อดมื้อกินมื้อ ทำไมไม่ผอม


...เราๆ ท่านๆ คงจะคิดว่า คนจนส่วนใหญ่คงจะผอมแบบภาพข่าวเอธิโอเปีย หรือคิดว่า คนจนคงจะทำงานใช้แรงงาน กินน้อย ทำให้ผอม...

คนขายของที่มัณฑเลย์

(ภาพคนขายอาหารที่มัณฑะเลย์ พม่า... แบกเตาขายของแบบนี้อ้วนยาก... / มิถุนายน 2548)

เราๆ ท่านๆ คงจะคิดว่า คนจนส่วนใหญ่คงจะผอมแบบภาพข่าวเอธิโอเปีย หรือคิดว่า คนจนคงจะทำงานใช้แรงงาน กินน้อย ทำให้ผอม

Hiker

ทว่า... ทุกวันนี้โลกของเราเปลี่ยนไป คนจนส่วนใหญ่มีแนวโน้มจะอ้วนขึ้นเรื่อยๆ และเป็นโรคที่พบในคนอ้วนเพิ่มขึ้น เช่น โรคเส้นเลือดหัวใจอุดตัน ความดันเลือดสูง ฯลฯ

วันนี้เรามีข่าวดีจากท่านผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พาร์ค วิลด์ (Parke Wilde) แห่งวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และนโยบายโภชนาการฟรีดแมน มหาวิทยาลัยทัฟส์ บอสตัน สหรัฐอเมริกามาเล่าสู่กันฟังครับ

ก่อนอื่นขอกล่าวถึงนิยมคำว่า “อ้วน (obese)” ของอเมริกาว่า นิยามนี้เทียบกับคนอ้วนไทยแล้ว คนไทยต้องเรียกคนอ้วนอเมริกาว่า “พี่” ทีเดียว

คนไทยเห็นใครน้ำหนักเกินหน่อยก็ว่า อ้วนกันแล้ว ทว่า... คนอเมริกันกว่าจะเรียกว่าอ้วนท่านนับดัชนีมวลกาย (body mass index / BMI) เท่ากับ 30 จึงจะถือว่า “อ้วน”

วิธีคิดดัชนีมวลกาย... ให้นำน้ำหนักเป็นกิโลกรัมมาตั้ง หารด้วยส่วนสูงเป็นเมตร 2 ครั้ง เช่น นาง ข สูง 160 เซ็นติเมตร หนัก 70 กิโลกรัม

เมื่อนำน้ำหนักเป็นกิโลกรัมคือ 70 มาตั้ง หารด้วยส่วนสูงเป็นเมตร (1.6) ครั้งแรกจะได้ 43.75 หารครั้งที่สองจะได้ 27.34

ค่าดัชนีมวลกายปกติของคนไทยอยู่ในช่วง 19.5-23.5 นาง ข มีดัชนีมวลกายเท่ากับ 27.34 นับว่า อ้วนตามมาตรฐานไทย(เกิน 23.5) แต่ไม่อ้วนในมาตรฐานอเมริกัน(น้อยกว่า 30)

คนอ้วนอเมริกันท่านคิดดัชนีมวลกายเกิน 30 ผิดไปจากของไทยที่นับเพียง 23.5 เช่น

 

ถ้าสูง 160 เซ็นติเมตร อ้วนแบบอเมริกันต้องหนัก 76.8 กิโลกรัมขึ้นไป (BMI = 30) อ้วนแบบไทยนับ 60.16 กิโลกรัมขึ้นไป (BMI = 23.5) ฯลฯ

อาจารย์ ดร.พาร์ค และอาจารย์เจรูชา พีเทอร์แมนนำข้อมูลจากการสำรวจสุขภาพของรัฐบาลกลางสหรัฐฯ จากกลุ่มตัวอย่างซึ่งมีทั้งผู้ชายและผู้หญิง 9,700 คน ในปี 2543-2545 มาศึกษาวิเคราะห์

ผลปรากฏว่า คนจนผู้หญิงอเมริกันมีแนวโน้มจะอ้วนกว่าคนทั่วไป

  • คนจนผู้หญิงอเมริกันที่มีอาหารกินไม่เพียงพอทุกมื้อมีแนวโน้มจะอ้วน (BMI = 30 ขึ้นไป) มากกว่าคนที่มีอาหารกินทุกมื้อ 58-76 %
  • คนจนผู้หญิงอเมริกันที่มีอาหารกินไม่เพียงพอทุกมื้อมีแนวโน้มจะมีน้ำหนักขึ้นตั้งแต่ 10 ปอนด์ หรือ 4.54 กิโลกรัมขึ้นไปในปีถัดไปถึง 1 ใน 3 (33 %) เมื่อเทียบกับคนที่มีอาหารกินทุกมื้อมีแนวโน้มดังกล่าว 20 %

 

ส่วนคนจนผู้ชายอเมริกันไม่มีแนวโน้มที่จะอ้วน (BMI = 30 ขึ้นไป) หรือมีน้ำหนักขึ้นมากกว่าคนที่มีอาหารกินทุกมื้อถึงระดับนัยสำคัญทางสถิติ

 

อาจารย์ท่านสันนิษฐานสาเหตุที่ทำให้คนจนอ้วนง่ายไว้ 2 ประการ...

  1. นิสัย “กินเผื่อมื้อหน้า”:                        
    ภาวะกินมื้ออดมื้อทำให้เกิดนิสัย “กินเผื่อมื้อหน้า” ความกลัวหิวทำให้กินมากขึ้น... เลยอ้วนเลย
  2. อาหารถูกแคลอรี่สูง:                          
    อาหารราคาถูกในอเมริกา เช่น อาหารประเภททอด อาหารจานด่วน(ฟาสต์ฟู้ด) ฯลฯ มักจะมีแคลอรี่สูงกว่าอาหารสุขภาพ เช่น ผัก ผลไม้ เนื้อ ปลา ฯลฯ

คำแนะนำ:                                              

คนไทยอ่านเรื่องนี้แล้วไม่ต้องตกใจครับ... ข้าวกล้อง ผัก ผลไม้ ถั่ว งา และปลาบ้านเราคงจะไม่ได้แพงมากแบบอเมริกา

ขอเพียงเราอยู่แบบเศรษฐกิจพอเพียง เริ่มด้วยการเปลี่ยนข้าวขาวเป็นข้าวกล้อง ทำอาหารกินเองบ้าง กินผักครึ่งหนึ่ง-อย่างอื่นครึ่งหนึ่งแบบไทยๆ ลดของมันของทอดลง

นอกจากนั้นควรออกกำลังกายเป็นประจำ เช่น เดินเร็วให้ได้อย่างน้อยวันละ 30 นาที ฯลฯ ถ้าน้ำหนักยังขึ้นอีกให้เพิ่มผัก ลดของหวาน ลดมัน และเดินให้มากขึ้น

ผู้เขียนเห็นคำขวัญพิมพ์ไว้ที่เสื้อยืดว่า “สุขภาพดีไม่มีขาย สุขภาพดีเริ่มต้นที่ตัวเรา” ครับ... คนเรามีศักยภาพที่จะทำอะไรดีๆ ได้มากกว่าที่เราคิดเสมอ

ที่มา:                                       

  • ภาพพม่า                             
    >>> คนขายของที่มัณฑเลย์ พม่า (มิถุนายน 2548)
    >>> ถ้าคนจนออกกำลังกาย เดินมาก แบกของขายอย่างนี้... คงจะไม่อ้วน
    >>> เชิญชมภาพใหญ่ที่นี่
    >>> [[[[[ คลิก _____ Click ]]]]]
  • ขอขอบคุณ                       
    > Amy Norton. Uncertainty about next meal may spur weight gain. http://go.reuters.com/newsArticle.jhtml?type=healthNews&storyID=12384529&src=eDialog/GetContent > May 31, 2006. Source: Journal of Nutrition, May 2006.
  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ จัดทำ > ๑ มิถุนายน ๒๕๔๙ > สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๔๙.
หมายเลขบันทึก: 32702เขียนเมื่อ 1 มิถุนายน 2006 13:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:24 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)
  • ขอบคุณครับ
  • เปลี่ยนชื่อเรื่องแล้วหรือครับ

 

thin
Custom Smiley ขอขอบคุณอาจารย์เปมิช และท่านผู้อ่านทุกท่าน...
  • 1). เรื่องนี้ตอนแรกใช้ชื่อเรื่องว่า "คนจน ทำไมถึงอ้วน"
    2). เมื่อทบทวนถึงท่านผู้อ่านแล้ว... ดูเหมือน Gotoknow จะเป็นตลาดของคนชั้นกลางเป็นส่วนใหญ่ คนรวยรองลงไป คนจนน่าจะน้อยที่สุด เกรงว่า จะไม่มีคนอ่าน เลยขอเปลี่ยนชื่อเรื่อง
    3). อีกอย่างหนึ่ง... คำว่า "อ้วน" เป็นคำที่ดูจะมองในแง่ร้าย (pessimistic) ทำให้คิดว่า น่าจะลองใช้คำว่า "ไม่ผอม" ซึ่งดูจะมองในแง่ดี (optimistic) แทน
    4). คำว่า "จน" เปลี่ยนเป็น "อดมื้อกินมื้อ" ทำให้ฟังดูอ่อนลง + มองโลกในแง่ดีมากขึ้น บางทีคนมีฐานะก็อดได้เป็นบางมื้อ เหตุผลคล้ายกับข้อ (3).

ขอขอบคุณท่านผู้อ่านทุกท่านครับ ขออภัยที่เปลี่ยนชื่อเรื่อง(เป็นเทคนิคทางภาษาที่ครูบาอาจารย์ท่านสอนมา...)





  • ขอบคุณครับ
  • ผมคงต้องพัฒนาเทคนิคนี้อีกเยอะครับ
  • เคยโดนว่าปากเสียอยู่หลายครั้งครับ
  • ตอนเขียนบันทึกก็ต้องแก้แล้วแก้อีก
  • ขืนเอาครั้งแรกที่เขียน ตีพิมพ์ออกมาเลย คงโดนว่าอีก
ขอขอบคุณอาจารย์เปมิช ท่านผู้ให้ข้อคิดเห็น และท่านผู้อ่านทุกท่าน... 1). ครูภาษาไทยท่านกล่าวไว้ว่า "นักเขียน... โตมาจากถังขยะ" 2). ที่กล่าวอยางนี้เพราะนักเขียนแต่ก่อน... เขียนแล้วทิ้งๆๆ ทำอย่างนี้หลายๆ ครั้ง จนได้เรื่องที่ดีจริงๆ แล้วจึงพิมพ์หรือเขียนออกมา 3). และแล้ว... บรรณาธิการ หรือเจ้าของสำนักพิมพ์ก็ทิ้ง(ลงถังขยะ)อีกหลายๆ ครั้ง 4). ทว่า... ทุกวันนี้เราอาจจะไม่ต้องทิ้งกระดาษไปหลายๆ ครั้งให้เปลืองต้นไม้ ใบไม้โลก เพราะมีคอมพิวเตอร์ไว้พิมพ์ 5). เทคนิคหนึ่งที่น่าสนใจคือ เน้นการพิมพ์ทิ้งไว้ แล้วรอให้ "ความคิดตกผลึก" หรือปล่อยให้ "กลไกเวลา (time machine)" ทำงาน 6). เมื่อเวลาผ่านไป... ไม่นานก็จะได้ข้อคิดที่ดีขึ้นอีก ผมจะพิมพ์เรื่องส่วนหนึ่งทิ้งไว้ รอให้ความคิดตกผลึกสักระยะหนึ่ง (ส่วนใหญ่ภายในวันเดียวกัน) แล้วจึงพิมพ์ออกมา 7). แนวโน้มของวรรณกรรมสมัยใหม่(เท่าที่สังเกต)... จะมีลักษณะอย่างนี้ครับ >>> มองโลกในแง่ดี (optimistic)+ แนวคิดยืดหยุ่นมากกว่าตายตัว (ballistic / adaptive) + ให้กำลังใจ (cheers) + ไม่กล่าวร้ายใคร (not blaming) ...
  • อาจารย์ทำanimation ได้แล้วนี่ครับ
  • ขอแสดงความยินดีด้วยครับ
  • ขอของคุณอาจารย์ขจิต ท่านผู้ให้ข้อคิดเห็น และท่านผู้อ่านทุกท่าน...

ภาพเคลื่อนไหว (animation) ที่อาจารย์เห็นเป็นภาพก่อนเปลี่ยนระบบ (old version)

  • ระบบใหม่ตอนนี้ดู "ลงตัว" มากขึ้น และทำภาพเคลื่อนไหวได้แล้ว ทำตามแบบอย่างที่อาจารย์สอนไปครับ

ขอขอบพระคุณ...

  • ขอบคุณครับ
  • ผมยังทำไม่เป็นเลยครับ เริ่มยังไงดีครับ
  • ผมพิมพ์ บันทึก Draft ไว้พอสมควรครับ ยังไม่ได้ ฤกษ์ตีพิมพ์สักที

 

  • ส่วนคนอดมื้อกินมื้อ แต่อ้วนนั้น ส่วนหนึ่งอาจจะมาจากการเน้นกินข้าวเยอะๆ (กับน้อยๆ) ให้อิ่มไว้ก่อน แล้วคาร์โบไฮเดรต (ส่วนเกิน) ก็เปลี่ยนเป็นไตรกลีเซอร์ไรด์

ขอขอบคุณอาจารย์เปมิชและท่านผู้อ่านทุกท่าน...

  • ยุคนี้โรคอ้วนไม่เลือกชนชั้นวรรณะ... ยากดีมีจนก็อ้วนได้คล้ายๆ กันทีเดียว
  • ป้องกันไว้ก่อนน่าจะดี

ขอขอบคุณครับ...

ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท