เริ่มแล้วจะคุ้มรึ


เวลาเดินผ่านใคร เคยมองจนเหลียวหลังแล้วสงสัยไหมคะ ว่า…

 เอ … คนคนนี้

ผมก็สี Silver แบบคนสูงวัย

รอยเท้ากาบนหน้าก็ชัดจนมองเห็นได้ 

แต่ทำไม…

หุ่นเหมือนคนวัยทำงาน

แถมเดินเหินก็คล่องปานนั้น

แล้วนี่ …

เค้าอายุเท่าไหร่กันนะ ?

ถ้าเคยสงสัยแบบนี้ คงต้องคุยกันเรื่องของ “อายุ” กับคำว่า “สูงวัย” แล้วค่ะ เพราะอายุตามปฏิทินนั้นอาจไม่สามารถบอกอายุของตัวเราอย่างแท้จริงได้ เพราะรูปแบบของ Aging หรือ การมีอายุสามารถแบ่งออกได้เป็น 4 ลักษณะ นั่นก็คือ

1.Chronological Age อายุตามปฏิทิน หรือก็คืออายุที่นับจากวันที่เราเกิดมานถึงปัจจุบัน

2.Biological Age อายุร่างกาย ซึ่งอาจจะอ่อนกว่าหรือแก่กว่าอายุตามปฏิทินก็ได้ ขึ้นอยู่กับการใช้ชีวิตของเราเอง และอายุร่างกายนี้ อาจอ่อนกว่าอายุตามปฏิินได้ถึง 30 ปี

3.Psychological Age อายุในแง่จิตวิทยา โดยพิจารณาจากความสามารถในการรู้อารม์ตนเอง การเห็นคุณค่าและความสามารถของตนเอง โดยปกติผู้ที่มีอายุตามปฏิทินสูงจะมีอายุในรุปแบบนี้มากกว่าผู้อ่อนวัยกว่า 

และอายุในรุ^แบบนี้มีความสำคัญต่อการเป็น Successful Aging เพราะอายุนี้เป็นส่วนสำคัญของการมีสุขภาพจิตดี

4.Social Age อายุทางสังคม ซึ่งมักเป็นความเห็นของคนในสังคมเกี่ยวกับพฤติกรรมของผู้คนในแต่ละวัย เช่น เด็กๆมักเล่นซน ผู้สูงวัยมักตัดสินใจช้า เคลื่อนไหวช้า ไม่คล่องแคล่ว หรือ วัยรุ่นมักใจร้อน อย่างนี้เป็นต้น

จากรูปแบบการมีอายุทั้ง 4 คงเห็นแล้วนะคะ ว่าอายุเยอะไม่ได้หมายความว่าเราจะต้องดูแก่หรือเป็นคนแก่เสมอไป เพราะหากเราดูแลสุขภาพมาอย่างต่อเนื่อง ถึงแม้เราจะมีอายุจริงตามปฏิทิน 60 ปี เราก็สามารถดำเนินชีวิตเหมือนคนอายุ 30 ปีได้

อยากให้ดูการเป็นผู้สูงวัยอีกเรื่องหนึ่งค่ะ ผู้สูงวัยตามความหมายในแง่ Fitness นั้น ต่างจากที่เรารับรู้กันทั่วไป

เพราะองค์การสหประชาชาติได้ให้คำนิยามของคำ “ผู้สูงวัย” ว่าหมายถึงประชากรทั้งเพศหญิงและชายที่มีอายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไปนับจากวันที่เกิด 

ประเทศไทย พระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ.2546 กำหนดให้ผู้มีอายุ 60 ปีบริบูรณ์ และมีสัญชาติไทยเป็นผู้สูงอายุหรือที่เรียกกันว่า ผู้สูงวัย โดยแบ่งกลุ่มผู้สูงอายุเป็น 3 กลุ่มคือ

-ผู้สูงอายุวัยต้น (อายุ 60-69 ปี)

-ผู้สูงอายุวัยกลาง ( อายุ 70-79 ปี)

-ผู้สูงอายุวัยปลาย (อายุ 80 ปีขึ้นไป)

***แต่ในทาง Fitness ผู้มีอายุ 55 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป ก็จัดเป็นผู้สูงวัยแล้ว***

เนื่องจากความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ ปัจจุบัน คนเราสามารถมีอายุอยู่ได้ถึง 100 ปี ถ้านับอายุแบบฟิต หากตอนนี้เราอายุ 55 ก็จัดว่าเป้นผู้สูงวัยแล้ว หากเราสุขภาพไม่ดี เราจะใช้ชีวิตอยู่อย่างไรในอีก 45 ปีที่เหลือ

นี่คือคำถามที่อยากให้ลองถามตัวเองค่ะ และถ้าคุณไม่ชอบออกกำลังกายก็อยากชวนให้ถามต่อว่า คุ้มค่าไหม ที่เราจะลุกขึ้นมาดูแลร่างกายและจิตใจตั้งแต่วันนี้ 

เริ่มตั้งแต่ดูแลเรื่องอาหาร การหลีกเลี่ยงมลพิษทางอากาศ การไม่นั่งนาน การแทรกการออกกำลังกายเข้าไปในอิริยาบถ การออกกำลังกายจริงๆ การพักผ่อนให้เพียงพอ การดูแลใจให้ผ่องใส

อนาคตเราจะเป็นอย่างไร ก็อยู่ที่วันนี้ของตัวเรานะคะ

20240213080243.mp4

หมายเลขบันทึก: 717309เขียนเมื่อ 13 กุมภาพันธ์ 2024 07:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 กุมภาพันธ์ 2024 08:03 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ต้องขออขอบพระคุณอาจารย์จันทวันมากๆค่ะ ที่สนับสนุนและช่วยเหลือ จนสามารถกลับมาเพิ่มบันทึกใน G2K นี้ได้ใหม่

หลังจากที่ห่างหายไปหลายปีเลยค่ะ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท