วินัยและมาตรการทางวินัย


   เก้าโมงเช้าวันนี้ขึ้นไปฟังบรรยายของคุณเต๋า(อทินันท์ ยงรัตนกิจ)ผู้จัดการฝ่ายทรัยากรบุคคล ในกิจกรรม HR Morning Talk ประจำเดือน ในหัวข้อเรื่อง

   วินัยและมาตรการทางวินัย

   คุณเต๋าหรือที่พวกเราหัวหน้างานเรียกพี่เต๋า เริ่มต้นด้วยการถามว่า มาตรการทางวินัยของบริษัทฯมีอะไรบ้าง ซึ่งก็มีหลายคนตอบได้บ้างแต่ไม่ครบทุกข้อ จากคู่มือพนักงานระบุไว้ในข้อ 101 ว่า

   พนักงานพึงต้องรักษาวินัยโดยเคร่งครัด หากกระทำผิดหรือประพฤติมิชอบ จะได้รับการพิจารณาโทษทางวินัยตามความผิด ซึ่งอาจเป็นโทษสถานใดสถานหนึ่งดังต่อไปนี้ คือ

   101.1 ตักเตือนด้วยวาจา

   101.2 ตักเตือนเป็นหนังสือ

   101.3 ไม่ปรับเงินเดือนประจำปี

   101.4 เลิกจ้างโดยจ่ายค่าชดเชย

   101.5 เลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชยด้วยเหตุตามที่กฎหมายกำหนด

   ซึ่งหากการตัดสินใจลงโทษทางวินัยนั้นจะต้องมีความโปร่งใสมากๆ เพราะเป็นการเกี่ยวข้องกับกฎหมายแรงงานและกระทบต่อรายได้ของพนักงานโดยตรง

   พี่เต๋าได้แนะนำเพิ่มเติมว่า

-จะไม่มีการพักงาน(เพราะกฎหมายไม่อนุญาต)

-หากพักงานโดยไม่จ่ายค่าจ้าง ต้องเป็นการยินยอมจากพนักงานคนนั้นก่อนด้วย

   การเตรียมตัวก่อนการดำเนินการทางวินัย

   1. ห้ามปักธง

   2. ผู้เกี่ยวข้องยังเป็น"ผู้บริสุทธิ์" เสมอ

   3. เปิดใจรับฟัง

   4.เตรียมตัว "ฟัง" มากกว่าพูด - โดยใช้คำถามแบบเปิด

   5. เตรียมอุปกรณ์สำหรับการจดบันทึก

   ขั้นตอนการดำเนินการ

   1. สอบสวนข้อเท็จจริง - ควรเป็นคณะเพื่อให้มีพยาน

   2. ต้องแจ้งข้อกล่าวหาให้พนักงานทราบ และรับฟังข้อเท็จจริง

   3. ต้องรวบรวมพยานหลักฐานเพื่อหาข้อเท็จจริง

   4. อาจพักงานได้ ระหว่างการสอบสวน -ตามความจำเป็น ซึ่งต้องมีรายละเอียดดังนี้

   -ต้องมีคำสั่งเป็นหนังสือ

   -พักงานได้ไม่เกิน 7 วัน

   -ค่าจ้างพนักงานที่โดนพักงาน จ่ายไม่น้อยกว่า 50% ของค่าจ้างปกติ โดยหากสอบสวนข้อเท็จจริงแล้วพบว่า

     ...มีความผิดจริง ไม่ต้องจ่ายเพิ่ม

     ...ไม่มีความผิด ให้จ่ายส่วนที่เหลือพร้อมดอกเบี้ย 15%

   -สรุปข้อเท็จจริงและปรับบทความผิด

   -ลงโทษให้ถูกต้องตามความผิดและโทษที่ระบุ

...................

   สุดท้ายพี่เต๋าได้ยกเคล็ดลับของผู้พิพากษาที่โลกรู้จักกันดี คือ "เปาบุ้นจิ้น"

    หรือ เปา เจิ่ง ตามสำเนียงกลาง หรือ เปาจิ้น ตามสำเนียงฮกเกี้ยน (จีน: 包拯; พินอิน: Bāo Zhěng) หรือในวรรณกรรมเรียก เปา เหวินเจิ่ง ตามสำเนียงกลาง หรือ เปาบุ้นจิ้น ตามสำเนียงฮกเกี้ยน (包文拯 Bāo Wén Zhěng ?; 11 เมษายน พ.ศ. 1542 — 20 พฤษภาคม พ.ศ. 1605) -ขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบจากวิกิพิเดีย

    เคล็ดลับสั้นๆ 3 ข้อของเปาบุ้นจิ้น

   1. ฟัง-ซักถาม-บันทึก "ข้อเท็จจริง"

   2. พิจารณาโทษตามข้อเท็จจริงที่ได้สรุปร่วมกัน

   3. พิจารณาลดหย่อนโทษตาม "ความดีความชอบ" ที่เคยปรากฎ  

   ถ้าหัวหน้างานทำได้อย่างนี้ก็อาจจะทำให้ได้ใจจากผู้ใต้บังคับบัญชาในการพิจารณาลงโทษทางวินัย ที่โปร่งใส บริสุทธิ์ใจและยุติธรรมตามข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น

.....................

 

หมายเลขบันทึก: 538289เขียนเมื่อ 6 มิถุนายน 2013 14:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 มิถุนายน 2013 14:02 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)

โทษทางวินัย  โทษทางกฏหมาย  ก็ไม่ร้ายแรงไปกว่า โทษตามกฏแห่งกรรมเนาะ 

-สวัสดีครับ..

-ตามมาอ่านมาตรการครับ..

-ชอบเคล้ดลับของท่านเปา..

-ขอบคุณหัวหน้างานที่บรรยายเรื่องนี้และขอบคุณท่าน พ.ที่นำมาส่งต่อในบันทึกดี ดี นี้ครับ..

-ขอบคุณครับผ้ม...


ขอบคุณครับ คุณมะเดื่อ โทษทางวินัย  โทษทางกฏหมาย  ก็ไม่ร้ายแรงไปกว่า โทษตามกฏแห่งกรรมเนาะ

เห็นด้วยครับ

 ขอบคุณครับ เพชรน้ำหนึ่ง 

ขอบคุณที่ส่งภาพแตงไทยมาให้ชม กลิ่นหอมชวนหิว ใกล้ได้เวลาเบรคแล้ว....

 

ขอบคุณบันทึกดีๆ ค่ะท่าน

..... ตามมาให้กำลังใจ นะคะ .... 

เยี่ยมชมบันทึกค่ะ พ.แจ่มจำรัส

ยุคไหนสมัยไหน หลักการปกครองที่ดีมีประสิทธิภาพ

คือ รับฟัง สอบถาม เก็บข้อมูล พิจารณาก่อนดำเนินการ

เป็นธรรมและโปร่งใสคะ



ผมฟังเจ้านายผมท่านหนึ่งแกบอกว่า การปกครองคนนั้นเน้น 2 ใฝ่ ใฝ่สัมฤทธิ์ และใฝ่สัมพันธ์ แต่ให้ดีเอาทั้ง 2 อย่าง ...อ่านของพี่ พ. แล้วจำได้เลยครับ ขอบคุณมากครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท