ใจซื้อใจ ... ลปรร. 4 จว. นำร่อง "ระบบบริการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุที่บ้าน ปี 2550" (6) เรื่องเล่าโครงการผู้สูงอายุ ส่วนของ สสจ.ขอนแก่น


ผมมีคติว่า "ถ้าเราจะทำแล้วประสบผลสำเร็จ ก็ต้องมีเครือข่ายเข้ามาร่วมด้วย"

 

คุณกฤษณ์ ทำงานอยู่ สสจ.ขอนแก่น ทำงานในเรื่องของผู้สูงอายุค่ะ

คุณกฤษณ์เล่าว่า ตัวเองมีความภูมิใจในการดำเนินงานผู้สูงอายุ ตรงที่ ผมรู้สึกว่า ผมทำแล้วได้บุญ ม่ถือว่าเป็นภาระ และทำให้ระดับปูชนียบุคคล ผู้สูงอายุเป็นปูชนียบุคคลที่เราควรเคารพ

ลำดับที่สอง คือ ถ้าเราทำแบบปิดทองหลังพระ คือ ถ้าทำไปแล้ว สิ่งที่เกิดขึ้นมา เป็นความภูมิใจที่ในงานที่เราทำ อาจมีผลต่อยอดในการที่เราจะไปทำกับครอบครัวของเรา

กิจกรรมที่ทำก็คือ

  • กิจกรรมที่ได้ทำมาแล้ว คือ อบรมอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุ และ
  • อันที่สอง คือ ร่วมกับสาขาสภาผู้สูงอายุอบรมผู้สูงอายุในโครงการเพื่อนช่วยเพื่อน ปีนี้ก็จะมีการขยายต่อ
  • การลงไปทำกิจกรรม ถ้ามีงบประมาณก็พยายามจะดึงลงมาใช้ดำเนินการ จะมีงบฯ ของ UC ทุกปี เพราะงานผู้สูงอายุปัญหาของจังหวัด ต้องให้ และก็ต้องจัดสรรว่า งบที่จะโอนไปนั้น จะไปในส่วนไหนบ้าง
  • และในส่วนของพื้นที่ เราเน้นไปศึกษาปัญหาว่า สังคม ณ ปัจจุบัน ของขอนแก่น เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุแล้ว เป็นข้อมูลจากสำนักทะเบียนของจังหวัด และจากข้อมูลพื้นฐานที่ทางตำบลส่งเข้ามา ... สถิติของขอนแก่น เมื่อ ธค.50 ก็คือ 20.5 แต่ข้อมูลพื้นฐานอยู่ที่ 10.7 ซึ่งใกล้เคียงกัน
  • และผมทำงานกับของ พมจ. (คณะกรรมการสังคม และความมั่นคงมนุษย์จังหวัด) จะมีข้อมูลด้านผู้สูงอายุ
  • ผมก็ทำงานกับทางสภาผู้สูงอายุแห่งประเทศไทย
  • ทั้งหมดก็เป็นเครือข่ายที่ทำงานประสานกันอยู่แล้ว
  • ผมมีคติว่า "ถ้าเราจะทำแล้วประสบผลสำเร็จ ก็ต้องมีเครือข่ายเข้ามาร่วมด้วย" ทำงานช่วยเครือข่ายด้วย และเครือข่ายก็จะมาช่วยเราโดยอัตโนมัติเอง
  • ... เดี๋ยวนี้ คือ เครือข่ายที่เป็นชมรมผู้สูงอายุ และไปเป็นเครือข่ายชมรมผู้สูงอายุ เราก็ช่วยกัน แต่ก่อนก็ประมาณ 100 กว่าชมรม อีกปีหนึ่งก็เพิ่มเป็น 450 ชมรม ที่เป็นเครือข่ายของสภาผู้สูงอายุ และทางสภาผู้สูงอายุเขาจะมีแผนงาน / โครงการ ซึ่งพอเขาจัดเราก็เข้าไปช่วย คือ ให้เขาเขียนโครงการได้ เขียนโครงการเป็น และสามารถบริหารจัดการโครงการได้
  • เดี๋ยวนี้ก็ท่านคุณพ่อประธานก็เป็นคนที่เข้มแข็ง เป็นเกษตรจังหวัดขอนแก่นเดิม
  • เครือข่ายเชิงลึกก็จะมีอีก เช่น ชมรมผู้สูงอายุอื่นๆ NGO ซึ่งเขาจะบูรณาการ กับ พมจ. ซึ่งผมก็ผ่านทาง พมจ. ไปหาชมรมฯ อีกทีหนึ่ง
  • ชมรมผู้สูงอายุที่ไม่เป็นสมาชิกของสาขาสภา ก็จะมีอีก ปกติ ถ้าเขาไม่สมัคร เขาก็ไม่ได้เป็น
  • เครือข่ายนี้มีประโยชน์อย่างไร
    ที่ผมดูคือ
    ... ผู้สูงอายุสามารถดูแลตัวเองได้ดีมากขึ้น เพราะว่าเขาจะมีการประชุม อบรม ศึกษาดูงาน เป็นการสร้างสุขภาพของผู้สูงอายุ โดยที่เราไม่ต้องเข้าไป support เขาช่วยเหลือตัวเองได้จุดหนึ่ง ส่วนมากจะเข้มแข็ง
  • โครงการดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน ผมคิดว่าเหมือนกันกับโครงการเพื่อนช่วยเพื่อน แต่กลุ่มอายุต่างกันเท่านั้นเอง เพราะว่าโครงการเพื่อนช่วยเพื่อน เป็นผู้สูงอายุทั้งหมด มาเป็นการดูแลผู้สูงอายุ ส่วนโครงการอาสาสมัคร อาจเป็นผู้สูงอายุ หรือไม่ใช่ก็ได้ แต่มีความสมัครใจ และมาช่วยกัน หลักสูตรคล้ายๆ กัน จะแตกต่างกันก็บางหัวข้อเท่านั้นเอง
  • สมาชิกของชมรมผู้สูงอายุเยอะมาก ประมาณ 120,000 คน ทั้งจังหวัด
  • โครงการเพื่อนช่วยเพื่อน ทำประมาณ 1 ปี ผลประโยชน์ที่ได้รับคือ
    1. ตัวผู้สูงอายุที่เป็นอาสาสมัครเองมีงานทำ มีสิ่งที่เขาทำ ก็เกิดความภูมิใจ
    2. ตัวผู้สูงอายุที่ดูแลตนเอง ก็มีความภาคภูมิใจ และพึงพอใจที่มีคนเยี่ยม 3. ผู้สูงอายุ ก็พยายามดึงชักชวนคนที่มีปัญหาเหล่านี้ มาร่วมกิจกรรมเยอะขึ้น ก็จะทำให้เกิดกิจกรรมในส่วนของผู้สูงอายุได้ครอบคลุมมากขึ้น
  • กิจกรรมที่ประสบความปัจจัยสำเร็จนี้ก็คือ "การสร้างความภูมิใจ ความพึงพอใจในกลุ่มผู้สูงอายุ และพอใจในเรื่องของการมีกิจกรรมที่ทำให้เพื่อนๆ กันเอง สุขภาพจิตดี และร่วมทำกิจกรรมมากขึ้น"

นี่คือ เรื่องเล่าเรื่องแรกจาก สสจ.ขอนแก่นค่ะ

รวมเรื่อง ใจซื้อใจ ... ลปรร. 4 จว. นำร่อง "ระบบบริการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุที่บ้าน ปี 2550"

 

หมายเลขบันทึก: 162849เขียนเมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2008 13:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 22:34 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

สวัสดีค่ะ

ได้อ่านกิจกรรมต่าง ๆ เกี่ยวกับผู้สูงอายุ ก็เป็นเรื่องที่น่าสนใจนะคะ เลยอยากแลกเปลี่ยนบ้าง ไม่ทราบว่ากลุ่มผู้สูงอายุที่ลงไปเยี่ยมหรือดูแลที่บ้านได้รับการเยี่ยมทุกคนหรือไม่ แล้วมีระบบการดำเนินกิจกรรมชมรมอย่างไรบ้าง ได้เก็บข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลเรื่องภาวะสุขภาพของผู้สูงอายุในพื้นที่รับผิดชอบ อยากจัด ระบบการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุที่บ้าน เช่นกันค่ะ ขอบคุณค่ะ

สวัสดีค่ะ อาจารย์

เรื่องผู้สูงอายุ มีคนสนใจกันมานานนะคะ

อยากให้ทุกพื้นที่ ดำเนินการเรื่องนี้จังค่ะ

 

  • สวัสดีค่ะ คุณสีตะวัน คุณ pa_daeng
  • ฟังเรื่องเล่าของ หน่วยบริการต่างๆ เขาวางแผนการเข้าเยี่ยมผู้สูงอายุได้ทั่วถึงจริงๆ ค่ะ (ต้องรอฟัง ของ อีก 3 จังหวัดนะคะ)
  • และรูปแบบการเยี่ยม ก็มีหลากหลาย แล้วแต่ชุมชน
  • ตอนนี้ ส่วนของสังคมมีสถานบริการลักษณะนี้ มากมาย หลายรูปแบบ
  • และส่วนของชุมชน ภาคราชการ ทั้งกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงพัฒนาสังคมฯ องคการปกครองส่วนท้องถิ่น และอื่นๆ เริ่มให้ความสำคัญกับผู้สูงอายุมากขึ้น มากขึ้น
  • อนาคตจะมีการดำเนินการกันได้มากขึ้นละค่ะ ทั้งนี้คงต้องอาศัยหัวใจสำคัญ คือ ชุมชนมีส่วนร่วมอย่างจริงจังด้วยละค่ะ และมาร่วมด้วยช่วยกัน
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท