ลปรร. มสช. กับกรมอนามัย (3) ออกแบบ KM อย่างไรในที่ประชุมใหญ่ๆ


มีสิ่งที่เข้ามาบังคับเรา คือ กพร. กรมอนามัยเป็นภารกิจที่ถูกบังคับว่า จะต้องเอา KM ไปใช้ในเนื้องาน เรื่องส้วมก็เป็นตัวชี้วัดอันหนึ่งที่ต้องเอา KM ไปใช้

 

ยังคงอยู่ในเรื่องเวทีส้วมสาธารณะไทย ของพี่หลี กอง สช. อยู่นะคะ ตอนนี้คุณศรีวิภาเล่าถึงเรื่องของการออกแบบใช้ KM ในที่ประชุมใหญ่ๆ สำหรับคน 400 คน ที่มาร่วมกัน ลปรร. กับ Facilitator และคุณกิจผู้เล่าเรื่อง และบรรดา Note taker ที่ต้องทำการบ้านกันหลังจากการเล่าเรื่องจบลง เพื่อที่จะต่อยอดให้มีการดูงานในพื้นที่จริงๆ ได้บรรลุถึงเป้าหมายของคนที่มาดูงานกันทั้งหมดละค่ะ

ลองมาแกะเทคนิคกันดูได้เลยนะคะ คุณศรีวิภาเล่าให้น้องๆ มสช. ได้ฟังว่า

  • ภาระกิจหนึ่งของกรมอนามัย คือ เรื่องส้วมสาธารณะ ทุกคนก็คงเคยประสบในเรื่อง ส้วมสาธารณะ ไม่ว่าจะตามห้างสรรพสินค้า หรือแหล่งท่องเที่ยวต่างๆ จะไม่ค่อยสะอาด อันนี้คือ ภารกิจของการอนามัยที่ต้องพยายามขับเคลื่อน
  • ก่อนหน้านั้นสิ่งที่เราพบ และวิเคราะห์ไว้ก็คือ Baseline data เรื่องส้วมสาธารณะค่อนข้างต่ำ และกรมอนามัยมีเป้าหมายที่จะให้ทะลุเป้าค่อนข้างสูง
  • เพราะฉะนั้นกระบวนการในปีนี้ มีสิ่งที่เข้ามาบังคับเรา คือ กพร. กรมอนามัยเป็นภารกิจที่ถูกบังคับว่า จะต้องเอา KM ไปใช้ในเนื้องาน เรื่องส้วมก็เป็นตัวชี้วัดอันหนึ่งที่ต้องเอา KM ไปใช้
  • ประเด็นของการทำเริ่มต้นของเรื่องส้วม ในการทำเรื่องของการจัดการความรู้ จะมีผู้ที่เกี่ยวข้อง 3 คน คนแรกเรียกว่า CKO คือ คุณเอื้อ คนที่สองคือ คุณอำนวย คนที่สามคือ คุณกิจ
  • จุดเริ่มต้นของงานส้วม คือ CKO ของกอง สช. หลังจากที่ตัวเองรู้ว่า ต้องทำในเรื่องการจัดการความรู้ ก็เลยไปขับเคลื่อนงานของตัวเอง ก็ตรงกับงามส้วม
  • วิธีการก็คือ เริ่มที่ เข้าไปหาคนรับผิดชอบงานส้วม ไปขาย Idea กับพี่หลี ซึ่งพี่หลีก็รับ ... ทั้งที่ได้ set agenda ไว้เรียบร้อย เป็นการประชุมใหญ่ ซึ่งจัดให้กับคน 400 คน โดยการใช้วิธีการบรรยายตามปกติ คือ จากที่มีการประกวดสุดยอดส้วม จึงให้ผู้ที่ได้รางวัลไปเล่าบนเวที โดยใช้วิธีการอภิปรายเดิม
  • แต่พอได้มา consult กัน เครื่องมือตัวแรก ของการจัดการความรู้ที่เราคุยกัน คือ BAR (Before Action Review) สิ่งที่สำคัญที่สุด คือ ต้องไป Kicked off พี่หลีให้ได้ว่า พี่หลีจะยอมเปลี่ยน Agenda การประชุมมั๊ย ทั้งๆ ที่ Agenda นั้นก็เสร็จเรียบร้อยแล้ว อธิบดีเป็นประธาน รองอธิบดีเป็นผู้ดำเนินการอภิปราย โดยมีคนเล่าต่างๆ ซึ่งตอนนั้นยังไม่เป็น KM
  • สิ่งที่เราคุยก็คือ ว่า ที่พี่หลีสนใจเอา KM ไปใช้ ก็ต้องกลับมา revise รื้อกระบวนการใหม่
  • ... คนที่ไปเป็นผู้ดำเนินการอภิปราย ก็ต้องกลายมาเป็น Facilitator ซึ่งสิ่งที่ยากที่สุดตอนนั้น คือ Fa คือ รองอธิบดี
  • ... ขณะเดียวกันนี้ ความยากอีกอย่างหนึ่ง คือ ตัวคุณกิจที่จะขึ้นมาบนเวที ก็ไม่เคยรู้กระบวนการ KM ไม่รู้เรื่องเล่า (Storytelling)
  • ... งานหนักของพี่หลีสูงสุด คือ ต้องกลับไปทำการบ้านทั้งหมด พี่หลีถามว่า ไหวหรือเปล่า ศรีวิภาบอกไหว การทำงานของพี่หลี คือ 1 วัน กับ 1 คือ สิ่งที่ต้องทำ คือ ต้องกลับไปเตรียมคุณกิจให้มาเล่าเรื่องให้ได้
  • ... ขณะเดียวกันก็ต้องไปเตรียม Fa คือ รองอธิบดี
  • และพี่หลีมีเป้าหมายเดิมคือ การอภิปราย และการพาคนไปดูงาน
  • เราก็เปลี่ยนวิธีการดูงาน ซึ่งแต่เดิม ดูงานก็มาแบบ จะมาก็มาเลย
  • ... แต่วิธีการของพี่หลีต้องปรับเปลี่ยนใหม่ โดยการนำ Bencemarking เข้ามาช่วย
  • ... คือหลังจากที่ฟังเรื่องเล่าบนเวทีแล้ว ทีมงานซึ่งประกอบไปด้วย Note taker ทั้งหลาย จะต้องจับประเด็นให้ได้ว่า อะไรคือ ปัจจัยความสำเร็จ
  • ... จากปัจจัยความสำเร็จ เราก็มาทำแบบประเมิน กำหนดเป็น 5 level เช่น ถ้าจะสำเร็จเรื่องส้วม สิ่งที่เด่นคือ 1 2 3 4 5 อะไร ก็ให้ระบุลงไป
  • ... และคนที่จะสำเร็จอย่างนี้ได้นี่ แบบฟอร์มตัวนี้จะใช้ เพื่อให้คนไปดูงาน สามารถติ๊กให้ตัวเองได้ว่า ในพื้นที่ของตัวเอง ที่คนที่เล่าบนเวทีสำเร็จด้วยวิธีการแบบนี้จริง แต่ตัวเองสำเร็จที่ระดับไหน
  • ... ถ้าตัวเองอ่อนด้วยภาวะผู้นำ เวลาเข้าไปดูงาน ให้ถือแบบประเมินนี้ ไปคุยกับเจ้าของพื้นที่ ว่า ที่สำเร็จอย่างนี้ได้ คือ มีเทคนิคอะไร
  • ... อย่างนี้จะเห็นว่า กระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้นี้ จะนำมาใช้ในขั้นตอนของการบูรณาการในเรื่องของการประชุม ในเรื่องของการดูงาน
  • และตอนท้ายสุด เราก็มาใช้เครื่องมือจัดการความรู้ ที่เรียกว่า AAR (After action review) อีกตัวหนึ่ง
  • ข้อสังเกตก็คือ
  • ... ของพี่หลีเป็นหน่วยงานที่ยังไม่รู้ ยังไม่เข้าใจ แต่ใจสู้ เพราะว่าพี่หลีบอกว่า ถ้าทำแล้วดีขึ้น เอาด้วย … ถึงไม่รู้ แต่ใจว่าจะต้องทำ ก็ทำ และพี่หลีก็ต้องทำการบ้านทั้งกลางวัน กลางคืน เพราะต้องทำทั้งหมด และก็โทรศัพท์ไปยังพื้นที่ ไม่ว่าจะสุราษฎร์ธานี ชุมพร เพื่อเตรียมการมาเล่าเรื่อง
  • ... คุณฉัตรลดา เสริมในเรื่องของผู้บริหารด้วย เพราะว่าส่วนหนึ่งที่กรมอนามัยผู้บริหารเห็นความสำคัญของการใช้ KM และผู้ใหญ่ก็ให้กำลังใจ เป็นส่วนเพิ่มเติมทำให้ทีมมีกำลังใจ
  • ประเด็นคือ กรมอนามัยลุยแบบไม่ต้องรู้ทฤษฎีก่อนมากมาย แต่ก็มั่นใจและศรัทธาว่า เครื่องมือตัวนี้น่าจะดี ก็ทำเลย 

อันนี้คือสิ่งที่เกิดขึ้น ของการใช้ KM ในกอง สช. ละค่ะ

เรื่องเล่างานส้วมสาธารณะไทย อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่ค่ะ ... รวมเรื่อง เบื้องหลังความสำเร็จ ... การจัดการความรู้สู่การพัฒนาส้วมสาธารณะไทย ... สุราษฎร์ธานี ... และ ภาคีจัดการความรู้ภาคราชการ plus กรมอนามัย Open House (19) KM กองสุขาภิบาลชุมชนและประเมินผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ...

 

หมายเลขบันทึก: 145364เขียนเมื่อ 9 พฤศจิกายน 2007 22:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 21:25 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
  • สวัสดีครับ
  • ยังลุยเหมือนเดิมเลยนะครับทีมงานสาวน้อยสาวใหญ่ของกรมอนามัย
  • เยี่ยมจริงๆ
  • หาเครื่องมือเรียนรู้ใส่ในทุกกิจกรรมเลยนะครับ
  • ใจมา กล้าปรับเปลี่ยน ชุดความรู้ใหม่ ประสบการณ์ใหม่ก็เกิด....ประทับใจตัวเร่งปฏิกริยา KM ทีมคุณหมอ และหน่วยงานที่กล้าปรับเปลี่ยนตนเอง
  • คุณหมอนนทลีกับคุณศรีวิ สองสาวน้อยจากกรมอนามัย ขยับขยายสร้างความสั่นไหวในกรมอนามัยไม่หยุดหย่อนเลยนะครับ
  • คิดถึงบรรยากาศเก่าๆครับ
  • คำนี้ไม่อยากจะบอกเลยค่ะ คุณสิงห์ป่าสัก
  • ว่าตอนนี้มีคำเรียกขึ้นมาใหม่ ว่า "สาวแก่" ค่ะ
  • แต่ว่า คุณสิงห์ป่าสัก อย่าเรียกตามเชียวหนา เรียกอย่างเดิมดีแล้วละค่ะ
  • ตอนนี้กรมอนามัย มีห้องหับ สำนักงานสนับสนุนการจัดการความรู้แน่นอนแล้วนะคะ อยู่ชั้น 1 กรมอนามัย ทางด้านติดกับโรงอาหารค่ะ
  • ... ผ่านไปผ่านมาในกรมอนามัย แวะเยี่ยมเยียนกันด้วยนะคะ
  • เจอใครก็ทักทายเข้าไปเลยนะคะ เราก๊วนเดียวกันอยู่แล้ว
  • ต้องบอกว่า ทำงานแข่งกับ ครูนงเมืองคอน นะคะ
  • เพราะเห็นว่า ครูนง ทำงานไม่หยุดยั้ง ก็เลยมีพลังใจตามละค่ะ
  • อย่างที่เชิญชวน คุณสิงห์ป่าสัก ป่าสักไว้ ให้มาทักทายกันบ้าง ที่กรมอนามัย
  • เชิญครูนงด้วยนะคะ ถ้าเข้ากรมอนามัยเมื่อไร แวะมาเยี่ยมเยียนกันได้เลย
  • เรามีสาวน้อยหน้าใส คอยตอนรับเพิ่มขึ้น 2 นาง คือ น้องมล และน้องอ้วน ค่ะ (ว่าน้องไว้ก่อนละน๊า พอไหว พอไหว ... เอาคำ อ.ธวัชชัยมาแอบใช้ค่ะ)
  • มีแต่ว่า ครูนง ก็จะพลอยแต่ข้ามเมืองกรุงฯ ไปทางอีสานน่ะสิคะ อิอิ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท