การสร้างวิสัยทัศน์ (Vision): กระบวนการสำคัญกว่าข้อความ


ในท้ายที่สุดแล้ว ภาพที่ว่านี้ “เข้ามาอยู่ในใจ” ทุกคนแล้วหรือยัง? ไม่ใช่หวังเพียงแค่ได้ข้อความบางอย่างในกระดาษแล้วก็ดีใจนึกว่าได้วิสัยทัศน์แล้ว!!

        มีหลายคนถามว่า ทำไมองค์กรต้องมีวิสัยทัศน์?  ก่อนที่จะตอบคำถามนี้ได้คงต้องมาทำความเข้าใจกันก่อนว่าเราเข้าใจคำว่า วิสัยทัศน์ นี้อย่างไร? เพราะผมเชื่อว่าถ้าเราเข้าใจว่าวิสัยทัศน์คืออะไรแล้ว เราคงจะไม่ถามคำถามนี้ . . . ใช้เวลานานไหมในการจัดเตรียมวิสัยทัศน์  ทำไมบางองค์กรใช้เวลาไม่นานก็ได้ข้อความวิสัยทัศน์ออกมาแล้ว?. . . ยังไม่ทันจะตอบคำถามแรก ก็มีคำถามที่สองตามมาติดๆ ถ้าเข้าใจว่าวิสัยทัศน์คืออะไรแล้วก็คงจะไม่มีคำถามที่สองนี้เช่นกัน

          แล้วตกลง วิสัยทัศน์คืออะไรกันแน่? ถ้าจะให้ผมตอบตามความเข้าใจ (ของผม) ผ่านประสบการณ์การใช้วิสัยทัศน์ในหลายองค์กรที่เคยอยู่มา ก็ต้องบอกว่า วิสัยทัศน์ คือ ภาพที่เราปรารถนา อยากจะเห็นว่าเกิดการเปลี่ยนแปลงอะไรในอนาคต เป็นภาพแห่งอนาคต (Picture in the Future) ไม่ใช่ภาพปัจจุบัน เป็นกึ่งๆ ความฝัน แต่ต้องเป็นฝันที่เป็นจริงได้ (Possible Dream)

          วิสัยทัศน์ที่มีพลังจะต้องสร้างมาจากจินตนาการและแรงบันดาลใจ ผมมักจะเขียนเป็นสมการเพื่อใช้เตือนใจ ดังนี้:

                  วิสัยทัศน์  =   จินตนาการ + แรงบันดาลใจ 

          ส่วนจินตนาการนั้นเป็นส่วนที่ได้จาก Head เป็นพลังที่มาจากสมอง (ฝั่งขวา) เป็นพลังสร้างสรรค์ เป็นพลังการสร้างภาพที่ปรารถนา ส่วนแรงบันดาลใจเป็นส่วนที่มาจาก Heart เป็นส่วนที่มาจากใจ เป็นพลังที่ทำให้สิ่งต่างๆ เป็นจริงได้

         ในการปรับองค์กร สคส. ใหม่ จำเป็นอย่างยิ่งที่เราต้องมาเริ่มต้นกันที่ ภาพในใจ ของผู้ที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งทีมงานของ สคส. เพื่อให้วิสัยทัศน์นั้นมี จินตนาการ และ แรงบันดาลใจ ของทุกคนอยู่ในนั้น เพื่อให้ได้เห็นร่วมกันว่า ภาพที่เราปรารถนา ภาพที่เราอยากจะเห็น อยากจะให้เป็น นั้นคืออะไร . . . จึงจำเป็นต้องใช้กระบวนการที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ จินตนาการ และการมีส่วนร่วมอย่างเต็มที่

          จะต้องสร้างเวทีที่ให้คนได้มีโอกาสร่วมกันฝัน ร่วมกันคิด ร่วมกันแบ่งปันแรงบันดาลใจ และช่วยกัน เจียรนัย ภาพที่ได้นี้ให้เป็น "ผลึก" ที่สดใสไปได้เรื่อยๆ กระบวนการสร้างวิสัยทัศน์จึงเป็นกระบวนการแบบชัดบ้างไม่ชัดบ้าง เป็นกระบวนการแบบค่อยเป็นค่อยไป และต้องให้ความสำคัญตรงที่ว่า ในท้ายที่สุดแล้ว ภาพที่ว่านี้ เข้ามาอยู่ในใจ ทุกคนแล้วหรือยัง? ไม่ใช่หวังเพียงแค่ได้ข้อความบางอย่างในกระดาษแล้วก็ดีใจนึกว่าได้วิสัยทัศน์แล้ว!!

หมายเลขบันทึก: 144925เขียนเมื่อ 8 พฤศจิกายน 2007 09:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 15:16 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (12)
  • สมัยก่อน ผมก็เป็นผู้ตาม ผู้บริหารว่าอย่างไรก็ทำตามอย่างนั้น
  • ผู้บริหารให้เราช่วยคิดวิสัยทัศน์ พอเราทำเสร็จเขียนในกระดาษ เอาไปประกาศแล้วก็ท่อง
  • พอเขามาประเมินก็บอกเขาได้ แต่เราไม่ค่อยมีกระบวนการช่วยกันทำ
  • เมืองไทย อะไรดีๆ อยู่แค่ที่กระดาษ แต่ไม่ค่อยได้ปฏิบัติกันครับ
  • ตอนนี้จะมีโรงเรียนคุณอำนวย จำลองเหตุการณ์ให้ฝึกปฏิบัติกันครับ
ที่เห็นข้างล่างนี้เป็นวิสัยทัศน์ สคส. (ใหม่) ที่ร่วมกันร่างมาจนถึงวันนี้. . .ใครมีอะไรที่จะช่วย เจียรนัย แนะนำกันมาได้นะครับ สคส. เป็นองค์กรที่กระตุ้น (change agent ) ให้ภาคส่วนต่างๆ ของสังคมไทย เกิดการเปลี่ยนแปลงโดยใช้ ศักยภาพ ภูมิปัญญา และความรู้อย่างเต็มที่ เกิดการเชื่อมโยงเป็นเครือข่าย มีการพัฒนาวัฒนธรรมการเรียนรู้   เพื่อการอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างมีความสุข

ขอเพิ่มนิดหน่อยครับ

  • เกิดการเปลี่ยนแปลง ด้วยความสมัครใจ เพื่อใช้...

ขออนุญาตเสริม

"อย่างเป็นธรรมชาติ"

"ความสุขอย่างยั่งยืน"

  • การมี หรือไม่มี วิสัยทัศน์ มาแปะข้างฝานั้น ไม่สำคัญเท่ากับการ ทำหรือไม่ทำตามเป้าหมายขององค์กรหรอกครับ
  • มีหน่วยงานเยอะมาก ที่มีวิสัยทัศน์แปะไว้ข้างฝา และท่องจำไว้แบบนกแก้วนกขุนทอง ในขณะที่การทำงานจริง ไปกันคนละฟาก
  • มีหน่วยงานมีอีกมาก ที่ไม่รู้จักว่าวิสัยทัศน์เป็นยังไง แต่สามารถสร้างฝันของคนในองค์กรให้เป็นความจริงที่สัมผัสได้
  • ดังนั้น วิสัยทัศน์ ก็ไม่ต่างอะไรจากความฝัน เป็นการฝันเอาไว้ว่า อยากเห็นองค์กรเป็นอย่างไรในอนาคต ......
  • ฝัน....จะเป็นเพียงแค่ฝัน......หรือจะกลายเป็นจริง.....ต่างกันที่....ทำครับ......

สคส. เป็นองค์กรที่กระตุ้น (change agent ) ให้ภาคส่วนต่างๆ ของสังคมไทย เกิดการเปลี่ยนแปลงโดยใช้ ศักยภาพ ภูมิปัญญา และความรู้อย่างเต็มที่ เกิดการเชื่อมโยงเป็นเครือข่าย มีการพัฒนาวัฒนธรรมการเรียนรู้   เพื่อการอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างมีความสุข

  • สคส.ตอนนี้ได้แปลสภาพมาเป็นมูลนิธิไปแล้ว(ใช่หรือเปล่าคะ) แล้วจะทำอย่างไรที่จะกระตุ้นให้ภาคส่วนต่าง ๆ ของสังคมไทยเกิดการเปลี่ยนแปลงคะ แล้วจะเอาหน่วยงานไหนเป็น หน่วยกลางในการเชื่อมโยงจนสามารถเกิดมาเป็นเครือข่าย และอีกทั้งถ้าแปลสภาพเป็นมูลนิธิแล้วศักยภาพในการทำงานจะยังคงเหมือน สคส.เดิมหรือเปล่าคะ
  • KM ในประเทศไทย กำลังจะไปได้ดีก็มีอันต้องยุบ สคส.ไปสำหรับนกมันน่าเสียใจและน่าใจหายมากค่ะ
  • แต่ก็ยังปลอบใจตัวเองว่า แหล่งเรียนรู้ KM นั้น สามารถหาแหล่งเรียนรู้ได้จากหลายองค์กร
  • ซื้อหนังสือของอาจารย์มา และแถมยังได้ลายเซ็นต์อาจารย์อีก ถือเป็นสิ่งที่มีน่ายิ่งสำหรับคนทำงานตัวเล็ก ๆที่เป็นมนุษย์งาน
  • แต่อย่างไรก็บอกตัวเอง ว่าต้องไม่ท้อที่จะเรียนรู้ต่อไป
  • อย่างไง ๆ ก็จะพยายามค่ะ
คุณนกครับ . . . ขอบคุณที่เป็นห่วง 

สคส. จะยังทำหน้าที่เป็นหน่วยกลางในการเชื่อมโยงเครือข่าย และขับเคลื่อน KM เหมือนเดิมครับ . . . ที่แตกต่างคงเป็นเพียงโครงสร้างองค์กร ที่แต่ก่อน สคส. เป็นโครงการหนึ่งใน สกว. แต่ตอนนี้เปลี่ยนสภาพมาเป็น มูลนิธ สคส. ครับ

 

ผมได้แต่คิด (ฝัน) ว่า เราน่าจะทำหน้าที่นี้ได้ดีกว่าแต่ก่อนตอนที่เป็นโครงการครับ . . . แต่แน่นอนเรื่องรูปแบบการบริหารงานคงต้องปรับเปลี่ยนไปบ้าง เพราะแต่ก่อนได้รับทุนในการดำเนินโครงการจาก สสส. แต่ตอนนี้ต้อง หาเลี้ยงตัวเอง

 

. . . ก็ได้แต่หวังว่าบรรดาเครือข่ายคงจะไม่ ใจร้าย และคงจะไม่รังเกียจ คนเคยรวย นะครับ
ขอบคุณอาจารย์ประพนธ์ค่ะ ขอบคุณสำหรับข้อคำตอบที่อาจารย์ช่วยอธิบายให้นกและหลาย ๆ ท่านที่เข้ามาอ่านได้ เข้าใจใน สคส.และยังดีใจยิ่งไปอีกที่อาจารย์ ฯ ไม่ทิ้งพวกเรา มดงานตัวเล็ก สองมือเล็ก ๆ อย่างเราแค่ อาจารย์สัญญา เราก็ไม่รู้สึก เหว่ว้าแล้วค่ะ...ขอบคุณจริง ๆ

สวัสดีครับ

พอดีผมมีปัญหาที่อยากได้ข้อแนะนำจากผู้ที่มีประสบการณ์มาก

ตอนนี้ผมอยากสร้าง คำว่า วิสัยทัศน์ ให้แก่องค์กรของผม (องค์กรขนาดกลาง)

เพราะตอนนี้ องค์กรไม่ค่อยมีเป้าหมาย มุ่งอย่างเดียวแค่ว่า ผลกำไร จึงทำให้เกิด

ปัญหาตามมามากมาย ในเรื่องของการบริหารองค์กร

ขอขอบคุณล่วงหน้าครับ

ถ้าจะให้แนะนำอย่างสั้นๆ ต้องเริ่มจาก "ภาพฝัน" ว่าเราอยากจะไปอยู่ตรงไหน? เราต้องการจะให้องค์กรเป็นอย่างไร? โดยที่สิ่งที่พูดมานี้เป็นสิ่งที่อยู่ในใจ หรือเข้าไปอยู่ในใจของคนในองค์กร . . . แนะให้คุณทวีศักดิ์หาอ่านเรื่องนี้ใน gotoknow หรือใน google ก็ได้ครับ เรื่องวิสัยทัศน์มีพูดกันไว้เยอะครับ

ได้อ่านบทความข้างต้นดีจังเลยครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท