BM.chaiwut
พระมหาชัยวุธ โภชนุกูล ฉายา ฐานุตฺตโม

ทฤษฎีและปัญหาคุณธรรม : คุณธรรมหลัก


ทฤษฎีและปัญหาคุณธรรม ๔

คุณธรรมหลัก (Cardinal virtue) คือ คุณธรรมที่เป็นพื้นฐานของคุณธรรมอื่นๆ หรือเป็นคุณธรรมที่จำเป็นสำหรับมวลมนุษยชาติ ซึ่งผู้เขียนได้เล่าไว้บ้างแล้วที่  จริยศาสตร์คุณธรรมกับการกระทำเหนือหน้าที่ ๒.  หรือผู้สนใจยิ่งขึ้นก็สามารถค้นหาได้ในโลกอินเทอร์เน็ต ซึ่งมีบทความที่ขยายความประเด็นนี้ไว้มากมาย... เพียงแต่ความคิดเห็นในเรื่องนี้ก็แตกต่างกันไป มิได้ลงรอยเป็นมติเดียวกันเท่านั้น...

ตัวอย่างของคุณธรรมหลักก็เช่น ความยุติธรรม  ซึ่งใครๆ ก็คงจะไม่ปฏิเสธว่าต้องการความยุติธรรม... ยกย่องว่าความยุติธรรมเป็นสิ่งที่พึงปรารถนา แต่ถ้าจะถามว่า ตัวเราเองมีความยุติธรรมหรือไม่ ? ... บางคนก็อาจเกิดความอึดอัดที่จะตอบก็ได้ เมื่อนึกถึงการดำเนินชีวิตที่ผ่านมา....

ความยุติธรรมที่ชัดเจนที่สุดก็คือ ความยุติธรรมของแม่ที่มีลูกหลายคน... แม้ว่าความรักของแม่ที่มีต่อลูกอาจไม่เท่าเทียมกัน แต่ก็พยายามแสดงออกให้เห็นว่ารักลูกเท่าเทียมกัน นั่นคือ แม่พยายามสร้างความยุติธรรมให้เป็นพื้นฐานทางจิตใจในการแสดงความรักหรือในการเลี้ยงดูลูกทุกคน... นั่นคือ ความยุติธรรมเป็นคุณธรรมหลักของแม่ที่ชัดเจนที่สุด... ส่วนบุคลหรือกรณีอื่นๆ ผู้เขียนยังไม่เห็นความชัดเจนในเรื่องนี้...

.....

สำหรับคุณธรรมหลักในพระพุทธศาสนา ผู้เขียนคิดว่า ลักษณะการตัดสินพระธรรมวินัย ๘ ประการ น่าจะสงเคราะห์เป็นคุณธรรมหลักได้... ซึ่งผู้สนใจลองดูที่ การตรวจสอบพระธรรมวินัย (จบ)  เพียงแต่ยังไม่พบว่าใครเคยนำแนวคิดนี้มาจัดเป็นคุณธรรมหลักเท่านั้น....

.......

ส่วนสังคมไทยปัจจุบัน ผู้เขียนคิดว่า สมานฉันท์ และ ความพอเพียง น่าจะจัดเป็น คุณธรรมหลัก ที่จำเป็นที่สุดในขณะนี้ เพราะหลายฝ่ายก็พยายามอ้างเรื่องนี้ มีการพูดเรื่องนี้กันมาก... ซึ่งประเด็นนี้อาจมองในมุมกลับได้ว่า พื้นฐานทางจิตใจหรืออุปนิสัยของคนไทยในยุคนี้ ขาดความสมานฉันท์ และความพอเพียง นั่นเอง....

ดังที่เล่าไว้ตั้งแต่เบื้องต้นแล้วว่า คุณธรรม คือ อุปนิสัยที่พึงปรารถนา ซึ่งการที่จะทำให้คนเรามีพื้นฐานทางใจที่เรียกว่าอุปนิสัยได้นี้ จะต้องผ่านกระบวนการในการอบรมเลี้ยงดู ปลูกฝัง สร้างค่านิยม ... มิใช่การเสนอแนะด้วยคำพูดที่สวยหรู แต่ตัวเองก็มิได้เป็นเช่นนั้น

ตามแนวคิดจริยศาสตร์คุณธรรมร่วมสมัย การสร้างคุณธรรมนั้นจะผ่าน ตัวแทนทางศีลธรรม (moral agent) ซึ่งผู้สนใจสามารถคค้นหาเพิ่มเติมในอินเทอร์เน็ตได้ไม่ยาก....

เฉพาะคำสอนทางพระพุทธศาสนา ผู้เขียนได้เล่าไว้บ้างแล้วใน ปรัชญามงคลสูตร ๒๐ : ตัวแทนทางศีลธรรม (มีหลายตอน) ซึ่งผู้สนใจลองเข้าไปค้นหาแนวคิดได้อีกครั้ง....

แต่แนวคิดเรื่อง ตัวแทนทางศีลธรรม นี้ ก็มีปัญหาเช่นเดียวกัน ซึ่งผู้สนใจสามารถเข้าไปดูแนวคิดพื้นฐานได้ที่ เปรียบเทียบเกณฑ์ตัดสินจริยธรรมตะวันตกกับวิภัชชวาทในพุทธปรัชญา ๒ (จบ)  (เฉพาะหัวข้อจริยศาสตร์คุณธรรม)...

.....

และเมื่อกลับมามองปัญหาจริยธรรมในสังคมไทยในขณะนี้ในประเด็น ตัวแทนทางศีลธรรม ก็จะเห็นได้ว่า สังคมไทยขณะนี้มีปัญหาเรื่องตัวแทนทางศีลธรรม ซึ่งประเด็นนี้ผู้เขียนจะนำมาวิจารณ์ในตอนต่อไป....

หมายเลขบันทึก: 111526เขียนเมื่อ 14 กรกฎาคม 2007 17:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 มิถุนายน 2012 19:21 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
ทำไมแปล agent ว่า ตัวแทน และไม่เลือกว่า ตัวกระทำ ครับ?

ผมถามไว้เผื่อจะแปล http://en.wikipedia.org/wiki/Moral_agency เป็นภาษาไทยบ้าง ผมกล้าแปลแอบหวังว่าจะมีคนมีความรู้ไปอ่าน และทักท้วงแก้ไข. :-P
เห็นใน ศัพท์บัญญัติ ราชบัณฑิตยสถาน แปล agent ทางปรัชญาว่า ตัวกระทำ อะครับ. (แต่ผมก็พอเข้าใจว่า การแปลของราชบัณฑิตยสถาน ก็ไม่ได้ใช้ได้ทุกที่  อย่างเช่นคำว่า instance ทางคอมฯ​แปลว่าตัวอย่าง แต่บางทีก็ไม่ใช่ sense นั้น) จะมี case ไหนที่แปล agent ว่า ตัวกระทำ หรือเปล่าครับ?
P
moral agent เคยอ่านเหมือนกันที่แปลว่า ผู้กระทำทางศีลธรรม
แต่ เมื่อคำนึงว่า เราเรียนรู้และลอกเลียนพฤติกรรมมาจากใครบางคนที่เรานิยมชมชอบ.... ซึ่งใครบางคนนี้เรียกว่า moral agent ...ดังนั้น การแปลว่า ตัวแทนทางศีลธรรม จึงน่าจะตรงตัวและเข้าใจง่ายกว่า ผู้กระทำทางศีลธรรม
ตอนที่เขียนวิทยานิพนธ์ก็พินิจเรื่องนี้แล้ว และหลังจากตัดสินใจใช้คำว่า ตัวแทนทางศีลธรรม อาจารย์ที่ปรึกษาทุกท่านก็มิได้ติดใจหรือทักท้วงประเด็นนี้เลย....
ขอชมว่า น้องวีร์เป็นคนละเอียด ลึกซึ้ง จึงติดใจประเด็นนี้...
เจริญพร
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท