"รวมใจให้ทุ่งยาว" จังหวัดพัทลุง :สถาบันปฏิบัติการชุมชนเพื่อการศึกษาแบบบูรณาการ มหาวิทยาลัยทักษิณ


การเรียนรู้เรื่องชุมชนกับสถาบันปฏิบัติการชุมชนเพื่อการศึกษาแบบบูรณาการ มหาวิทยาลัยทักษิณ

ตอนนี้ผู้เขียนอยู่ที่ศูนย์ภาษามหาวิทยาลัยทักษิณ เมื่อวันศุกร์ที่ 22 กันยายน 2559 ผู้เขียนได้รับหนังสือเชิญจากท่านดร.เปลื้อง สุรรณมณี ผู้อำนวยการสถาบันปฏิบัติการชุมชนเพื่อการศึกษาแบบบูรณาการ มหาวิทยาลัยทักษิณให้เข้าร่วมเวทีกิจกรรม "รวมใจให้ทุ่งยาว" จังหวัดพัทลุง โดยมีท่านอาจารย์ดร.ศิลป์ชัย สุวรรณมณี ท่านอาจารย์ดร.อนุรักษ์ อุดมเวช และเจ้าหน้าที่ของสถาบันปฏิบัติการชุมชนเพื่อการศึกษาแบบบูรณาการและสถาบันวิจัยฯ ร่วมเดินทางด้วยหลายท่าน





เราแวะไปดูปราชญ์ชาวบ้านชื่อ นายแดง ไชยสงครามหรือบัง บรรยายให้ฟัง นายแดงบรรยายได้ละเอียดมาก ตอนนนี้มีกลุ่มชาวบ้านเลี้ยงผึ้งประมาณ 37 คน ที่บ้านนายแดงได้น้ำผึ้งถึง 37 ขวดทีเดียว ทางทีมงานอยากเห็นรังผึ้งโพรงจริงๆเลยไปดูกันในสวน



ได้ดูผึ้งจากรังจริง ท่านอาจารย์หลายท่านประทับใจ แต่ดูเหมือนบางท่านจะกลัวผึ้งต่อยเอา 555




ต่อไปเดินทางไปต่อกันที่บ้านทุ่งยาว โดยมีทีมงานของชุมชนตะโหมด ชุมชนบ้านในกลอย-บ้านสายกลาง ชุมชนดอนประดู่และทีมงานจากที่ต่างๆมาร่วมประชุมกันเพื่อหาแนวทางช่วยกันพัฒนาบ้านทุ่งยาว ตามหัวข้อ "รวมใจให้ทุ่งยาว"


ทางทีมงานพาชมร้านค้าชุมชนบ้านทุ่งยาว โรงสี และกองทุนหมู่บ้านของทุ่งยาว




ชุมชนนี้แปลกไหมว่าไม่มีนาข้าว แต่ว่ามีโรงสีของชุมชนเอง ผู้เขียนชอบใจมากเพราะสีข้าวกินได้


แวะไปดูโรงงานยาง ท่านสจ.มาบรยยายให้ฟังเอง



จุดที่เราไปชวนกันดูคือแลห่งน้ำของทุ่งยาว เพราะน้ำไม่พอใช้ ฤดูแล้งน้ำจะไม่พอใช้



กลับมากินข้าวที่บ้านผู้ใหญ่ มนูญ สุขรัตน์ เพื่อร่วมกันให้ความคิดเห็นของกิจกรรม"รวมใจให้ทุ่งยาว" ผู้เขียนพบทีมงานรากแก้วที่เคยอบรมให้ที่มหาสารคามในบันทึกนี้ และที่นี่ โลกกลมมาก


ผู้เขียนแอบไปดูผัก ดูปลาการเพาะปลูกของผู้ใหญ่ก่อนกิจกรรมเวทีเสวนา แลกเปลี่ยนเรียนนรู้กัน



มีผักกูดด้วย ผักงามมาก แต่สนใจเป็ดเทศข้างบน



เวทีเสวนาช่วยกันระดมความคิดเห็นในการให้ความคิดเห็นแก่ชาวทุ่งยาว ผุ้เขียนชอบใจลุงปราชญ์ชาวบ้านสองท่านข้างล่างให้ความคิดเห็นได้ดีมาก เหมือนครูบาสุทธินันท์ที่บุรีรัมย์เลย



ทีมงานของมหาวิทยาลัยทักษิณและทีมงานต่างๆก็ให้ความคิดเห็น แต่ไม่ตัดสินใจว่าใครถูกผิด ให้ทีมทุ่งยาวนำปัญหาไปคิดแก้ไขกันเอง





ตอนกลับมาแสงอาทิตย์สดใสมาก การได้ทำงานกับชุมชนเป้นความสุขอย่างหนึ่งเหมือนกัน ขอบคุณมากครับที่เข้ามาอ่าน...

หมายเลขบันทึก: 616076เขียนเมื่อ 26 กันยายน 2016 17:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 กันยายน 2016 08:16 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (15)

แวะมาเยี่ยมค่ะ

อาจารย์ขจิต ค่ะ นอกเรื่องนิดนึงค่ะ

แถวนั้น มี "ต้นหลุมพี" มั๊ยค่ะ ฝากถามชาวบ้านหน่อยนะคะ

สวัสดีค่ะอาจารย์

น่ากินจัง

ได้ครับพี่หนูรี

ดูเหมือนจะเคยได้ยินชื่อต้นหลุมพอ บังวอญ่าต้องรุ้จักแน่ๆเลย

สบายดีนะครับ

ขอบคุณคุณยาย

อาหารชาวบ้านทำเองน่ากินมากๆ

พี่นารี

น้องรู้จักแต่ต้นหลุมพอ

ไม่รู้จักหลุมพี ครับ

เหมือนกันไหม

หลุมพี นะคะ

ไม่ใช่หลุมพอ

ต่างกันค่ะ

หลุมพี คล้ายระกำ

งอกขึ้นแถวป่าพรุ

http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=plaipanpim...

ลองดูในลิงก์นี้นะคะ

เขาจะหาต้นที่มีผลเพื่อถ่ายทำรายการทีวีค่

น่าสนใจมาก มาร่วมเรียนรุ้ด่วยค่ะ

ขอบคุณพี่หนูรี

ได้ความรู้ใหม่ด้วยเลย

ขอบคุณพี่ใหญ่มากครับ

ชอบดูผึ้งครับ

น่าสนใจมากๆ

โคกม่วง ทีมงานเข้มแข็ง เป็นตำบลต้นแบบ

เคยลงพื้นที่นี้หลายครั้ง

ล่าสุดไปทำเรื่องคนพิการกับทีมงาน โกทูโน

หลุมพี คล้ายระกำ แต่เล็กกว่า

ลูกหลุมพี กินอน่อย

ขอบคุณบังวอญ่ามากครับ

เป็นพื้นที่ที่น่าสนใจมาก

อยากไปบ่อยๆแต่ติดงาน

หลุมพีน่ากินนะครับ

ขอบคุณรูปภาพจาก internet ครับ

"ได้ดูผึ้งจากรังจริง"

"""""""""""""""""""""""

นี่คือ การเรียนรู้จากของจริง คนจริง และความรู้จริง ครับ


เป็นกิจกรรมที่น่าสนใจมาก ๆ จ้ะ

น้องขจิตสบายดีนะ คิดถึงเสมอจ้ะ

ใช่ครับ

ปกติอาจารย์ไม่ค่อยเห็น แต่ผมเห็นตั้งแต่เด็กเลย

สบายดีใช่ไหมครับ

ขอบคุณพี่ครูมะเดื่อสบายดี

แต่ว่างานยุ่งๆมาก

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท