"ระหว่างที่คุณอยู่ที่นี่ จงล้มเหลวให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้" ... (ธุรกิจพอดีคำ : กวีวุฒิ เต็มภูวภัทร)


กวีวุฒิ เต็มภูวภัทร เขียนเนื้อหาหนึ่งที่เกี่ยวกับเรื่องสร้างแรงบันดาลใจ
ของมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ดว่า ... 


เมื่อ ๔ ปีที่แล้ว ผมมีโอกาสไปศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัย "สแตนฟอร์ด" ประเทศอเมริกา ซึ่งตั้งอยู่ ณ ใจกลาง "ซิลิคอน วัลเลย์" หรือ "หุบเขาเทคโนโลยี"

บ้านเกิดของธุรกิจเทคโนโลยีหลายแห่ง ที่หมุนโลกใบนี้ให้เร็วยิ่งขึ้น

ไม่ว่าจะเป็น กูเกิ้ล (Google) เฟซบุ๊ก (Facebook) หรือ แอปเปิ้ล (Apple)

ผมเชื่อว่า คนไทยนับล้านใช้บริการของบริษัทเหล่านี้ทุก ๆ วัน วันละหลาย ๆ ครั้ง

ถามว่า บริษัทเหล่านี้สร้าง "นวัตกรรม" เปลี่ยนโลก อย่างที่เราเห็น ๆ กันอยู่ได้อย่างไร

ผมขอเริ่มด้วย "เรื่องเล่าสั้น ๆ" สักหนึ่งเรื่อง ซึ่งเกิดขึ้นในวันแรกที่ผมได้มาเหยียบสถานที่แห่งนี้


ในระหว่างที่ผมกำลังมองดูนาฬิกาข้อมือของตัวเองและง่วนหา "สมุดจด"

อาจารย์ท่านหนึ่งก็เดินเข้ามาในห้องเรียนพร้อมสิ่งยิ้มทักทาย

ท่านยืนนิ่งอยู่กลางห้องพักหนึ่ง พอให้ความเงียบของอากาศเข้ามาแทนที่เสียงอื้ออึงของนักเรียน

และถามขึ้นมาว่า "ถ้าเราแบ่งมนุษย์ได้เป็น ๒ ประเภท คุณจะแบ่งอย่างไร"

พลันนักเรียนต่างยกมือตอบ "คนดี-คนเลว คนอ้วน-คนผอม คนรวย-คนจน..."

คำตอบจากสัญชาตญาณพรั่งพรูออกมาให้ได้ยินกันในชั้นเรียน


อาจารย์ฟังสักพักก็เอ่ยแทรกขึ้นมาว่า "ที่นี่เรามองคนเป็น ๒ จำพวก"

พวกแรก (Type 1) "กลัวความล้มเหลว" คนเหล่านี้ไม่เคยทำอะไรผิด แต่ก็ไม่ได้ทำอะไรใหม่ ๆ ให้กับโลกนี้

พวกที่ ๒ (Type 2) "กลัวเสียโอกาส" คนเหล่านี้ใช่ว่าไม่กลัวความล้มเหลว แต่กลัวเสียโอกาสที่จะลอง "ของใหม่" มากกว่า

คนประเภทหลัง เปรียบ "ความล้มเหลว" คือ "โอกาสในการเรียนรู้" ซ้ำแล้วซ้ำเล่า เป็นหนทางสู่ความสำเร็จ

และที่มหาวิทยาลัยแห่งนี้เราอยากให้นักเรียนของเราเป็น "พวกที่ ๒"

เพราะฉะนั้น ผมขอนะครับ

"ระหว่างที่คุณอยู่ที่นี่ จงล้มเหลวให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้"


ในวินาทีนั้น ภาพในหัวของผมย้อนกลับไปในวัยเด็ก และพบว่า

ผมสามารถเรียนเอาตัวรอดมาได้ด้วยการ "ทำถูก" มาโดยตลอด

น้อยครั้งนักที่เราจะได้โอกาส "ลองผิด"

ทำถูกมากเข้าก็ปลูกนิสัย "กลัวการทำผิด"

หรือกลัวความล้มเหลวไปโดยปริยาย อย่างไม่รู้ตัว

ผลิตผลของการศึกษาแบบไทย ๆ อย่างผมนี่แหละครับ

"พวกแรก (Type 1)" ตัวจริงเลย


คำพูดของอาจารย์ในวันนั้นจุดประกายทำให้ผมสนใจศึกษาเรืื่อง "การสร้างนวัตกรรม" อย่างจริงจังตลอด ๒ ปีที่อยู่อเมริกา และหวังว่าจะนำมาทำให้เกิดประโยชน์กับประเทศของเรา


...............................................................................................................................


อย่ากลัวความล้มเหลว
แต่จงกลัวเสียโอกาส

บุญรักษา ทุกท่าน ;)...


...............................................................................................................................

ขอบคุณหนังสือดี ๆ 

กวีวุฒิ  เต็มภูวภัทร.  ธุรกิจพอดีคำ.  พิมพ์ครั้งที่ ๔.  กรุงเทพฯ : มติชน, ๒๕๖๐.


หมายเลขบันทึก: 641103เขียนเมื่อ 11 พฤศจิกายน 2017 16:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 พฤศจิกายน 2017 16:39 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)

เป็นบทความที่น่าสนใมาก

อาจารย์สบายดีนะครับ

ทำอะไรใหม่ๆและล้มเหลวบ้างก็ดีนะครับ

จะทำให้เราเกิดการเรียนรู้

-สวัสดีครับ

-ที่สำคัญอย่าลืมให้โอกาสตัวเอง ด้วยใช่รึเปล่าครับครู..

ล้มบ่อยไม่ว่า  รีบลุกเร็วด้วยท่าจะดีกว่านะคะ


แต่ตอนนี้ ขอนอนก่อน  ลุกเช้าทีเดียวจ่ะ  ^_,^  

ราตรีสวัสดิ์ครับ คุณหมอ ธิ ;)...

อาจารย์เงียบๆไป สงสัยงานยุ่งครับ

11-13 ธค ผมอยู่สนามกีฬาของเชียงใหม่มาจัดค่าย มีอะไรให้รับใช้ไหมครับ ก่อนกิจกรรมก็ได้ครับ

ไม่ต้องรับใช้ครับ แวะมาทานข้าวกะผมดีกว่า ;)...

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท