เครือข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชนก้าวไปพร้อมกับการจัดการความรู้


การจัดการความรู้กับเครือข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชนประเทศไทย

จตุพร วิศิษฏ์โชติอังกูร

การท่องเที่ยวเหมือนดาบสองคม เป็นคำกล่าวเตือนใจที่มีนัยยะของความจริง พร้อมกับเห็นประจักษ์ในปัญหาว่าหากเราจัดการการท่องเที่ยวไม่เหมาะสมแล้ว การท่องเที่ยวจะแปรเปลี่ยนเป็นปัญหาใหญ่ๆ มาให้ชุมชนขบคิดและแก้ไขในระยะยาว เอกสารทางวิชาการหลายๆเรื่องชี้ให้เห็นว่า การเติบโตของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวที่เล็งผลทางด้านเศรษฐกิจ มีผลกระทบต่อสภาพสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรอันเป็นฐานทรัพยากรของการท่องเที่ยว อาจส่งผลให้จำนวนนักท่องเที่ยวลดน้อยลง และก่อปัญหามากมายให้กับพื้นที่อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้  

 

ในระดับชุมชนได้มีแนวคิดการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนเกิดขึ้นพร้อมกับการเตรียมรับมือการท่องเที่ยวที่เฟื่องฟูผ่านการส่งเสริมการท่องเที่ยวของประเทศ พื้นที่อันเปราะบางจำเป็นต้องสร้างภูมิคุ้มกัน เพื่อให้รู้เท่าทันกระแสทุนนิยม กระแสการท่องเที่ยวของประเทศ มีคำถามที่ท้าทายว่าเราจะทำอย่างไรให้ชุมชนท่องเที่ยวใช้ การท่องเที่ยวโดยชุมชน เป็นเครื่องมือให้เกิดการมีส่วนร่วม ในขณะเดียวกันให้เป็นวิถีการท่องเที่ยวปกติ การใช้กิจกรรมของการท่องเที่ยวพัฒนาคน พัฒนาการมีส่วนร่วมของคนที่รู้เท่าทันปัญหาและสถานการณ์ สร้างกระบวนการเรียนรู้เพื่อนำไปสู่การดูแลรักษา ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติโดยให้ความสมดุลกับปัญญาและอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมและเกื้อกูลต่อเศรษฐกิจของชุมชนในอนาคต พัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนของไทย ผ่านการเรียนรู้ ลองผิดลองถูกมาและได้มีการพัฒนามากว่า 30 ปี ปัจจุบันเกิดชุมชนที่สามารถจัดการการท่องเที่ยวได้ด้วยตนเองมีการบริหารจัดการที่เป็นระบบพร้อมกันนั้นได้ใช้การท่องเที่ยวมาเป็น เครื่องมือ ในการพัฒนาชุมชน สามารถพัฒนาชุมชนให้เกิดความเข้มแข็งผ่านกิจกรรมการท่องเที่ยวได้ พื้นที่ส่วนใหญ่จะเน้นไปทางภาคเหนือ และมีบางส่วนอยู่ทางภาคใต้ของประเทศไทย 

 

ประสบการณ์ที่สั่งสมของพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนที่หลากหลายในแต่ละภาคของประเทศไทยได้สร้างให้เกิดกระบวนการเรียนรู้และบทเรียนระหว่างทางขึ้นมาอย่างมากมาย องค์ความรู้เหล่านั้นถือว่าเป็น ทุน ของชุมชนที่จัดการท่องเที่ยวอยู่ ลักษณะการจัดการท่องเที่ยวแบบต่างคนต่างทำมีผลให้ทำให้ทุนที่สำคัญเหล่านี้ไม่ถูกนำมาปรับใช้ได้ในการพัฒนาอย่างเต็มที่นัก ในมิตินี้เองการท่องเที่ยวจึงเป็นเรื่องใหญ่ ที่ไม่ใช่จำกัดเฉพาะกิจกรรมการท่องเที่ยวเพื่อท่องเที่ยวแต่เพียงอย่างเดียว ผลพวงที่เกิดขึ้นเป็นผลึกความรู้อันสำคัญผ่านการเรียนรู้นี้จะนำไปสู่การยกระดับองค์ความรู้ท้องถิ่นและเป็นพลังในการพัฒนาชุมชนชนบทของประเทศได้ 

 

การพัฒนาประเทศ จำเป็นต้องอาศัยองค์ประกอบด้านต่างๆในลักษณะของ ทุน เพื่อเป็นพลังผลักดันให้เกิดการเคลื่อนไหวเพื่อการเดินทางต่อไปของการพัฒนา ในขณะเดียวกันเราก็มีปัญหาหมักหมมเชิงโครงสร้างใหญ่ๆ ปัญหาเหล่านั้นสะสมเพิ่มพูน เกิดผลเสียต่อประเทศมากขึ้นเรื่อยๆ ปัญหาเชิงโครงสร้างได้แก่

  <ol>

  •  วัฒนธรรมและโครงสร้างเชิงอำนาจ
  • ระบบราชการและการเมืองที่ด้อยประสิทธิภาพ
  • ระบบการศึกษาที่คับแคบและอ่อนแอ
  • ทิศทางการพัฒนาตามแนวทางทุนนิยม เงินนิยม-วัตถุนิยม-บริโภคนิยม
  • </ol>  <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p>เกิดผลร้ายต่อสังคมโดยรวม ไม่ว่าจะเป็นเกิดช่องว่างและความไม่เป็นธรรมในสังคม ความเสื่อมทางศีลธรรม การทำลายฐานทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม เกิดความขัดแย้งรุนแรงนำไปสู่ความแตกแยกของคนในชาติ จะมีพลังใดในการฉุดรั้งสังคม พัฒนาสังคมให้เกิดการสร้างสรรค์ เกิดการเปลี่ยนแปลงสังคมไปสู่สังคมแห่งการเรียนรู้และสังคมแห่งคุณธรรม เป็นคำถามที่ท้าทายสำหรับยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศทั้งปัจจุบันและอนาคต     </p><p>     </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><h3> ความรู้ที่มี ทั้งความรู้ในระบบการศึกษาที่เกิดสถาบันการศึกษาขึ้นมามากมายผลิตบัณฑิต ที่เป็นผู้รู้ ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านหลากหลาย ความรู้จากเอกสารตำรา จากสื่อต่างๆที่นำเสนอ เหมือนกับว่าปัจจัยที่เป็นทุนเหล่านี้ไม่ได้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาประเทศไทยอย่างแท้จริง ไม่มีพลังพอที่จะผลักดันสังคมไทยไปสู่สังคมแห่งการเรียนรู้ได้  เกิดคำถามต่อว่าเกิดข้อผิดพลาดอะไร? ติดขัดตรงไหน? </h3><p> </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p>เหตุผลที่เป็นแนวทางการพัฒนาชุมชนและให้ความสำคัญกับกระบวนการเรียนรู้ ถอดบทเรียนจากการพัฒนาที่ย่ำอยู่กับที่ทำให้เราเรียนรู้ว่า สังคมเรายังไม่มีการจัดการความรู้ที่เป็นระบบ จึงทำให้ไม่สามารถนำความรู้ที่มีอยู่มาจัดการให้เกิดประสิทธิภาพเต็มที่ ถือได้ว่าเป็นความมืดบอด(อวิชชา)  เพราะเราเคยชินกับความรู้ในรูปแบบของ ปัญญาผู้รู้ เราไม่ใส่ใจ หรือไม่ให้ความสำคัญต่อ ปัญญาของผู้ปฏิบัติ  แนวคิดนี้นำไปสู่การจัดการความรู้ของประเทศไทยที่เป็นทั้งเหตุและผลในการเป็นพลังขับเคลื่อนสังคมไทยให้เป็นสังคมแห่งความรู้ และการเรียนรู้ที่ทำให้คนในสังคมสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข การสร้างความรู้ไม่เพียงแต่เกิดขึ้นได้จากความรู้ที่มุ่งสร้างเทคโนโลยีใหม่ๆสร้างโอกาสและสภาพแวดล้อมแห่งการเรียนรู้สำหรับคนและองค์กรต่างๆในสังคมเท่านั้น แต่ต้องสร้างความรู้และกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันของทุกภาคส่วนในสังคมพร้อมกันไปด้วย จึงจะเป็นพลังความรู้ที่สามารถสร้างสังคมที่เข้มแข็งและอยู่เย็นเป็นสุข และมีคำถามต่อว่าแล้วจะทำอย่างไรถึงจะนำ ทุน เหล่านั้นมาใช้ให้เกิดประโยชน์ในการพัฒนาปัจจุบันได้มี แนวคิดการจัดการความรู้ ซึ่งเป็นกระบวนการที่จะยกระดับพร้อมกับสร้างและใช้ทุนที่เรามีอยู่อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด  </p><p> </p><h4 style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></h4><h3 style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">จะทำอย่างไร กระบวนการจะเป็นอย่างไร สามารถอ่านต่อได้จากบทความฉบับเต็ม  ที่นี่ครับ เครือข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชนกับการจัดการความรู้</h3><h4 style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></h4><h4 style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></h4><h4 style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></h4><h4 style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></h4><h5 style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">*** บทความนี้ไม่สงวนลิขสิทธิ์ในการนำไปใช้ประโยชน์เพื่อสังคมต่อครับ เพียงแต่บอกแหล่งอ้างอิง </h5>    <p> </p><p align="right">ขอบคุณครับ</p><p align="right">จตุพร วิศิษฏ์โชติอังกูร</p>

    หมายเลขบันทึก: 106279เขียนเมื่อ 25 มิถุนายน 2007 18:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:06 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


    ความเห็น (0)

    ไม่มีความเห็น

    พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
    ClassStart
    ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
    ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
    ClassStart Books
    โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท