ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ค.ศ.1948 พูดถึง "สิทธิในสุขภาพ (the Right to Health)" ว่าอย่างไรบ้าง??


Universal Declaration of Human Rights 

Adopted and proclaimed by General Assembly resolution 217 A (III) of 10 December 1948

Article 25.

(1) Everyone has the right to a standard of living adequate for the health and well-being of himself and of his family, including food, clothing, housing and medical care and necessary social services, and the right to security in the event of unemployment, sickness, disability, widowhood, old age or other lack of livelihood in circumstances beyond his control.

ข้อ 25.

(1) คนทุกคนมีสิทธิที่จะมีมาตรฐานการครองชีพอันเพียงพอต่อสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีของตนเองและครอบครัว รวมไปถึงการได้รับอาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย การดูแลรักษาพยาบาล และการบริการทางสังคมที่จำเป็น นอกจากนี้ คนทุกคนยังมีสิทธิที่จะได้รับความมั่นคงแม้ในช่วงว่างงาน เจ็บป่วย พิการ เป็นหม้าย วัยชรา หรือขาดปัจจัยดำรงชีวิตอื่นๆ ในพฤติการณ์ที่นอกเหนืออำนาจของตน

REMARKS: 

 

หมายเลขบันทึก: 160542เขียนเมื่อ 21 มกราคม 2008 17:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 มิถุนายน 2012 13:38 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

คำถามแบบซื่อบื้อมาก ก็คือ มาตรานี้ พูดถึงสิทธิในหลักประกันสุขภาพไหมล่ะ ?

มาตรา 25 ของ ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน นี้ เป็นมาตราพื้นฐานที่กล่าวถึงสิทธิในสุขภาวะ (ความเป็นอยู่ที่ดี) ในภาพรวม ซึ่งก็จะหมายรวมถึง การมีปัจจัยการดำรงชีพ 4 ประการ ในสภาวะปกติของชีวิต และสิทธิในความมั่นคงของชีวิตแม้จะอยู่ในสภาวะที่ไม่ปกติก็ตาม

การที่มนุษย์หนึ่งคนจะมีความเป็นอยู่ที่ดีได้ สิ่งหนึ่งคือต้องมีสุขภาพที่ดี และการที่มนุษย์คนนี้จะมีสุขภาพที่ดีได้ นั่นก็หมายความว่า เขาจะต้องได้รับการบริการและการรักษาพยาบาลที่ดีด้วย ซึ่งในที่นี้ใช้คำภาษาอังกฤษว่า "medical care and social services"

ข้าพเจ้าก็ขออนุญาตตีความจาก Declaration ข้างบนว่า..

"สิทธิในหลักประกันสุขภาพ" ก็เป็น sebset ของ "medical care and social service" นี่แหละค่ะ

เพราะฉะนั้นมาตรา 25 นี้ ยืนยันว่า "คนทุกคนมีสิทธิ" ที่ได้กล่าวถึงมาแล้วข้างต้น ในอีกนัยหนึ่งก็คือ "รัฐมีหน้าที่เคารพสิทธิ" ของคนทุกคนที่กล่าวถึงนี้ด้วย !!!
ไม่ได้มีความรู้อะไรมากมายนะคะ แต่เห็นเป็นหัวข้อน่าสนใจดีคะ..เลยเข้ามาอ่าน..แล้วก็เกิดความสงสัย..อ่านคร่าวๆนะคะ..ถ้าตกหล่นตรงไหนก็ต้องขอโทษด้วยนะคะ สงสัย..
ว่า.. แล้ว คำจำกัดความของคำว่า "สิทธิในหลักประกันสุขภาพ" มีไหมคะ ว่ามันคืออะไรบ้าง แค่ไหนเพียงไร อย่างไร?เพราะถ้ามีคำจำกัดความไว้ก็จะพอตีความ ได้ว่า "(สิทธิ)ใน(หลักประกันสุขภาพ)" เป็นsebset ของ "medical care and social service" หรือไม่? ถ้าถามอะไรแปลกๆไปก็ต้องขอโทษด้วยนะคะ..ไม่ได้ศึกษาเรื่องนี้โดยตรง อาจถามอะไรแปลก..คะ
    อีกคำถามนะคะ แล้ว ถ้าประเทศไทยเข้าเป็นภาคี"ศึกษาการดำเนินการของประเทศไทยในฐานะรัฐภาคี.." สงสัยอีกแล้วคะว่าประเทศไทยเข้าเป็นภาคี..ในที่นี้หมายถึงภาคี ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนนี้ใช่ไหมคะ?หรือภาคีอนุสัญญาอะไร? คือถ้าประเทศไทยเป็นภาคีอนุสัญญาหรือกฎหมายระหว่างประเทศฉบับใดโดยหลัก ก็ยอมมีพันธะกรณีต้องกลับมาออกกฎหมายภายในประเทศให้สอดคล้องกับอนุสัญญานั้นๆ ซึ่งในที่นี้ก็น่าจะอันดับแรกว่า น่าจะต้องไปดูที่กฎหมายรัฐธรรมนูญเรื่องนี้ เช่นในหมวดสิทธิฯ ปวงชนชาวไทย มีพูดถึงหรือไม่ ถ้ามี แล้วกฎหมายลำดับรอง เช่นพระราชบัญญัติต่างๆในเรื่องนี้มีออกกฎหมายมารองรับให้สอดคล้องกับกฎหมายรัฐธรรมนูญหรือไม่ อย่างไร เพียงใด แล้วถ้าไม่มี..กฎหมายระหว่างประเทศที่ไทยเข้าเป็นภาคีจะมีมาตรการใดตอบโต้ให้ไทยต้องปฏิบัติตาม..หรือไม่อย่างไร....และถ้ากฎหมายภายในมีบัญญัติไว้แล้ว แต่ในทางปฏิบัติไม่สามารถปฏิบัติได้ก็น่าศึกษานะคะว่า แล้วมันเกิดจากปัญหาอะไร ปัญหาในการบังคับใช่หรือไม่..หรือนโยบายไม่ชัดเจนหรืออย่างไร หรือตัวกฎหมายเอง หรือการบริหารจัดการ และหรือองค์กรที่มีอำนาจหน้าที่บริหารจัดการ..ซึ่งดิฉันคิดว่าปัญหาของประเทศไทยส่วนใหญ่กฎหมายดี แต่ปัญหาเกิดจากการตีความและการบังคับใช้กฎหมาย เป็นปัญหาสำคัญมาก...คะ
   เข้าใจว่าคุณน้องน่าจะกำลังอยู่ในช่วงหาหัวข้อวิทยานิพนธ์หรือเปล่าคะ เพราะเห็นจะศึกษาหลายประเด็น..แต่น่าสนใจดีนะคะน่าจะเป็นประโยชน์กับประเทศชาติมากคะ

ในทีมวิจัยของเรา คงต้องนิยามและจำแนก Right and Health ให้ชัด

ในประการแรก อ.แหววคิดว่า น่าจะเป็นเรื่องของ Right to health access ซึ่งแปลว่า แม้จะไร้รัฐ เมื่อป่วย โรงพยาบาลจะโยนออกมา และปฏิเสธการรักษาพยาบาลไม่ได้ค่ะ

ในประการที่สอง อ.แหววเรียกว่า Right to health garantie ซึ่งก็แปลว่า รัฐย่อมจะต้องทำให้คนทุกคนมี "หลักประกัน" ที่จะได้รับสุขภาพที่ดี ซึ่งจะไม่น่าจะประกันความสามารถที่จะจ่ายค่ารักษาพยาบาลอย่างเดียว ความไร้เงินที่จะจ่ายค่ารักษาพยาบาลมิใช่ "ความเสี่ยง" อย่างเดียวของคนป่วยค่ะ แต่ยอมรับว่า เงินค่ารักษาพยาบาลเป็นเรื่องใหญ่ ซึ่งในวันนี้ หมอไทยเก่งค่ะ เมื่อรัฐไทยสิ้นท่าในการให้ "หลักประกันสุขภาพ" แก่คนไร้รัฐ หลายโรงพยาบาล ก็คิดเรื่อง "หลักประกันสุขภาพทางเลือก" ขึ้นมาได้ ทีมวิจัยของเธอจึงต้อง "ถอดประสบการณ์" ของความพยายามที่จะอุดช่องว่างนี้ของเหล่านักวิชาชีพสาธารณสุข

ในประการที่สาม อ.แหววเรียกว่า Right to health fulfilment ซึ่งก็คือ การรับรองสิทธิที่จะได้การรักษาพยาบาลจนหายดีค่ะ จะรักษาเท่าที่มีเงินไม่ได้ค่ะ

ในประการที่สี่ อ.แหววเข้าใจว่า มัน ก็คือ Right to health utility ใช้ศัพท์ภาษาอังกฤษแบบแปลกๆ อีกแล้วเรา ก็พยายามจะอธิบายถึง "สิทธิในการใช้ประโยชน์จากความมีสุขภาพดี" เปรียบเทียบกับคนเรียน ก็น่าจะทำงานได้จากเรื่องที่เรียน จึงต้องออกใบรับรองวุฒิการศึกษาให้เด็กไร้รัฐที่เรียนจบในประเทศไทย ในขณะที่ต้องออกใบรับรองแพทย์ใหแก่คนไร้รัฐที่ปรากฏตัวในสังคมไทย

อันนี้ ก็คือ การตอบในเชิงการวิเคระห์สิทธิในชีวิตจริงของมนุษย์ ลองตรวจสอบซิคะ ว่ามนุษย์ทุกคนบรรลุถึงสิทธิในสุขภาพดีครบทุกระดับไหม และประชาคมระหว่างประเทศคาดหวังให้รัฐไทยทำแค่ไหน ?

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท