ทำอย่างไรให้ได้ Work Instruction มาโดยละม่อม


คุณละม่อม ผู้ช่วยยอดเก่งของตำรวจไทย ที่มีส่วนช่วยในกิจกรรมโปลิศจับขโมยทุกครั้ง คราวนี้มาช่วยพี่เม่ยจัดทำ WI ของหน่วย "ฮีมาโต" ด้วยค่ะ
    ในข้อกำหนดตามมาตรฐาน ISO15189 ข้อ 5.5.3 กำหนดไว้ว่า ต้องมีเอกสารแนะนำและวิธีปฏิบัติทั้งหมดจัดทำไว้เป็นเอกสารที่อ่านเข้าใจได้ง่าย และมีอยู่ในพื้นที่ปฏิบัติการ (ซึ่งก็หมายถึง Work Instruction:WI นั่นเอง)  เป็นเหตุให้พี่เม่ยต้องจัดทำ WI ขึ้นมาอีกชุดหนึ่งทั้งๆที่เราก็มี Standard Operating Procedure : SOP อยู่ในมือแล้วตั้งแต่เมื่อครั้งโรงพยาบาล มอ. ผ่าน HA  แตกต่างกันก็เพียงรูปแบบเอกสาร และรายละเอียดที่ต้องเพิ่มเติมเล็กน้อย ปัญหามีอยู่ว่า ถ้าทำคนเดียวน่าจะล่าช้าแน่ๆ
   โชคดีที่ไหวตัวทันแต่เนิ่นๆ  พี่เม่ยจึงได้จัดทำแผนการจัดทำคู่มือฯที่ว่านี้ตั้งแต่เดือน เม.ย. 48 ไว้แล้ว โดยการแบ่ง SOP เดิมออกเป็น 5 หมวดใหญ่ หลังจากนั้นก็ copy file ใส่แผ่นดิสก์ พร้อมกำหนดรูปแบบของฟอร์มเท่าที่คิดได้ก่อน (ซึ่งตอนนั้นยังไม่ได้แบบฟอร์มที่สมบูรณ์แบบจากทีมอนุกรรมการส่งเสริมคุณภาพฯมา) แล้วนัดประชุมทีมงาน(ทั้งห้า) เพื่อชี้แจงเป้าหมาย และวัตถุประสงค์  จากนั้นก็มอบหมายงานดังนี้
หมวด A  งานประจำ1   (พี่เม่ยรับผิดชอบ)
หมวด B   งานประจำ2และ cytochem (น้องหรู รับผิดชอบ)
หมวด C   Routine coagulation  (น้องเม้าส์ รับผิดชอบ)
หมวด D   Special test ต่างๆ (พี่อุรารับผิดชอบ)
หมวด E   Thalassemia screening and Hb typing  (น้องนุก รับผิดชอบ)
    หลังจากนั้นก็ให้แยกย้ายกันทำงานตามอัธยาศัย  บางคนก็ทำที่บ้าน บางคนทำที่ทำงาน ค้นคว้าหนังสือเพิ่มเติมกันเอง หรือมาถามพี่เม่ยบ้างก็ได้  ได้เท่าไรก็เอาเท่านั้น (แต่จริงๆต้องการทั้งหมดนั้นแหล่ะ) ทุกคนกระตือรือร้นและให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี
    ต่อมาพี่เม่ยก็ทำ timeframe เพื่อติดตามงานทั้งหมด 4 รอบ เว้นระยะรอบละ 3 เดือน (ก.ค.48, ต.ค.48, ม.ค.49 และ เม.ย.49) โดยขอร้องกึ่งบังคับให้รายงานความก้าวหน้าของงานอย่างน้อยรอบละ 25%  (โดยให้เขียนในบันทึกการติดตามงานด้วย) ซึ่งตอนนี้ก็เป็นการตามงานรอบที่สามแล้ว แต่ละหมวดก็สามารถดำเนินงานไปได้ตามเป้า(ประมาณ 75%)  พี่เม่ยก็รอรวบรวมข้อมูลเพื่อนำมาจัดทำเป็นคู่มือต่อไป  
    ในระหว่างการจัดทำก็มีการพูดคุยปรึกษากันตลอด (brainstroming) น้องๆก็เสนอความเห็น เพิ่มเติมว่า ต้องมีเอกสารประกอบด้วยนะพี่เม่ย เช่นคู่มือการใช้เครื่อง บันทึกการดูแลรักษาเครื่อง เอ..ทำอย่างไรให้ได้มาเร็วๆ  ก็มีน้อง(อีกนั่นแหละ) เสนอว่าเราลองขอจากฝ่ายวิชาการของแต่ละบริษัทที่เป็นคู่สัญญาวางเครื่องเลยดีกว่า เอ้า..ขอก็ขอ..ดีจริงๆค่ะ เพราะได้มาโดยละม่อม (ครั้งที่1)
     ความอิสระในการทำงานที่ได้รับมอบหมาย ทำให้ทุกคนรู้สึกสนุก ไม่เครียด  บางคนทำแบบเก็บเล็กผสมน้อยไปเรื่อยๆ บางคนก็หักโหมเอาเวลาถูกตามงาน บางคนเมื่อถูกตามงานก็ยังมีการขอต่อรอง ออดอ้อนขอผลัดผ่อนไปอีกสักอาทิตย์ก็มี  ก็สไตล์ใครสไตล์เขาละค่ะ แต่ที่สำคัญก็คือต้องไม่ลืมเป้าหมายที่กำหนดไว้ ว่าเราจะทำ WI ให้สำเร็จตามเวลาที่กำหนด...โดยละม่อม (ครั้งที่ 2) 
     ต้องขอบคุณผู้ช่วยยอดเก่งของตำรวจไทย  ที่ทำท่าว่าจะช่วยให้พี่เม่ยได้ WI ของหน่วยงานตรงตามเป้าหมาย .."คุณละม่อม".. นั่นเอง หน่วยงานอื่นจะนำคุณละม่อมไปช่วยงานบ้าง ก็น่าจะไม่มีปัญหานะคะ
หมายเลขบันทึก: 11823เขียนเมื่อ 11 มกราคม 2006 09:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 17:23 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ขอบคุณพี่เม่ยที่บอกเคล็ด (ไม่) ลับ   QM หน่วยอื่นๆ น่าจะลอกเลียนวิธีการพี่เม่ยไปปฏิบติได้เลย

เป็นรูปธรรมดีจริงๆ ค่ะ พี่เม่ย
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท