แนวทางการประเมินคุณภาพภายใน คณะวิชา ปีการศึกษา 50 มมส.


หลังจากเมื่อวานตอนเย็นๆท่านรองอธิการบดีฝ่ายประกันคุณภาพ อาจารย์ ดร.วรรทณา สินศิริ นัดประชุมศูนย์ฯวาระพิเศษ สืบเนื่องจากเอกสารชิ้นหนึ่งที่ผมได้จัดทำขึ้น (ดูเอกสารประกอบ) โดยนำ (ร่าง) องค์ประกอบและตัวบ่งชี้การประกันคุณภาพภายใน ของ สกอ. มาวิเคราะห์ความสัมพันธ์ สอดคล้องต่างๆ เพื่อหาแนวทางในการจัดทำ คู่มือ QA คณะวิชา มมส.

ซึ่งในขณะนี้เท่าที่ทราบความเคลื่อนไหว ของ สกอ. ก็เพิ่งประชุมไป 2 ครั้งแล้ว และครั้งที่ 3 น่าจะเป็นวันพรุ่งนี้ วันที่ 1 มีนาคม 2550 และทางศูนย์ฯคิดว่าคงใช้เวลาอีกหลายเดือนกว่าจะออกมาสมบูรณ์นำไปใช้ได้ และไม่มีกูรูผู้ใดที่จะให้คำตอบได้ชัดเจนว่าจะเสร็จเมื่อใดนั้น และอาจจะทำให้ระบบกลไกภายในมหาวิทยาลัยขาดความต่อเนื่อง หยุดชะงักงัน

ดังนั้น เราจึงตกลงกันว่าจะทำงานแบบคู่ขนานกันไป กับ สกอ. เท่าที่เรามีข้อมูลเล็กน้อยที่พอคลำทางได้ โดยพิจารณาตกลงกันในหลักการกว้างๆ ก่อน ซึ่งถ้าองค์ประกอบและตัวบ่งชี้การประกันคุณภาพภายใน ของ สกอ. ออกมาเสร็จทันการณ์ตามแผน QA ภายในที่กำหนดไว้ เราก็จะยึดตาม แต่ถ้าไม่ทันก็จะใช้ คู่มือ QA ที่เป็นแบบของ มมส. เอง มีหลักการคร่าวๆดังนี้

1. การกำหนดมาตรฐานและตัวบ่งชี้ พิจารณาจาก

    - (ร่าง) องค์ประกอบและตัวบ่งชี้การประกันคุณภาพภายใน ของ สกอ.

    - กรอบแนวคิดด้านคุณธรรมจริยธรรมเพื่อพัฒนาบัณฑิตอุดมคติไทย

    - ผลการประเมินภายนอกรอบ 2 ในส่วนของจุดที่ควรพัฒนา

    -ตัวชี้วัด ของ ก.พ.ร. ปีงบประมาณ 50

    -จุดเน้น เอกลักษณ์ตามบริบทของมหาวิทยาลัย

2. รูปแบบเกณฑ์การประเมิน ยึด 2 มิติ คือ มิติที่ 1 ด้านกระบวนการ (4 ระดับ PDCA) และมิติที่ 2 ผลสัมฤทธิ์เชิงปริมาณ (3 ระดับ) ลองดูตัวอย่างหน้าตาครับ

    (1)  มีนโยบาย/แผน/แนวปฏิบัติในการพัฒนาอาจารย์ให้เข้าสู่ตำแหน่งวิชาการ

    (2) มี (1)+มีการดำเนินงานตามมีนโยบาย/แผน/แนวปฏิบัติ

    (3) มี (2)+มีการติดตาม/ทบทวน/ประเมินผลการดำเนินงาน

    (4) มี (3)+มีการแก้ไขปรับปรุงการดำเนินงาน

    (5) อาจารย์มีตำแหน่งทางวิชาการร้อยละ 1-44

    (6) อาจารย์มีตำแหน่งทางวิชาการร้อยละ 45-69

    (7) อาจารย์มีตำแหน่งทางวิชาการมากกว่าร้อยละ 69

3. การเลือกจุดเน้นของคณะ แนวคิดที่พูดกันคือ ให้คณะสามารถเลือกจุดเน้นเพิ่มเติมได้ แต่อย่างน้อยต้องมีจุดเน้นตามระดับสถาบัน คือ เน้นด้านการผลิตบัณฑิตและวิจัย

4. การกำหนดน้ำหนักความสำคัญของมาตรฐาน และตัวบ่งชี้ ซึ่งคุยกันในเบื้องต้นจะใช้หลักการตาม สมศ. ที่เคยประเมินคุณภาพภายนอก ในส่วนนี้คงต้องคุยเป็นอีกวาระหนึ่งต่อไป

5. ความหมาย วิธีการรายงานข้อมูล ข้อมูลที่ต้องการและสูตร ซึ่งผมได้วิเคราะห์ร่าง องค์ประกอบและตัวบ่งชี้ ของ สกอ. ดูแล้วว่าซ้ำกับของ สมศ. รอบ 2 จำนวน 22 ตัว ซึ่งน่าจะใช้ของเดิมได้ทุกประการ 

นี่เป็นเพียงแนวทาง หลักการกว้างๆ ที่คุยกันภายในศูนย์ฯ แต่อย่างไรทุกอย่างก็ต้องไปพูดคุยกันในระดับคณะกรรมการประสานงานดำเนินงาน QA ของ มมส. ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ต้องนำคู่มือที่จะจัดทำขึ้นไปเป็นแนวทางในการทำงานต่อไป ทางศูนย์ฯเป็นเพียงผู้นำเสนอข้อมูล เหตุผล หลักการ ทำงานในลักษณะ หน่วยงานคุณอำนวยครับ

ถ้าหน่วยงานใดที่รับผิดชอบ QA ของสถาบันอุดมศึกษามีแนวคิด แนวทาง ดีดี แปลกแปลก น่าสนใจ ก็เชิญแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันได้นะครับ ขอขอบคุณไว้ล่วงหน้า

ภาพปกคู่มือประกันคุณภาพภายในที่ทำกันมาในแต่ละปี

<table border="0" align="center"><tbody>

 

 

 

 

 

 

 

 

 

</tbody></table></span>KPN

หมายเลขบันทึก: 81088เขียนเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2007 10:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:50 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (11)
งงจริงๆ ใส่ "คำหลัก" ว่า มมส คณะ ศูนย์พัฒนาและประกันคุณภาพ คู่มือประกันภายใน มาตรฐาน ตัวบ่งชี้ ทำงานคู่ขนาน สกอ
  • แจ๊คคะ ... วันที่ 8 มี.ค. นี้ สกอ. เชิญผู้แทนมหาวิทยาลัยเข้าประชุมซึ่งน่าจะได้รับทราบความคืบหน้าในเรื่องนี้บ้างค่ะ
  • ไม่แน่ใจว่าพบกับแจ๊คในที่ประชุมรึเปล่า 
  • ในส่วนของ มน. ได้จัดประชุม QA Staff และจัดทำคู่มือการประกันคุณภาพฯ ปี 50 มอบให้กับทุกคณะและหน่วยงานไปแล้ว
  • ซึ่งเราก็ได้แจ้งให้คณะยึดตามที่เราได้ทำในปีที่กำลังจะมาถึงเพราะเราเองไม่แน่ใจว่า สกอ. จะคลอดเกณฑ์ออกมาทันได้ใช้ในปีนี้รึเปล่าเหมือนกันค่ะ

ถึง คุณตูน

ทราบข่าวเกี่ยวกับงานนี้อยู่ครับ เมื่อวานก็ดูรายละเอียดเจอในเว็บ ซึ่งก็มีหัวข้อที่น่าสนใจ คือ

  • ทิศทางการพัฒนาคุณภาพการอุดมศึกษาไทย
  • ผลการประเมินคุณภาพภายนอกสถาบันอุดมศึกษา
  • ตัวบ่งชี้ เกณฑ์การประเมินคุณภาพและแนวทางการพัฒนา คุณภาพสำหรับตัวบ่งชี้การประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา ระดับอุดมศึกษา

รายละเอียดทั้งหมดได้ที่ http://www.mua.go.th/users/bhes/bhes2/qa_meeting/qa_ED.htm

ซึ่งผมเชื่อว่าจะเป็นการการรับฟังความคิดเห็น ร่าง ในครั้งแรก เท่านั้นครับ

คงไม่ได้ไป อาจเป็นท่านผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายประกันคุณภาพที่เข้าร่วมครับ

ขอบคุณครับที่แจ้งข่าว

กัมปนาท

แก้คำหลักได้แล้วครับ งง ไม่รู้เป็นอะไร

ถึงคุณตูน อีกครั้ง

  • แนวคิด วิธีของ มน. คือ ใช้ของเก่าไปก่อน สำหรับ มมส. ถ้าดูดีดีแล้ว ก็ใช้ของเก่าเป็นฐานในการพัฒนาเช่นกันครับ เพียงแต่นำข้อติดขัด ต่างๆ ในครั้งก่อนมาปรับปรุงเท่านั้น
  • เกณฑ์การประเมินเอย ตัวบ่งชี้ ก็จะไม่ต่างจากปีก่อนเท่าใดนัก
  • เพียงแต่แต่งหน้า ทาปาก ให้สวยขึ้นเท่านั้นครับ

กัมปนาท

  • คำหลัก ระบบใหม่ ถ้าพิมพ์ โดยเว้นวรรค เมือนเก่า จะกลายเป็น คำเดียว ครับคุณแจ๊ค (สังเกตุ ขีดเส้นใต้ติดกันหมด
  • ฝันอยากเห็น CoP MSUQA ที่มีองค์ประกอบจากคณะต่าง ๆ มา ลปรร. ใน Gotoknow เหมือน NU บ้างนะครับ

เรียนท่านอาจารย์อรรณพ

  • ที่ มมส ก็มีชุมชนประกันเช่นกันครับ แต่ที่ผ่านจะเป็นลักษณะในแบบเป็นทางการ และเป็นกลุ่มใหญ่รวมทุกประเมินหน่วยงาน
  • แต่ในปีนี้เพื่อให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันมากขึ้นในลักษณะกลุ่มเล็กลง คือ เราจะแยกเป็น
  • CoP กลุ่มจัดการเรียนการสอน (คณะ)
  • CoP กลุ่มสนับสนุนการเรียนการสอน
  • CoP กลุ่มกิจการเสริมศึกษา
  • CoP กลุ่มจัดการสอนนอกพื้นที่
  • CoP กลุ่มโรงเรียนสาธิต ประถม และมัธยม
  • ซึ่งจะมีความชัดเจนมากขึ้นครับ
  • และจะนำกระบวนการ KM มาเป็นตัวขับเคลื่อนสำคัญครับ

ด้วยความเคารพ

กัมปนาท

เยี่ยมเลยครับ ท่านJack และ ได้ข้อมูลประการใด (ท่าน ผอ.ตูน
P) จาก สกอ รบกวน นำมาเล่าสู่กันฟังด้วยครับ

เรียนท่านอาจารย์จิตเจริญ

  • ขอบคุณที่แวะมาเยี่ยม
  • คงต้อง ลปรร. กับคุณตูน เพิ่มเติมครับ
  • ทำงานแบบเครือข่ายเพื่อน ก็ดีอย่างนี้แหล่ครับ
  • เราไม่ได้แข่งกันทำงาน แต่แข่งกันในเชิงวิชาการ คุณภาพของการศึกษา ครับ

ด้วยความเคารพ

กัมปนาท

  • เล่มเขียว คุ้นหน้าคุ้นตามาก  เพราะช่วงนั้นเป็นมีส่วนร่วมกับการประกันฯ ของหน่วยงาน
  • แวะมาส่งข่าวว่าเขียนบันทึกเรื่องสมุดบันทึกกิจกรรมและทรานสคริปกิจกรรมแล้วนะครับ
  • ว่าง ๆ ลองแวะไปดูที่http://gotoknow.org/blog/pandin/81791
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท