เราควรจะทำอย่างไรต่อไป กันดีคะ?(ตอนที่ 2)


Palliative care สำหรับผู้ป่วยรายนี้ล้มเหลวหรือไม่?

เราควรจะทำอย่างไรต่อไป กันดีคะ? (ตอนที่ 2 )

ต่อจาก ตอนที่1 ...คุณลุงเสียชีวิตแล้วค่ะ...ในห้องแยกเป็นส่วนตัวที่หอผู้ป่วยใน หลังจากรับไว้นอนโรงพยาบาลได้ 10 กว่าคืน...ลูกสาวเล่าให้ฟังเมื่อวันที่มารับหนังสือรับรองการตายที่ออกให้โดยแพทย์เจ้าของไข้ก่อนจะนำไปแจ้งที่ที่ว่าการอำเภอ...ลูกสาวบอกว่า ในตอนเช้าวันที่เสียชีวิต คุณลุงยอมกินน้ำข้าวตั้งหลายช้อน ส่วนยา ยอมกลืนไป 2 ใน4 เม็ด นอกนั้นคายทิ้ง บอกว่าขม...ยามอร์ฟีนน้ำที่เป็น rescue dose ก็ไม่ยอมเอา...พูดคุยรู้เรื่อง ถามก็ว่าไม่เจ็บปวดไหนแล้ว.(ยัง Drip มอร์ฟีนขนาดเดิมอยู่สม่ำเสมอ)...บ่ายๆ น้องสาวที่มีอยู่คนเดียวมาเยี่ยมขอจับมือจับแขน ก็ยินยอมให้จับได้ไม่ขัดขืน...ครั้งหนึ่งคุณลุงพูดกับภรรยาว่า “ถ้าพ่อไม่อยู่ บอกลูกๆ ให้รักกันนะ อย่าทะเลาะเบาะแว้ง”...หรือคุณลุงจะรู้ว่า ตนเองจะอยู่ได้อีกไม่นาน!  พอมื้อเที่ยงก็ยังกินน้ำข้าวที่ป้อนให้ได้หลายช้อน...ตอนเย็นๆ ลูกๆ ขอเช็ดตัวเปลี่ยนผ้าอ้อมให้ ก็ไม่ขัดขืน...ไม่เหมือนวันก่อน...ตกหัวค่ำเริ่มซึมหลับ ไม่ค่อยรู้สึกตัว...ลูกคนที่เฝ้าอยู่โทรศัพท์ตามพี่น้องมาอยู่ด้วยกันพร้อมหน้าพร้อมภรรยาคู่ทุกข์ของคุณลุง ทุกคนร่วมกันอยู่ส่งผู้ป่วยจนสิ้นลมตอน 3 ทุ่ม 15 นาทีที่โรงพยาบาล...

มีประเด็นสำคัญที่น่าสนใจ feedback จากบุคลากรสุขภาพที่ร่วมดูแลว่า  

-ทำไมเมื่อผู้ป่วยไม่รู้สึกตัว และเจ้าหน้าที่แจ้งให้ลูกสาวคนที่เฝ้าอยู่ทราบ ลูกสาว( 1 ใน 4 คน) ยังตัดสินใจที่จะให้เจ้าหน้าที่ปั๊มหัวใจและใส่ท่อฯอยู่ ? Palliative care สำหรับผู้ป่วยรายนี้ล้มเหลวหรือไม่?  ( ท้ายที่สุดแล้วคุณลุงไม่ได้รับการปั๊มหัวใจและใส่ท่อช่วยหายใจหลังพูดคุยกันในครอบครัวอีกครั้งค่ะ)

-ถามว่า ลูกๆ ตัดสินใจผิดไหม ที่ให้คุณลุงนอนโรงพยาบาลในคืนนั้น?
(เดิมคุณลุง ไม่ได้มีปัญหาปวดรุนแรง มา ER ด้วยปัสสาวะไม่ออกมา 3 วัน ดูซึมๆ ...ก่อนหน้านั้นคุณลุงเคยบอกลูกๆ ไว้ว่ายังไม่อยากตาย! )

-แล้วที่ตัดสินใจให้คุณลุงนอนโรงพยาบาลในคืนนั้น มันถูกหรือ?
...................................................................................................................................................................*


หมายเลขบันทึก: 517798เขียนเมื่อ 29 มกราคม 2013 15:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 มกราคม 2013 15:47 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

ถามว่า ลูกๆ ผิดไหม ที่ตัดสินใจให้คุณตานอนโรงพยาบาลคืนนั้น ...
...ในความเห็นส่วนตัว > ถ้าไม่นอนแต่พาคุณตากลับไปดูแล และเสียชีวิตที่บ้าน  VS กับการรับรู้ว่าคุณตายังไม่อยากตาย อาจจะมีใครสักคนที่ต้องเผชิญกับความรู้สึกผิด...


  • ขอบคุณคะ ที่กรุณานำมาเล่าเป็นบทเรียนเรื่อง "ตายดี"  ขออนุญาตนำไปเล่าเป็นกรณีศึกษาต่อนะคะ
  • ผู้ป่วยรายนี้ ได้เสียชีวิตท่ามกลางคนที่รัก และที่สำคัญ มี dignity บอกได้ว่าต้องการอะไร ไม่ต้องการอะไร
  • จำเป็นไหมที่ตายดี = ตายที่บ้าน : ชอบมุมมองที่ลึกซึ้งคะว่า ใครสักคนอาจรู้สึกผิด หรือ เกิดความลังเลไม่มีใครรให้คำแนะนำ สุดท้ายก็ทุลักทุเลพามาใส่ tube ที่ ER ก็เป็นได้  แต่ก็ทำให้คิดต่อว่า ถ้าบ้านเราใช้ระบบ on call แบบ skype  ในช่วง Terminal ได้ก็น่าจะดีคะ

* มีบางมุมมองจากบุคลากรที่เกี่ยวข้องในทีมสุขภาพผู้ดูแลว่า " Palliative care สำหรับผู้ป่วยรายนี้ยังไม่ผ่าน" อาจเพราะประเด็น...เมื่อผู้ป่วยไม่รู้สึกตัว...ลูกสาวคนที่เฝ้าอยู่( 1 ใน 4 คน) ยังตัดสินใจที่จะให้เจ้าหน้าที่ปั๊มหัวใจและใส่ท่อฯอยู่ ?   
* ตนเองกลับมองว่า เหตุการณ์แบบนี้มีโอกาสเกิดขึ้นได้เสมอ ค่ะ...มันอยู่ที่ว่า เมื่อเกิดขึ้นแล้วบุคลากรสุขภาพที่เป็นผู้ดูแลอยู่ในขณะนั้นตัดสินใจอย่างไรต่อ...ซึ่งในกรณีของคุณลุง ต้องขอชื่นชมพยาบาลผู้ดูแล ที่ได้สะท้อนข้อมูลความต้องการ /เป็นกระบอกเสียงแทนผู้ป่วยซึ่งตอนนี้ไม่มีโอกาสได้สื่อสารความต้องการด้วยตนเองแล้ว ...จนทำให้ผู้ป่วยได้รับการตอบสนองตามที่ปรารถนา เป็น Dead with dignity ที่แท้จริงค่ะ
*ในชีวิตการทำงานจริง เราอาจจะไม่เจอกรณีผู้ป่วยที่ดูแลแล้ว  smooth เรียบง่ายเหมือน "จัดให้" ไปทั้งหมดค่ะ...เพราะแต่ละรายมีความเป็นปัจเจกบุคคล มีที่มาของวันนี้ที่แตกต่าง แต่ละคนมีกรรมเป็นของตัวเองค่ะ

ส่วนมุมมองต่อ การที่ตัดสินใจให้คุณลุงนอนโรงพยาบาลในคืนนั้น มันถูกหรือ? 
* เชื่อว่าทุกอย่างที่เกิดขึ้นนั้นย่อมมีเหตุมีปัจจัยค่ะ เพราะคุณลุงยังไม่อยากตาย คุณลุงกลัวที่จะต้องตายในตอนนั้น ลูกๆจึงยินยอมให้คุณหมอรักษาด้วยยา ด้วยน้ำเกลือต่างๆ ซึ่งเป็นวิธีที่คิดว่าไม่ได้คุกคามความเป็นตัวตนของคุณลุงมากนัก และคุณลุงเองก็ไม่ได้ปฏิเสธเหมือนกับการสวนล้างลำไส้เพื่อดึงโปแทสเซี่ยมออกจากร่างกายหรือการใส่สายยางเพื่อให้อาหาร ซึ่งคุณลุงไม่เอา...กรณีนี้มองว่า ไม่ผิดที่จะเป็นเช่นนั้น นะคะ....การนอนโรงพยาบาลนาน 10 กว่าวัน เหมือนเป็นโอกาสที่คุณลุงได้เรียนรู้ใคร่ครวญกับชีิวิต มีโอกาสได้อยู่ใกล้ชิดกับครอบครัว คนที่รัก...และยอมรับกับวาระสุดท้ายของชีวิตได้ในที่สุด
*สำหรับเรื่อง cost ที่เกิดขึ้นเมื่อเทียบกับการมีโอกาสได้ตายดีของใครสักคน...คุ้มค่า...ค่ะ 
*ขอบคุณบทความเรื่อง End of Life Cost/Care ของท่านอาจารย์เต็มศักดิ์ค่ะ 

  • *สำหรับเรื่อง cost ที่เกิดขึ้นเมื่อเทียบกับการมีโอกาสได้ตายดีของใครสักคน...คุ้มค่า...ค่ะ 
  • เห็นด้วยคะ ขณะเดียวกัน ขออนุญาตมองอีกมุมหนึ่ว ว่าการคำนึงถึง cost ก็ไม่ใช่เรื่องผิด ขึ้นกับว่าเราสื่อสารกับใครคะ แน่นอนว่าในใจผู้ให้บริการแบบเรา ย่อมอยากให้สิ่งที่ดีที่สุดเพื่อความสุขของผู้ป่วยที่อยู่ตรงหน้าเรา
    แต่ทัศนะของผู้ออกนโยบาย เขาก็มีหน้าที่บริหารจัดการทรัพยากรให้เหมาะสม

* ช่วงนี้ครอบครัวของคนไข้ในความดูแลของ Palliative care clinic เลือกที่จะใช้เวลาช่วงท้ายของชีวิตคนไข้ในโรงพยาบาลเสียเป็นส่วนใหญ่
* เราคงต้องยอมรับว่าการจัดการอาการรบกวนหลายอาการนั้นเป็นเรื่องยากไม่ใช่เล่นค่ะ
* นอกจากคุณตาแก้วแล้ว คุณยายที่เป็น CA Lung เสียชีิวิตรายถัดมาก็ต้องมาจัดการอาการหายใจลำบากที่โรงพยาบาลหลังจำหน่ายไป Home care ได้ 19 วัน >ทั้งเจาะระบายน้ำในปอดและใช้ Morphine vein drip for Dyspnea control  > เสียชิวิตที่โรงพยาบาลในที่สุด (NR +สงบ)
*คุณยายอีกท่านหนึ่งก็ risk to sepsis บริเวณผ่าตัดกระดูกต้นขาที่มะเร็งแพร่กระจาย หยุดให้ยาปฏิชีวนะแล้วเนื่องจากไม่ตอบสนอง  คุมความปวดด้วยยากินไม่ไหว ต้อง Drip มอร์ฟีนอยู่อีกราย > คิดถึง Syringector ของรพ.ศรีนครินทร์ จังเลยค่ะ เพราะคุณยายอยากกลับบ้านมาก  แต่ก็ไม่รู้จะเอายาdrip กลับไปด้วยอย่างไร?...


* เมื่อไหร่ ระบบบริการสุขภาพของเราจะเติมเต็มได้...เสียที  ไม่รู้ในอนาคต รุ่นเราจะเป็นเช่นไร?

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท