ 3 ก็ได้ และ รร. ส่วนใหญ่จะเป็นอีกแบบหนึ่ง มีส่วนที่เหมือนกับฝันว่า อะไรจะยั่งยืน เพื่อที่เราจะก้าวไปข้างหน้า
  • ตารางอิสรภาพ สูงสุดจะไม่ใช่ ณ ปัจจุบัน ไม่ควรเป็นสิ่งที่ได้ ณ ปัจจุบัน เพราะเท่ากับว่า เราอยู่กับที่ เราจะต้องฝันต่อ
  • เพราะฉะนั้น สิ่งที่เห็น ทำได้ คิดว่าควรอยู่ในระดับ 2-3 ไม่ใช่ 4-5 แต่การฝันอย่างเฉลี่ยอยู่ 2-3 อาจมีบางคน บางหน่วยงาน เขาทำได้เป็น 4 หรือ 5 แต่ว่าส่วนใหญ่จะอยู่แค่ 2-3 เพื่อที่เราจะได้ไปสู่การพัฒนางาน ไป ลปรร. กัน
  • เพราะฉะนั้น ตารางอิสรภาพนี้ ณ วันนี้ อยู่ที่ 1 เป็นอย่างนี้ พอต่อไปเราทำได้เยอะขึ้น 1 กับ 2 อาจมาอยู่รวมกัน กลายเป็น 1 และก็มีกระเถิบขึ้นไป อีก 2-3 ปี ข้างหน้า ความสำเร็จก็จะกระเถิบขึ้นไปเรื่อยๆ เพราะว่ามีอะไรใหม่ๆ ขึ้นมา ก็จะต่อยอดได้อยู่เรื่อยๆ
  • ในการดูรายละเอียดแต่ละระดับนั้นนั้น ควรเขียนให้ละเอียดที่สุด เช่น ภาคีเครือข่ายเข้มแข็ง จะเข้มแข็งในเรื่องอะไร เช่น คิดเป็น ทำเป็น มีทรัพยากรสนับสนุน (เป็นความจริงจากการคุยในกลุ่ม)
  • ตารางนี้จะใช้ร่วมกันในกลุ่มคนกลุ่มหนึ่ง ซึ่งอาจมีความแตกต่างกับความเข้มแข็ง ของคนอีกกลุ่มหนึ่งก็ได้ แต่คำนิยามของเราต้องอิง คำนิยามกลางๆ ไว้บ้าง ไม่ใช่ว่าเข้มแข็งนั้นต้องมาร่วมกิจกรรมอย่างเดียว หรือเกณฑ์คนมาร่วมเยอะแยะ เราก็เอาประเด็นที่สังคมยอมรับมาเป็นข้อคิดเห็นด้วย
  • ข้อตกลงนี้มีการเปลี่ยนแปลงได้ แต่ไม่ควรเปลี่ยนบ่อย ควรมีการเอาไปใช้ใน 1-2 ปี แล้วแต่ข้อตกลง ถ้ามีข้อมูลที่สมควรเปลี่ยน หรือใช้แล้วเกิดมีปัญหาว่า ระดับ 3 สูงกว่าระดับ 2 หรือเปล่า ก็อาจคุยกันใหม่ ปรับใช้ได้ ไม่มีกฎว่ากี่ปีเปลี่ยน แต่ขึ้นกับความพึงพอใจของคนที่ใช้ ต้องการเปลี่ยนไหม
  • แต่ขอแนะนำว่า ไม่ต้องรอให้มัน perfect คือ ส่วนใหญ่เห็นด้วย ก็ใช้ไปเลย ถ้าคิดว่า OK มันพอใช้ได้ ก็เริ่มใช้ เพราะว่า เราก็จะเริ่มเรียนรู้ และมา share เรื่องเล่า มีความคิดเห็นร่วมกัน ก็อาจปรับในกลุ่มได้
  • ภาษาไทย อ.วิจารณ์ ใช้ชื่อว่า ตารางอิสรภาพ คือ ความมีอิสระ ในการสร้าง ในการใช้ และในการเปลี่ยนแปลงให้เหมาะสมยิ่งขึ้น ที่จะมาใช้ประโยชน์ร่วมกัน ภาษาอังกฤษ ก็เรียกว่า Self assessment table เป็นการใช้ประเมินตนเองได้ภายในตัว
  • การคิดแต่ละระดับก็ต้องดูความเชื่อมโยงด้วย เพราะว่าทุกครั้ง ถ้าระดับ 1 2 และ 3 ไม่เชื่อมโยง บางครั้งเราได้ในระดับ 3 แต่ 1 กับ 2 ไม่ได้ ก็จะมีปัญหา ... บางตารางก็จะบอกเลยว่า เมื่อทำระดับ 3 ก็ต้องทำในระดับ 1 กับ 2 ได้ ไม่ใช่ว่าหายไปเลย แสดงว่า เมื่อทำถึงระดับหนึ่ง ก็ต้องมีพื้นฐานมาก่อนจากระดับแรกๆ
  • ไม่ต้องกลัวว่า ถูกหรือผิด เพราะว่าทำไปแล้ว นำไปใช้ ก็จะรู้ว่า ที่ดียิ่งกว่านี้คืออะไร และก็เป็นความเห็นร่วมกัน ซึ่งถ้าในกลุ่มทุกคนตกลงว่าเป็นอย่างนี้ ก็จะเป็นอย่างนี้ เพราะว่าเวลาเราไปลองทำ เราก็ได้เรียนรู้ เมื่อทำแล้ว เราก็จะได้เรียนรู้เทคนิคมากยิ่งขึ้น
  • ตารางอิสรภาพ ... มีความอิสระ แต่ไม่ล่องลอย อิสระ คือ มีอิสรภาพในการปรับ ไม่ล่องลอย คือ มีที่มาที่ไป บางทีเกณฑ์บางเกณฑ์ถูกทำขึ้นมา โดยไม่มีส่วนร่วม แต่อันนี้เราทำร่วมกัน ใช้ไปสักระยะหนึ่ง บางทีหน่วยงานนั้น อาจทำได้ถึงระดับ 5 แล้ว แสดงว่า เกณฑ์เริ่มอ่อน ก็สมควรปรับ
  • เกณฑ์ตัวนี้จะมีประโยชน์ในการพัฒนา และพอคนทำได้ถึงระดับหนึ่งแล้ว เกณฑ์ก็ต้องปรับให้แข็งขึ้น จาก 3 อาจเปลี่ยนมาอยู่ระดับที่ 1 แล้ว 4 กับ 5 ยากขึ้น เช่น ถ้าเรามีตารางอิสรภาพในเรื่องของเมืองน่าอยู่ เป็นข้อตกลงร่วมกันของกรมอนามัย และเราพยายามพัฒนา ทุกศูนย์ฯ ไปให้ได้เป้าฯ และตอนนี้บางหน่วยงานทำได้ 2 บางหน่วยงานทำได้ 5 แล้ว เราก็จับมา share and learn กัน และเราก็จะยกระดับด้วยกัน เพราะฉะนั้น บางทีคนที่ไป 5 แล้วนั้น ตารางนี้ก็จะปรับได้ ไม่เช่นนั้นคนที่ไป 5 แล้ว ก็จะหยุดการพัฒนา ก็ถือว่า อิสระ อ.วิจารณ์ก็จะบอกว่า มีความอิสระ แต่ไม่ล่องลอย
  • เหมือนเกณฑ์จัดการความรู้ของกรมอนามัย ปีที่แล้วมี 7 องค์ประกอบ พอมาปีนี้ เราปรับเหลือ 4 องค์ประกอบ เพราะระดับมีความยากขึ้น เพราะว่าปีที่แล้ว มีศูนย์อนามัยที่ 6 ไปถึง 5 แล้ว พอมีคนถึง 5 ปุ๊บ เราต้องขยับเลย และมาทำเกณฑ์เหล่านี้ร่วมกัน แต่เกณฑ์นี้ไม่ได้ทำครั้งเดียว ยิ่งถ้าเป็นเกณฑ์ของกรมอนามัย พวกเราก็ต้องมาช่วยกันทำเกณฑ์เช่นนี้เยอะๆ มันก็จะเป็นเกณฑ์ที่เกิดจากพวกเราเอง ตั้งระดับ 5 ที่ท้าทาย เพื่อที่จะมุ่งไปสู่การพัฒนา นี่คือ วิธีคิด
  • เพราะฉะนั้น เกณฑ์นี้สร้างขึ้นเพื่อท้าทาย ไม่ใช้เพื่อท้อถอย เพราะฉะนั้น เราก็จะไม่ฝันไปจนเกิดเหตุ มันก็จะไม่เกิดไปไม่ถึง แต่เราจะค่อยๆ ไป แต่ไม่ใช่ก้าวสั้นจนเกิดไป สร้างความท้าทายให้กับพวกเราด้วย แต่ไม่เลิศเลอจนเหมือนกับว่า ไปไม่ถึง ยังไงก็อยู่แค่ 3 เป็นต้น มันจะทำให้ไม่เกิดพลังในการขับเคลื่อน
  • เวลาที่ทำจากเรื่องเล่า สิ่งที่เล่าไม่ได้หายไปไหน ขณะเดียวกัน เมื่อไป 4 กับ 5 เนื้อหาจากเรื่องเล่าไม่พอ เราก็ต้องเอาองค์ความรู้ในการพัฒนาเข้ามาช่วยด้วย เพราะในเวลาอันจำกัด เวลาเรามา share and learn เรื่องเล่าจะได้แค่เรื่องสั้นๆ เพราะฉะนั้น เวลาที่คนพูดถึงความสำเร็จ เรื่อง การทำงานส่งเสริมสุขภาพ เวลาสกัดอาจจะได้แค่ระดับ 1 กับ 2 เท่านั้น เพราะว่าคนเล่าก็มีประสบการณ์เท่านี้ ในส่วน 4 กับ 5 อาจจะต้องดึงผู้เชี่ยวชาญเข้ามาช่วยในการทำเกณฑ์ จัดระดับด้วย
  • สิ่งที่เราทำควรจะอยู่ในระดับ 2-3 โดยเฉลี่ยที่ทำในระดับคนทำได้ของเรา แต่อาจมีบางหน่วยทำได้ถึง 5 หรืออาจไม่มีเลยก็ได้ แต่ด้วยประสบการณ์ ความรู้ หรือภายนอก คนอื่นๆ เขาทำได้มากกว่านี้ หรือเป็นสิ่งที่เราฝัน หรือรู้จากทฤษฎี หรือของจริง หรือบางเรื่องที่เราทำได้น้อยๆ เราก็มาตั้ง แล้วถ้าเราคิดว่า เราไม่รู้ ก็อาจเชิญผู้รู้มาพูดถึงเรื่อง การสร้างการมีส่วนร่วม หรือสอนทฤษฎี ประสบการณ์ต่างๆ ก็จะพาให้คิดไปถึงตรงนั้น
  • นั่นก็คือ ถ้าเราทำได้ในกลุ่ม และมีประสบการณ์บางส่วนก็ทำไป แต่ว่าข้อสำคัญ หน่วยงานส่วนใหญ่ต้องไม่ได้ 5 ณ ปัจจุบัน

หลังจากที่เราได้ปัจจัยความสำเร็จของการทำงานส่งเสริมสุขภาพ ในครั้งนี้แล้ว เราก็ได้ทดสอบการประเมิน จากปัจจัยที่สร้างขึ้นนี้กัน โดยให้กลุ่มได้มองเห็นในภาพรวมของหน่วยงาน หรือกลุ่มงาน ... เป็นการทดลองการการประเมินตัวเองละค่ะ ว่าอยู่ในระดับไหน และในอนาคตจะไปสู่ระดับไหน

 

หมายเลขบันทึก: 98894เขียนเมื่อ 27 พฤษภาคม 2007 07:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:01 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

สวัสดีค่ะคุณหมอนนท์....เพื่อนร่วมทาง

ขอบคุณค่ะ

  • "ใจดี" แล้วใช่ไหมคะ ครูอ้อย
  • พ้นเคราะห์ไปแล้วละค่ะ ... ดีนะคะ ว่า ครูอ้อยคุมอารมณ์ได้ ไม่ลงไปเจรจาต๊าอ่วย คือ ต่อว่าน่ะแหล่ะค่ะ ไม่งั้นเดี๋ยวเสียภาพ คุณครู หมดเลย อิ อิ
  • เกณฑ์นี้สร้างขึ้นเพื่อท้าทาย  ชอบคำนี้มากครับ 
  • ขอบพระคุณมากครับ
  • สำนวนนี้ของใคร ทราบไหมคะ คุณสิงห์ป่าสัก
  • ก็คุณพี่ศรีวิภา นั่นไง อิ อิ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท