โก๊วะข้าว...ขันโตก?


ขันโตกหรือโก๊วะข้าว ... ก็คงคลายๆ กับโต๊ะรับประทานอาหารของคนภาคกลาง

      

           วันนี้คุยเรื่องความหลังของผู้เขียนนะคะ .... ชาวล้านนา .... นิยมรับประทานพืชที่ขึ้นเองตามธรรมชาติ …. อาจจะเป็นผักป่าหรือว่าผักข้างรั้ว ... กินข้าวเหนียวเป็นอาหารหลัก... นิยมปรุงอาหารโดย...ไม่ใส่น้ำตาล … มีรสเค็มนำและเผ็ดเล็กน้อย ...ใช้กะทิปรุงน้อยกว่าภาคกลาง … นิยมแกงแบบน้ำขลุกขลิกและน้ำพริกต่างๆ ก็ค่อนข้างแห้ง เพราะชาวล้านนารับประทานด้วย ... วิธีปั้นข้าวเหนียว ...เป็นก้อนเล็กๆ แล้วจิ้มลงไปในน้ำแกง ผักป่า ... เป็นผักที่ได้มาจากป่า หรือ จากแพระ (ป่าละเมาะ) ...

    - ในฤดูร้อน ...ได้แก่ ปลีกล้วย ...ยอดมะขาม ...ยอดมะม่วง ..ผักเสี้ยว ..ผักเฮือด 

   - ในฤดูฝน.. จะมีอาหารจากป่ามาก เช่น หน่อไม้ ...เห็ด... ผักหวาน...ผักปู่ย่า...ในทุ่งนามี ผักสีเสียด... ผักกาดนา หรือ ผักจุมปา ....ผักแว่น... ผักบุ้ง เป็นต้น


              

            

          


ภาพจากhttp://library.cmu.ac.th/ntic/lannafood/culture_la...


           การจัดสำรับอาหารของชาวล้านนาจัดใส่...ขันโตก หรือโก๊วะข้าว ... ทำมาจากไม้ .... นิยมใช้ไม้สักในการทำขันโตก ... ปัจจุบัน มีการนำเอา...หวายมาสานเป็นขันโตกด้วย ...ในงานทำบุญใหญ่ เช่น งานปอยหลวง ..งานปอยหน้อย หรือ งานบวชเณร ...งานทำบุญขึ้นบ้านใหม่ … หรือจะเป็นงานศพ ฯลฯ ... ชาวล้านนานิยมใช้ถาด... ซึ่งหาซื้อได้ทั่วไปในท้องตลาด ...เป็นถาดที่มีลวดลาย ...ส่วนใหญ่ จะเป็นลายดอกไม้สีสดใส ... มาใช้เป็นภาชนะใส่อาหารแทนขันโตก … ปัจจุบันยังพบว่า...มีการใช้อยู่ในแถบนอกเมือง ....การรับประทานอาหารอาหารของชาวล้านนา.... มักจะให้พ่อแม่ หรือญาติผู้ใหญ่ที่อาวุโสที่สุดในบ้าน .... รับประทานเป็นคนแรก ... จากนั้นลูกๆ หรือ ผู้อ่อนอาวุโสจึงจะลงมือรับประทาน ... ซึ่งเป็นประเพณีนิยมมาแต่โบราณกาลนะคะ


                  

ขันโตก หรือโก๊วะข้าว..ทำมาจากไม้สัก...ใช้ในสมัยเป็นเด็ก...เป็นของที่เก็บรักษาไว้....อายุน่าจะมากกว่าผู้เขียนอีกนะคะ .... เพราะจำได้ว่าเกิดมาก็เจอโก๊วะข้าวใบนี้แล้วนะค่ะ

 

                                

                     ขันโตก ...จากบ้านถวาย ... ของใหม่ค่ะ

                     

  ขันโตก 2 ใบนี้ได้จากบ้านถวาย ชองใหม่ ... ใช้ใส่ผลไม้ทานเวลาดูTV ..... ใช้ที่บ้านเพชรบุรี ทุกวันค่ะ


                

              

         สรุปได้ว่า .... ในสมัยผู้เขียนเป็นเด็กๆ ... การจัดสำรับอาหารของชาวล้านนาจะจัดใส่...ขันโตกหรือโก๊วะข้าว ... ทำมาจากไม้และนิยมใช้ไม้สัก ในการทำขันโตกค่ะ...ซึ่งขันโตกหรือโก๊วะข้าว ... ก็คงคลายๆ กับโต๊ะรับประทานอาหารของคนภาคกลางนะคะ .... แต่ขันโตกในภาพนั้น ... เป็นของที่ผู้เขียนใช้ทานข้าวมาตั้งแต่เล็กๆ ...อายุของเขาคงมากกว่าอายุผู้เขียนหลายปีนะคะ.... พอย้ายมาเมืองเพชร ... และคุณพ่อ - คุณแม่เสียไปแล้ว .... ก็เลยเก็บรักษาไว้ค่ะ ... เป็นสิ่งเตือนใจถึงอดีต ... ความหลัง .... ไม่รู้ว่าสมัยนี้คนเมืองเหนือ...คนล้านนา เขายังคงใช้สำหรับรับประทานข้าวอยู่หรือไม่ นะคะ



ขอบคุณค่ะ

๑๘ สิ่งหาคม ๒๕๕๗

หมายเลขบันทึก: 574773เขียนเมื่อ 18 สิงหาคม 2014 15:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 สิงหาคม 2014 14:05 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (12)

งดงามด้วยวัฒนธรรมการบริโภคแบบไทยๆมากค่ะ...

ชอบใจขันโตก ทำจากไม้

อาหารเหนือก็มีผักมากนะครับ

ขอบคุณมากๆได้ความรู้มากเลยครับ

ป่าละเมาะ แถวบ้านเรียกว่า "ป่าแพะ" เหมือนชื่อหมู่บ้านของผมเลย...ไม่ใช่ ป่าแพระ นะครับอาจารย์...(แซวเล่น)

"กั๊วะ" ที่เป็น "ขันโตก" แถวบ้านผมไม่ค่อยมีใช้กันแล้วหายากมากครับ...จะมีก็แต่ที่ใช้เป็นที่คนข้าวเหนียวครับ เรียก "กั๊วะกนข้าว" เหมือนกัน...

อีกอย่างหนึ่ง "กั๊วะ" หรือ "ข้าวกั๊วะ" หมายถึง ข้าว อาหาร ชุดที่จะเตรียมไปถวายเป็นสังฆทานให้ผู้ตายในวันพระวันศีลก็เรียกเหมือนกันครับ...

ตอนเด็กๆ ที่บ้านยายจะใช้ค่ะ  แต่บ้านตัวเองใช้ถาดสังกะสีซะงั้น ใช้ขันโตกดีตรงอยากกินตรงไหนก็ย้ายไปได้ทุกทีนะคะ ถ้าเป็นการจัดงานในหมู่บ้านก็จะจัดใส่ขันโตกต้อนรับแขก และมีฟ้อนเล็บให้แขกชมด้วย เห็นขันโตก อ. เปิ้ลแล้วแอบคิดถึงบ้านเลยค่ะ 

ขอบคุณสำหรับบันทึกดีมีสาระนี้นะคะ ได้ความรู้ด้านวัฒนธรรมอาหารล้านนาดีมากค่ะ 

ขันโตกในรูปจัดได้สวยงามน่ารับประทานมากค่ะมี แคบหมู ไก่ทอด แกงฮังเล น้ำพริกอ่อง ลาบคั่ว แกงอ่อม  ของโปรดทั้งนั้น แต่น้ำพริกหนุ่มหายไปไหนเอ่ย

ผักเสี้ยว ผักเฮือด ผักปู่ย่า ยังไม่รู้จักค่ะ วันหลังไปตลาดจะต้องถามหาจากแม่ค้า มีผักหลายชนิดที่ไม่รู้จักแต่ก็ไม่ได้ถามค่ะ

ที่เชียงใหม่นี่มีการจัดขันโตกตามร้านหรือศูนย์วัฒนธรรมหลายแห่งเพื่อรองรับนักท่องเที่ยวหรือแขกของสถาบันต่าง ๆ พร้อมการแสดง แต่ปัจจุบันทุกแห่งค่อนข้างสุกเอาเผากิน อาหารก็ไม่รักษาความเป็นดั้งเดิม รสชาติเพี้ยนไปหมด โดยเฉพาะไก่ทอดไม่อร่อยเลยไม่เหมือนที่ชาวบ้านทำเลี้ยงแขก  การแสดง การแต่งกายก็น่าผิดหวัง  ต่างจากเมื่อก่อนนี้มากค่ะ

"คิดถึง"..เมื่อเป็นเด็ก..เจ้าค่ะ..กินข้าวพร้อมหน้าพร้อมตา..(ผู้ใหญ่และครอบครัวสมัยก่อนให้ความสำคัญ)..ไม่แบ่งแยก..นั่งล้อมวง..กินข้าวด้วยมือ.(ล้างมือก่อนกินข้าว)...มีน้ำพิริกปลาผัก..อาหารครบหมู่..การกิน..จะเป็นเหมือนกัน..ทุกภาค..ในประเทศไทย..แม้ว่า  ภาษาจะเพี้ยนไป..ตามท้องถิ่น..และพืชพันธุ์ที่มีตามท้องที่...สำคัญที่สุดเท่าที่จำได้..นั่งกินด้วยกัน..แบ่งปันกัน..ไม่แย่งกันกิน...อิอิ

ตั้งแต่ต้องมานั่งโต็ะ..กินด้วยช้อนซ่อม.....เวลาหมดไป...ขันโตก..ล้อมวงกินข้าว..เลยหายไป..ตามวิถีแบบใหม่....(ขอบคุณกับบันทึกนี้..ที่ทำให้หวลไปคิดถึงเมื่อเด็กๆ..เจ้าค่ะ...)

เดี๋ยวนี้..เร็วๆรีบๆ..วนอยู่แค่ในกระทะ..และจานใบเดียว..ครอบครัวไม่มี...อยู่โดดเดี่ยว..ฉันท์เอ้กา..๕๕...

ขอบคุณ  ยายธีค่ะ   สบายดีนะคะ

ชอบจังค่ะพี่เปิ้น   แถวอีสานมีแต่แบบสานจากหวาย  ไม่เห็นทำจากไม้ค่ะ

-สวัสดีครับพี่หมอ

-บ้านผม"เถิน,ลำปาง"เรียกว่า"ขันข้าว ครับ อิๆ 

-ขอบคุณครับ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท