AAR การทำงาน ณ สำนักศึกษาทั่วไป มหาวิทยาลัยมหาสารคาม


ผมได้รับความเมตตาจาก ผศ.ดร.พชรวิทย์ จันทร์ศิริสิร อย่างมากในชีวิตการทำงาน ตั้งแต่ท่านให้โอกาสเข้ามาทำโครงการ "LLEN มหาสารคาม" ซึ่งต่อมาทำงานนี้ในตำแหน่ง "ผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักศึกษาทั่วไป" ผมเรียนรู้ด้วย "ใจรัก" และทำงานตามที่ท่านแนะนำอย่างเต็มความสามารถ ปีกว่าๆ ที่ผ่านมาท่าน "ชวน" ผมมาทำโครงการ "PLC มหาสารคาม" ผ่านการทำงานของศูนย์พัฒนาวิชาการเพื่อการเรียนรู้ หรือ CADL ในตำแหน่ง "รองผู้อำนวยการสำนึกศึกษาทั่วไปฝ่ายกิจการพิเศษและเครือข่ายวิชาการ" ... ขอกราบขอบพระคุณท่านมา ณ โอกาสนี้ด้วย

ใครที่รู้ว่าเราพยายามจะทำอะไร เพื่ออะไร จะเข้าใจดีว่า เรื่องนี้มี "คุณค่า" และ "คุ้มค่า" กับเวลาและทรัพยากรที่เราใช้ไปในโครงการนี้ แต่ผมทราบว่า บางท่านก็ยังไม่เห็น "ราคา" ว่า "จะทำไปทำไม"... ผมจึงอยากให้อ่านผลการ AAR ในโอกาสที่กำลังจะ "อำลา" ตำแหน่งดังกล่าว เผื่อว่าท่านจะเข้าใจบ้าง ...

ผม รู้สึกว่าคนทั่วไป โดยเฉพาะภายนอกมหาวิทยาลัย ส่วนใหญ่ไม่รู้จัก "สำนักศึกษาทั่วไป" หรือแม้แต่คณาจารย์ในมหาวิทยาลัย ส่วนใหญ่ก็ไม่ให้ความสำคัญกับ "รายวิชาศึกษาทั่วไป" ซึ่งความจริงแล้ว ผมคิดว่าเป็น "หัวใจ" ของการสร้างคน สร้างคนที่สมบูรณ์ทั้งกายและใจ มีคุณธรรม จริยธรรม อยู่ในสังคมได้อย่างสันติสุข อันเป็นปัจจัยสำคัญของความสงบสุข รุ่งเรืองของประเทศ ดังนั้น การศึกษาทั่วไป (General Education, GE) จึงเปรียบเหมือน การบ่มเพาะ เลี้ยงดู ดูแล "ต้นกล้า" ที่จะโตเป็นต้นไม้ใหญ่ เป็นปัจจัยและกำลังสำคัญของมหาวิทยาลัย ของจังหวัด ของภูมิภาค ของไทย และของโลกต่อไป

แต่ การจัดการเรียนรู้รายวิชาศึกษาทั่วไป ที่ปัจจุบันกำหนดไว้เพียง ๒ ปี (ชั้นปี ๑ - ปี ๒) และยิ่งในสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ ๒๑ การสร้างคุณลักษณะของนิสิตที่พึงประสงค์นับเป็นเรื่องยากยิ่ง CADL จึงได้ "ตะลุย" สร้างเครือข่าย LLEN และ PLC ในพื้นที่จังหวัดมหาสารคามและจังหวัดใกล้เคียง ด้วยหวังว่า นิสิตแกนนำในพื้นที่ จะได้รับการปลูกฝัง บ่มเพาะ "ความดี" มาตั้งแต่ระดับโรงเรียน การศึกษาขั้นพื้นฐานมาตั้งแต่ปฐมศึกษา มัธยมศึกษา ก่อนจะเข้ามาเป็นนิสิตใหม่ในรั้วมหาวิทยาลัย ก่อนที่จะจบไป "เป็นที่พึ่งให้กับสังคม" ตามปรัชญาของมหาวิทยาลัยต่อไป

เครือ ข่ายวิชาการ (PLC, LLEN, SEE) ในพื้นที่ จึงเปรียบเหมือน "รากเหง้า" เผ่าภูมิปัญญาของ "ต้นกล้า" แต่ละต้น ซึ่งต้องบ่มเพาะปลูกฝังให้เป็น "คนที่สมบูรณ์" ตามปรัชญาของ GE ต่อไป

งานที่ CADL ดำเนินการผ่านมาถึงวันนี้ อาจแบ่งเป็น ๒ ส่วนใหญ่ๆ ไม่รวมถึงงาน "กิจการพิเศษ" ที่เป็น "กิจกรรมประจำ" เช่น การส่งเสริมทำนุวัฒนธรรม ประเพณี ฯลฯ ได้แก่ ๑) งานภายในมหาวิทยาลัย และ ๒) งานสร้างเครือข่ายวิชาการ แต่ละส่วนจะมีโครงการย่อยๆ เรียงร้อยเชื่อมโยงส่งเสริมกัน

งานภายในสำนักศึกษาทั่วไป

งาน ส่วนใหญ่ภายในคือการพัฒนาส่งเสริมให้ องค์กร GE เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ หรือ LO (Learning Organization) โดยใช้การจัดแลกเปลี่ยนเรียนรู้ จัดการความรู้ (KM) ของบุคลากรและอาจารย์ งานในส่วนนี้นับว่า ก้าวหน้าไปอย่างน่าพอใจ ผู้สนใจสามารถอ่านบันทึกข้อค้นพบ ปัญหา อุปสรรค และแนวทางแก้ไข ตลอดจนแนวทางดำเนินการในอนาคต จากเอกสารเผยแพร่ด้านล่าง

บันทึก KM บุคลากร GE ๕๖-๕๗
ผลสรุปการจัด KM อาจารย์ผู้ประสานงาน

งาน ภายในที่สำคัญ และกำลังดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าผมจะไม่อยู่ที่ GE แต่จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีผู้ขับเคลื่อนไปอย่างเป็นระบบ คือ โครงการเด็กดีมีที่เรียน ล่าสุด วันที่ ๑๘ กันยายน ๒๕๕๗ ที่ผ่านมา มีการตกลงทำ MOU กับ สพม. ๒๖ (ตามบันทึกนี้) และผมในฐานะตัวแทนมหาวิทยาลัยในการดำเนินโครงการนี้ ได้แจ้งกับครูแนะแนวของโรงเรียนในสังกัด สพม.๒๖ แล้วว่า จะเริ่มกระบวนการคัดเลือกประจำปีการศึกษา ๒๕๕๘ ให้แล้วเสร็จภายในเดือนธันวาคม โดยได้แจกเอกสารคู่มือโครงการเด็กดีมีที่เรียนมหาวิทยาลัยมหาสารคามไปแล้วใน เบื้องต้น 


ดาวน์โหลดคู่มือฯ

ความ จริงโครงการเด็กดีมีที่เรียน ได้ดำเนินการรับนิสิตมาอย่างต่อเนื่อง ๕ ปีการศึกษาแล้ว ในปีงบประมาณ ๒๕๕๗ สำนักศึกษาทั่วไป ได้กำหนดแผนในการพัฒนาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนิสิตรายวิชาศึกษาทั่วไป โดยแบ่งเป็น ๒ ส่วน ส่วนหนึ่งเป็นการสนับสนุนและส่งเสริมกิจกรรมเสริมการเรียนรู้ในรายวิชาต่างๆ เช่น การปฏิบัติธรรมในรายวิชาพระพุทธศาสนาในชีวิตประจำวัน กิจกรรมจิตอาสาในรายวิชาพัฒนานิสิต เป็นต้น อีกส่วนหนึ่งเป็นการจัดกิจกรรมจาก GE โดยตรง ซึ่งได้เรียนเชิญ อาจารย์ประมวล เพ็งจันทร์ (ตามบันทึกนี้) แต่ก็เป็นเพียงกิจกรรมเดียว เพราะปีการศึกษานี้ตรงกับช่วงหยุดยาว ๕ เดือน เพื่อเปลี่ยนปฏิทินสู่อาเซียน

งานภายนอกมหาวิทยาลัย (สร้างเครือข่ายวิชาการเพื่อการเรียนรู้)

งาน นี้เริ่มตอนผมเข้ามาทำ LLEN ท่าน ผอ.พชรวิทย์ ท่านคงเห็นผมใจรักและเอาจริงกับเรื่องนี้ จึงได้ส่งเสริมและให้โอกาสอย่างต่อเนื่อง ถึงวันนี้ อาจแบ่งได้เป็น ๓ หมวดหมู่ ได้แก่ ๑) งานขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษา ซึ่งตอนนี้เริ่มแล้วอย่างเป็นทางการในการขับเคลื่อนฯ สู่มหาวิทยาลัย โดยใช้นักเรียนแกนนำจากโครงการเด็กดีมีที่เรียน ๒) งานสร้างเครือข่าย LLEN มหาสารคาม อันนี้เรียนตรงๆ ว่ายังไม่ถึงไหน แต่ก็ยังมีพลังใจและศรัทธาคงอยู่ และ ๓) งานสร้างชุมชนเรียนรู้ครูเพื่อศิษย์ หรือ PLC ซึ่งถือเป็นงานภาคสนาม ต้องใช้การลงพื้นที่ ติดตาม อย่างต่อเนื่องต่อไป

ผู้สนใจรายละเอียด ติดตามอ่านบันทึกการทำงาน PLC เหล่านี้ได้ที่นี่ครับ

โดย ภาพรวมแล้ว ผมเองก็ยัง AAR กับตนเองว่า “คุ้มค่า” แม้จะไม่ได้หา “กำไร” และมีอีกหลายอย่างที่ยังต้องแก้ไข โดยเฉพาะการทำงานของผมเอง ….

หมายเลขบันทึก: 577631เขียนเมื่อ 29 กันยายน 2014 23:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 กันยายน 2014 23:38 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

การสร้างเครือข่ายการเรียนรู้เป็นงานที่ดูเหมือนยาก แต่ถ้าเราได้ใจ ในการทำงานจากเพื่อนที่ร่วมสุข ร่วมทุกข์เราจะไม่โดดเดี่ยวในการทำงาน ให้ความสำคัญในการทำงานของทุกเครือข่ายอย่่างสมำ่เสมอก็จะผ่านไปด้วยดี เป็นกำลังใจให้เสมอนะคะ

เราเป็น Inspirational Worker หนูตั้งเอง

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท