รวย และเป็นสุข


  • ก. ยากจน  ทุกข์
  • ข. ยากจน  สุข
  • ค. รวย  ทุกข์
  • ง. รวย  สุข

นายแพทย์อภิสิทธิ์ ธำรงวรางกูร ผู้อำนวยการโรงพยาบาลอุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น  ถามพวกเราผู้เข้าประชุมร้อยกว่าคนจากทั่วประเทศ  ส่วนใหญ่เขตอีสาน

ในวันที่สองของการประชุม ๒๔ เมษายน ๒๕๕๗  ซึ่งเดินทางไปอำเภออุบลรัตน์  

เพื่อศึกษาดูงาน พัฒนาแนวคิด พัฒนาศักยภาพบุคลากรชาวสาธารณสุข  ในการทำงานทันตสาธารณสุขชุมชน

แดดร้อนเปรี้ยงไม่ได้เป็นอุปสรรคต่อการเรียนรู้แต่อย่างใด

^_,^

*

ข้อ ง. มาแรง ทุกคนอยากได้ อยู่ที่ว่าจะยึดถือแนวคิดแบบใดในการปฏิบัติจริง

  • ๑.  ทุนนิยม เงินซื้อความสุขได้  ของฟรีไม่มีในโลก  หาเงิน ๆ ๆ ๆ เพื่อซื้อความสุข  ทรัพยากรหมดไปเรื่อย ๆ
  • ๒.  ความสุข  สร้างความสุขด้วยการทำงาน  เดี๋ยวเงินมาเอง

ข้อ ๒   เข้าทางนะเนี่ย  ท่าทางดูงานวันนี้จะมีความสุขน่าดู

คุณหมอเล่าบริบทเดิมอำเภออุบลรัตน์  ตั้งแต่เกือบสามสิบปีที่แล้ว  

ที่รัฐส่งเสริมภาคอุตสาหกรรม  เกษตรเชิงเดี่ยว เช่น อ้อยป้อนโรงงาน

มีการเคลื่อนย้ายแรงงาน ผลกระทบต่อครอบครัว พ่อไปทางแม่ไปทาง โรคเอดส์ ครอบครัวล่มสลาย

ชาวบ้าน ทำงานหนัก รายได้ผันผวนตามตลาดโลก สุขภาพคนในชุมชนอ่อนแอ รับสารตกค้าง โรคเรื้อรัง

^_,^

**

ปี ๒๕๓๔ ทีมสุขภาพอำเภออุบลรัตน์ทำวิจัยในหมู่บ้าน พบว่าสามารถแบ่งคนไข้เป็น ๔ กลุ่ม

  • ๑. รักษาหาย ไม่รักษาตาย หรือพิการ ประมาณร้อยละ ๒๓ เช่น ไส้ติ่งอักเสบ ปอดบวม ไข้เลือดออก ต้องการดูแลจากหมอพยาบาลอย่างใกล้ชิด
  • ๒.รักษาตาย ไม่รักษาหาย โรคหมอทำ ใช้กระบวนการเรียนรู้ร่วมกันของทีมสุขภาพจัดการความเสี่ยง
  • ๓.รักษาหาย ไม่รักษาก็หาย เช่น เป็นหวัดเล็กน้อย
  • ๔.รักษาก็ตาย ไม่รักษาก็ตาย เช่น ไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย มะเร็งระยะสุดท้าย กลุ่มนี้ประมาณ ร้อยละ ๗๖

ภาระของระบบสุขภาพแบบโรงพยาบาล แพทย์ พยาบาล ราว ๑ ใน ๔ เท่านั้น

ข้อค้นพบที่น่าสังเกต คือ สาเหตุโรคภัยไข้เจ็บจากวิกฤติชีวิตในชุมชน เอาเงินเป็นตัวตั้ง 

อยากรวย แต่ผล คือ รายจ่ายเพิ่ม ไม่มีเงินออม หนี้สินเพิ่ม ทุกข์ตามมา โรคภัยไข้เจ็บถามหา

^_,^

***

ทางออก

คิดไป ทำไป พัฒนาด้วยการวิจัยไปด้วย

คุณหมอและทีมงานโรงพยาบาลอุบลรัตน์ยังอยู่ในระบบราชการ

ส่วนคู่ชีวิต แพทย์หญิงทานทิพย์ ธำรงวรางกูร ตั้งแต่ปี ๒๕๓๘ เป็นเลขาธิการ 

ดำเนินการมูลนิธิพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืนเพื่อคุณภาพชีวิตดีจังหวัดขอนแก่น

แล้วลาออกจากราชการในปี ๒๕๔๐ เพื่อให้มีแพทย์มาทดแทนที่โรงพยาบาลอุบลรัตน์

โดย พญ.ทานทิพย์ ยังทำหน้าที่แพทย์อาสาตรวจและรักษาในวันที่ขาดอัตรากำลัง

...

ผลงานร่วมกันออกแบบและพัฒนาระบบสุขภาพของชาวอำเภออุบลรัตน์ 

โดยคนอุบลรัตน์และพหุภาคี เครือข่ายปราชญ์ชาวบ้านอำเภออื่นของขอนแก่น และจังหวัดอื่นในอีสานอีก ๕ จังหวัด

จัดให้มีการรวมกลุ่มของปราชญ์ชาวบ้านสม่ำเสมอ 

แสวงหาความรู้อย่างเป็นระบบ จนตกผลึก เช่น การทำเกษตรผสมผสานในแบบ “เกษตรประณีต ๑ ไร่” 

ใช้หลักธรรมนำวิธีคิดในการดำเนินชีวิต โดยเฉพาะ “พอเพียง”

...

พบปะ สร้างเครือข่ายอย่างต่อเนื่อง ใจแลกใจ 

แลกเปลี่ยน แบ่งปันความรู้ วิธีการ สิ่งของ พันธุไม้ และอื่นๆ ช่วยเหลือกันและกัน

สร้างพยาบาลชุมชน ให้ทุนเรียน เพื่อมาทำงานให้ชุมชนตัวเองและสลับมาทำงานที่โรงพยาบาล

มีเงื่อนไขการให้ทุน เช่น ต้องปลูกต้นไม้ให้ได้ตามจำนวนที่กำหนด เป็นต้น

เพื่อให้ชุมชนสามารถดูแลตัวเอง พึ่งตนเองโดยคนในชุมชนให้มากที่สุด

...

ผลการเปลี่ยนแปลง อัตราการมาใช้บริการที่โรงพยาบาลน้อยลง สูบบุหรี่ ติดเหล้าน้อยลง สุขภาพแข็งแรงขึ้น

หนี้สินน้อยลง จากหมู่บ้านยากจน ๗๐ หมู่บ้าน สัดส่วนหมู่บ้านที่พึ่งตนเองได้ค่อย ๆ เพิ่มขึ้น (ปี ๒๕๕๐ จำนวน ๒๕ หมู่บ้าน)

^_,^

****

ถามตัวเอง

  • ๑.  ความเชื่อ แนวคิดกำกับวิถีชีวิต ความสุขมาก่อนเงิน พอเพียง เพียงพอ แล้วหรือยัง
  • ๒.  บริบทที่ทำงาน ต้นทุนทางสังคม สิ่งที่ทำผ่านมาแล้วอย่างภาคภูมิใจ สลายไป เหลืออะไร
  • ๓.  จะพัฒนาต่อยอดจากสิ่งถนัด ทำมาต่อเนื่อง ๖ ปี เครือข่ายชุมชนลูกหลานฟันดี อำเภอสระใคร ๒๗ หมู่บ้าน เริ่มเล็ก (ประเด็น) จากสิ่งที่ชอบ
  • ๔.  เครือข่ายสุขภาพ เกษตร พัฒนาชุมชน ครู ภาครัฐที่มี เชื่อมกับ อสม. จะสานต่อเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตชาวอำเภอสระใคร สุขภาวะ คือ เป้าหมาย หรือจากบทเรียนอุบลรัตน์ ทำงานสร้างเครือข่ายให้ผู้นำ “ปราชญ์ชาวบ้าน” ตัวจริงทั้งแรงกาย หัวใจและมันสมอง เป็นผู้ขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงวิธีคิดของคนรอบข้าง ให้วิถีชีวิตคนอำเภอสระใครเปลี่ยนตามในทิศทาง   กินอิ่ม  นอนอุ่น  รวยแบบพอเพียง  อยู่เย็น  และเป็นสุข
  • ๑  ตอบง่าย   ๒ มีหลายด้านแล้วแต่จะมองให้มาเอื้อ โจทย์ ๓ ที่ท้าทาย  หรือ ๔ ที่ท้าทายแบบสวนกระแสทุนนิยมกันเลยทีเดียว

สำคัญ จึงไม่เร่ง ค่อย ๆ คิดไป

ราตรีสวัสดิ์ก่อนนะคะ

^_,^

*****

หมายเลขบันทึก: 567794เขียนเมื่อ 12 พฤษภาคม 2014 01:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 พฤษภาคม 2014 01:31 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (22)

ชีวิตที่เหลือนี้จะขอยึดหลักปรัชญาพอเพียงของในหลวงครับ

ขอบคุณแนวคิดดีๆ เพื่อชีวีเป็นสุขเช่นนี้ค่ะ...

  • ถ้าเรียนรู้ที่จะพอ..เชื่อว่า ความสุขกายสบายใจ ไม่อยู่ไกลเกินเอื้อม.. ..

ชอบใจหัวข้อข้างบนมากครับคุณหมอ

ขอบคุณมากๆครับ

รวย และเป็นสุข ได้แต่ อย่าไป .อยาก.  ........ในอีกมุมโม้ oops ในอีกมุมมองครับ 5555  // เยี่ยมมาก ให้ไปเลย 2 ซีก 

ดีใจจังมีแนวร่วม   เยี่ยมมาก ๆ ค่ะ คุณrojfitness  

แนวคิดดีก่อน  ชีวีจึงจะเป็นสุขนะคะ  ขอบพระคุณคุณป้าใหญ่ นงนาท สนธิสุวรรณ  มากค่ะ

ดังนั้น  เราจึงเป็นคน "รวย"  แบบพอเพียงกันอย่างมีความสุขนะคะ อ.กามนิตหนุ่มขจิต ฝอยทอง

พอแล้วก่อน  จึงไม่อยาก (ส่วนใหญ่)   ส่วนน้อยยังแพลม ๆ "อยาก" บ้าง  ยังต้องพยายามทำใจ  เป็นครั้งคราวค่ะ  

ว่าแต่  .๙๙    จะให้อะไร  ๒  ซีก   ถั่วต้มเหรอ  ๕ ๕ ๕ ๕

...ประมาณตน ประมาณใจ รู้จักตนเอง สบายๆ นะคะ

ชื่นชมค่ะ

มีภาพรอยยิ้ม ความสุข ความพอเพียงมาฝากค่ะคุณหมอ  ครั้งหนึ่งท่านนำทีมมาแลกเปลี่ยน

มีผักมาฝากค่ะ

อาจารย์ดร. พจนา แย้มนัยนา สรุปได้โดนใจมาก  ขอบคุณมากนะคะ

Wow !!!!   พี่อุ้มช่างเก็บภาพนะคะ  ขอบคุณค่ะ

-สวัสดีครับพี่หมอ

-ตามมาให้กำลังใจครับ

-ชอบภาพนี้..ของฝากเยอะมาก ๆ  ฮ่า ๆ

พอดีช่วงนั้นกล้องเสียค่ะ  ขอบคุณที่พี่อุ้มนำภาพคุณหมออภิสิทธิ์มาฝากค่ะคุณเพชรฯ

ไม่ได้เห็นคุณหมออภิสิทธิ์นานมาก

ขอบคุณสำหรับเรื่องดีๆครับ

.... ได้ความรู้ดีดีมากเลยค่ะ .... 

ขอบคุณค่ะ  และขอบคุณที่แวะมาส่งข้าวแช่  หอม ๆ  อร่อย ๆ นะคะพี่เปิ้น

คำถามนี้คงไม่สามารถตอบแทนกันได้

แต่สำหรับตัวเองแล้ว

แม้ว่าจะไม่รวยทรัพย์ไม่มีสมบัติอะไรมากมายนัก

แต่ที่มีอยู่ทุกวันนี้ก็น่าจะพอแล้ว

เพราะมีมากกว่าตอนที่เกิดมาตั้งมากมาย

สุดยอดคุณลุงทีเดียวเชียวค่ะ  ตอนเราเกิดมาเราก็ไม่ได้หอบอะไรมาด้วยแม้แต่น้อยนะคะคุณลุง  ^_,^

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท