เจตคติ (ตามคติพุทธ)


ก่อนอื่นขอย้ำก่อนว่า นี่เป็นเพียงความเห็นของผม ที่รู้ไม่มาก (เพียงแต่เป็นคนคิดมาก) ฉะนั้นท่านโปรดหยิบเอาไปใช้วิจารณญาณด้วยปฏิพานของท่านเถิดครับ 

วิเคราะห์คำ

คำว่า "เจตคติ" เป็นคำที่ราชบัณฑิตยสถานบัญญัติขึ้นแทนคำว่า "ทัศนคติ" ซึ่งบัญญัติขึ้นก่อนหน้านี้เพื่อแปลว่า "attitude" ในภาษาฝรั่ง ดังนั้นคำว่า "เจตคติ" จึงไม่ใช่ภาษาไทย เป็นเพียงการจงใจนำเอาคำภาษาบาลีมาสร้างคำใหม่ให้คนไทยเข้าใจคำว่า attitude ... (บันทึกออนไลน์ที่เขียนเรื่องนี้ได้ดีมากอยู่ที่นี่

  • คำว่า "เจตคติ" ควรจะอ่านว่า เจ-ตะ-คะ-ติ ตามรากศัพท์ภาษาบาลี ไม่ใช่ เจต-คะ-ติ
  • คำว่า "เจตคติ" เกิดจากการสมาสคำว่า "เจต" (อ่านว่า เจ-ตะ) และคำว่า "คติ" (คะ-ติ) ในภาษาบาลี 
    • เจต มาจากคำว่า เจตนา แปลว่า ความจงใจต่ออารมณ์ (อ่านที่นี่) หรือก็คือความตั้งใจนั่นเอง
    • คติ แปลว่า เรื่อง ทาง แนวทาง หรือ ความเป็นไป 
  • ถ้ารวมความหมายของสองคำนี้เข้าด้วยกัน จะได้ว่า เจตคติ คือ เรื่องหรือความเป็นไปของความจงใจหรือตั้งใจต่ออารมณ์ 

สังเกตว่า ลำดับขั้นการพัฒนาเจตคติตามคติฝรั่ง (บลูม อ่านที่นี่) เน้นตรงกันเรื่องความตั้งใจ ยอมรับ จงใจ (ไม่ใช่บังคับ)

คติพุทธ

  • ตามคติพุทธ คำว่า "ชีวิต" ประกอบด้วย ๓ ส่วนได้แก่ กาย จิต และเจตสิก (พืช ต้นไม้ ไม่มีจิตครอง ตามคติพุทธ อ่านที่นี่)
    • กาย คือส่วนที่เป็นรูปธรรม ส่วนจิตและเจตสิกคือส่วนที่เป็นนามธรรม
    • จิต คือ ธรรมชาติที่รู้อารมณ์ ... อารมณ์คือทุกสิ่งที่ถูกจิตรู้ ทุกสิ่งที่มาสัมผัสทางตา หู จมูก ลิ้น ผิวกาย การรู้สึก นึก คิดทางใจ 
    • เจตสิก คือ สิ่งที่เกิดขึ้นประกอบกับจิต ... คำว่า "เจตนา" คือ หนึ่งเจตสิกประเภทที่เกิดกับจิตทุกดวง 
  • ทุกสิ่งอย่างสามารถแยกส่วนออกได้เป็นกอง ๆ ๕ กอง เรียกว่า ขันธ์ ๕ ได้แก่ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ 
    • กาย คือรูปขันธ์ 
    • จิต คือ วิญญาณขันธ์
    • เจตสิก คือ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ และสังขารขันธ์ 
      • เวทนา คือ ความรู้สึกสุข ทุกข์ ดีใจ เสียใจ หรือ เฉยๆ 
      • สัญญา คือ ความจำได้ หมายรู้ 
      • สังขาร คือ ความคิด ธรรมชาติของการปรุงแต่งจิต
  • มีบัญญัติประเภทของ "เจตสิก" ในพระอภิธรรม ๕๒ ดวง (อ่านที่นี่) หรือ ๘๙ ดวง หรือ ๑๒๑ ดวง (อ่านที่นี่) ... จากการศึกษา เจตสิกประเภทต่าง ๆ ตามคติพุทธนี้ ครอบคลุม ตัวแปรเชิงคุณค่า (value variable) หรือตัวแปรทางจตคติ (attitude variable) ทั้งหมด  ดังนั้น การสร้างแบบวัดเจตคติ จึงสามารถยกเอาชนิด "เจตสิก" ไปใช้ได้  (ผมจะเขียนในบันทึกต่อ ๆ ไป)

คำนิยามของ "เจตคติ"

  • พจนานุกรมฉบับบัณฑิตราชตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒ ให้ความหมายว่า เจตคติ คือ ท่าที ความรู้สึก ความคิดของบุคคลต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง  โดยนิยามจากการแปลมาจากภาษาอังกฤษประโยคว่า "a feeling or opinion about something or someone, or a way of behaving that is caused by this." ... ไม่ได้ยกเอาความหมายของคำว่า "เจตคติ" ตามคติพุทธมาใช้อธิบายแต่อย่างใด 
  • คำว่า "ความรู้สึก" หรือ feeling ในที่นี้ หมายถึง เวทนา และเจตสิกบางตัว (ไม่ครอบคลุมเจตสิกทุกชนิด) ไม่ได้หมายถึง สิ่งที่ถูกรู้ หรืออารมณ์ในความหมายตามคติพุทธ
  • ดังนั้น คำว่า "เจตคติ" ตามคติฝรั่ง จึงเป็นเพียงส่วนหนึ่ง (ซับเซต) ของ "เจตคติ" ตามคติพุทธ 

ข้อเสนอแนะ

  • ผมขอเสนอแนะให้นักจิตวิทยาและนักการศึกษาไทย หันมาสนใจเรียนรู้เรื่อง จิต เจตสิก และนิพพาน อย่างจริงจัง ...หยุดเรียนลอกบอกต่อตามคติฝรั่ง 
  • ขอเสนอให้บัญญัติคุณลักษณะทางนามธรรมใหม่ โดยใช้คำว่า "เจตสิก" แทนคำว่า "เจตคติ" ... ซึ่งแน่นอนว่า จะต้องใช้ทับศัพท์เป็น Jatasik เป็นภาษาอังกฤษ เพราะไม่มีศัพท์อังกฤษที่ครอบคลุมความหมายได้ (บันทึกที่พันทิพย์สรุปดีมากครับเชิญคลิกที่นี่)
คำสำคัญ (Tags): #เจตคติ#คติพุทธ
หมายเลขบันทึก: 659057เขียนเมื่อ 1 มกราคม 2019 23:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 มกราคม 2019 09:20 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

Please give reference to this assertion “ตามคติพุทธ คำว่า “ชีวิต” คือมนุษย์หรือสัตว์ทั้งหลาย ประกอบด้วย ๓ ส่วนได้แก่ กาย จิต และเจตสิก (พืช ต้นไม้ ไม่มีจิต จึงไม่ใช่ “ชีวิต” ตามคติพุทธ)”.

Reading the Tipitaka, we would come across ‘rukkha’(tree), ‘vana’(forest) and ‘dhañña’(grain) many times. We can see that plants are much revered (regarded highly) though not ‘specifically’ assigned a self-delusional human term ‘sentient’ or having ‘a center’ of emotion and intelligence.

Your “(พืช ต้นไม้ ไม่มีจิต จึงไม่ใช่ “ชีวิต” ตามคติพุทธ)” can cause more harm to them if used to defend human destructive nature.

ความรู้เรื่องต้นไม้ไม่มีจิตครอง และไม่ใช่ “ชีวิต” ตามคติพุทธ ผมขออ้างอิงจากบทความสังเคราะห์จากผู้รู้ ที่นี่ครับ http://122.155.190.19/puthakun/download/books/%E0%B8%AD.%E0%B8%97%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%82%20%E0%B8%97%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%88%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87/%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%AD%E0%B8%A0%E0%B8%B4%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%202%20%E0%B8%8A%E0%B8%B8%E0%B8%94%202%20%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%9A%203.pdf

แต่เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให่เกิดข้อสังสัยเข้าใจผิดใดๆ ต่อไป ผมขอยกประโยคที่ไม่จำเป็นสำหรับประเด็นในบันทึกนี้ออกครับ ขอบพระคุณที่ให้ความเห็นที่เป็นประโยชน์ยิ่งครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท